การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ตอนที่ 6


3.1.3 การสร้างความเป็นนามธรรม และการเปรียบเทียบ (Abstracting amd Comparing)

ถึงแม้จะมีการวิเคระห์ข้อมูลเชิงคุณภาพแตกต่างกันแต่มี 2 กิจกรรม ที่ถือว่าเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ ได้แก่ การสร้างความเป็นนามธรรมและ การเปรียบเทียบ เรามาดูการสร้างความเป็นนามธรรมก่อน

3.1.3.1 ความเป็นนามธรรม

ประเด็นที่สำคัญที่นี้ก็คือว่า มีสังกัปบางอัน หรือความคิดรวบยอด (concepts) บางอัน มีความเป็นนามธรรมมากกว่าอันอื่นๆ ศัพท์คำว่า รูปธรรม หรือชี้เฉพาะ และ นามธรรม หรือ เป็นทั่วไปจะแสดงให้เห็นถึงระดับความเป็นรูปธรรมไปจนถึงความเป็นนามธรรม

 แบบตัวอย่างข้างใต้นี้แสดงให้เห็นถึงระดับของความเป็นนามธรรมที่มีอยู่ในการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณนอกจากนี้จะแสดงให้เห็นถึงความเหมือนกันของทั้ง 2 วิธีด้วย ในระดับที่มีความเป็นนามธรรมที่ต่ำที่สุดหรือระดับที่เป็นการพรรณนา, ชี้เฉพาะ และเป็นรูปธรรม นักวิจัยจะต้องมีตัวบ่งชี้ (indicatorเชิงคุณภาพ) และ รายการ (items เชิงปริมาณ)ในระดับต่อมา ซึ่งจะเป็นระดับความเป็นนามธรรมขั้นแรก นักวิจัยจะต้องมีสังกัป หรือความคิดรวบยอดอันแรก (first-order concept เชิงคุณภาพ) และตัวแปร (variables เชิงปริมาณ) ในขั้นต่อมาซึ่งเป็นขั้นระดับความเป็นนามธรรมขั้นที่2 ซึ่งหมายถึงการนำเอาความคิดรวบยอดอย่างน้อย 2อันมารวมกันก็จะได้ระดับความเป็นนามธรรมขั้นที่ 2 (เชิงคุณภาพ) และ ปัจจัย (factorเชิงปริมาณ) ทำอย่างนี้เรื่อยไปจนถึงความเป็นนามธรรมขั้นสุดท้าย(ถึงแม้อาจไม่เสร็จในการวิจัยอันเดียว แต่งานวิจัยที่ทำก่อนย่อมเป็นการทบทวนวรรณกรรมให้กับการวิจัยที่ทำครั้งต่อมาได้)

3.1.3.2 การเปรียบเทียบ

การเปรียบเทียบเป็นหลักในการถามอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะมากจากเชิงปริมาณหรือแม้แต่เชิงคุณภาพก็ตาม ในการวิจัยเขิงคุณภาพนักวิจัยจะไม่กล่าวถึงการเปรียบเทียบมากนักเพราะว่าการเปรียบเทียบใช้กับงานวิจัยเชิงปริมาณ การวัดจะต้องมีการเปรียบเทียบกันไม่ว่าจะเป็นค่าเฉลี่ย หรือการทดสอบ t ก็ตาม

การเปรียบเทียบไม่ค่อนเน้นในการวิจัยเชิงคุณภาพเมื่อเราต้องใช้วิธีวิจัยแบบเชิงคุณภาพ การเปรียบเทียบจำเป็นต้องมีการเน้น การเปรียบเทียบมีความจำเป็นเพราะวิเคราะห์ได้ทั้งความคิดรวบยอดที่เป็นที่เป็นนามธรรม (abstractconcept) และในการเข้ารหัสด้วย (coding)ในตอนแรกของการเข้ารหัส เมื่อเราเจอข้อมูลที่เป็นการสังเกตหรือการสัมภาษณ์จำเป็นที่จะต้องใช้การเปรียบเทียบข้อมูลต่างๆ เพื่อหาความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรม นอกจากนี้การเปรียบเทียบยังทำได้ต่อไปจนนักวิจัยได้ระดับความคิดที่เป็นนามธรรมที่สุดในเรื่องที่กำลังทำงานวิจัย

หนังสืออ้างอิง

Keith F. Punch (1998). Introduction to Social Research:Quantitative and Qualitative Approaches. London:Sage Publication

หมายเลขบันทึก: 570658เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2014 19:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2014 19:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท