ปล่อยวาง...กิจกรรมบำบัดศึกษา


ขอขอบพระคุณอาจารย์ผู้ควบคุมการฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกกิจกรรมบำบัด ม.มหิดล ทุกท่านที่เสียสละมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงการพัฒนากิจกรรมบำบัดศึกษาและการสร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษากับอาจารย์

ปัจจุบันนี้นักกิจกรรมบำบัดสากลพัฒนากรอบการทำงานเพื่อ Cost Effectiveness ของการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดที่เป็นวิชาชีพทางการแพทย์สาขาเดียวของโลกที่เน้นการฟื้นคืนสุขภาวะของผู้รับบริการทุกช่วงวัยให้มีความสามารถในการกลับไปทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตหลังมีความบกพร่องทางสุขภาพร่างกายและจิตสังคม แต่ประเทศไทยก็ผลิตนักกิจกรรมบำบัดได้ไม่ทันและตรงกับความต้องการของคนไทยที่มีความซับซ้อนทางระบบการสาธารณสุข ระบบการศึกษา และบริบททางวัฒนธรรม-องค์กร-บุคคล

เมื่อวานนี้หลังจากที่ดร.ป๊อป ได้ทำความเข้าใจในประเด็นที่อาจารย์ผู้ควบคุมการฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกกิจกรรมบำบัด ม.มหิดล ซึ่งมาจากรพ.ส่วนกลางและภูมิภาคกับอาจารย์ประจำหลักสูตรกิจกรรมบำบัด ม.มหิดล รวม 30 ท่าน มีทั้งอาจารย์ผู้มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี (ขอบพระคุณพี่อ้อ - นำชัย ผู้สร้างแรงบันดาลใจและความรู้ความเข้าใจให้ดร.ป๊อป ตั้งแต่เป็นนศ.ปี 3 จนถึงปัจจุบัน) จนถึงไม่น้อยกว่า 5 ปี มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ว่า "ทำอย่างไรจะสอนนศ.กิจกรรมบำบัดให้กลายเป็นนักกิจกรรมบำบัดที่มีคุณภาพตามกรอบการทำงานของนักกิจกรรมบำบัดสากล หรือ Domain & Process of Occupational Therapy Framework (AOTA, 2014)"

ดร.ป๊อป ขอวิเคราะห์ตามหลัก Knowledge Translation กับ NLP ก็ได้คำตอบดังนี้:-

  • นักกิจกรรมบำบัดไทยตั้งเป้าหมายการให้บริการในการพัฒนาความสามารถของผู้รับบริการ (บุคคล) ในขอบเขตของกิจกรรมการดำเนินชีวิต หรือ Occupation ได้แก่ การทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐานและขั้นสูง/ใช้เครื่องมือ (ที่รพ.และที่บ้าน) ในผู้รับบริการทุกราย การเล่นและการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาเด็ก การทำกิจกรรมยามว่างในผู้ที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป และการมีส่วนร่วมทำกิจกรรมในสังคม (ขึ้นอยู่กับนโยบายของรพ.ที่เอื้อให้เกิดการบูรณาการกับการให้บริการที่บ้านและชุมชนหรือไม่ แต่จะเป็นการยากสำหรับรพ.ที่มีผู้รับบริการไม่น้อยกว่า 100 เตียงต่อนักกิจกรรมบำบัดไม่เกิน 3 คน) สำหรับขอบเขตด้านการศึกษาและการทำงานยังคงอยู่ในระดับความสำเร็จที่น้อยเนื่องมาจากโอกาสที่ยากของการทำงานเป็นทีมสหวิชาชีพระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ ครูการศึกษาพิเศษ เจ้าหน้าที่อาชีวบำบัด/ฝึกอาชีพ และผู้กำหนดนโยบายการพัฒนาระบบการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาและการประกอบอาชีพของผู้พิการในระดับประเทศ
  • นักกิจกรรมบำบัดไทยต้องเร่งปรับกิจกรรมบำบัดศึกษาในมิติของการพัฒนาทักษะการให้เหตุผลทางคลินิกเชิงวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ (Medical & Scientific Clinical Reasoning Skills) กับทักษะการใช้ตัวเราเป็นผู้บำบัด (Therapeutic Use of Self Skills) ด้วยการจัดบริบทของการเรียนรู้แบบมีชีวิตชีวา (Active Learning) การเรียนรู้แบบใคร่ครวญ/ตื่นรู้ทางจิตตปัญญา (Transformative Learning) และการเรียนรู้ทักษะชีวิตในศต.ที่ 21 (The 21st Century Skills Learning) เพื่อบูรณาการผู้เรียนกับผู้สอนในเชิงพัฒนา "ทักษะการให้ความเมตตาต่อผู้อื่นแบบไม่ผูกมัด ไม่ยึดติดในอารมณ์โกรธ/อิจฉา/ตำหนิผู้อื่น - ปล่อยวางและให้ความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม - ดูแลผู้อื่นแล้วหันกลับมาดูแลตนเองให้พอประมาณ หรือ Empathy Skills" โดยเน้นการให้นศ.ปี 1 แสดงบทบาทจิตอาสาราวกับผู้ดูแลผู้รับบริการ นศ.ปี 2 แสดงบทบาทผู้ช่วยนักกิจกรรมบำบัด นศ.ปี 3 แสดงบทบาทผู้ประเมินที่มีคุณภาพกับผู้รับบริการจริง และนศ.ปี 4 แสดงบทบาทนักกิจกรรมบำบัดที่ให้บริการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกเพียง 1,000 กว่าๆ นั้นยังไม่เพียงพอต่อการสะสมประสบการณ์ด้านสุขภาพและสุขภาวะ ดังนั้นผู้สอนต้องถ่ายทอดและแทรกประสบการณ์ทางคลินิกของตนเองในทุกๆรายวิชาของหลักสูตรเพิ่มเวลามากขึ้นและการให้เหตุผลทางคลินิกที่ชัดเจนมากขึ้น - มิใช่สอนตามตำราแต่สอนจากประสบการณ์จริงด้วยการลงมือปฏิบัติจริงกับผู้รับบริการทั้งผู้สอนกับผู้เรียน
  • นักกิจกรรมบำบัดไทยควรมีการศึกษาต่อเนื่องในระดับเฉพาะทางกับหลังปริญญา เพื่อยกระดับความเชื่อมั่นในคุณภาพของการประยุกต์ความรู้ทางกิจกรรมบำบัดในหลากหลายกลุ่มโรคและกรอบอ้างอิงของการให้บริการ เช่น การฟื้นฟูสมรรถภาพการประกอบอาชีพ การฟื้นฟูสมรรถภาพในผู้ที่บาดเจ็บมือ แขน และไหล่ การฟื้นฟูสมรรถภาพภาวะกลืนลำบากในโรคหลอดเลือดสมอง การฟื้นฟูสมรรถภาพความรู้ความเข้าใจ การฟื้นฟูสมรรถภาพด้วยเทคโนโลยี การฟื้นฟูสมรรถภาพสายตาเลือนราง การฟืันคืนสุขภาวะในผู้มีประสบการณ์สุขภาพจิต การฟื้นฟูสมรรถภาพชุมชนแบบบูรณาการ การพัฒนาศักยภาพในเด็กและวัยรุ่นที่มีความต้องการการศึกษาพิเศษ ฯลฯ
  • ความท้าทายที่นักกิจกรรมบำบัดไทยควรพัฒนาในแต่ละบุคคล คือ การสื่อสารเชิงวิทยาศาสตร์ในการอธิบายให้เป็นรูปธรรมทั้งกับสหวิชาชีพต่างๆ นศ.กิจกรรมบำบัด และผู้รับบริการ ได้แก่ 1) อธิบายผลการประเมินปัจจัยส่วนบุคคล (ความคิด ความเชื่อ และประสบการณ์ชีวิตที่มีความหมาย/เป้าหมาย ระบบสรีรวิทยาและกายวิภาคศาสตร์ของร่างกายที่สัมพันธ์กับอาการของโรค พยาธิสภาพของโรค และกลไกการเกิดโรค) ที่มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ 2) การสื่อสารภาษาชาวบ้านที่มีเหตุผลทางเงื่อนไขและ/หรือกระบวนการของการประเมินเฉพาะเจาะจงทางการแพทย์กับทางกิจกรรมบำบัด (ทักษะการเคลื่อนไหวของร่างกายขณะทำกิจกรรม ทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ในขั้นตอนและสิ่งแวดล้อมของการทำกิจกรรม และทักษะการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (ตัวเอง ผู้อื่น กลุ่มคน สังคม และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ) ที่ส่งผลให้ต้องพัฒนาทักษะการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตข้างต้น) และ 3) อธิบายเหตุผลของการให้บริการที่เหมาะสมกับการวิเคราะห์กิจกรรมบำบัดที่พอเหมาะในการจัดการผลกระทบที่กำลังเกิดขึ้นกับความบกพร่องทางร่างกายและจิตสังคมโดยมุ่งหวังให้ผู้รับบริการใส่ใจและเข้าใจกระบวนการพัฒนาความสามารถและความสุขในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตในปัจจุบันขณะและตลอดช่วงชีวิตของผู้รับบริการ (ขณะมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันจนถึงสิ้นอายุขัยด้วยการใช้ชีวิตที่มีคุณค่าบนโลกนี้)
  • ที่สำคัญที่สุดของความยากในการใช้กรอบการทำงานนี้คือ การปรับเปลี่ยนความเชื่อ การสร้างแรงบันดาลใจ และการจัดการบริบทในผู้รับบริการแต่ละบุคคล รวมทั้งทัศนคติของผู้สอนกับผู้เรียนกิจกรรมบำบัดศึกษาที่มีระดับใจที่พร้อมให้บริการเพื่อนมนุษย์แตกต่างกันตามปัจจัยของการอยู่รอดของชีวิตบนโลกนี้ ได้แก่ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยทางอารมณ์ ปัจจัยทางครอบครัว และปัจจัยของการพัฒนาตนเองอย่างปล่อยวางหรืออย่ายึดติดในอุดมคติมากจนเกินไป
หมายเลขบันทึก: 570315เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2014 07:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2014 17:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

-สวัสดีครับอาจารย์

-ตามมาให้กำลังใจครับ

-วันนี้มาชวนอาจารย์ไปเก็บเห็ดครับ..อิๆ

พี่อ่านแล้วมีความเห็นอย่างนี้ค่ะ

- อยากเสนอให้พิจารณาอย่างหนักแน่นเรื่อง การขออัตรากำลังของนักกิจกรรมบำบัดให้มีทุกโรงพยาบาล (เป็นวิชาชีพที่มีความสำคัญมาก แต่ยังไม่ค่อยมีใครรู้) เพื่อให้น้องๆ ที่เรียนจบได้ทำงานในโรงพยาบาลของรัฐ จะเป็นประโยชน์แก่คนที่เข้าไม่ถึงบริการแพงๆ ในรพ.เอกชน

- การสื่อสารกับผู้รับบริการสำคัญมากๆ ค่ะ เพื่อให้เห็นความสำคัญของกิจกรรมบำบัดว่าช่วยให้เขากลับไปมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากเท่าที่เป็นไปได้ (แม้สภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพ และสังคมยังไม่เอื้อต่อคนไข้สักเท่าไหร่)

- ข้อสุดท้ายของอาจารย์ พี่ชอบมากค่ะ  ผู้ให้บริการสุขภาพของเราจำเป็นต้อง "สร้างแรงบันดาลใจ" ให้คนไข้เชื่อมั่นใน "การพึ่งพาตนเอง"  ว่ามีความสำคัญมากกว่า การพึ่งพาบุคลากร 

ข้อสุดท้ายนี้เป็นอุปสรรคอันยิ่งใหญ่ของคุณภาพบริการ

เห็นด้วยครับว่า อย่ายึดติดในอุดมคติมากจนเกินไป

ขอบพระคุณมากครับคุณเพชรน้ำหนึ่ง ผมได้รับกำลังใจจากกิจกรรมที่ยอดเยี่ยมมากๆและมีชีวิตชีวาตามธรรมชาติเสมอครับผม

ขอบพระคุณมากครับพี่ nui ทางคณะกรรมการวิชาชีพกิจกรรมบำบัดก็พยายามในการเพิ่มอัตราการผลิต แต่ด้วยนโยบายและความขาดแคลนมหาวิทยาลัยที่ผลิตนักกิจกรรมบำบัดก็จำกัดความพยายามของพวกเราในปัจจุบันครับผม

ขอบพระคุณมากครับพี่ rojfitness ผมเข้าใจและเห็นด้วยกับการปล่อยวางจากอุดมคติที่ต้องการพลังจากหลายคนมากกว่าตัวผมคนเดียว ผมพยายามทำเท่าที่จะทำได้สำหรับวิชาชีพกิจกรรมบำบัดและคงหยุดทำแน่นอนในอีก 3 ปีข้างหน้านี้ที่ใช้ทุนหมดครับผม

ขอบพระคุณมากๆครับสำหรับกำลังใจที่ดีมากๆจากพี่ดร.จันทวรรณ พี่ดร.โอ๋ อ.นุ พี่ใหญ่ และคุณบุษยมาศ

<p> มีไฟ..เป็นแรงใจ..มาฝาก..เจ้าค่ะ</p>

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท