บทความว่าด้วยปรัชญาการเมืองกับวรรณกรรมไทย


บทความว่าด้วยปรัชญาการเมืองกับวรรณกรรมไทย

โดย

นายเมธา งดงาม

รหัสนิสิต 55114758

เสนอ

อาจารย์สุนทร สุขสราญจิต

วิชา ปรัชญาการเมือง

รหัสวิชา 147200

สาขาวิชา รัฐศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา




ปรัชญาการเมืองและวรรณกรรมไทย ถือเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกัน ในแนวทางของความคิดและแนวทางปฏิบัติคำสอนต่างๆที่บันทึกและสืบต่อกันมา ตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน และนำมาสู่ ปรัชญาการเมืองกับวรรณกรรมไทย ในเรื่อง สายเกลียวปรัชญาการเมืองและวรรณกรรมไทย (วิถีคนกล้า กับ โสกราตีส,ในยุคกรีก)

บทความ.......

สายเกลียวปรัชญาการเมืองและวรรณกรรมไทย (วิถีคนกล้า กับ โสกราตีส,ในยุคกรีก)

นายเมธา งดงาม[1]

รู้จักสายเกลียวปรัชญาการเมืองและวรรณกรรมไทยความสัมพันธ์ต่อกัน

เมื่อกล่าวถึงการศึกษาเล่าเรียนวิชาปรัชญาการเมืองนั้นหลายๆคนคงต้องนึกถึงการศึกษาคำพูดคำสอนหรือการศึกษาหาความรู้การวิเคราะห์ทางการเมืองในเชิงปรัชญา และยังมีการเชื่อมโยงระหว่างวรรณกรรมไทยที่ศึกษาความเป็นมาในวรรณคดีไทย ซึ่ง สองสิ่งนี้หลายๆท่านก็คงคิดอีกนานว่าเราสามารถนำมาเชื่อมโยงกันอย่างไรและมีนักคิดนักปรัชญาท่านไหนบ้าง และเมื่อย้อนมามองในส่วนของทางวรรณกรรมไทยได้มีวรรณกรรมด้านไหนบ้างมีใครบ้างตัวละครอะไร

เมื่อทุกอย่างจะลงตัวนั้นเราก็ต้องศึกษาและเรียนรู้ว่า ปรัชญาการเมืองและวรรณกรรมไทยสามารถเชื่อมโยงกันอย่างไร ผมเลยตั้งหัวข้อที่ชื่อว่า สายเกลียวปรัชญาการเมืองและวรรณกรรมไทย ก็คือ สายเกลียวความผูกพันกันและการเชื่อมโยงกัน ความสัมพันธ์กันระหว่างปรัชญาการเมืองและวรรณกรรมไทย ว่าเป็นอย่างไรจนสู่ปัจจุบัน

สิ่งแรกเราทุกคนควรรู้จัก ปรัชญาการเมืองก่อน ว่าเป็นอย่างไร โดยมีนักวิชาการได้ให้ความสำคัญ เช่น จำนงค์ ทองประเสริฐ[2] ศาสตร์พิเศษสาขาวิชาปรัชญา ได้ให้คำอธิบายที่ชัดเจนว่า คำว่าปรัชญา ซึ่งตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Philosophyนั้น แท้ที่จริงแล้ว ความหมายของคำว่าปรัชญาหาได้ตรงกับคำว่าPhilosophyจริง ๆ ไม่ ถ้าไม่ศึกษาความหมายอันแท้จริงของคำ 2 คำนี้ก่อนแล้วอาจทำให้เข้าใจผิดคิดว่าปรัชญากับPhilosophyมีความหมายตรงกันทีเดียว

คำว่า ปรัชญาหมายถึงตัวปัญญาคือความรู้แท้ที่ได้รับหลังจากหมดความสงสัยแล้วส่วนคำว่าPhilosophyเดิมทีเดียวหมายถึงความรักในความรู้ที่ว่าต้องรักในความรู้ก็เพราะว่า ความรู้ ปัญญา หรือ ปรัชญา ได้ทั้งนั้นถ้าหากบุคคลนั้นจะดำเนินไปตามวิถีทาง ที่จะนำไปสู่ปัญญา เพราะฉะนั้นคำว่า ปรัชญา กับPhilosophyจึงมีความหมายที่แตกต่างกันโดยนัยดังกล่าวนี้จะอย่างไรก็ตาม เมื่อสรุปแล้วก็คงความไม่รู้แจ้งนั่นเอง เป็นบ่อเกิดของPhilosophyซึ่งแปลว่าปรัชญา แม้จะไม่ตรงกันนักก็ตาม

นิยามและความหมาย

ก่อนที่จะได้ศึกษาให้รู้ให้เข้าใจเรื่อง ปรัชญาการเมือง ควรที่จะได้ทราบความหมายอันแท้จริงของคำว่า ปรัชญา เป็นเบื้องต้น ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่า แท้ที่แล้วปรัชญา นั้นคืออะไร มีความหมายอย่างไร

ความหมายของปรัชญา[3]

ปรัชญาเป็นวิชาที่เคยรุ่งเรืองและศึกษากันอย่างแพร่หลายในโลกตะวันตกปรัชญาเคยเป็นวิชาบังคับวิชาหนึ่งในมหาวิทยาลัย

ได้กล่าวถึงปรัชญาการเมืองว่าหมายถึง...สาขาของวิชาปรัชญาซึ่งใกล้ชิดมากที่สุดกับชีวิตทางการเมือง ชีวิตที่ไม่ใช่ชีวิตเชิงปรัชญาและได้แก่ชีวิตของมนุษย์ธรรมดาๆ

เพื่อที่เข้าใจความสัมพันธ์นี้เราจำเป็นต้องเข้าใจความหมายของปรัชญาการเมืองเสียก่อน และถ้าการเริ่มต้นที่ถูกหลักที่สุดควรจะเป็นการเริ่มต้นที่จุดเริ่มต้นแล้ว สิ่งแรกที่เราควรทำความเข้าใจก็คือ ความหมายของคำว่า “ปรัชญา”

อาจกล่าวได้ว่า ในปัจจุบันนี้ฐานะของปรัชญาการเมืองค่อนข้างจะได้รับความสนใจและเอา

ใจใส่น้อยลงหรือตกต่ำลง ทั้งนี้ก็เพราะสังคมศาสตร์ ได้ยอมรับเอาข้ออ้างทางวิทยาศาสตร์มาเป็นข้ออ้างและบรรทัดฐานของตน กล่าวคือสังคมศาสตร์ ปัจจุบันถือว่า ความรู้ทางสังคมศาสตร์ที่มีหลักเกณฑ์อย่างทางวิทยาศาสตร์ เท่านั้นที่เป็นความรู้อย่างแท้จริง หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ความรู้ทางสังคมศาสตร์ต้องเป็นความรู้ที่อาจมีการพิสูจน์ หรือทดลองอย่างใดอย่างหนึ่งได้เช่นเดียวกันกับกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์

และเมื่อได้ศึกษาเกี่ยวกับด้านปรัชญาการเมืองว่าเป็นมาอย่างไรในส่วนของนักวิชาการของไทย ในปัจจุบัน เราก็มาดูในส่วนของปรัชญาการเมืองในความสำคัญของทางตะวันออกเช่น นักปรัชญาชาวจีน เช่น ขงจื้อ ได้ให้ความสำคัญกับ ปรัชญาอย่างไร

ขงจื้อ[4] กับการว่าด้วยปรัชญาการเมือง

เมื่อกล่าวถึงปรัชญาการเมืองการปกครองในทัศนะของนักปรัชญาตามความเข้าใจของคนทั่วไป ซึ่งอาจจะมองว่านักปรัชญาไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับเรื่องดังกล่าวเลย แต่ในความเป็นจริงแล้วเรากำลังเข้าใจความหมายของคำว่า ปรัชญา ในรูปแบบเดิมๆ กล่าวคือ การศึกษาในเรื่องที่อยู่ในวิสัยของภาคทฤษฎีเป็นส่วนใหญ่ แน่นอนว่าปรัชญาอาจไม่ใช่เรื่องของภาคปฏิบัติโดยตรงทั้งหมด หากเรามองปรัชญาด้วยความเสมอภาคด้านวิชาการเหมือนกับสาขาวิชาอื่น ๆ ที่อยู่ในห้วงความคิดหรือ วิชาการที่ศึกษากันอยู่ในเวลานี้ บางครั้งก็เพียงเพื่อความเพลิดเพลินสติปัญญา หรือ ไม่ก็ประเทืองปัญญาเอาเสียเลย

ในทัศนะของนักปรัชญาจีนอย่างขงจื้อ ไม่ได้ใช้ความรู้ทางด้านปรัชญาเพื่อความเพลิดเพลินทางสติปัญญาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ในทางตรงกันข้ามขงจื้อ ได้ประยุกต์หลักทางปรัชญาให้เกื้อกูลแก่มนุษย์และสังคมจนกลายเป็นอารยธรรมที่มีความสำคัญต่อประเทศจีน ดังคำที่ว่า “ไม่มีใครอีกแล้วที่จะมีอิทธิพลอย่างลึกซึ่งต่อชีวิตและจิตใจของประชาชนชาวจีนในฐานะเป็นสื่อ เป็นครู เป็นผู้แปลความหมายวัฒนธรรมและวรรณคดีเก่า ๆ ในทำนองสร้างสรรค์และเป็นผู้หล่อหลอมจิตใจและคุณลักษณ์ของประชาชนชาวจีนได้เท่าขงจื้อ”

จากการได้ศึกษาปรัชญาการเมืองของขงจื้อทำให้ทราบว่า แนวคิดทางการเมืองการปกครองของขงจื้อส่วนใหญ่เป็นแนวคิดแบบ มนุษยนิยม กล่าวคือ มนุษย์มีศักยภาพมากเพียงพอในการที่จะสร้างสรรค์ตนเองและสังคมให้มีความเจริญรุ่งเรืองได้โดยเน้นให้ทุกคนได้ทำบทบาทหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์แบบ ทั้งนี้ก็เพื่อการประสานประโยชน์เกื้อกูลของสังคมส่วนตัวในระดับครอบครัวและสังคมส่วนรวมในระดับประเทศชาติได้เป็นอย่างดี

การที่เราได้ทำความเข้าใจกับคำว่า ปรัชญาการเมือง นั้นก็มีในส่วนของนักวิชาการคนไทย และ นักปรัชญาชาวจีน เช่น ขงจื้อ ในเนื้อหาของปรัชญาการเมืองเป็นไปมาอย่างไร ความคิด ทางการวิเคราะห์จนถึงปัจจุบัน

เมื่อเราทำความรู้จักและเกริ่นในเรื่องของ ปรัชญาการเมือง แล้วเราก็ต้องศึกษาในเรื่องของ วรรณคดีหรือวรรณกรรมไทยว่าเป็นอย่างไร วรรณกรรมไทยถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างมากในประวัติศาสตร์ไทยเปรียบได้กับปรัชญาอย่างหนึ่งที่สอนและเตือนสติมนุษย์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

"วรรณกรรม"[5]การบริบทสังคมไทยปัจจุบัน

การใช้คำว่า "วรรณกรรม" มีปรากฏครั้งแรกในพระราชบัญญัติคุ้มครองศิลปะและวรรณกรรม พ.ศ. 2475 โดยให้คำนิยามคำว่า "วรรณกรรมและศิลปกรรม" รวมกันไว้ดังนี้

" วรรณกรรมและศิลปกรรม หมายความรวมว่าการทำขึ้นทุกชนิดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ แผนกศิลปะ จะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปร่างอย่างใดก็ตาม เช่น สมุด สมุดเล็ก และหนังสืออื่น ๆ เช่น ปาฐกถา กถาอื่น ๆ เทศนา หรือวรรณกรรมอื่น ๆ อันมีลักษณะเช่นเดียวกัน หรือนาฏกียกรรม คำว่า "วรรณกรรม" ก็ได้นิยมใช้กันแพร่หลายมาตามลำดับ และสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้จัดตั้งสำนักงานวัฒนธรรมทางวรรณกรรมรวมอยู่ในกระทรวงวัฒนธรรมแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2485 มีหน้าที่เผยแพร่วรรณกรรมและส่งเสริมศิลปะการแต่งหนังสือ เพื่อรักษาวัฒนธรรมไทยอย่างเป็นทางราชการสืบต่อจากวรรณคดีสโมสร ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6

แบ่งตามลักษณะการประพันธ์ มี 2 ประเภท คือวรรณกรรมร้อยแก้วคือ วรรณกรรมที่ไม่กำหนดบังคับคำหรือฉันทลักษณ์ เป็นความเรียงทั่ว ไป การเขียนในลักษณะนี้ยังแบ่งย่อยออกเป็น
บันเทิงคดีคือ วรรณกรรมที่มุ่งให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านเป็นประการสำคัญ และให้ข้อคิด คตินิยม หรือ สอนใจ เป็นวรรณกรรมที่ผู้ประพันธ์มีจุดประสงค์ที่ให้ความเพลิดเพลิน

บทความ คือความคิดเห็นของผู้เขียนต่อเรื่องราวที่ประสบมาหรือต่อข้อเขียนของผู้อื่น หรือต่อเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใด ในการเขียนบทความผู้เขียนมุ่งที่จะบอกถึงความเห็น ความรู้สึกนึกคิดมากกว่าที่จะถ่ายถอดความรู้เหมือนความเรียง
สารคดีท่องเที่ยว คือ การบันทึกการท่องเที่ยวและเรื่องราวต่าง ๆ
สารคดีชีวประวัติ คือ การบันทึกพฤติกรรมต่าง ๆ ของบุคลิกภาพหนึ่งมุ่งที่จะให้เห็นสภาพชีวิตประสบการณ์ของบุคลิกภาพนั้นทุกแง่ทุกมุม แต่ไม่ใช่ประวัติศาสตร์ และนิยาย
อนุทิน คือการบันทึกประจำวันที่เกิดขึ้นแก่ตนเอง จะเป็นการบันทึกความรู้สึกนึกคิดของตนเองในประจำวัน หรืออาจจะบันทึกประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน


สำหรับการเรียนรู้หรือรู้จัก ปรัชญาการเมืองและวรรณกรรมของไทย ที่นำมาเชื่อมโยงกันนั้น ในตามความคิดของผู้ทำบทความนี้ คือ ปรัชญาการเมืองเป็นสิ่งที่ได้คิดตั้งแต่สมัยยุคกรีก นั้นมาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน เมื่อมาทางมุมมองของคนไทย ก็คือ ความคิด หรือคำสอน ทฤษฎีแนวทางการปฎิบัติต่างๆเรื่อยๆมาถึงปัจจุบัน และมามองดู วรรณกรรมของไทย ก็เหมือนปรัชญาการเมือง คือ เป็นสิ่งที่มีมานาน เป็นแนวคำสอน คติสอนใจ และนำมาสู่วรรณคดี การแสดงสื่อออกมาให้ดู ได้ยิน แล้วยังมีตำราหนังสือต่างๆอีกด้วย

หลังจากเราได้เรียนรู้ ความสัมพันธ์ ในส่วนของปรัชญาการเมือง จนนำมาสู่ วรรณกรรมไทย ที่มีการเชื่อมโยง สัมพันธ์ นำไปสู่ การเป็น สายเกลียว ที่เชื่อมผูกพันจนถึงปัจจุบัน สำหรับบทความนี้ เราก็เลยนำมาสู่ ทางด้านการวิเคราะห์และเชื่อมโยงระหว่างปรัชญาการเมือง กับ วรรณกรรมไทย ในเรื่อง....

ว่าด้วยปรัชญาการเมืองและวรรณกรรมไทย เรื่อง วิถีคนกล้ากับโสกราตีส,ในยุคกรีก

วิถีคนกล้ากับโสกราตีส,ในยุคกรีก

บทความนี้ผมยกเรื่องและนำเสนอเรื่องที่เป็นวรรณกรรมของไทย ในเรื่อง วิถีคนกล้า[6]และนำมาเชื่อมโยงกับ ปรัชญาการเมือง ซึ่งมีนักคิดและนักปรัชญา ชื่อ โสกราตีส ในสมัยกรีก โดยนำแนวคิดและแนวทางปฎิบัติในสมัยกรีกมาเชื่อมโยงกับวรรณกรรมของไทย ในเรื่อง วิถีคนกล้า โดยเน้นในเรื่องวิถีชีวิต การเป็นอยู่ และ การปกครองของชนเผ่านั้น และตัวตนของวรรณกรรมนั้น

สิ่งแรกเรามารู้จักในส่วนของ วรรณกรรมไทยเรื่อง วิถีคนกล้า วิถีคนกล้าเป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปีพ.ศ. 2534กำกับโดยยุทธนา มุกดาสนิทซึ่งสร้างจากบทประพันธ์ชื่อเรื่องเดียวกันของมาลา คำจันทร์(นักกวีซีไรต์) นำแสดงโดยนรินทร์ ทองคำ,ณหทัย พิจิตรา,ธิศวรรณ สุวรรณโพธิ์,จรัล มโนเพ็ชรและพุฒิชัย (อครา) อมาตยกุลโดยมีประโยคจั่วหัวของเรื่องคือ"ทำให้คนอื่นกลัว ทำให้ไม่กลัวคนอื่น"[1]

ภาพยนตร์ได้รับรางวัลมากมายจาก 3 สถาบัน แต่กลับไม่ประสบผลสำเร็จในแง่รายได้ ถึงแม้จะเป็นภาพยนตร์ที่ลงทุนสูงที่สุดในรอบปี

วิถีคนกล้า เป็นเรื่องราวของชาวเขาเผ่าสมมติแห่งหนึ่ง ซึ่งการปกครองโดยยึดเอาผู้ชายเป็นใหญ่ ส่วนเพศหญิงเป็นเพียงแรงงานและเครื่องให้กำเนิดลูกเท่านั้น

และนี้ผมได้นำประเด็นหลักในเรื่องวิถีคนกล้ามาก็คือ ในส่วนของการปกครอง ในชนเผ่าเมื่อนำไปเชื่อมกับในสมัย โสกราตีส ในยุคกรีก นั้น แนวทางความคิดทางการเมืองในยุคกรีก[7] เมื่อเราพูดถึงยุคกรีก เราหมายถึงการดำรงวิถีชีวิตของผู้คน และทางการเมืองในสมัยกรีกโบราณซึ่งเป็นระยะเวลากว่า 2000 ปี ที่ผ่านมาแล้ว โดยที่นี้เราจะพูดถึงในยุคกรีก ในช่วงโสกราตีส และยังไปถึง เพลโต และอสริสโตเติล ก่อนที่เราจะทำความเข้าใจในส่วนของ บริบทการเมือง หรือ ปรัชญาในยุคกรีก ช่วงโสกราติส

เมื่อนำเอาวรรณกรรมไทย วิถีคนกล้า มาเชื่อมโยง กับ ปรัชญาการเมือง แนวคิดทางการเมืองในยุคกรีกภายใต้สภาพแวดล้อมของสังคมในยุคนั้นสภาพสังคมมีลักษณะแบ่งออกเป็นชนชั้น และเมื่อย้อนมองสมัยในช่วงยุคกรีก ได้แบ่งชนชั้นต่างๆ ไว้ไออกเป็น 3 ประเภทคือ

ทาส,คนต่างด้าว,พลเมือง สำหรับในเรื่องนี้ วิถีคนกล้ากับโสกราตีส,ในยุคกรีก บทความได้เน้นในเรื่องของพลเมือง ซึ่ง ในเรื่องวรรณกรรมไทย เรื่อง วิถีคนกล้า นั้น เป็นการแสดงถึงชนเผ่า การดำรงชีวิต และเผ่าพันธุ์ โดยมีการปกครองโดยหัวหน้าเผ่าโดยยึดผู้ชายเป็นใหญ่ และผู้หญิงแทบไม่มีความสำคัญ สำหรับการปกครองโดยเชื่อมในส่วนของสถานบันทางการเมือง และสภาพสังคม

ทาส เป็นชนชั้นต่ำที่สุดของสังคม ซึ่งในสมัยโบราณถือ เป็นเรื่องธรรมดาที่ขาดไม่ได้ของสังคม ทาสมีจำนวนมาก และทำหน้าที่เป็นผู้ผลิต ทำงานหนัก โยมากเป็นงานที่ใช้แรงกาย

คนต่างด้าว คนต่างแดนที่เข้าไปประกอบอาชีพในรัฐอื่น คนต่างด้าวก็ยังไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นพลเมืองของเมืองนั้น พวกนี้จึงไม่มีสิทธิต่างๆตามที่พลเมืองของรัฐนั้นๆ พึงมี เช่นการเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่ในสภาเมือง หรือสิทธิแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สำคัญๆ ต่างๆ

พลเมือง พวกพลเมืองถือว่าเป็นชนชั้นสูงสุดของสังคมในทางการเมืองถือว่าเป็นบุคคล จึงมีสิทธิที่จะใช้ชีวิตทางการเมือง มีสิทธิในการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง ในแง่นี้พวกกรีกโบราณที่เป็นพลเมืองเท่านั้น จึงสามารถเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในสภาเมือง ได้

ในยุคกรีกโบราณนี้ มีความคิดว่า บุคคลในสังคมต่างกัน จึงมีหน้าที่ต่อสังคมต่างกันไปด้วย คนที่เกิดมาเป็นทาสก็ต้องทำหน้าที่แบบทาสเกิดมาเป็นพลเมืองก็ทำหน้าที่ทางการเมือง สังคมกรีกจึงอยู่บนพื้นฐานของชนชั้น การได้เป็นพลเมืองจึงถือว่าเป็นเกียรติของชาวเอเธนส์

ในนครรัฐเอเธนส์นั้นพลเมืองทุกคน (เฉพาะผู้ชายที่มีอายุ 20 ปี) ขึ้นไปถึงจะเป็นพลเมือง ผู้หญิงไม่ใช่พลเมือง

เมื่อนำมาสู่การปกครอง สังคม การเมือง และปรัชญา ในยุคกรีก เชื่อมกับ เรื่องวิถีคนกล้า เป็นชนเผ่ามีการปกครอง มีผู้นำเขามีอุดมการณ์อย่างไรและปรัชญาอย่างไรในส่วนตัวของผู้นำ ในเพศชายนี้ ชนเผ่านี้ได้ให้ความสำคัญในเรื่อง ความชำนาญ การเชี่ยวชาญ มีทักษะในอาชีพ และการไปสู่แสวงหาพลัง ความสุข ส่วนผู้หญิง ก็จะทำหน้าที่ทำงานทักษะอาชีพไป และในเรื่องนี้เมื่อเชื่อมกับบริบทในยุคกรีก ก็มีการเลี้ยงสัตว์ มีเศรษฐกิจแบบในชนเผ่าการหากิน ถือว่าเป็นสังคมเล็กๆ และมีการดำรงชีพ แต่ มีชนชั้นระหว่าง ชาย กับหญิง โดยชายเป็นใหญ่ หญิงบทบาทไม่ค่อยมีในด้านการปกครองหรือทำสิ่งใด

มุมมองว่าด้วย ความเป็นหญิงในสังคมไทย บริบทในปัจจุบัน

สังคมไทยคาดหวังอย่างไรกับผู้หญิง[8]

ในเรื่องข้อจำกัดของความเป็นหญิง จากการศึกษาพบว่าสังคมไทยยังคงมีค่านิยมไทยต่อสตรีในลักษณะความไม่เสมอภาค เช่น ผู้หญิงยังคงถูกคุกคามทางเพศจากผู้ชาย ผู้หญิงเป็นวัตถุทางเพศ ผู้หญิงเป็นเพศที่ใช้อารมณ์ ผู้หญิงที่ไม่ได้แต่งงานมักถูกเรียกว่า สาวทึนทึก

ในเรื่องพฤติกรรมทางเพศของผู้หญิง ค่านิยมเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศของผู้หญิงในลักษณะค่านิยมเชิงซ้อน เช่น การประณามภรรยาที่นอกใจสามีมากกว่าสามีนอกใจภรรยา ลูกผู้หญิงควรหวงแหนพรหมจรรย์ยิ่งชีวิต ผู้หญิงที่ไม่ได้แต่งงานและตั้งครรภ์จะถูกประณามว่า “ใจง่าย” และส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยว่าการที่ผู้หญิงเริ่มความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับผู้ชายก่อนเป็นเรื่องไม่เสียหาย

ความเป็นมาของค่านิยมของสังคมไทยต่อผู้หญิง[9]

มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวชุมชน และสังคม สถาบันครอบครัวถือว่าเป็นสถาบันที่มีความสำคัญมากที่สุดต่อชีวิตมนุษย์ วัฎจักรชีวิตครอบครัวนี้เป็นไปตามลักษณะสภาพสังคม ค่านิยม วัฒนธรรมและประเพณีของชนชาติต่างๆ ในสังคมไทยก็เช่นเดียวกัน อิทธิพล ความคิด ความเชื่อ และทัศนะต่างๆ

ในส่วนของค่านิยมเชิงซ้อนที่กล่าวไปก็จะแตกต่างกันออกไป เช่น การที่ผู้ชายประพฤติปฎิบัติอย่างหนึ่งสังคมไม่ตำนิ ถ้าผู้หญิงประพฤติปฎิบัติในสิ่งเดียวกันสังคมจะตำนิ เช่น การนอกใจคู่สมรส การมีความสัมพันธ์ทางเพศก่อนสมรส เป็นต้น การให้ความสำคัญกับเพศชายในสังคมไทยมีมานานแล้ว ไม่ว่าจะปรากฏอยู่ในวรรณกรรม ในคำสั่งสอน สุภาษิต กาพย์ กลอนต่างๆ เช่น “ผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง” ซึ่งแสดงถึงสถานภาพของผู้หญิงที่เป็นรองผู้ชายและสุภาษิตที่ว่า “ชายข้าวเปลือก หญิงข้าวสาร” ก็เช่นเดียวกันในวรรณคดีไทยให้ความสำคัญกับเพศชายในการนอกใจภรรยา เช่น ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี เป็นต้น

บทบาทและสิทธิสตรีตามสถานภาพในด้านต่างๆทำให้มองเห็นว่าคตินิยมของสังคมมีส่วนในการกำหนดบทบาทและสิทธิอย่างเห็นได้ชัด

ด้านครอบครัว สตรีจะมีฐานะเป็นมารดา ภรรยา และธิดาในฐานะภรรยา สตรีจะเคารพสามี ยินยอมให้สามีเป็นผู้นำ แต่ถ้าสามีทำสิ่งที่ไม่เหมาะสม สังคมจะเปิดโอกาสให้สตรีท้วงติง ชี้แนะ เป็นคู่คิดของสามีในฐานะธิดาก็มีสิทธิเป็นคู่คิดของบิดาได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสตรีมีสิทธิและบทบาททัดทียมผู้ชายสตรีได้รับการยกย่องและสามารถแสดงความคิดเห็นของตนได้

ด้านสังคม จะมีความแตกต่างกันระหว่างสตรีสูงศักดิ์และสตรีสามัญชน สตรีสูงศักดิ์จะมีอิสระเมื่อได้ผ่านชีวิตการแต่งงาน

ด้านการศึกษา สตรีสูงศักดิ์จะมีมากกว่าสามัญชนและวิชาสังคมแวดล้อมเปิดโอกาสให้ศึกษานั้นสตรีล้านนาได้สิทธิคือ เวทมนตร์คาถาซึ่งส่งผลให้สตรีมีบทบาทและสิทธิในด้านการเมืองในฐานะผู้นำ

สำหรับ เพศ หญิง หรือ ความเป็นหญิง นั้น เมื่อนำมาเชื่อมบริบท และสถานะเพศในปัจจุบันนั้น เมื่อมีสิทธิและเสรีภาพ ในยุคปัจจุบัน ผู้หญิงไม่ต่างกับผู้ชาย ทุกคนเท่าเทียมกัน และนำไปสู่ การเป็นผู้นำ และในเรื่องการทำงานผู้หญิงก็ทำงานเทียบเท่ากับผู้ชาย แต่ในบางเรื่องนั้นผู้ชายก็คงทำงานหนักและผู้หญิงก็ทำงานแบบเบาๆ ไม่หนักมาก เหตุนี้ก็เพราะ เราก็ดูสภาพเพศด้วยความเป็นหญิงบางครั้งก็อ่อนแอเหมือนกัน

วรรณกรรมไทย ในเรื่องวิถีคนกล้า ผมได้ยกประเด็นใน วรรณกรรมไทย วิถีคนกล้า นี้สิ่งหลัก ก็คือ การปกครองของชนเผ่า ซึ่งยึดถือ ผู้ชายเป็นใหญ่ เพื่อนำมาเชื่อมโยงกับ ปรัชญาการเมือง ในยุคกรีก ในเรื่อง วิถีคนกล้า กับ โสกราติส เพื่อนำมาดูว่า วรรณกรรมไทยเรื่องนี้ มีความเหมือนหรือต่างอย่างไรกับยุคสมัยนั้น

ความสอดคล้อง บริบทสังคมการเมืองไทย

ปรัชญาการเมืองและวรรณกรรมไทย ในส่วนตัวของผู้ทำบทความนี้ถือว่าสถานการณ์บริบทสังคมการเมืองไทยนั้น มีความสำคัญอย่างมาก ในทางการเมืองไทยในปัจจุบัน ในส่วนปรัชญาการเมืองถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นปรัชญาตะวันตกหรือปรัชญาตะวันออก แต่ในบริบทสังคมไทยในปัจจุบันนี้ปรัชญาการเมืองหรือความคิดทางการเมืองนั้นได้มีอิทธิพลปรัชญาตะวันออก เข้ามามากมายในการเมืองไทย อันได้แก่จีน แนวคิดปรัชญาขงจื้อและทางพระพุทธศาสนานิกายต่างๆอีกด้วย

และเมื่อมองด้านวรรณกรรมไทย ถือว่าเป็นอีกหนึ่งที่มีความสำคัญต่อความสอดคล้องกับบริบทสังคมการเมืองไทยในปัจจุบันเพราะเนื่องด้วยวรรณกรรมไทยเป็นการแสดงถึงประวัติศาสตร์ และแนวคิด คำสอน สอดแทรกเชิงปรัชญาการเมืองไทยและสอดแทรกในการแสดงหรือวรรณคดี วรรณกรรมไทยยกตัวอย่างในหลายๆเรื่องไม่ว่าจะเป็นในเรื่อง การแสดงเอกลักษณ์ วิธีการดำรงชีวิต การปกครองและการเมือง ชาติพันธุ์เป็นต้น

บทสรุปสุดท้ายกับบทความ

สายเกลียวปรัชญาการเมืองและวรรณกรรมไทย (วิถีคนกล้า กับ โสกราตีส,ในยุคกรีก)

สำหรับ บทความนี้ ผู้ทำ ได้นำเรื่อง ปรัชญาการเมืองและวรรณกรรมไทยนั้น นำประเด็นความหมายของปรัชญาการเมืองและวรรณกรรมไทย เพื่ออยากให้ผู้อ่านได้รู้ว่า ปรัชญาการเมือง และวรรณกรรมไทย มีส่วนสำคัญและเชื่อมโยงกันอย่างไร ตั้งแต่อดีตและถึงปัจจุบันนี้ เป็นลักษณะเช่นใด โดยปรัชญาการเมืองได้มีนักวิชาการคนไทย ได้ให้ความสำคัญ และย้อนไปถึงในสมัยจีน ก็มี นักปรัชญา ขงจื้อ ได้ให้ความสำคัญอย่างไรต่อปรัชญาการเมือง ซึ่งทั้งหมดก็นำมาสู่ การทำเรื่อง วิถีคนกล้า กับ โสกราตีส,ในยุคกรีก นำสังคมการเมือง และ ปรัชญาในยุคกรีกมา มาเชื่อมกับ เรื่องวรรณกรรมไทย.ในส่วนของเรื่องนี้ ได้นำเอา หลักสำคัญของวรรณกรรมไทยเรื่องนี้คือ การปกครอง และชนชั้น ซึ่งทุกท่านอาจจะเห็นได้ชัดถ้าย้อนไปในสมัยยุคกรีกในช่วงโสกราติส ในเรื่องของพลเมือง ผู้ชายมีอำนาจและผู้หญิงไม่มีอำนาจเลย และนำมาสู่การเชื่อมโยงมุมมองว่าด้วย ความเป็นหญิงในสังคมไทย บริบทในปัจจุบันและสำหรับ เพศ หญิง หรือ ความเป็นหญิง เพื่อให้ครอบคลุมประเด็นต่างๆในเรื่องชนชั้น เพศอีกด้วย เพราะเกิดจากการไร้เสรีภาพ และนำมาสู่บริบทสังคมไทยปัจจุบันในเรื่อง ปรัชญาการเมืองและวรรณกรรมไทยเรื่องนี้ ซึ่งผิดต่างจาก ก่อนอย่างมาก ปัจจุบันผู้หญิงมีสิทธิและเสรีภาพเท่ากับชาย และนำไปสู่การเป็นผู้นำอีกด้วย และนำมาวิเคราะห์ ผลกระทบ มุมมอง

ดังนั้น ในเรื่องของปรัชญาและวรรณกรรมของไทยสามารถนำมาเชื่อมโยงกันได้ ในหลายหลายมุมมอง ความคิด ในด้านต่างๆอีกด้วย

บรรณานุกรมบทความ

ประเภทสื่อออนไลน์

- มุมมองใหม่ประวัติศาสตร์วรรณกรรมไทย วรรณกรรมไทยกับกึ่งศตวรรษที่หายไป

. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2556 , จาก http://blog.eduzones.com/sippa/681

-ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (10 พฤษภาคม 2554). ยุคเปลี่ยนผ่านวรรณกรรมไทย วรรณกรรมไทยยุคเปลี่ยนผ่าน. Unrest in Bangkok.

สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2556 , จาก http://thaiaudio.wordpress.com/tag/นักปรัชญา/

-กิตติพัฒน์ สุวรรณสิริเมธี.(2550) เอกสารประกอบวิชาปรัชญาการเมือง. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2556 ,

ปรีชา ช้างขวัญยืน,ธรรมรัฐธรรมราชา,กรุงเทพฯ;,โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,๒๕๔๒. พระมหาบุญเรือง ปญฺญาวชิโร, มนุษย์นิยมในปรัชญาขงจื้อ,กรุงเทพฯ :,ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๐. พระมหาอุทัย ญาณธโร, พุทธวิถีแห่งสังคม, กรุงเทพฯ :, ธรรมสาร, ๒๕๓๘.

เสน่ห์ จามริก, ปรัชญาและทฤษฎีการเมือง, กรุงเทพฯ:,

โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, ๒๕๔๒.

เสถียร พันธรังษี, จาณักยะ ปราชญ์ใหญ่แห่งชมพูทวีป, กรุงเทพฯ :, สื่อการค้า, ๒๕๒๕.

อมร โสภณวิเชษวงศ์, ความคิดทางการเมืองมหาตมะ คานธี, กรุงเทพฯ :, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , ๒๕๓๐.

(ที่มา: วิทยาเขตนครราชสีมา)

จากhttp://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=545&articlegroup_id=129

-ประชา วงค์ศรีดา. (28 เมษายน 2553). นักปรัชญาการเมืองแนวประชาธิปไตย.

หมวดหมู่ : สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมนักปรัชญาการเมืองแนวประชาธิปไตย.ก้าวทุกนาทีสหวิชา.com สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 25562556 ,

จากhttp://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2221

-วรรณคดีและวรรณกรรม. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2556 ,

จากhttp://www.eduzones.com/knowledge-2-1-1921.html

-ยุทธนา มุกดาสนิท.(2534). สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2556

จาก http://th.wikipedia.org/wiki/วิถีคนกล้า

ประเภทหนังสือ

-สมบัติ จันทรวงศ์.(มิถุนายน 2550).ปรัชญาการเมืองเบื้องต้น:บทวิเคราะห์โสกราตีส(พิมพ์ครั้งที่ 2 ).กรุงเทพฯ.โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

-พื้น ดอกบัว.(พฤษภาคม 2544).ปวงปรัชญากรีก (พิมพ์ครั้งที่2).กรุงเทพฯ.สำนักพิมพ์ศยาม

-ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิต (พ.ศ.2552) .รัฐศาสตร์/ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิต (พิมพ์ครั้งที่6).กรุงเทพฯ.สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

-วันทะนีย์ วาสิกะสิน (ตุลาคม 2541).สังคมไทยคาดหวังอย่างไรกับผู้หญิง/วันทะนีย์ วาสิกะสิน และ สุนีย์ เหมะประสิทธิ์.(พิมพ์ครั้งที่1).กรุงเทพฯ.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์




[1] นิสิตระดับชั้นปีที่ 2 สาขารัฐศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

[2] กิตติพัฒน์ สุวรรณสิริเมธี. เอกสารประกอบวิชาปรัชญาการเมือง. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2556

[3] สมบัติ จันทรวงศ์.ปรัชญาการเมืองเบื้องต้น:บทวิเคราะห์โสกราตี.(กรุงเทพฯ.โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.มิถุนายน 2550)

หน้า 1 (สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2556 )

[4] กิตติพัฒน์ สุวรรณสิริเมธี.เอกสารประกอบวิชาปรัชญาการเมือง. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2556

[5]http://www.eduzones.com/knowledge-2-1-1921.html (สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2556)

[6]http://th.wikipedia.org/wiki/วิถีคนกล้า(สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2556)

[7] ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิต.รัฐศาสตร์.(กรุงเทพฯ.สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .2552)

(สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2556)

[8] วันทะนีย์ วาสิกะสิน, สังคมไทยคาดหวังอย่างไรกับผู้หญิง.(กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,2541)

[9] วันทะนีย์ วาสิกะสิน, เพิ่งอ้าง,บทที่1 หน้า 3

บรรณานุกรมบทความ

ประเภทสื่อออนไลน

- มุมมองใหม่ประวัติศาสตร์วรรณกรรมไทย วรรณกรรมไทยกับกึ่งศตวรรษที่หายไป

. สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2556 , จาก http://blog.eduzones.com/sippa/681

-ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. (10 พฤษภาคม 2554). ยุคเปลี่ยนผ่านวรรณกรรมไทย วรรณกรรมไทยยุคเปลี่ยนผ่าน. Unrest in Bangkok.

สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2556 , จาก http://thaiaudio.wordpress.com/tag/นักปรัชญา/

-กิตติพัฒน์ สุวรรณสิริเมธี.(2550) เอกสารประกอบวิชาปรัชญาการเมือง. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2556 ,

ปรีชา ช้างขวัญยืน,ธรรมรัฐธรรมราชา,กรุงเทพฯ;,โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,๒๕๔๒. พระมหาบุญเรือง ปญฺญาวชิโร, มนุษย์นิยมในปรัชญาขงจื้อ,กรุงเทพฯ :,ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๐. พระมหาอุทัย ญาณธโร, พุทธวิถีแห่งสังคม, กรุงเทพฯ :, ธรรมสาร, ๒๕๓๘.

เสน่ห์ จามริก, ปรัชญาและทฤษฎีการเมือง, กรุงเทพฯ:,

โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, ๒๕๔๒.

เสถียร พันธรังษี, จาณักยะ ปราชญ์ใหญ่แห่งชมพูทวีป, กรุงเทพฯ :, สื่อการค้า, ๒๕๒๕.

อมร โสภณวิเชษวงศ์, ความคิดทางการเมืองมหาตมะ คานธี, กรุงเทพฯ :, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , ๒๕๓๐.

(ที่มา: วิทยาเขตนครราชสีมา)

จากhttp://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=545&articlegroup_id=129

-ประชา วงค์ศรีดา. (28 เมษายน 2553). นักปรัชญาการเมืองแนวประชาธิปไตย.

หมวดหมู่ : สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมนักปรัชญาการเมืองแนวประชาธิปไตย.ก้าวทุกนาทีสหวิชา.com สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 25562556 ,

จากhttp://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2221

-วรรณคดีและวรรณกรรม. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2556 ,

จากhttp://www.eduzones.com/knowledge-2-1-1921.html

-ยุทธนา มุกดาสนิท.(2534). สืบค้นเมื่อ 13 กรกฎาคม 2556

จาก http://th.wikipedia.org/wiki/วิถีคนกล้า

ประเภทหนังสือ

-สมบัติ จันทรวงศ์.(มิถุนายน 2550).ปรัชญาการเมืองเบื้องต้น:บทวิเคราะห์โสกราตีส(พิมพ์ครั้งที่ 2 ).กรุงเทพฯ.โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

-พื้น ดอกบัว.(พฤษภาคม 2544).ปวงปรัชญากรีก (พิมพ์ครั้งที่2).กรุงเทพฯ.สำนักพิมพ์ศยาม

-ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิต (พ.ศ.2552) .รัฐศาสตร์/ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิต (พิมพ์ครั้งที่6).กรุงเทพฯ.สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

-วันทะนีย์ วาสิกะสิน (ตุลาคม 2541).สังคมไทยคาดหวังอย่างไรกับผู้หญิง/วันทะนีย์ วาสิกะสิน และ สุนีย์ เหมะประสิทธิ์.(พิมพ์ครั้งที่1).กรุงเทพฯ.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ (Tags): #ปรัชญาการเมือง
หมายเลขบันทึก: 570204เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2014 23:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2014 23:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท