deawche
เดี่ยวเช คมสัน deawche หน่อคำ

เมืองแพร่บนแผ่นฟิล์ม โดย ชินวร ชมภูพันธ์


 สวัสดีครับ หนัง ละครนับเป็นความบันเทิงราคาถูกที่ตรึง พ่อบ้านแม่บ้าน ลูกเล็กเด็กแดง ให้เฝ้าหน้าจอโทรทัศน์ทุกวัน ปีที่ผ่านมาเมืองแพร่เราได้รับอานิสงส์จากละคร “ปมไหม” ทางช่องสามไปอย่างไม่ตั้งใจ โดยเฉพาะบ้านวงศ์บุรี และคุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ สถานที่ถ่ายทำหลัก แต่ก็ใช่ว่าจะเพิ่งมีหนังมีละครเข้ามาถ่ายทำในเมืองแพร่ จริงๆในอดีตก็มีกองถ่ายทั้งไทย และเทศเข้ามาอยู่บ้างไม่น้อย เพียงแต่จะซาๆไปเมื่อสิบกว่าปีหลังมานี้เอง ลองถามคนที่มีอายุเลยสี่สิบสักหน่อยดูก็ได้

มองเมืองแพร่ฉบับนี้จึงขอพาย้อนเวลาไปสักหลายสิบปี ในยุคที่ประเทศไทยยังไม่มีปรากฏในแผนที่โลกมีเพียงประเทศสยามอันเป็นนามเดิมที่เรียกดินแดนแห่งนี้ ในยุคที่ ปืน รถ คน ยังไม่มีอิทธิพลเหนือป่า เมื่อประมาณปี พุทธศักราช 2468 (ค.ศ. 1925) ภาพยนตร์ ซึ่งถือเป็นความบันเทิงที่ล้ำสมัยที่สุดแต่ยังไม่มีเสียงเงียบและยังเป็นแค่ฟิล์มขาด-ดำเท่านั้น มีคณะผู้สร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกัน ชื่อมาเรียน ซี คูเปอร์ และ เออร์เนส บี โชคแส็ค จากบริษัท พาราเมาท์ เข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง “ช้าง” ( CHANG ) นับเป็นภาพยนตร์สารคดีเรื่องแรกที่เข้ามาถ่ายทำในประเทศไทย โดย กำกับและถ่ายทำโดย ใช้เวลาถ่ายทำทั้งสิ้นปีครึ่ง สิ้นเงินประมาณ 2 แสนบาทไทยขณะนั้น ใช้เวลาถ่ายทำนานถึงหนึ่งปีครึ่ง ที่จังหวัดน่านแพร่ พัทลุง สงขลา ตรัง สุราษฎร์ธานี ชุมพร มีการนำช้างมาเข้าฉากถึง 400 เชือก ได้รับการสนับสนุนจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และนายเซียวซองอ๊วน สีบุญเรือน

ภาพยนตร์เรื่อง ช้าง ถ่ายทำแล้วเสร็จออกฉายเมื่อ พ.ศ. 2470 ที่โรงภาพยนตร์ในนครนิวยอร์ก หลังจากออกฉายที่สหรัฐอเมริกา ก็ได้รับความสนใจเป็นอันมาก ได้รับการเสนอชื่อเข้าประกวดรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 1 ประจำปี ค.ศ. 1927 ในสาขา ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม "การผลิตที่เป็นเอกลักษณ์ และมีศิลปะ" (en:Academy Award for Unique and Artistic Production) ฉายครั้งแรกในประเทศไทย เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2471ผู้กำกับ มีเรียน ซี. คูเปอร์ และ ช่างภาพ เออร์เนสต์ สโคแซค ต่อมาได้ร่วมงานกันอีกในการสร้างภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก คิงคอง (1933)ในเวลาที่ภาพยนตร์เรื่อง “ ช้าง ” ออกฉายในประเทศสยามนั้น คนไทยได้เริ่มมีสร้างภาพยนตร์ที่เน้นไปด้านบันเทิงและนำออกฉายแล้วหลายเรื่อง ผู้คนจึงไม่ค่อยตื่นเต้นกับภาพยนตร์เรื่อง ช้าง กันเท่าที่ควร นอกจากนี้ได้เคยนำออกฉายในช่วงวันหยุดเทศกาลทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เมื่อประมาณสักสามสิบปีก่อนโดยมีการพากษ์บรรยายด้วย และปัจจุบันนี้ได้มีเวอร์ชั่นฉบับดีวีดีออกมาจำหน่ายแล้ว โดยให้วงดนตรีไทยคณะฟองน้ำที่มีหัวหน้าวงคือ อาจารย์บรูซ แกสตัน (ชื่อในขณะนั้น ปัจจุบันท่านได้ใช้ชื่อภาษาไทยว่า นายบุรุษ เกศพัน)ทำดนตรีประกอบให้ อาจจะขัดอรรถรสเดิมไปบ้างทั้งที่ของเดิมในยุคนั้นคงจะมีดนตรีบรรเลงหน้าม่านกันสดๆ แต่จะเป็นเพลงแนวใดนั้นสุดจะหาข้อมูลมาบรรยายให้อ่านได้ในเวลานี้ แม้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะต่อท้ายว่าเป็นสารคดีแต่ก็ไม่ได้เป็นเนื้อหาสารคดีที่ถ่ายทำกันอย่างปัจจุบัน แต่มีโครงเรื่องว่าเป็นชีวิตของครอบครัวชาวไทยในยุคหนึ่งที่ยังไม่มีความเจริญมากนัก ดำรงชีวิตอย่างพึ่งพาอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก มีฉากที่ตั้งใจให้ออกมาตลกขบขัน และตื่นเต้น นอกจากนี้ในเนื้อเรื่องจะเห็นการดำเนินชีวิตประจำวันจริงๆของคนไทยที่หาดูที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว มีฉากการวางกับดักเสือซึ่งในเรื่องนี้มีการฆ่าเสือจริงๆ เพราะในยุคนั้นยังไม่มีกฎหมายควบคุม เป็นที่น่าสังเกตว่าชื่อของภาพยนตร์ใช้ทับศัพท์ภาษาไทยไม่ได้ใช้ชื่อเป็นคำภาษาอังกฤษก็นับว่าฝรั่งเขาก็ช่างเข้าใจตั้งชื่อให้เป็นชื่อเฉพาะจริงๆ แม้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้จะไม่ใช่ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรก แต่ยังได้รับการยกย่องว่ามีคุณค่าในแง่ที่นำเสนอมาข้างต้น สำหรับคนเมืองแพร่แล้วควรที่จะบันทึกเอาไว้ว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่เข้ามาถ่ายทำในบ้านเราและได้นำออกไปฉายทั่วโลกอีกด้วย

ที่มาของข้อมูลประกอบการเขียนและภาพประกอบ : http://th.wikipedia.org , http://www.moma.org ,http://www.oknation.net/blog/moviehall/2007/07/03/entry-1 ,http://twitchfilm.com , http://home.comcast.net , http://www.imdb.com

หมายเลขบันทึก: 569921เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2014 16:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2014 16:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

งานเขียนนี้พี่ชินวร   ชมภูพันธ์ เขียนให้ลงนิตรสารออนแพร่ ซึ่งได้หยุดทำไปแล้ว แต่อยากเก็บไว้ให้หลายๆคนได้อ่านกันครับ แล้วถ้าเจออีกหลายๆบทความจะลงให้อ่านกันครับ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีดีครับ อยากดูภาพเมือแพร่สมัยก่อนจังเลย

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท