สร้างโอกาสการเรียนรู้ สร้างเยาวชนคุณภาพ สร้างสังคมคุณภาพ
มูลนิธิสยามกัมมาจล สร้างโอกาสการเรียนรู้ สร้างเยาวชนคุณภาพ สร้างสังคมคุณภาพ มูลนิธิสยามกัมมาจล

​แค่ ลงมือทำ “Active Citizen” ก็เกิด - การสร้างสำนึกพลเมือง สไตล์ อ.ปริญญา


มูลนิธิสยามกัมมาจลธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการในประเด็น “การเรียนรู้เพื่อสร้างสำนึกพลเมือง”เมื่อวันที่6พฤษภาคม2557 เวลา13.30 – 16.50น. ณ ห้องSapphire205ที่ผ่านมา ภายใต้การประชุมวิชาการ“อภิวัฒน์การเรียนรู้...สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย” โดยได้ร่วมเป็นภาคีกับสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเครือข่ายเพื่อนปฏิรูป โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือของภาคีหุ้นส่วนสร้างสังคมการเรียนรู้เพื่อคนทั้งมวล(Partnership in Creating a Learning Society for All) เมื่อวันที่ 6-8พฤษภาคม2557ณ อาคารอิมแพคฟอรั่มเมืองทองธานี มีผู้สนใจในวงการศึกษา เอ็นจีโอ เยาวชน ท้องถิ่น สื่อมวลชน เข้าร่วมงานจำนวนหลายพันคน

ซ้ายไปขวา : คุณณาตยา คุณปิยาภรณ์ คุณพรรณิภา คุณทรงพล และคุณปริญญา
(ซ้ายไปขวา : คุณณาตยา คุณปิยาภรณ์ คุณพรรณิภา คุณทรงพล และคุณปริญญา)

        เพราะ “พลเมือง” คือหัวใจสำคัญในการพัฒนาประเทศ และ “การสร้างสำนึกพลเมือง” ที่ดี ไม่นิ่งดูดายกับประเทศชาติบ้านเมือง จึงมีความสำคัญยิ่งในการ “สร้าง” แต่วิธีใดที่จะทำได้และเห็นผลสัมฤทธิ์จริงๆ ไม่ใช่เพียงแค่โมเดลบนแผ่นกระดาษ วันนี้ “มูลนิธิสยามกัมมาจล” ได้มีคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ จาก“อ.ปริญญา,อ.ทรงพล,คุณพรรณิภา” 3 ผู้ขับเคลื่อนการสร้างสำนึกพลเมืองรุ่นใหม่ ที่เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม จากเวทีเสวนาหัวข้อเรื่อง “การเรียนรู้เพื่อสร้างสำนึกพลเมือง”

       มูลนิธิสยามกัมมาจลธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการในประเด็น “การเรียนรู้เพื่อสร้างสำนึกพลเมือง”เมื่อวันที่6พฤษภาคม2557 เวลา13.30 – 16.50น. ณ ห้องSapphire205ที่ผ่านมา ภายใต้การประชุมวิชาการ“อภิวัฒน์การเรียนรู้...สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย” โดยได้ร่วมเป็นภาคีกับสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเครือข่ายเพื่อนปฏิรูป โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือของภาคีหุ้นส่วนสร้างสังคมการเรียนรู้เพื่อคนทั้งมวล(Partnership in Creating a Learning Society for All) เมื่อวันที่ 6-8พฤษภาคม2557ณ อาคารอิมแพคฟอรั่มเมืองทองธานี มีผู้สนใจในวงการศึกษา เอ็นจีโอ เยาวชน ท้องถิ่น สื่อมวลชน เข้าร่วมงานจำนวนหลายพันคน

       สำหรับการประชุมวิชาการในประเด็น“การเรียนรู้เพื่อสร้างสำนึกพลเมือง” มีวิทยากร 4 ท่านได้แก่ คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล นักปฏิบัติการผู้ขับเคลื่อนการสร้างสำนึกพลเมืองรุ่นใหม่ ในภาคส่วนสถาบันการศึกษา ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษาและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในพื้นที่ระดับจังหวัด คุณพรรณิภา โสตถิพันธุ์ ผู้อำนวยการสงขลาฟอรั่ม และในระดับตำบล คุณทรงพล เจตนาวณิชย์ ผอ.สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) มานำเสนอบทเรียนความสำเร็จ และเปิดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน โดยมีคุณณาตยา แวววีรคุปต์ ทำหน้าที่ดำเนินรายการ

       ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ได้นำวิชาพลเมือง หลักสูตร TU 100 นำไปใช้เป็นวิชาบังคับระดับชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เกิดจากการริเริ่มและลงมือทำจนเห็นผลจริงที่เกิดขึ้นกับนักศึกษามาแล้ว จนกลายมาเป็นหลักสูตรที่เป็นประจักษ์พยานความสำเร็จอย่างที่เห็น ในวันนี้ได้ ผศ.ดร.ปริญญา ได้สาธิตกระบวนการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียน และมีความตอนหนึ่งเกี่ยวกับพลเมืองและประชาธิปไตยที่กำลังร้อนแรงว่า “การเป็นพลเมือง คือการที่เราเริ่มที่จะทำ ไม่ใช่พูดอย่างเดียวแต่ไม่ทำ เราเอาแต่เรียกร้องให้ผู้มีอำนาจมาช่วยเหลือเรา เราไม่เคยเริ่มต้นทำที่ตัวเรา เราสร้างห้องเรียนของเราให้เป็นการลงมือทำ ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไม่ได้ถ้าเราไม่ลงมือทำ ปัญหาเรื่องสำนึกพลเมือง มันคือความคิด การสร้างความคิดมันเกิดจากการ ให้คำถาม สร้างกิจกรรมเรียนรู้ สร้างให้คิดได้ด้วยตนเอง การเป็น Active Citizen “ประชาธิปไตย” บทเรียนจากสงครามการเมืองของอเมริกา ทำให้สูญเสียคนมากมาย คนที่ยอมตายมีจิตอาสาทั้งคู่ พลเมืองอาจทำให้เกิดสงครามการเมืองเพราะจิตอาสา เพราะเราไม่เข้าใจคำว่า “ประชาธิปไตย” ทุกวันนี้ฟุตบอลแข่งกันมีแพ้ชนะ เพราะมีกติกา ประชาธิปไตยไม่ประสบผลสำเร็จในประเทศไทย เพราะประชาธิปไตยไม่เหมาะกับประเทศไทย เพราะคนไทยไม่เคารพกฎกติกา ประชาธิปไตยในโลกนี้มีเพียง 30 % ที่ประสบความสำเร็จ ปัญหาที่ประชาธิปไตยล้มเหลวคืออะไร ประชาธิปไตยคือสิ่งที่ฝืนธรรมชาติ จริงๆ แล้ว กฎธรรมชาติคือการเห็นแก่ตัว ปลาใหญ่กินปลาเล็ก แต่ประชาธิปไตยสอนให้ไม่เห็นแก่ตัว ประชาธิปไตยจึงไม่สำเร็จโดยตัวองมันเอง เราทุกคนเคยให้สินบน โกงกิน ทั้งนั้น ปัญหาคอรัปชั่นคือภาพสะท้อนของประชาชน ประเทศที่ประชาธิปไตยดี ทำให้มีคอรัปชั่นน้อย ประเทศที่คอรัปชั่นน้อย ประชาธิปไตยจึงดี อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผล”

       คุณพรรณิภา โสตถิพันธุ์ ผู้อำนวยการสงขลาฟอรั่ม นำตัวอย่างความสำเร็จจากโครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลา ในการสร้าง Active Citizen ในเมืองสงขลา ด้วยการใช้ Project Based เป็นเครื่องมือสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้จากเรื่องจริง ชีวิตจริงให้เยาวชนมีทักษะชีวิตและมีจิตสำนึกความเป็นพลเมืองได้ “เราเลยคิดว่าน่าจะเปิดพื้นที่ เปิดเวทีเพื่อเด็กไปเลย เปิดพื้นที่ให้เค้าได้ทำงานเค้าจะได้มีเวทีที่เค้าแสดงออกมาได้ เด็กที่อยู่กับทางสงขลาฟอรั่มเค้าไม่ได้มีสังกัดนะ เด็กบางคนที่มีมหาวิทยาลัยทำงานกับมหาวิทยาลัยเวลามีการขับเคลื่อนก็มักจะไปหาครูก่อนเสมอ แต่เด็กๆ ที่ทำงานกับสงขลาฟอรั่มมีประสบการณ์จากจากเรื่องจริง สถานที่จริง กับบ้านเกิดตัวเองเลย ปีที่แล้ว 22 โครงการ ปีนี้อีก 25 โครงการ มื่อเด็กเข้ามาพัฒนาโครงการ โครงสร้าง พื้นฐานที่สุดคือ เด็กต้องพูดคุย ดูตัวเอง เกี่ยวกับทักษะชีวิต ระบบคิดของตนเอง การจัดการทางอารมณ์ เพราะวัยรุ่น ต้องมีการจัดการด้านอารมณ์ เรื่องของการสื่อสาร เราต้องให้เค้าเรียนรู้เพื่อสร้าปฎิสัมพันธ์ต่อผู้อื่น เรื่องสุดท้ายคือ จิตใจเพื่อส่วนรวม เมื่อเกิดโครงการ ควรจะขยายเครือข่ายเพิ่มขึ้น เด็กจะได้เรียนรู้ศักยภาพเหล่านี้ เช่น โครงการห้องสมุดคาเฟ่เคลื่อนที่พี่สอนน้อง เนื่องจากห้องสมุดในโรงเรียนไม่น่าสนใจ เลยอยากทำให้ห้องสมุดนี้ดูมีความสุข โดยการเอาหนังสือที่น่าสนใจใส่ตระกร้า ไปหาน้องตามแต่ละสถานี่ต่างๆ เด็กกลุ่มนี้รวมตัวกัน 5 คน ปัจจุบันมีสำนักพิมพ์บริจาคหนังสือจำนวนมากมาให้น้อง โครงการนี้ที่ประสบความสำเร็จเพราะคนกับคนช่วยกันฟูมฟักดูแล ที่นี่ที่ชื่นชมคือ เด็กเติบโตขึ้น มีความรับผิดชอบมากขึ้น บางโครงการอาจจะไม่ประสบความสำเร็จ เค้าแทบจะรันโครงการเค้าไม่ได้เลย แต่ตัวเด็กเติบโตขึ้น เค้าได้เรียนรู้ว่าจะทำอะไรกับชุมชนต้องลงไปเรียนรู้ชุมชนนั้นๆ เด็กมองเห็นอะไรหลายๆอย่าง ได้เรียนรู้ และเติบโตจากปัญหาที่เกิดขึ้น ทักษะชีวิตจะน้ำไปสู่ทักษะการเป็นพลเมือง” 

       คุณทรงพล เจตนาวณิชย์ ผอ.สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) ผมทำงานกับชุมชนมา 20 กว่าปีนะครับ ภายใต้มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ทุกชุมชนบ่นเรื่องปัญหาเด็กในชุมชน เราก็เลยเปิดเวทีให้ชาวบ้าน ปัญหาของเด็กไม่ได้อยู่ที่เด็กแต่อยู่ที่ผู้ใหญ่ เพราะสังคมมันเปลี่ยนแปลงไปเยอะแล้ว ผู้ใหญ่สนใจเรื่องทำมาหากินมากกว่าดูแลลูกเพราะต้องทำมาหากิน ในขณะที่สื่อสมัยใหม่ก็เข้ามาเยอะ ชุมชนต่างคนต่างอยู่ มันไม่เหมือนสมัยก่อนแล้ว นี่คือสภาพแวดล้อมที่เราพบว่าอะไรคือส่วนที่มันเป็นเบ้าหลอมที่ทำให้เด็กเป็นคนดี คนเก่ง ท่านหันกลับไปดูในชุมชนเถอะเพราะตอนนี้เบ้าหลอมของเรามันแตกแล้ว ทีนี้ถ้าเราจะทำงานลักษณะอย่างนี้เนี่ย อบต.เค้าเป็นรัฐบาลท้องถิ่น เค้าก็มีงานสำหรับท้องถิ่นอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเราควรเอาประสบการณ์ของเราเอามาทำเป็นหลักสูตร เราอยากเห็นเจ้าหน้าที่ลงไปคลุกคลีกับชาวบ้านเป็นโค้ชให้ ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิสยามกัมมาจล เพราะอบต.มีทั้งนักวิเคราะห์ นักสังคม นักพัฒนา อะไรเยอะแยะเลย โจทย์ของเราคือ อยากเห็นเจ้าหน้าที่ลงไปคลุกคลีกับชาวบ้าน รับรู้ถึงปัญหาของชาวบ้านเอง แล้วในขณะเดียวกันอยากให้เค้ามีวิธีคิดวิธีการ ที่มีความสุขด้วย ชาวบ้านมีความสุขด้วย อยากให้ทุกภาคส่วนของชุมชนมีส่วนร่วมด้วย กับหลักสูตรนักถักทอ เท่าที่เราทำงานมา10ปี 20ปี เราพบว่าชุมชนแต่ละชุมชนมีคนสนับสนุนเยอะนะครับ เพียงแต่ขาดคนจัดการ ทั้งทุนในสังคม ทุนในประเทศ ในตำบลและนอกตำบล” อ.ทรงพล ทิ้งท้ายไว้ให้คิด

       คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล สรุปทิ้งท้ายในเวทีนี้อย่างน่าสนใจว่า“ประเด็นการพัฒนางาน ทุกคนได้ทำการพัฒนาเยาวชนแล้วทั้งนั้น แต่ ก่อนที่เราจะทำงานพัฒนาเยาวชน และถามตนเองว่าประสบผลสำเร็จไหม ประการแรก เราต้องเริ่มจากการพัฒนาตนเอง และไม่ควรหยุดพัฒนาตนเอง เพราะเราเป็นคนจุดประกายแกนนำหลายๆคน เราจึงไม่ควรหยุดพัฒนาศักยภาพของตนเอง เราต้องเปิดใจ เปิดรับ ปรับปรุง เราเห็นจากหลายกลุ่ม มีหลายกลุ่มที่ทำแล้วสำเร็จมากมาย เราเรียนรู้จากพวกเค้า และนำสิ่งเหล่านั้นมาปรับใช้ได้อย่างไร เราต้องยืนอยู่บนฐานความจริง”

       เพราะจุดเริ่มต้นเล็กๆ จากทุกภาคส่วนในสังคมไทย ที่ไม่นิ่งดูดาย และเอาจริงเอาจัง สักวันหนึ่ง เราจะได้เห็น Active Citizen” ของไทยเติบโตขึ้นและเบ่งบานเต็มบ้านเต็มเมือง ประเด็น “การเรียนรู้เพื่อสร้างสำนึกพลเมือง”ในวันนี้ จะช่วยจุดประกายให้ผู้เข้าฟังนำไปปฏิบัติจนเกิดผลสัมฤทธิ์และถ่ายทอดต่อเนื่องไปอย่างไม่รู้จบเลยทีเดียว


ผู้สนใจติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์มูลนิธิสยามกัมมาจล คลิก 

มูลนิธิสยามกัมมาจล
หมายเลขบันทึก: 569330เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2014 11:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2014 12:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

มาร่วมสนับสนุนการสร้างจิตสำนึกการเป็นพลเมืองดีในเยาวชน ที่อยากเห็นรูปธรรมเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องค่ะ

ขอบพระคุณสำหรับกำลังใจดีๆ จากพี่ใหญ่ และ อ.จันทวรรณค่ะ ( ^_^ )

ชื่นชมครับ เคยได้เข้าฟังในเวทีที่ สกอ.จัดเมื่อหลายปีก่อน
ในทำนองเดียวกันนั้น ที่ "มมส" ก็มีวิชาการพัฒนานิสิต ที่จัดการเรียนการสอนในทำนองเดียวกัน  หากแต่เน้นการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนและกิจกรรมเป็นฐาน...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท