บทสาขาที่ 7.1 ปรัชญาดนตรี Music Philosopy ดุริยะสัญญานิพนธ์ 0


คำไข

หนังสือปรัชญาดนตรีดุริยะสัญญานิพนธ์ ข้าพเจ้าได้ตั้งนามนี้ขึ้น คิดเสียว่าชื่อนั้นสำคัญไฉน มีความประสงที่จะใช้แทนคำว่าสัจจะแทนคำว่าดนตรี คำว่าสัจจะนี้หมายถึงความจริงหรือคำแจ้งใจ อยู่ทางฝ่ายความแน่นอนอันเป็นคำปิด มิได้ผิดไปจากความจริงคงสภาพอยู่นี้อย่างคงรูป

ดุริยะ เป็นไปตามความหมายนั้นว่าด้วยการดนตรี ที่กระทำกริยาบรรเลงเพลงเป็นทำนองโดยมีผู้ประพันธ์กำหนดให้เป็นไปอย่างมีระเบียบหรือย่างก้าวกระโดดอย่างโดยรวมอันมี 2 กระบวนการของการประพันธ์

ทำนอง กำหนดได้ด้วยวิธีนิพนธ์ และได้ขยายความจากภาษาทำนองเป็นภาษาอักษร รวมถึงอวัจนะได้ กำหนดวงจรเสียงให้หมุนสวนข้ามวนไปตามหลักวิชาการ แต่งเติมเสริมเสียงประสานได้ตามทฤษฎีการแห่งวิชาใช้ร่วมกับ กาพย์ กลอน โคลง กวีบท อีกหลายอย่างจากศาสตร์สุนทรีประกอบเข้าไปเพื่อให้มนุษย์บริโภคทางสัมผัส จากนั้นให้ความสุนทรีจะริยะตั้งกำหนดค่าสัญญา

สัญญา สัญญากับความสุนทรีจะริยะ ข้าพเจ้าสนับสนุนตั้งกำหนดสัญญานั้นได้ แต่ สัญญาอะไร กลับใคร ถ้ากับดนตรีแล้วได้ประโยชน์อะไร ถ้าตอบว่ามิต้องการให้ดนตรีบิดพลิ้ว ต้องเข้าใจก่อนว่าดนตรีนั้นคือนาม ส่วนลักษณะของดนตรีเรียกสรรพนามนั้น มีเสียงเดียว คือเสียงดนตรีเท่านั้น ทำสัญญาไม่ได้เพราะไม่มีเครดิต ที่กล่าวมานี้ดนตรีมิมีตัวตนและจับต้องไม่ได้ เพียงแค่เฉียดสัมผัสก็ไปหลงมันแล้ว นั่นแหละคือเสน่ห์ดนตรี แล้วตอบว่าดนตรีมีเสียง กลม บาง กว้าง แบน คม ใส แหลม ทุ้ม นั้นมิใช่เสียงดนตรี แท้เป็นมนุษย์เข้าไปยุ่งเกี่ยวให้เกิดการเพี้ยนเสียงด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์เช่น Equalizer ไปแก้ปัญหา และเครื่องดนตรีวัสดุหาได้จากธรรมชาติสังเกตได้เช่น violin จากไม้ต้นเดียวกันทำออกมาแล้วเสียงไม่เหมือนกัน ซอด้วงหรือซออู้และหรือซอสามสายก็เช่นกัน

เพลง ขั้นพื้นฐานนั้นแยกเป็น 2 ประใหญ่คือ

1 ทำนองดนตรีที่ไม่มีอักษรภาษาเข้าปนเรียกว่าเพลงบรรเลง โดยใช้ระดับบันไดเสียงและการเรียบเรียงเสียง

2ทำนองดนตรีที่มีอักษรภาษาเข้าปนเรียกว่าเพลงทั่วไป โดยใช้ระดับบันไดเสียงและการเรียบเรียงเสียง

ตอบว่า แล้วก็มีเสียงสั้นยาวเบาดังอีก ที่กล่าวนั้นคือธาตุเสียงทั้ง 4 ของ 1 เสียงดนตรี ต่อเมื่อองค์ธาตุเสียงทั้ง 4 รวมตัวได้ส่วนแล้ว(piano มี 88 ลิ่มนิ้วถ้ากดลิ่มนิ้วใดลิ่มนิ้วนั้นคือเสียง piano) แล้วยังมีระดับบันไดเสียงโน้ต 7 ตัวอีก นั่นคือมนุษย์ได้สร้างวงจรเสียงขึ้นเพื่อให้เกิดทำนองเพลงและกฎกำหนดต่างๆเพื่อนำใช้ประโยชน์

จากเรียงกันด้วยโน้ต 7 ตัว ดังมี โด1.- เร2. - มี3.- ฟา4.- ซอล.- ลา6.- ที7. จากนั้นพัฒนาช่องว่าระหว่างเสียง จาก โดมาถึงเร – เรมาถึงมี – มีมาถึงฟา – ฟามาถึงซอล – ซอลมาถึงลา – ลามาถึงที – มีช่องว่างระหว่างกันเท่าไร

นิพนธ์ หมายถึงแต่ง แต่งความหรือแต่งให้ได้ความเพลงต่อกระสวนความ หนังสือเล่มนี้อนุญาตให้แต่งเป็นนิพนธ์รำพัน เปรียบเทียบถึงสัจจะดนตรีอันหมายกำหนดให้สัญญาเป็นสิ่งไม่แน่นอนความหมายคือ

ดุริยะสัญญา = ดนตรีเป็นสิ่งไม่แน่นอน

สัจจะสัญญา = ดนตรีหมายถึงสัจจะ = เป็นสิ่งไม่แน่นอน

สัจจะดนตรี อันเป็นที่ตั้งแห่งอุปสรรคผล ณ ที่นี้ให้เชื่อถือคงได้ ซึ่งตรงข้ามกับสิ่งที่ไร้ความแน่นอน ได้แก่เพลงที่กำหนดไปตามผู้แต่งซึ่งเป็นผู้ที่แพร่ขยายความใช้ระดับบันไดเสียงซึ่งเป็นทำนองแล้วด้วยนักดนตรีให้มนุษย์ร่วมรู้ตามผู้ประพันธ์ต้องการในบทกลอน กวี นิพนธ์

ปรัชญา ภาษาอันสูงส่ง ลึกล้ำ และกว้างไกล นำมาเพื่อใช้จูงมโนจะริยะสุนทรีต่อความงามความหลงใหลในดนตรีของมนุษย์ เตือนให้รู้ตัว ให้อยู่ในอารมณ์อันเหมะสมต่อความจริงและการขยายความให้การซาบซึ้งแก่ภาษา

ญัฐนพ มนู อินทาภิรัต

สารบัญ

ปรัชญาดนตรี เรื่องดุรัยสัญญานิพนธ์..........................................ครั้งที่ 1 - 50

ปรัชญาดนตรีมิใช่สัจจะธรรมตามที่มา หากแต่ดำรงไว้ในมายาคติแสวงหาพรรณณาโลกอันสวยงามอย่างสร้างสรรค์

ญัฐนพ มนู อินทาภิรัต


คำสำคัญ (Tags): #ปรัชญาดนตรี
หมายเลขบันทึก: 568845เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2014 19:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2014 19:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท