ความชอบธรรม : ทฤษฎีทั่วไป และความชอบธรรมในรัฐไทย ตอนที่ 1


     การเมืองไทยในปัจจุบันนี้มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปมากกว่าเดิมมาก ในสมัยก่อน การเมืองไทยมักจะดูว่าใครภักดีกับใคร เมื่อภักดีกับใครแล้วจะมีสถานะสูงหรือไม่อย่างไร เป็นเจ้านายหรือเป็นข้า ต่อมาความภักดีในที่นี้หันมาให้ภักดีกับหลักการที่เป็นนามธรรมต่างๆมากขึ้น หลักการต่างๆ เช่นเชื่อในสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคระหว่างผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง โดยผ่านพันธะสัญญา หรือรัฐธรรมนูญและกฎหมายมากขึ้น แต่ทั้งนี้มิใช่ต้องการจะบอกว่าสมัยก่อนหรือโบราณเป็นสิ่งไม่ดี น่ารังเกียจ และการยึดหลักการนามธรรมเป็นสิ่งที่ดี เลิศแล้ว ประเสริฐแล้ว ผมอยากจะชี้ให้เห็นว่า ความภักดีแบบโบราณ และความภักดีในแบบร่วมสมัย มีอะไรที่สอดคล้องต้องกันอยู่ อย่างน้อยการเรียนรู้ที่จะเห็นข้อดีของเราและข้อเสียของเขา และข้อดีของเขาและข้อเสียของเราจะช่วยให้เรามีสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคในการอยู่ร่วมกัน ความชอบธรรมก็มีพลวัตรเหมือนกับความภักดี ซึ่งมีความหมายแตกต่างกันไปตามยุคสมัย

     ความชอบธรรมทางการเมือง (legitimacy) นี้เป็นคำศัพท์ทางรัฐศาสตร์ โดยมากแล้วจะนิยามขึ้นมาเพื่ออธิบายถึงความเป็นไปของการเมืองในแต่ละระบบของประเทศต่างๆ โดยมีแนวคิดเกี่ยวกับความชอบธรรมในเชิงวิชาการนั้นในหลายแง่มุม นอกจากนี้ยังเป็นความชอบธรรม ยังเป็นวาทกรรมทางการเมือง ที่ถูกนำมาสร้างความชอบธรรมในอำนาจเพื่อการปกครองในแต่ละรัฐบาลในแต่ละประเทศอีกด้วย

     ในบันทึกบทนี้ ผมได้ศึกษาแนวคิดเรื่องความชอบธรรมจากหลายเอกสาร โดยมากจากอินเตอร์เน็ท เช่น วิกิพีเดียร์. ความชอบธรรม http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8 %84%E0%B8% A7%E0%B8%B2%E0%B8%A 1%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1_(%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C, ลิขิต ธีระเวคิน.ความชอบธรรมทางการเมือง (Political Legitimacy) ของผู้ใช้อำนาจรัฐ. http://www.dhiravegin.com/detail.php?item_id=000333 , วีระ เลิศสมพร. ความชอบธรรมทางการเมืองกับความมั่นคงของรัฐและกลุ่ม. http:// www.gotoknow .org/posts/ 449380 , และ ความชอบธรรมทางการเมือง. www.kpi.ac.th/kpith/images/.../บทความความชอบธรรมทางการเมือง.pdf , พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์. การเมือง ความชอบธรรม สิทธิอำนาจ. http:// www.matichon. co.th/news_detail.php?newsid=1398166869&grpid=03&catid=02&subcatid=0207 , เกษียรเตชะพีระ. "เกษียร" สนทนากับ "สมศักดิ์-พิชิต-ยุกติ": สงครามความชอบธรรมยืดเยื้อ และการต่อสู้อย่างสันติ. http://www.matichon .co.th/news_detail .php?newsid= 1399628383& grpid=03 &catid&subcatid , ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง. การสร้างความชอบธรรมทางการเมือง https://sites.googl.com/site/ rattanakosinstrategy/ school-of--politics-knowledge/ political-development-plan/strategy-4/political-legitimacy. และอื่นๆ 

     โดยที่ในบันทึกนี้ผมได้กำหนดเนื้อหาเอาไว้ ดังนี้ 1. ประวัติศาสตร์ของความชอบธรรมทางการเมือง 2. ความชอบธรรมทางการเมือง หมายถึงอะไร 3. มีตัวชี้วัดอะไรบ้างในตัวความชอบธรรม 4. ความชอบธรรมทางการเมืองในประเทศไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไร

หมายเลขบันทึก: 568844เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2014 19:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2014 19:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท