ศาลสิทธมนุษยชน


อ้างอิงรูปภาพจากhttp://en.wikipedia.org/wiki/File:European_Court_o...

     ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป (1) เป็นองค์กรตุลาการขององค์การสภาแห่งยุโรป (Council of Europe) จัดตั้งขึ้นภายใต้อนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐาน(ECHR) ซึ่งมีผลบังคับใช้ใน ค.ศ. 1959 (พ.ศ. 2502)ศาลนี้ตั้งอยู่ที่เมืองสตราสบูร์ก (Strasbourg) ประเทศฝรั่งเศส คำว่ายุโรปในศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปนั้นไม่ได้หมายถึงสหภาพยุโรปหรือ European Union ที่มีสมาชิก 28 ประเทศแต่อย่างใด ประเทศสมาชิกของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปประกอบด้วยประเทศสมาชิกของสภายุโรป ทั้ง 47 ประเทศได้เข้าเป็นภาคีและรับหลักการของอนุสัญญาฯ (2)

  สำคัญของอนุสัญญาสรุปได้ดังต่อไปนี้

  • สิทธิในการดำรงชีวิต
  • สิทธิในการที่จะได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมทั้งในทางแพ่งและอาญา
  • สิทธิที่จะได้รับการคำนึงถึงชีวิตส่วนตัวและครอบครัวของบุคคล
  • เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
  • เสรีภาพทางความคิด จิตสำนึกและศาสนา
  • สิทธิในการที่จะได้รับการเยียวยาที่ดี
  • สิทธิในการครอบครองทรัพย์สินอย่างสุขสงบ
  • สิทธิในการเลือกตั้งและการรับเลือกตั้ง
  •      ศาลฯ มีหน้าที่ในการตีความข้อกฎหมายและพิจารณาคดีเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนตามอนุสัญญา ECHR โดยอำนาจในการรับคำฟ้องจากรัฐ บุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่อยู่ในเขตอำนาจศาลว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐภาคีสมาชิก ECHR

         ศาลฯ ประกอบด้วยผู้พิพากษาเท่ากับจำนวนรัฐภาคีสมาชิกอนุสัญญา ECHR ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยที่ประชุมสมาชิกรัฐสภายุโรป (Parliamentary Assembly) ประเทศละหนึ่งคน ผู้พิพากษาจะปฏิบัติหน้าที่ตามความรู้ความสามารถของตนอย่างอิสระไม่ขึ้นอยู่กับรัฐ หรือสัญชาติ ในการดำเนินคดีจำนวนผู้พิพากษาขององค์คณะจะขึ้นอยู่กับประเภทของคดี เช่น ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องมีผู้พิพากษาหนึ่งคน ในชั้นพิจารณาคดีจะมีจำนวนผู้พิพากษาในองค์คณะต่างกัน เช่น จำนวนสามคน เจ็ดคน หรือ สิบเจ็ดคน ขึ้นอยู่กับความยากง่ายและความสำคัญของคดีคำพิพากษาของศาลฯ ผูกพันรัฐภาคีให้ต้องปฏิบัติตามโดยรัฐจะต้องชดใช้ค่าเสียหายในกรณีที่พบว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่คำพิพากษาจะไม่มีผลลบล้างคำพิพากษาของศาลภายในรัฐภาคี และไม่มีผลเปลี่ยนแปลงกฎหมายของรัฐภาคี

         การนำคดีขึ้นสู่ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป จะสามารถทำได้โดยรัฐบาลคู่กรณีหรือบุคคลธรรมดาเพื่อฟ้องร้องรัฐบาลของรัฐภาคีทั้ง 47 ประเทศหากเกิดการละเมิดในสิทธิมนุษยชนโดยรัฐ ทั้งนี้คำพิพากษาของศาลมีผลผูกพันต่อรัฐคู่กรณีที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาล และแนวทางการพิจารณาคดียึดถือตามคำพิพากษาที่ได้พิพากษาไปแล้วเป็นหลัก (Case law)

         คณะกรรมการรัฐมนตรี(Committee of Ministers) มีหน้าที่สอดส่องและบังคับให้รัฐปฏิบัติตามคำพิพากษา คำพิพากษาของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปมีส่วนสำคัญในการสร้างบรรทัดฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศให้ชัดเจนขึ้น

    ณัฐณิชา วัฒนสุข

    อ้างอิง

    (1)ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป เข้าถึงได้จาก :

    http://library.nhrc.or.th/Dictionary/search_dic.php?Search=E&page=2 (วันที่ค้นข้อมูล : 18 เมษายน 2557)

    (1)รู้จักมั้ยศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป เข้าถึงได้จาก :

    http://www.l3nr.org/posts/465646

    (วันที่ค้นข้อมูล : 18 เมษายน 2557)

    คำสำคัญ (Tags): #ศาลสิทธมนุษยชน
    หมายเลขบันทึก: 568742เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 18:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 18:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท