ผู้ประกอบธุรกิจต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนด้วยหรือ


      การประกอบธุระกิจต่างๆนั้นนอกจากจะต้องคำถึงนึงผิดกำไรแล้ว อาจจะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายๆด้านเพื่อจะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ แต่ที่ขาดไม่ได้ก็คือการคำนึงถึงทธิมนุษยชนด้วย

        ธุรกิจ(Business)หมายถึง การกระทำหรือกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ที่ดำเนินงานเกี่ยวกับสถาบันการผลิต การจำหน่าย และการให้บริการ โดยกลุ่มบุคคลมีการกระทำร่วมกันเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ กำไร หรือรายได้ เป็นการตอบแทนการลงทุนด้วยทรัพย์สินและแรงงานในกิจกรรมนั้น การกระทำดังกล่าวอาจจะเสี่ยงต่อการขาดทุนด้วย[1]

การประกอบธุรกิจย่อมจะต้องควบคู่ไปกับการประชาสัมพันธ์อยู่เสมอ เพราะผลกำไรจะเกิดขึ้นได้ก็มาจากการที่ฐานการตลาดของสินค้านั้นกว้างขวางกว่าสินค้าในชนิดหรือประเภทเดียวกัน การโฆษณาประชาสัมพันธ์จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้สินค้าของผู้ประกอบธุรกิจเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ซึ่งการทำโฆษณาสินค้าในปัจจุบันมักจะต้องดึงจุดเด่นของสินค้าออกมานำเสนอให้ชัดเจนที่สุดเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสนใจและเข้าใจในตัวผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอ ดังนั้นผู้ทำโฆษณาจึงต้องนำจุดเด่นมาเป็นหัวใจในการทำ หลายครั้งก่อให้เกิดปัญหากระทบสิทธิมนุษยชนทั้งอย่างตั้งใจและไม่ตั้งใจข้าพเจ้าขอยกตัวอย่างในเรื่อง การโฆษณาแฝง เรื่องนี้อาจจะฟังดูตลกว่าเหตุใดการโฆษณาแฝงจึงเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง ก่อนอื่นข้าพเจ้าขออธิบายคร่าวๆว่า กสทช. ได้กำหนดโควต้าจำนวนเวลาเป็นนาทีให้แก่ สถานีโทรทัศน์แต่ละช่องว่าวันๆหนึ่งจะโฆษณาสินค้าโดยตรงได้ไม่เกินเวลากี่นาที ซึ่ง ปติแล้ว สถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีทุกช่องจากการสำรวจมักจะใช้เวลาโฆษราโดยตรงเกินกว่าโควต้าที่กำหนดอยู่เสมอ ซึ่งกล่าวได้ว่า นอกจากจะเป็นการละเมิดต่อกฎหมายแล้วยังเป็นการละเมิดต่อสิทธิของประชาชนที่จะต้องได้รับชมรายการโทรทัศน์อย่างเติมเวลาโดยไม่ถูกเอาเปรียบจากการค้ากำไรโฆษณา ซึ่งในเรื่องของการละเมิดจากการโฆษณาโดยตรงเกินเวลา ยังไม่กระทบต่อสิทธิมากเท่าไร แต่สิ่งที่เป็นภัยร้ายต่อสิทธิมนุษยชนที่แท้จริงคือการโฆษณาแฝง

โฆษณาแฝง หมายถึง การปรากฏของผลิตภัณฑ์ หรือตราสินค้าและบริการ เข้าไปในส่วนที่เป็นเนื้อหารายการ ไม่ว่าจะเป็นรายการข่าว ละคร สารคดี เพลง เกมโชว์ เรียลลิตี้ ฯลฯ ซึ่งอาจเป็นความตั้งใจของผู้ผลิตรายการและเจ้าของของสินค้า โดยอยู่ในรูปแบบได้ทั้งการตกลงเพื่อส่งเสริมการขาย หรือการจ่ายเงิน ผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ เพื่อผลทางธุรกิจ ทั้งนี้ โฆษณาแฝง จึงเป็นวิธีการหนึ่งในการส่งข้อมูลสู่ผู้บริโภคฝ่านสื่อต่างๆ อย่างแนบเนียน เป้าหมายต่ำสุดคือให้ผู้บริโภค "มองเห็ฯสินค้า" ทั้งนี้ โฆษณาแฝงเกิดจากค่าใช้จ่ายในการโฆษณา (ตรง) สูง มีผูกขาดเวลาโฆษณาไปหมดแล้ว ดังนั้น ผู้ผลิตรายการจึงใช้ โฆษณาแฝงเป็นการเพิ่มอำนาจในการต่อรองกับเจ้าของสินค้า และเพิ่มรายได้ให้กับตนเองหรือสถานี ซึ่งเม็ดเงินจากโฆษณาแฝงส่วนใหญ่ไม่ถูกตรวจสอบ

โฆษณาแฝงแตกต่างจากโฆษณา ที่การโฆษณา (ตรง) ขายสินค้า หรือบริการกันอย่างโจ่งแจ้ง ผู้บริโภคมักจะรู้ตัว และหลีกเลี่ยงที่จะรับชม รับฟังได้ และบางครั้ง เราอาจไม่ได้รับรู้ถึงเจตนาดังกล่าวของการเห็นหรือได้ยินเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่แฝงไว้ในเนื้อหารายการได้ จึงหมายความว่า ความไม่รู้ทำให้เราไม่ทันระวังตัว[2]

ดังนั้นเพื่อจะให้รู้เท่าทันผู้รับชมจะเห็นผลิตภัณฑ์เหล่านี้จนชินตาในทุกๆครั้งที่ได้รับชม จนเกิดเป็นภาพติดตาซึ่งในทางวิทยาศาสตร์นั้นอธิบายว่าการโฆษณาแฝงก็คือการสะกดจิตคนอื่นอย่างหนึ่งนั้นเอง ให้ผู้รับชมเห็นภาพผลิตภัณฑ์ซ้ำๆๆ จนฝังใจว่าผลิตภัณฑ์นั้นดูคุ้นตา นำไปสู่การตัดสินใจซื้อยี่ห้อนี้เพราะรู้จักมากกว่ายี่ห้ออื่น หรืออาจพูดได้ว่าคิดไปเองว่าผลิตภัณฑ์นี้มีชื่อเสียง ซึ่งในปัจจุบันช่องบางช่องมีค่าเฉลี่ยนโฆษณาแฝง สูงสุดถึง 85.8เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว ในประเทศที่พัฒนาแล้วบางประเทศอย่างสหรัฐอมเริกา และ อังกฤษมีการออกกฎหมายที่ควบคุมการโฆษณาแฝงอย่างจริงจังมากเป็นพิเศษ ต่างจากไทยที่ข้อบังคับมีเพียงแต่กำหนดว่า การโฆษณาแฝงของเพียงไม่กระทบกับเนื้อหาของรายการก็เพียงพอ จึงเป็นปัญหาที่ไทยยังไ่ม่อาจแก้ไขได้ด้วยกฎหมาย ทำได้เพียงผู้ประกอบกิจการสถานีวิทยุโทรทัศน์ควรจะมีจรรยาบรรณ ในการรปะกอบกิจการโดยเห็นถึงสิทธิมนุษยชนมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตนเป็นสำคัญ[3]


[1] http://krusuranart.com/index.php/2011-11-24-13-35-31/2012-01-19-09-35-55

[2] http://bcp.nbtc.go.th/knowledge/detail/303

[3] http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1261454351&grpid=no

หมายเลขบันทึก: 568582เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 00:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 00:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท