ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนผิดกฎหมาย


"มาตรา4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง"

มาตราดังกล่าวเป็นมาตราเกี่ยวกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ซึ่งปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตราดังกล่าวใช้กับมนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะมีสัญชาติใดก็ตามในประเทศไทย ถ้าไม่ได้มีสัญชาติไทยแต่อยู่ในประเทศไทยก็เท่ากับว่าหรือถือว่าเป็นคนเข้าเมือง

คนเข้าเมืองตามกฎหมายไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กรณีคือ

1.คนเข้าเมืองโดยข้อเท็จจริง

2.คนต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทย

3.คนสัญชาติไทยที่ไม่มีเอกสารแสดงสิทธิในสัญชาติไทย

อย่างไรก็ตามแม้การที่คนเข้าเมืองมีสิทธิไม่เทียบเท่ากับคนชาติ แต่คนเข้าเมืองต้องได้รับการรับรองสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน

จากกรณีศึกษาตัวอย่าง

น้องนิก อายุราว 19 ปี ปัจจุบันพักอาศัยอยู่ที่จังหวัดเชียงราย เขายังไม่ได้รับการรับรองสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรของรัฐใดเลย จึงเป็นคนไร้รัฐ มารดาของน้องนิกเป็นคนไทยลื้อไร้รัฐไร้สัญชาติ ในเวลาที่เดินทางเข้าประเทศไทย บิดามารดาและน้องนิกไม่มีหนังสือเดินทางหรือได้รับการตรวจลงตราใดๆทั้งสิ้น ทั้งสามคนจึงเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย แต่ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองไม่สามารถดำเนินคดีกับน้องนิกได้ เนื่องจากน้องนิกยังไม่มีเจตนาในการเข้าเมืองผิดกฎหมาย เพราะขณะที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย น้องนิกอายุเพียง 3-4 ปีเท่านั้น ขาดเจตนาในการกระทำความผิด

แม้การที่น้องนิกเป็นบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนของรัฐใดๆเลยก็ไม่ทำให้น้องนิกขาดสิทธิในการได้รับการศึกษา ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 26 (1) มีใจความสำคัญว่า “ทุกคนมีสิทธิในการศึกษา การศึกษาจะต้องให้เปล่าอย่างน้อยในขั้นประถมศึกษาและขั้นพื้นฐาน ... และการศึกษาระดับสูงขึ้นไปจะต้องเข้าถึงได้อย่างเสมอภาคสําหรับทุกคนบนพื้นฐานของคุณสมบัติความเหมาะสม” ดังนั้น โดยหลัก โรงเรียนทุกแห่งในประเทศไทยหรือในโลก ต้องให้การศึกษาแก่น้องนิก แม้ว่าจะเป็นคนไร้รัฐหรือไร้สัญชาติก็ตาม

นอกจากนั้นน้องนิกยังต้องไดรับสิทธิในการรักษาพยาบาลซึ่งปัจจุบันก็ยังคงเข้าไม่ถึงสิทธิดังกล่าว ซึ่งบัญญัติไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ25(1) "ทุกคนมีสิทธิในมาตรฐานการครองชีพ อันเพียงพอสําหรับสุขภาพและความอยู่ดีของตนและของครอบครัว รวมท้ังอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และการดูแลรักษาทางการแพทย์ และบริการสังคมท่ีจําเป็น และมีสิทธิในหลักประกันยามว่างงาน เจ็บป่วย พิการ หม้าย วัยชรา หรือปราศจากการดํารงชีพอื่นในสภาวะแวดล้อมนอกเหนือการควบคุมของตน"

ดังนั้น คนเข้าเมืองผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะมีรัฐมีสัญชาติหรือไม่ก็ตาม เขาก็จะได้รับสิทธิในการศึกษา เพื่อให้เขาพัฒนาคุณภาพชีวิต และสิทธิในการรักษาพยาบาล เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่ว่าบุคคลใดจะมีรัฐมีสัญชาติหรือไม่ เขาก็ยังคงจะได้รับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานเพื่อให้เขาซึ่งเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมายมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และได้รับการปฏิบัติโดยเท่าเทียมกับคนอื่นๆในสังคม

หมายเลขบันทึก: 568580เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 23:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 23:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท