ผู้ประกอบธุรกิจต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนด้วยหรือ


                   ในความเห็นของผมนั้น ผมเห็นว่าผู้ประกอบธุรกิจนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน เนื่องจากสิทธิมนุษยชนนั้นเป็นสิทธิ ที่มนุษย์ทุกๆคนบนโลกพึงมีอยู่ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นใครฏ้ควรจะเคารพในสิทธินี้ทั้งสิ้น ในฐานะมนุษย์คนหนึ่งในโลกนั่นเอง 

                    รวมไปถึงนอกจากนี้การที่ผู้ประกอบธุรกิจคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนนั้นมึแต่จะเป็นประโยชน์แก่ตัวผู้ประกอบธุรกิจเอง เพราะการประกอบธุรกิจอย่างไม่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนนั้น จะทำให้เกิดผลแง่ลบต่อ Brand ของธุรกิจนั้นๆ โดยที่เราสามารถเห็นตัวอย่างได้มากมาย เช่นกรณีของการเปรียบเทียบสีผิว หรือกรณีของดังกิ้นโดนัทที่มีลักษณะของการเหยีดสีผิว ซึ่งทำให้มีกระแสต่อต้าน เพราะมีการแต่งหน้าคนให้เป็นสีดำ เหมือนกับการล้ัอเลียนคนผิวดำในสมัยก่อนของอเมริกา ภาพลักษณ์ของโฆษณาคล้ายกับอคติแบบเหมารวมที่ชาวอเมริกันมีต่อคนผิวดำในช่วงระหว่างศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งในปัจจุบันนี้กลายเป็นสัญลักษณ์ที่น่าขุ่นเคืองของยุคเหยียดสีผิวไปแล้ว

                    รวมไปถึงการประกอบธุรกิจเองก็มีจรรยาบรรณของอาชีพนักธุรกิจ เห็นได้จาก คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติก็ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ รับรองการก่อตั้งมาตรฐานตามความสมัครใจที่ชื่อว่า “UN Guiding Principles on Business and Human Rights”[vi] ซึ่งเป็นการแปลความกรอบนโยบาย “Protect Respect and Remedy Framework” ให้เป็นขั้นตอนวิธีการปฏิบัติเพื่อให้ภาคธุรกิจและภาครัฐเอาไปใช้ เนื้อหาสำคัญของเอกสารทั้งสองฉบับประกอบด้วยแนวคิดที่มองเห็นว่า องค์กรธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อการเคารพ สิทธิมนุษยชน และรัฐบาลมีหน้าที่ต้องป้องกัน การละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยบุคคลที่ 3 ซึ่งรวมถึงองค์กรธุรกิจด้วย รวมทั้งควรสนับสนุนให้เหยื่อผู้ถูกละเมิดเข้าถึงช่องทางการเยียวยา ได้ดียิ่งขึ้นทั้งในและนอกกระบวนการยุติธรรม ซึ่งจริงๆ ก็เป็นการอธิบายอำนาจและหน้าที่ภายใต้กรอบของกฎหมายระหว่างประเทศเดิมให้ชัดเจนขึ้น และชี้ระบุความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับธุรกิจที่ต้องร่วมกันดูแลป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนให้เด่นชัดออกมา โดยสาระสำคัญที่แท้จริงซึ่งไม่ค่อยมีคนกล่าวถึงคือ มาตรฐานแนวปฏิบัติข้อที่ 7 (หน้า 9) ซึ่งมีคำอธิบายมาตรฐานอย่างเป็นทางการระบุว่า ในยามสถานการณ์ขัดแย้งที่ “รัฐประเทศเจ้าบ้าน” ของการดำเนินธุรกิจนั้น ไม่สามารถทำหน้าที่ปกป้องสิทธิมนุษยชนให้กับประชาชนของตัวเองได้ ในกรณีของบรรษัทข้ามชาติ ให้ “รัฐประเทศต้นทาง” มีบทบาทต้องช่วยองค์กรธุรกิจและประเทศเจ้าบ้านดูแลให้บริษัทจากประเทศตนเองไม่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในขณะเดียวกันก็ให้ประเทศเพื่อนบ้านสามารถให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมได้ด้วย

                   ดังนั้นผูประกอบธุรกิจนั้นจึงควรที่จะเคารพในสิทธิมนุษยชนให้มากขึ้น ไม่ใช่เพียงในฐานะนักธุรกิจแต่ในฐานะมนุษย์คนหนึ่งด้วยนั่นเอง

อ้างอิง

1.http://www.manager.co.th/around/viewnews.aspx?News... “ดังกิ้นโดนัท” ขอโทษแล้ว หลังฮิวแมนไรต์วอตช์โจมตีโฆษณา “เหยียดคนดำ”

2.http://www.ftawatch.org/all/news/39098  เรื่อง (ไม่) ตลก ของภาคธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน. กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน.

หมายเลขบันทึก: 568514เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 18:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 18:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท