HR-LLB-TU-2556-TPC-กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย

               สิทธิมนุษยชนมีความสำคัญในฐานะที่เป็นอารยะธรรมโลก (World Civilzation) ของมนุษย์ที่พยายามวางระบบความคิดเพื่อให้คนทั่วโลกเกิดความระลึกรู้ คำนึงถึงคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ตั้งแต่ยอมรับความเป็นมนุษย์ ศักดิ์ศรี ชาติกำเนิด สิทธิต่างๆที่มีพื้นฐานมาจากความชอบธรรม ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสิทธิตั้งแต่กำเนิด โดยให้ความสำคัญกับคำว่าชีวิต (Life)นอกจากนี้สิทธิมนุษยชนยังมีความสำคัญในแง่ของการเป็นหลักประกันของความเป็นมนุษย์สิทธิและ เสรีภาพ และสภาวะโลกปัจจุบันเรื่องของสิทธิมนุษยชนก็ไม่ใช่เรื่องประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น หากแต่เป็นเรื่องที่สังคมทั่วโลกต้องให้ความสำคัญ เพราะประเทศไทยในฐานะที่เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ผูกพันตามพันธกรณีแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ และที่สำคัญเรื่องของสิทธิมนุษยชนยังได้ถูกนำไปใช้ในทางการเมือง เศรษฐกิจระหว่างประเทศ เช่น การละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่าทำให้สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปคว่ำบาตรทางการทูต การงดการทำการค้าด้วย หรือกรณีการส่งกองกำลังทหารของสหประชาชาติเพื่อเข้าไปยุติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ในบอสเนีย เฮอร์เซโกวิน่า และในโคโซโว ของอดีตประเทศยูโกสลาเวีย เป็นต้น ด้วยสาเหตุและความสำคัญดังกล่าวมาข้างต้น เราจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญในกับกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย เพราะมีความสำคัญทั้งในด้านสังคมโลกและการสร้างประชาธิปไตยในสังคมไทย[1]

                 สนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนมีลักษณะเป็นสนธิสัญญาพหุภาคี กล่าวคือ เป็นสนธิสัญญาที่มีรัฐมากกว่าสองรัฐขึ้นไปเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญา ซึ่งกระบวนการในการทำสนธิสัญญามีหลายขั้นตอน นับตั้งแต่การเจรจา การให้ความยินยอมของรัฐเพื่อผู้พันตามสนธิสัญญาโดยการลงนาม การให้สัตยาบัน การภาคยานุวัติ และบางรัฐอาจตั้งข้อสงวน หรือตีความสนธิสัญญา และเมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนในการทำสัญญาครบถ้วนแล้ว ภาคีก็มีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาต่อไป การเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญาก่อให้เกิดพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้อง กับสนธิสัญญา มิฉะนั้นอาจต้องรับผิดในทางระหว่างประเทศ ดังนั้น เมื่อประเทศไทยเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน ประเทศไทยก็ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีของสนธิสัญญาดังกล่าว พันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของไทย

                  ในปัจจุบันประเทศไทยเป็นภาคีสนธิสัญญา ด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งสหประชาชาติถือเป็น สนธิสัญญาหลัก จำนวน 7 ฉบับได้แก่ Elimination of All Forms of Discrimination Against Woman - CEDAW)

1. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child - CRC)

2. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the

3. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covernant on Civil and Political Rights - ICCPR)

4. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covernant on Economics, Social and Cultural Rights - ICESCR)

5. อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination - CERD)

6. อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment - CAT)

7. อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities - CRPD) [2]

                   แม้ประเทศไทยจะเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนทั้ง 7 อนุสัญญาและมีผลให้เกิดพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับสนธิสัญญา แต่ก็ยังคงเกิดปัญหาในการใช้อนุสัญญาสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นกฎหมายระหว่างประเทศภายในประเทศไทย เช่น ปัญหาด้านนโยบายทางสังคมที่ให้ความเสมอภาคแก่ทุกคนในสังคมจริงหรือ

                   ถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญจะได้รับรอง และคุ้มครองมิให้มีการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มต่างๆ ที่มีความแตกต่างกัน และกำหนดให้มีมาตรการส่งเสริมความเสมอภาคแก่ผู้ด้อยโอกาส เด็ก คนชรา คนพิการ รวมทั้งส่งเสริมความเสมอภาค ทางโอกาสระหว่างหญิงและชาย และคุ้มครองมิให้มีการใช้ความรุนแรงในครอบครัว การคุ้มครองผู้ใช้แรงงาน แต่ก็ยังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอีกมาก นอกจากนี้ ทิศทางการพัฒนาที่มุ่งเน้นการผลิตในระบบอุตสาหกรรมได้ก่อให้เกิดช่องว่างของ การกระจายรายได้ ผู้ใช้แรงงานถูกเอาเปรียบ และไม่ได้รับการส่งเสริมให้มีขบวนการรวมกลุ่มของสหภาพแรงงานต่างๆ ที่เข้มแข็ง สภาพความปลอดภัยในการทำงานส่วนใหญ่ยังมีความเสี่ยงสูง และไร้หลักประกัน

                   ตัวอย่างปัญหาดังกล่าวเห็นได้จากข่าวนี้ กล่าวคือ ศาลรัฐธรรมนูญดับฝันคนพิการเป็นผู้พิพากษา โดยมติศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยให้ คณะกรรมการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมมีสิทธิไม่รับผู้ป่วยด้วยโรคโปลิโอ สอบเข้าเป็นผู้พิพากษาอ้างค่านิยมส่วนราชการ ต้องการคนที่มีประสิทธิภาพ ด้านประธานฝ่ายกฎหมาย สภาคนพิการแห่งประเทศไทย น้อยใจเห็นคนพิการ เป็นภาระสังคม ความหวังของผู้ป่วยด้วยโรคโปลิโอ จะเข้ารับราชการเป็นผู้พิพากษา ได้สลายลงเมื่อที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้วินิจฉัย คำร้องที่ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เพื่อให้ตีความ พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมมาตรา 26 (10)ที่ระบุถึงคุณสมบัติของผู้เข้าสอบเป็นข้าราชการตุลาการว่า ต้องไม่มีคุณสมบัติต้องห้าม คือ จะต้องไม่มีสภาพร่างกายและจิตใจที่ไม่เหมาะสมขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งข้าพเจ้ามองว่าพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมแม้จะขัดกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ แต่ในบางอาชีพต้องให้ความสำคัญในการให้ความน่าเชื่อถือต่อบุคคลอื่น เช่น อาชีพตำรวจ อาชีพนักการทูต อาชีพผู้พิพากษา เพราะอาชีพเหล่านี้ต้องอาศัยความน่าเชื่อถือในการทำงานตามหน้าที่เพื่อให้ผู้คนยอมรับ ไม่ใช่ใช้แต่ความรู้ในการทำงาน กรณีบุคคลในข่าวเป็นผู้ป่วยด้วยโรคโปลิโอไม่ถูกรับเข้าทำงาน ย่อมเป็นการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งความพิการอันขัดต่อข้อ5 เรื่องความเท่าเทียมกันและไม่เลือกปฏิบัติตามอนุสัญญา จะเห็นได้ว่าตามข่าวรัฐภาคีคือประเทศไทยไม่ได้ออกมาตรการที่เหมาะสม เพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติ เพราะยังคงมีเงื่อนไขการรับเข้าทำงานที่เป็นการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการในการรับเข้าทำงาน ในพ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมมาตรา 26 (10) รวมไปถึง การที่ผู้พิการไม่สามารถเข้าทำงานในตำแหน่งที่ต้องการ ซึ่งเป็นสิทธิในการประกอบอาชีพ เพราะเหตุนั้น เป็นการขัดกับ ข้อ27 ตามอนุสัญญา คือ ห้ามการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งความพิการในทุกด้านที่เกี่ยวกับการจ้างงาน รวมถึงเงื่อนไขในการคัดเลือกบุคคล

[1]ความสำคัญของสิทธิมนุษยชน ,สืบค้นข้อมูลวันที่ 14พ.ค.2557 ,http://www.oknation.net/blog/oh-shit/2009/02/16/entry-1

[2]สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ,พันธกรณีระหว่างประเทศ,สืบค้นวันที่14พ.ค.2557, http://www.nhrc.or.th/2012/wb/th/print_content.php...


หมายเลขบันทึก: 568352เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 21:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2014 21:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท