สิทธิและเสรีภาพของคนต่างด้าว


สิทธิและเสรีภาพของคนต่างด้าว

             ประเทศไทยในปัจจุบันหากเปรียบเทียบกับประเทศในละแวกเพื่อนบ้านที่มีเขตพื้นที่ชายแดนติดกับประเทศไทยคือประเทศลาว เมียรม่า และกัมพูชา ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีค่าตอบแทนการใช้แรงงาน หรือค่าแรงขั้นต่ำสูงที่สุด กล่าวคือเมื่อคิดเป็นค่าเงินบาทไทยแล้ว ประเทศไทยมีค่าแรงขั้นต่ำรายวัน วันละ 300 บาท ประเทศลาว 90 บาท ส่วนประเทศ เมียรม่าและกำพูชา วันละ 66 บาท ในขณะที่ค่าครองชีพ หรือค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตรายวันนั้นอยู่ที่วันละ ประมาณ 100 บาท เช่นเดียวกันทั้ง 4 ประเทศ

              เห็นได้ชัดว่าในขณะที่ค่าครองชีพของทั้งสี่ประเทศมิได้มีความแตกต่างกันมาก แต่ค่าตอบแทนแรงงานขั้นต่ำมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้นค่าแรงขั้นต่ำในประเทศเพื่อนบ้าน หรือ ลาว เมียรม่า และกำพูชา ไม่พอสำหรับการเลี้ยงชีพ ทั้งของตนเองและครอบครัว ส่งผลให้เกิดเป็นกรณีของคนต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้านดังกล่าวอพยพย้ายถิ่นฐานเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อให้ได้รับค่าแรงจากการทำงานที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทั้งในกรณีที่เข้ามาอย่างถูกกฎหมายและผิดกฎหมายเป็นจำนวนมาก และสิ่งที่ตามมาจากการอพยพของคนต่างด้าวเหล่านี้คือ ปัญหาสิทธิและเสรีภภาพของคนต่างด้าวเหล่านี้ ที่มักจะถูกล่วงละเมิดสิทธิในด้านต่างๆอยู่เสมอ

              แม้ว่าในบางกรณีแรงงานต่างด้าวจะเป็นการอพยพเข้าเมืองมาอย่างผิดกฎหมาย แต่พวกเขาเหล่านี้ก็เป็นมนุษย์คนหนื่ง รัฐไทยจึงควรมีบทบาทหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของพวกเขาเหล่านี้อย่างแน่นอน แต่ควรจะจัดการกับปัญหาสิทธิของคนต่างด้าวอย่างไรและมีขอบเขตเพียงไหนยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอย่างต่อเนื่อง

             สิทธิที่รับรองโดยกฎหมายนั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 ลักษณะ คือ

            1. สิทธิที่จะไม่ถูกละเมิด (Passive Rights) คือ สิทธิเสรีภาพที่มีติดตัวบุคคลทั้งหลายอยู่แล้ว แม้รัฐมิได้ยื่นมือเข้ามาคุ้มครองบุคคลเหล่านั้นก็มีสิทธิอยู่แล้ว

            2. สิทธิก่อตั้ง (Active Rights) คือ สิทธิเสรีภาพที่บุคคลใช้แล้วอาจมีผลเปลี่ยนแปลงอนาคตของชุมชน สังคม หรือรัฐชาติ

                การจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายจึงจะต้องอยู่บนพื้นฐานของการไม่ละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน(Passive Rights) แต่มิต้องให้สิทธิก่อตั้ง(Active Rights) เนื่องจากแรงงานต่างด้าวมิใช่คนชาติที่ต้องมาร่วมรับชะตากรรมจากการใช้สิทธิก่อตั้งกำหนดอนาคตของสังคมอันมีผลกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐ แนวทางในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายโดยไม่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐไทย[1]

              ดังนั้นแม้ว่า แรงงานต่างด้าวจะต้องคงไว้ซึ่งสิทธิที่จะไม่ถูกละเมิด แต่บางสิทธิที่เป็นสิทธิก่อตั้งก็ไม่สามารถที่จะหยิบยื่นให้กับแรงงานต่างด้าวได้ เพราะเป็นเรื่องของความมั่นคงของประเทศไทย ที่แรงงานต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานเพียงชั่วคราว เช่นสิทธิที่จะมีส่วนร่วมทางการเมือง หรือสิทธิในการเลือกตั้ง เพราะหากยอมให้คนต่างด้าว เข้ามามีส่วนร่วมกับเรื่องดังกล่าวนี้ อาจส่งผลถึงความมั่นคงทางการปกครองของประเทศก็เป็นได้ ดังนั้นการให้สิทธิบางอย่างแก่คนต่างด้าว ข้าพเจ้าคิดว่าหากเป็นสิทธิแบบ passive rights ก็ควรที่จะอำนวยความสะดวกให้อย่างเต็มที่ และไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลเหล่านี้ แต่สิทธิก่อตั้งนั้นไม่ควรที่จะให้เสรีภาพในสิทธิดังกล่าวนี้แก่คนต่างด้าวจนมากเกินไป เพราะอาจก่อให้เกิดปัญหาในภายหลังได้

อ้างอิง

[1] การคุ้มครองสิทธิแรงงานต่างด้าว กับ ความมั่นคงของรัฐไทย

http://prachatai.com/journal/2009/09/25829

เปรียบเทียบค่าแรงขั้นต่ำ

http://www.uasean.com/kerobow01/201

คนต่างด้าวกับการอ้างสิทธิ เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ

http://www.l3nr.org/posts/364233

สืบคนข้อมูล วันที่ 16 พ.ค. 2557

หมายเลขบันทึก: 568196เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 20:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท