ศาลสิทธิมนุษยชน


ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป(The European Court of Human Rights) จัดตั้งตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนยุโรป ค.ศ.1950 ตั้งอยู่ที่เมืองสตราส์บูร์ก (Strasbourg) ประเทศฝรั่งเศสซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกของสภายุโรป ทั้ง 47 ประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติตามอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ของประเทศสมาชิก มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า อนุสัญญาเพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน (Convention for the Protection of Human Rights and Fundamental Freedoms) ซึ่งเป็นหนึ่งในอนุสัญญาที่สำคัญที่สุด ที่สภายุโรป (The Council of Europe)

ผู้ที่สามารถฟ้องคือ ปัจเจกชน นั่นคือบุคคลธรรมดา ซึ่งปัจเจกชนนั้นต้องมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในรัฐสมาชิกแห่งอนุสัญญาฯ แต่ไม่จำเป็นต้องมีสัญชาติของรัฐสมาชิก และนิติบุคคล รวมถึง Non-governmental organization ;NGO ซึ่งเป็นองค์กรเอกชน และรัฐที่เป็นสมาชิกใน ECHR ก็สามารถฟ้องได้ แต่ทั้งนี้ปัจเจกชนไม่จำเป็นต้องมีสัญชาติของรัฐสมาชิกก็ได้ ส่วนผู้ที่จะตกเป็นจำเลยได้ คือรัฐสมาชิก แต่ทั้งนี้ปัจเจกชน และองค์กรเอกชนไม่สามารถตกเป็นจำเลยได้

เงื่อนไขสำคัญที่ศาลจะรับพิจารณาคำร้องคือ ผู้ร้องไม่ว่าจะเป็นบุคคลสัญชาติใดที่ถูกละเมิดสิทธิโดยประเทศสมาชิกจะต้องดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมในประเทศที่ตนถูกละเมิดให้แล้วเสร็จก่อน และหากเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงมายื่นคำร้องต่อศาลภายใน 6 เดือนต่อไป ซึ่งรัฐสมาชิกมีพันธะที่จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล เช่น การจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ร้อง

กระบวนการของศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปนั้นไม่จำเป็นต้องให้การดำเนินคดีเป็นหน้าที่ของรัฐเท่านั้น จึงหมายความว่า ประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิเป็นผู้ทรงสิทธิกระบวนการยุติธรรม ในศาลระหว่างประเทศ อีกทั้งการฟ้องร้องนั้น ไม่จำกัดสัญชาติของผู้ถูกละเมิด ซึ่งจะเห็นได้ว่า รัฐสมาชิกภายในภูมิภาคยุโรปได้รับรองสิทธิมนุษยชนว่าเป็นสิทธิของคนทุกคนที่มีความเป็นมนุษย์ โดยไม่จำกัดสัญชาติ หากถูกละเมิดทุกคนย่อมได้รับความคุ้มครองภายใต้อนุสัญญาแห่งยุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ECHR)

นอกจากนี้ ในอาเซียนก็ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR) แต่องค์กรดังกล่าวนั้นมิได้เป็นเหมือนศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป เนื่องจากเป็นเพียงองค์กรที่เกิดจากความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียนเท่านั้น มิได้เป็นศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาคดี และเนื่องจากไม่มีการกำหนดบทลงโทษให้กับประเทศสมาชิกที่ละเมิดพันธะกรณีในอนุสัญญา จึงทำให้เกิดปัญหาการขาดสภาพบังคับ

อย่างไรก็ดี ในประเทศไทยก็ยังมีองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นกระบวนการยุติธรรมนอกศาลที่ให้ความคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของประชาชน ได้แก่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ อันเป็นองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ในเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน มีอำนาจในการรับเรื่องร้องเรียนจากผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนต่างๆ และมีอำนาจในการเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาล รวมถึงมีอำนาจในการฟ้องคดีต่อศาลแทนผู้เสียหาย

จากอำนาจที่รัฐธรรมนูญให้ไว้แก่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ทำให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสามารถคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชนที่ถูกละเมิดได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ที่มา :

- ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป. [ระบบออนไลน์] ที่มา :http://digi.library.tu.ac.th/thesis/la/1118/03ABSTRACT.pdf

- ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป ที่มา :http://www.l3nr.org/posts/535929

- เอกสารประกอบการบรรยายวิชา น.396 สิทธิมนุษยชน โดย อ.ดร.รัชนีกร ลาภวิณิชชา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

- เปิดตัว AICHR เพื่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนอาเซียน ที่มา :http://www.tnewsnetwork.com/bkk/9675/BrowseArticle.php?cat_id=2&article_id=3120

หมายเลขบันทึก: 568192เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 20:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2014 20:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท