การคิดเป็นกับการคิดต่าง


การคิดเป็นกับการคิดต่าง

การคิดเป็น กับการคิดต่าง แตกต่างกันนะคะ การคิดเป็นหมายถึงการคิดที่มีกรอบวิธีคิด มีกระบวนการคิดที่เป็นระบบ หรือเราอาจจะเรียกว่าเป็นเครื่องมือ ที่จัดการข้อมูล บวกกับวิํธีการจัดการข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบ รู้จักการกลั่นกรอง แยกแยะข้อมูล ว่าอะไรเป็นข้อเท็จจริง ข้อมูลหรือสิ่งที่เรารับรู้ เห็นจริงด้วยตัวเอง ว่าถูกต้อง ครอบคลุมแค่ไหน เรียกว่า perception “การรับรู้เห็นจริง"

คิดต่าง หมายถึง ผลของความคิดที่ออกมาแตกต่างกัน จากการใช้กระบวนการคิด การได้มาซึ่งความคิดต่าง คำตอบ อาจจะเหมือนกัน เช่นคิดต่างเหมือนกัน แต่วิธีคิดหรือกระบวนการคิดอาจจะต่างกัน ความคิดต่างอาจจะมาจากกระบวนการคิดที่เป็นระบบก็ได้

สิ่งที่กำหนดผลของวิธีคิด หรือกระบวนการคิดของคนเรา คือ perception หรือ “การรับรู้เห็นจริง" และ perception หมายถึง กระบวนการที่บุคคลเปิดรับต่อข้อมูลข่าวสาร ตั้งใจรับข้อมูลนั้นและทำความเข้าใจความหมาย perception จึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการกำหนดการตัดสินใจ กำหนดความคิดที่ออกมา กำหนดการตัดสินใจ จนกระทั่งถึงกำหนดการกระทำของตัวเอง เพราะคนเราถ้า รับข้อมูล เข้าใจข้อมูลผิด แน่นอน perception ผิด และจะส่งผลต่อผลการคิด หรือความคิดที่ออกมาจะผิด ถึงแม้เราจะมีวิธีคิด หรือกระบวนการคิดที่ถูกต้องก็ตาม ดิฉันเคยไปอบรมเรื่องวิธีคิดสำหรับผู้นำแนวใหม่ เมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว ขอตัวอย่างของ perception ที่ดีมากตัวอย่่างหนึ่ง ยังจำได้อยู่เลยคะ และยังเอามาใข้อยู่จนถึงปัจจุบัน คือ

สมมุติว่านายก.เห็นหญิงสาวคนหนึ่งวิ่งตะโกนร้องขอความช่วยเหลือมาตามถนนแล้วเขาก็เห็นผู้ชายคนหนึ่งถือไม้วิ่งตามด้านหลังผู้หญิงเมื่อนายก. เห็นเหตุการณ์นี้ด้วยนายก.ก็ตีความและรับรู้ด้วยมุมมองที่เห็นนี้ว่าผู้ชายคนนั้นกำลังวิ่งไล่ตีหญิงสาวคนนั้นและผู้หญิงพยายามวิ่งหนีผู้ชายนี่เป็นขั้นตอนของการรับรู้(Perception)
เมื่อรับรู้ว่าเป็นเช่นนั้นนายก.ก็คิดว่าจะช่วยผู้หญิงโดยขัดขวางผู้ชายอย่างไรดีจะใช้ไม้ขว้างหรือเข้าไปโจมตีผู้ชายนี่เป็นขั้นตอนของการคิด(Thinking)
หลังจากคิดแล้วนายก.ก็ตัดสินใจว่าจะใช้ไม้ใหญ่ๆขว้างใส่ผู้ชายเพื่อหยุดเขาจากการวิ่งทำร้ายผู้หญิงนี่เป็นขั้นตอนของการตัดสินใจ(Decision)
เมื่อตัดสินใจเรียบร้อยแล้วเขาก็จะเริ่มลงมือหาไม้ใหญ่ๆและเตรียมขว้างผู้ชายคนนั้นนี่เป็นขั้นตอนของการลงมือทำ(Taking action)

แต่ยังมีผู้เห็นเหตุการณ์นั้นอีกคนคือนายข. นายข. ยืนอยู่จุดทีมองเห็นได้กว้างกว่าคือเขาเห็นทั้งผู้หญิงที่ร้องให้ช่วยเห็นผู้ชายที่ถือไม้วิ่งตามมาและยังเห็นว่ามีสุนัขตัวใหญ่ท่าทางดุดันวิ่งแยกเขี้ยวขาวไล่ตามผู้ชายและผู้หญิงนั้นมานายข. เห็นเหตุการณ์นี้แล้วรับรู้(Perception) ว่าผู้ชายและผู้หญิงกำลังวิ่งหนีสุนัขตัวนั้นนี่เป็นขั้นตอนที่1
เมื่อรับรู้ว่าเป็นเช่นนั้นนายข.ก็คิดว่าจะช่วยผู้หญิงและผู้ชายโดยขัดขวางสุนัขอย่างไรดีจะใช้ไม้ขว้างหรือโยนถังน้ำใหญ่ๆใส่นี่เป็นขั้นตอนที่2 คือการคิด(Thinking)
หลังจากคิดแล้วนายข.ก็ตัดสินใจว่าจะใช้ทั้งไม้ใหญ่ๆและถังน้ำขว้างใส่สุนัขเพื่อให้วิ่งไล่ผู้หญิงกับผู้ชายอีกนี่เป็นขั้นตอนที่3 คือการตัดสินใจ(Decision)
เมื่อตัดสินใจเรียบร้อยแล้วเขาก็จะเริ่มลงมือหาไม้ใหญ่ๆและถังน้ำเตรียมขว้างสุนัขนี่เป็นขั้นตอนที่4 คือการลงมือทำ(Taking action)

เห็นไหมคะว่าperception มีผลกับกระบวนการคิดการตัดสินรวมถึงการกระทำแค่ไหนเราควรให้ความสำคัญกับperception ของเราเป็นอย่างมากเพราะจะมีผลต่อการตัดสินและการกระทำทุกอย่างของเราที่สำคัญเป็นสิ่งสำคัญที่เป็นตัวชี้วัดสิ่งที่เรียกว่า “คิดเป็น” ของเราด้วย

ดร. เอ็ดเวิร์ดเดอโบโนกล่าวว่า “ Perception is more important than thinking.” คือการรับรู้เห็นจริงสำคัญมากกว่าการคิดเพราะเป็นจุดตั้งต้นของการคิด
ถ้าPerception ผิดเช่นกรณีของนายก. ก็จะมีผลต่อเนื่องทำให้การคิดผิดไปด้วยการตัดสินใจผิดไปด้วยและการลงมือก็ผิดพลาดไปด้วยถ้าPerception ถูกต้อง เช่น กรณีของนายข. ก็จะมีผลต่อเนื่องทำให้การคิดถูกต้องไปด้วยการตัดสินใจถูกต้องไปด้วยและการลงมือทำก็ถูกต้องเหมาะสมไปด้วย

จากผลการวิจัยพบว่า90% ของความผิดพลาดทั้งหลายมาจากจุดเริ่มต้นที่ผิดคือ Perception ผิด เพราะเมื่อเริ่มผิดก็จะคิดวิเคราะห์ไปในทางที่ผิดทิศทางอย่างไม่รู้ตัว และตัวอย่างที่เห็นได้ชัดมาก ในกรณีความเห็นต่างของการเมืองไทยครั้งนี้ โปรดหันกลับมาตรวจสอบ Perception ของตัวเองให้ดีๆ นะ ว่าเป็นอย่างไร ก่อนที่จะปักใจ ในความคิดของตัวเอง เพราะ ถ้า Perception ผิดถึงแม้ว่า วิธีคิด กรอบการคิด ตรรกะ จะดีแค่ไหนก็ตาม คำตอบก็อาจจะแบ่งเบนจากสิ่งที่ถูกต้องได้เสมอ

หมายเลขบันทึก: 567711เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2014 21:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2015 10:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท