โจทย์วิจัยเชิงระบบ


โจทย์วิจัยเชิงระบบ

        20 ต.ค.48   ในการประชุมคณะกรรมการโครงการ R2R ของศิริราช   รศ. นพ. ธราธิป  โคละทัต หัวหน้าภาควิชากุมารเวชศาสตร์ได้เอาตัวเลขมาให้ดู   ว่าการดูแลผู้ป่วยเด็กทารกเกิดก่อนกำหนดและทารกแรกเกิดที่มีปัญหารุนแรง   ต้องเข้าไอซียู   เป็นภาระด้านการดูแลและเป็นภาระด้านค่าใช้จ่ายอย่างยิ่ง   โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อโรงพยาบาลที่ให้บริการระดับตติยภูมิ  เช่น ศิริราช,  จุฬาฯ,  รามาฯ,  ราชวิถี   และเป็นปัญหาที่โรงพยาบาลต่าง ๆ มักโยนกันไปโยนกันมา   จนบางครั้งก็เป็นปัญหาเชิงจริยธรรม   อ. หมอธราธิปต้องการมาปรึกษาว่าทำอย่างไรจึงจะมีการวิจัยเชิงระบบเพื่อแก้ปัญหาการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมที่สุด

        ผมดีใจมากที่อาจารย์ผู้ใหญ่ในโรงเรียนแพทย์สนใจเรื่องการวิจัยเชิงระบบ   นี่คือประเด็นวิจัยที่มีความสำคัญยิ่งและท้าทายยิ่ง   เพราะเป็นการวิจัยที่ไม่ง่าย   แต่โชคดีที่ในการประชุมมี นพ. สมศักดิ์  ชุณหรัศมิ์  ผู้รู้เรื่องการวิจัยระบบดีที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทยอยู่ด้วย   เราจึงนัดเดินเรื่องต่อ   ผมยุให้หมอสมศักดิ์ชวนทางจุฬาฯ,  รามาฯ,  ราชวิถี  มาร่วมคิดกันด้วย

        ผมเขียนบันทึกนี้เพื่อสื่อว่าการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบ   มองภาพใหญ่หาวิธีแก้ปัญหาที่ซับซ้อนเป็นเรื่องสำคัญมาก   แต่ก็ต้องการการจัดการงานวิจัยที่เอาจริงเอาจังและทุ่มเท   ทางศิริราชมีระบบการจัดการงานวิจัย R2R จึงพอจะมีกำลังจัดการได้

     

       บรรยากาศการประชุม                         รศ. นพ. ธราธิป  โคละทัต (ขวามือ)

 

วิจารณ์  พานิช
 20 ต.ค.48

หมายเลขบันทึก: 5676เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2005 09:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท