ผุ้ทรงสิทธิในการมีสุขภาพดี


                                                                ผุ้ทรงสิทธิในการมีสุขภาพดี

  มนุษย์ทุกคนย่อมได้รับความคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล ที่ได้ให้ความคุ้มครองสิทธิของมนุษย์ทุกคน โดยได้ให้ความคุ้มครองสิทธิไว้ สี่ปรการ ดังนี้ สิทธิในชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ และทรัพย์สิน ซึ่งสิทธิเหล่านี้ทุกรัฐในโลกจะต้องให้ความคุ้มครอง และส่งเสริมการมีและใช้สิทธิเหล่านี้ เพราะสิทธิขั้นพื้นฐานทั้งสี่ประการเป็นปัจจัยสี่ ที่มนุษย์ทุกคนจำเป็นต้องมีในการดำรงชีวิต

  สำหรับประเทศไทยนั้นได้มีการบัญญัติเรื่องของหลักประกันสุขภาพไว้ใน พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสิทธิในการได้รับการรักษาพยาบาล รวมไปถึงการมีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งการให้ความคุ้มครองหลักประกันสุขภาพดังกล่าวถือเป็นการรับรองสิทธิตามหลักสิทธิมนุษยชนสากลสองประการคือ ชีวิตและร่างกาย เพราะมนุษย์ทุกคนเกิดมาก็ต้องเจ็บป่วยเป็นธรรมดา และอาจมีบางรายที่เจ็บป่วยและตาย ดังนั้นแล้วการให้หลักประกันสุขภาพ จึงถือเป็นการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานตามหลักสิทธิมนุษยชนด้วย

  แต่ปัญหามีที่พบ คือ พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 นั้นจะให้ความคุ้มครองกับบุคคลใดบาง ซึ่งกรณีคนที่มีสัญชาติไทยเราจะไม่กล่าวถึงเพราะย่อมได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติข้างต้นอยู่แล้ว แต่กรณีที่เป็นปัญหาคือกรณีของบุคคลที่มิได้มีสัญชาติไทย ที่เข้ามาอยู่ในเมืองไทย อาจะเข้ามาเพื่อท่องเที่ยว ทำงาน หรืออาจะเข้ามาอย่างถูกกฎหมาย หรือ ผิดกฏหมาย ซึ่งบุคคลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติหลักประกันสิทธิมนุษยชนด้วนหรือไม่

  ซึ่งปัญหาที่ได้กล่าวถึงในข้างต้นนั้นเป็นปัญหาเรื่องของการตีความบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งเรื่องของบุคคลที่จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 นั้นได้บัญญัติไว้ใน มาตรา 5 ว่า "บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดโดยพระราชบัญญัตินี้" ซึ่งปัญหาอยู่ที่การตีความคำๆเดียวคือ คำว่า บุคคลทุกคน ว่าคำๆนี้หมายความถึงใครได้บ้าง หากศาลตีความไปในทางที่ว่าคำว่าบุคคลทุกคนนั้นหมายความถึงแต่เพียงบุคคลที่มีสัญชาติไทยเท่านั้นย่อมทำให้บุคคลอื่นที่อยู่ในประเทศไทย และไม่ได้มีสัญชาติไทยก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองตามหลักประกันสุขภาพนี้(แต่อาจได้รับความคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและร่างกาย) ดังนั้นแล้วหากเป็นการตีความเช่นนั้นแล้ว ก็จะถือเป็นการตีความที่แคบเกินไป ซึ่งสำหรับข้าพเจ้าแล้ว คำว่า บุคคลทุกคนนั้น หมายถึง มนุษย์ทุกคนที่อยู่ในประเทศไทยโดยไม่ได้คำนึงถึงสีผิว เชื้อชาติ ศาสนา หรือชนชาติ คือทุกคนที่อยู่ในประเทศไทยมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามหลักประกันสุขภาพดังกล่าวนี้ เพราะอย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้นว่า เรื่องของสุขภาพเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและร่างกาย จึ้งเป็นสิ่งที่ต้องได้รับความคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล

  ปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับประเทสไทยนั้น มักจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนที่ไม่ได้มีสัญชาติไทยตามแนวชายแดนที่ไม่สามารถเข้ารับบริการจากโรงพยาบาลของรัฐได้อย่างเต็มที่เหมือนคนที่มีสัญชาติไทย พวกเขาเหล่านั้นจึงต้องหันไปพึ่งสถานีอนามัย(ซึ่งมักจะถูกตุ้งขึ้นโดยตำรวจตะเวนชายแดน) แต่สถานีอนามัยนั้นมิได้มีอุปกรณ์ที่ทันสัมยในการรองรับการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ดังนั้นแล้วการที่คนต่างด้าวไม่สามารถเข้าใช้บริการ โรงพยาบาลของรัฐได้อย่างเต็มที่จึงเป็นปัญหาหลักที่ข้าพเจ้ามองว่ามีลักษณะเป็นการละเมิกหลักสิทธิมนุษยชน 

  กรณีตัวอย่างที่ข้าพเจ้าจะกล่าวถึง คือ กรณีของนาย อาป่า มาเยอะ อายุ 17 ปี เป็นคนไร้สัญชาติแต่ได้ถูกรับรองโดยรัฐไทยเพราะมีเอกสารเป็นบัตรประจำตัวประชาชนไทยเขาจึงไม่ได้เป็นคนไร้รัฐ ซึ่งประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ จนได้รับบาดเจ็บขาหักทั้งสองข้างและต้องตามเหล็กอยู่ และยังไม่แน่ใจว่าในอนาคตจะสามารถใช้ขาประกอบอาชีพได้เช่นเดิมหรือไม่ อีกทั้งเขายังถูกฟ้องคดีใรความผิดฐานขับรถโดยประมาท ทั้งๆที่เขามิได้เป็นฝ่ายที่ปผิด จากคำบอกเล่าของพยานที่เห็นเหตุการณ์ ซึ่งปัญหาของนายอาป่า นอกจากกรณีที่ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีแล้ว เขายังประสบกับปัญหาในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่นับวันยิ่งเพิ่มากยิ่งขึ้น ซึ่งปัญหาอันเกี่ยวข้องกับค่ารักษาพยาบาลนั้น อาจเป็นเพราะทางรัฐบาลไทยเห็นว่าเขามิได้มีสัญชาติไทยจึงมิได้ช่วยเหลือในการออกค่าใช้จ่ายพยาบาลบ้างส่วนให้ ทำใ้หนายอาป่าและครอบครัวต้องรับภาระในค่ารักษาพยาบาลเองทั้งหมด (เขายังไม่ได้ยื่นร้องขอสิทธิในสัญชาติไทย เพราะยังไม่ประสบผลสำเร็จในการร้องขอทำหนังสือรับรองการเกิดต่ออำเภอเมืองเชียงราย) ซึ่งปัญหาดังกล่าวข้าพเจ้ามองว่าเป็นเรื่องของการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพราะเขาก็ต้องมีสิทะิที่จะได้รับความช่วยเหลือในค่ารักษาพยาบาลจากรัฐบาลไทยบ้าง มิเช่นนั้นแล้วปัญหาที่ตามมาก็คือคนที่ไม่มีสัญชาติไทยก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในค่ารักษาพยาบาล พวกเขาคงต้องรับภาระเหล่านั้นเองทั้งๆที่เพียงแต่เงินที่ใช่ในการดำรงชีวิตยังไม่เพียงพอ เช่นนั้นแล้วพวกเขาคงต้องรับบากมากยิ่งขึ้นอีก

อ้างอิง

1.พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.ที่มา http://www.thailandlawyercenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538976332&Ntype=19. สืบค้นเมื่อ  1/5/57

2.ปฏิณญาสกาลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน.ที่มา http://www.l3nr.org/posts/519241. สืบค้นเมื่อ 1/5/57

หมายเลขบันทึก: 567445เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 22:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 22:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท