ครอบครัวข้ามชาติ


มนุษย์ข้ามชาติ หมายถึงบุคคลที่มีการกระทำในลักษณะที่ข้ามชาติ คือมีถิ่นที่อยู่หรือเคยอยู่อาศัยในประเทศหนึ่งอยู่แล้วแต่ได้มีการข้ามหรือเคลื่อนย้ายมายังอีกประเทศหนึ่ง ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม บุคคลเหล่านี้ได้แก่ นักท่องเที่ยว แรงงานข้ามชาติ นักลงทุนข้ามชาติ นักศึกษา และผู้หนีภัยความตาย เป็นต้น[1] จากงานวิจัย มนุษย์ข้ามชาตินั้นให้หมายความรวมถึงบุตรของบิดามาดาที่เป็นมนุษย์ข้ามชาติด้วย การที่มนุษย์ข้ามชาติอยู่กินกันฉันสามีภรรยากับบุคคลอีกคนหนึ่งจนให้กำเนิดบุตรจึงเกิดเป็นครอบครัวข้ามชาตินั่นเอง

โดยหลักแล้วสัญชาติไทยได้โดยการเกิดไม่สามารถถูกพรากไปได้ ไม่สามารถเลือกได้ โดยสามรถได้สัญชาติจาก 3 ทางคือ

  • 1.บิดา
  • 2.มารดา
  • 3.สถานที่เกิด

กรณีศึกษา ครอบครัวฐานะรุ่งอุดม มีข้อเท็จจริง คือ น้องแอ้สะโม่เคร มีบิดาคือนายวิเชียร ฐานะรุ่งอุดม เป็นชนชาติกะเกรี่ยงที่ได้สัญชาติไทย ส่วนมารดาคือนางสาวมีนาเป็นมีภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านก้อเชอ ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ มีใบอนุญาตทำงานและหนังสือเดินทางชั่วคราว ซึ่งพบว่ามีวีซ่าเข้าประเทศไทยอยู่ที่ประเทศไทยได้จนถึงวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2557 เธออ้างว่าตนมีชื่อในทะเบียนราษฎรของรัฐเมียนมาร์ในฐานะคนสัญชาติเมียนมาร์แล้ว ต่อมาภายหลังน้องแอ้สะฅโม่เครเกิด นายวิเชียรและนางสาวมีนาพร้อมกับน้องแอ้สะโม่เคร อพยพไปอยู่ที่บ้านก้อเชอ ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์

จะเห็นได้ว่านายวิเชียร รุ่งฐานะอุดมเป็นมนุษย์ข้ามชาติเมื่อเขาอพยพไปยังก้อเชอโดยไม่มีวีซ่าและไม่มีสัญชาติเมียนมาร์ จึงเป็นการเข้าเมืองผิดกฎหมายของประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ หากตำรวจของประเทศดังกล่าวตรวจพบ นายวิเชียรอาจถูกจับกุมตามกฎหมายของประเทศนั้นๆได้ ส่วนน้องแอ้สะโม่เครเกิดที่ประเทศไทย มีบิดาคือนายวิเชียรซึ่งมีสัญชาติไทย จึงได้สัญชาติไทยตามพรบ.สัญชาติตามหลักดินแดนและหลักสืบสายโลหิตผ่านบิดา มีชื่อในทะเบียนบ้านคนอยู่ถาวร แต่เมื่อข้ามไปที่ก้อเชอ จึงกลายเป็นมนุษย์ข้ามชาติที่ไม่มีวีซ่าในการเข้าประเทศเมียนมาร์อย่างถูกต้องตามกฎหมายและไม่มีสัญชาติเมียนมาร์ อีกทั้งเมื่อพิจารณาทางด้านนางสาวมีนาซึ่งเป็นมารดาที่มีสัญชาติเมียนมาร์ น้องแอ้สะโม่เครจึงมีสิทธิได้รับสัญชาติเมียนมาร์อีกสัญชาติหนึ่งตามหลักสืบสายโลหิตด้วยผ่านมารดาแต่ยังมิได้ปรากฏว่ามีการดำเนินการเพื่อขอสัญชาติเมียนมาร์ให้แก่น้องแอ้สะโม่เครแต่อย่างใด

กรณีศึกษาต่อมาเป็นของครอบครัวเจดีย์ทอง ข้อเท็จจริงคือ นายอาทิตย์ เจดีย์ทองพบรักกับนางสาวแพทริเซียที่ไต้หวัน ทั้งสองคนเป็นแรงงานต่างด้าวที่ไต้หวันจึงเป็นมนุษย์ข้ามชาติไปไต้หวัน เมื่อสัญญาจ้างแรงงานสิ้นสุดลงทั้งสองจึงเดินทางกลับไปยังประเทศของตนต่อมา นางสาวแพทริเซียเดินทางมายังประเทศไทยซึ่งในหนังสือเดินทางระบุว่าเธอสามารถอาศัยอยู่ในประเทศไทยได้จนถึงวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2556 ทั้งสองคนอยู่กินกันฉันสามีภรรยาที่จังหวัดตาก นางสาวแพทริเซียนั้นมีสัญชาติมาเลเซียปรารถนาจะมีสัญชาติไทยจึงไปแสดงตนต่ออำเภอท่ายางจังหวัดตากเพื่อรับการสำรวจในสถานะของ บุคคลที่ไม่มีสถานะตามกฎหมายการทะเบียนราษฎร จึงมีสถานะเป็นคนไร้สัญชาติทั้งๆที่เธอมีสัญชาติมาเลเซีย อีกทั้งเจ้าหน้าที่รัฐของไทยก็ไม่มีการตรวจสอบสัญชาติของนางสาวแพทริเซียแต่อย่างใด ทั้งสองมีบุตรด้วยกัน 3 คน ที่เกิดในประเทศไทย จึงได้รับสัญชาติไทยตามหลักดินแดนและหลักสืบสายโลหิตผ่านทางบิดาคือนายอาทิตย์ เมื่อพิจารณาทางด้านนางสาวแพทริเซียซึ่งเป็นมาดา บุตรทั้ง 3 คน มีสิทธิถือสัญชาติมาเลเซียตามหลักสืบสายโลหิตผ่านมารดาได้อีกด้วย ซึ่งข้อเท็จจริงก็มิได้ปรากฏอีกเช่นกันว่าได้มีการขอสัญชาติมาเลเซียให้แก่บุตรทั้ง 3 คน ซึ่งหากบุตรทั้ง 3 คนเดินทางไปยังประเทศมาเลเซีย ก็อาจถูกจำกัดสิทธิบางประการ เช่นสิทธิในการเดินทาง สิทธิในการเดินทาง สิทธิในการทำงาน สิทธิในการซื้อบ้านเป็นต้น หากพวกเขาได้รับสัญชาติมาเลเซียอีกสัญชาติหนึ่งจะเป็นการดีกว่า

นางสาวแพทริเซียจึงมีเอกสาร 2 ชิ้นคือ เอกสารที่รับรองสถานะของแพทริเซียว่าเป็นคนไร้รัฐออกโดยประเทศไทย และเอกสารที่รับรองว่านางสาวแพทริเซียมีสัญชาติมาเลเซีย ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การที่นางสาวแพทริเซียมีสถานะเป็นคนที่ถือสัญชาติมาเลเซียนั้นมีประโยชน์กว่าการเป็นคนไร้รัฐของประเทศไทยมาก เนื่องจากเธอจะได้รับสิทธิต่างๆมากขึ้นโดยไม่ถูกจำกัดในเรื่องสิทธิการเดินทาง เป็นต้น ทางแก้ไขอาจทำโดยการของวีซ่าครอบครัว จดทะเบียนเป็นครอบครัวข้ามชาติตามกฎหมาย

กล่าวโดยสรุปนั้นประเด็นปัญหาของครอบครัวข้ามชาติอยู่ที่เด็กที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นมนุษย์ข้ามชาติ มีปัญหาเรื่องสถานะบุคคล ตัวอย่างเช่นนายวิเชียร ฐานะรุ่งอุดมซึ่งเป็นคนสัญชาติไทยที่ข้ามไปยังประเทศพม่าโดยมิได้มีวีซ่าจึงเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย หรือนางสาวแพทริเซียที่เข้าประเทศไทยอย่างถูกกฎหมายแต่อาศัยอยู่ในประเทศไทยนานเกินกว่าระยะเวลาที่ในวีซ่าได้ระบุไว้และไปขอเอกสารจากรัฐไทยให้มีสถานะเป็นคนไร้สัญชาติ เด็กที่เกิดมาจึงมีสิทธิในสัญชาติของประเทศที่เด็กคนนั้นเกิดและประเทศที่บิดามารดาของตนมีสัญชาติอยู่ ซึ่งบางประเทศอย่างเช่นประเทศลาวไม่อนุญาตให้มีหลายสัญชาติแต่ประเทศไทยอนุญาตให้มีหลายสัญชาติได้ หากเด็กที่เกิดมาได้สัญชาติตามหลักดินแดนที่ตนเกิดเช่นน้องแอ้สะโม่เครที่ได้สัญชาติไทยตามหลักดินแดนและหลักสืบสายโลหิตผ่านทางบิดา เมื่อน้องข้ามไปยังประเทศเมียนมาร์ซึ่งมาดาของน้องมีภูมิลำเนาอยู่แต่ไม่มีการขอสัญชาติเมียนมาร์ น้องจึงไม่มีสัญชาติพม่าและกลายเป็นมนุษย์ข้ามชาติที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย หรือบุตรทั้ง 3 คนของนายอาทิตย์และนางสาวแพทริเซียที่ได้แค่สัญชาติไทยไม่ได้มีการขอสัญชาติมาเลเซียเช่นกัน ส่งผลให้น้องๆอาจถูกจำกัดสิทธิบางประการเช่นการซื้อทรัพย์สิน การถือครองที่ดินที่ผู้ถือสัญชาติของประเทศนั้นๆจะรับรองให้ ดังนั้นการที่บุคคลมีสถานะเป็นคนไร้สัญชาติ เข้าเมืองผิดกฎหมายหรืออาศัยในประเทศอย่างผิดกฎหมายส่งผลต่อสิทธิมนุษยชนทำให้พวกเขาเหล่านั้นไม่ได้รับการรับรองสิทธิที่สมควรจะได้จากรัฐโดยที่ปัญหาของสถานะบุคคลดังกล่าวไม่ส่งผลต่อการได้รับความคุ้มครองตามสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นพร้อมกับความเป็นมนุษย์ รัฐจึงควรจะเข้าไปช่วยเหลือให้พวกเขาเหล่านั้นเข้าถึงสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานได้อย่างเต็มที่


[1]ภัทรธนาฒย์ ศรีถาพร. "เด็กข้ามชาติ" มนุษย์ข้ามชาติที่มาจากหลากหลายสาเหตุ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา http://www.l3nr.org/posts/535656. 29 เมษายน 2557

หมายเลขบันทึก: 567036เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2014 23:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2014 23:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท