HR-LLB-TU-2556-TPC-กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


                ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่พัฒนามาจากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนหลัก ๆ มีทั้งสิ้น9ฉบับได้แก่

(1)กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง(International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR)

(2)กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม(International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights-ICESCR)

(3)อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบต่อสตรี(Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women-CEDAW)

(4) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก(Convention on the Rights of the Child-CRC)

(5)อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ(Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination-CERD)

(6)อนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี(Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment- CAT)

(7)อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ(Convention on the Rights of Persons with Disabilities - CRPD)

(8) อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันบุคคลจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ(Convention on the Protection of All Persons from Enforced Disappearance - CED)

(9) อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกในครอบครัว(Convention on the Protection of the Rights of Migrants Workers and Member of their Families MWC)[1]

                  โดยประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีแล้ว ๗ ฉบับ ได้แก่ (๑) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (๒) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (๓) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ และพิธีสารเลือกรับเรื่องการรับข้อร้องเรียน (๔) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก และพิธีสารเลือกรับทั้ง 2 ฉบับ เรื่องความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันทางกำลังอาวุธ และเรื่องการค้าเด็ก โสเภณีเด็กและสื่อลามกเด็ก (๕) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (๖) อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี และ (๗) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ โดยหากประเทศไทยให้สัตยาบันอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันบุคคลทุกคนจากการ หายสาบสูญโดยถูกบังคับ ก็จะถือเป็นตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนฉบับที่ ๘ ที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี ส่วนตราสารฉบับที่ ๙ ที่ประเทศไทยยังไม่ได้เป็นภาคีคือ อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและครอบครัว[2]

                   ปัญหาสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นปัญหาที่สำคัญและมีความรุนแรงขึ้นทุกวันรวมถึงเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างประเทศคือปัญหาเกี่ยวกับเด็กซึ่งเกี่ยวข้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก(Convention on the Rights of the Child-CRC)

                    การละเมิดสิทธิเด็กและเยาวชนในสังคมไทยมีปรากฏการณ์ในหลายรูปแบบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาหลายทศวรรษและยังคงดำรงสืบเนื่องในสังคมไทย และมีแนวโน้มขยายความรุนแรงกว้างขวางขึ้นกับกลุ่มเด็กและเยาวชนต่างๆการละเมิดสิทธิด้านเด็ก เกิดขึ้นกับกลุ่มเด็ก และเยาวชนประเภทต่างๆ แตกต่างกันไปได้แก่

1 . การถูกละเมิดและอันเนื่องจากเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษไม่ได้รับการคุ้มครองที่จะได้รับการดูแล การรักษาฟื้นฟูที่พึงได้อย่างเหมาะสม หมายถึงเด็กที่มีความแตกต่างจากเด็กปกติ ซึ่งยังไม่ได้รับการบริการรวมทั้งแก้ไขถึงบริการขั้นพื้นฐานต่างๆจากรัฐ เช่น การศึกษา สาธารณูปโภครวมทั้งไม่มีหลักประกันที่กลไกและนโยบายต่างๆและส่งผลในทางปฏิบัติจริง เช่น เด็กพิการด้านต่างๆ เด็กที่มีปัญหาเรื่องการเรียนรู้ เด็กปัญญาเลิศ เด็กกำพร้า เด็กที่บิดามารดาต้องโทษจำคุก เด็กยากจน ครอบครัวมีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน เป็นต้น เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาดูจาการที่ครอบครัวหรือผู้ดูแลโดยลำพังไม่สามารถดูแลเด็กเหล่านี้ให้สอดคล้องกับสภาพของเด็กได้ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนความช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐ หรือ องค์กรเอกชน

2. การละเมิดทั้งทางร่างกาย จิตใจ จากการถูกปล่อยปละละเลย ไม่ได้รับการเอาใจใส่เท่าที่ควร เด็กอยู่ในภาวะเสี่ยง คือ เด็กที่มีสภาพแวดล้อมทางสังคมไม่ว่าที่ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน ที่มีความเสี่ยงจะถูกกระทำทารุณกรรม ถูกปล่อยละเลย หรือถูกทอดทิ้งในรูปแบบต่างๆซึ่งอาจจะได้รับอันตรายต่อสุขภาพกาย สุขภาพจิต พัฒนาการทางร่างกาย พัฒนาการทางด้านสติปัญญา พัฒนาการด้านอารมณ์จิตใจ พัฒนาการด้านสังคม พัฒนาการด้านครอบครัว และอาจมีปัญหาพฤติกรรม

3. เด็กถูกละเมิดจากการถูกกระทำ คือ เด็กที่ถูกปล่อยปละละเลยหรือถูกทอดทิ้ง ให้ตกอยู่ในภาวะอันตรายรวมทั้งถูกทำร้ายทุบตี ทารุณ ถูกทำร้ายร่างกาย ทางจิตใจ หรือถูกล่วงเกินทางเพศจากบุคคลในสังคมแวดล้อมหรือแม้แต่บุคคลภายนอกนอกจากนี้ปัญหาการกระทำทารุณต่อแรงงานเด็ก อาจออกมาในรูปแบบการถูกใช้แรงงานหนัก เด็กถูกนายจ้างทุบตี ทำร้าย และข่มขืน เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงมาตั้งแต่แรกแล้ว

4. สิทธิอันพึงเข้าถึงและได้รับการบริการต่างๆ ฟื้นฟู และบำบัด เด็กที่มีปัญหาพฤติกรรม คือ เด็กที่มีพฤติกรรมผิดแผกแตกต่างไปจากเด็กปกติในวัยเดียวกันและมีพฤติกรรมที่ฝ่าฝืน ต่อต้าน กฎเกณฑ์ของสังคม ต่อต้านระเบียบธรรมเนียมปฏิบัติของสถาบันทางสังคมที่เด็กสังกัดอยู่ เช่น ครอบครัว โรงเรียน หรือ แม้แต่ชุมชน เป็นเด็กที่อยู่ในภาวะเสียงมาตั้งแต่แรก

5. การคุ้มครองและให้ความเป็นธรรมต่อเด็กกระทำความผิด คือ เด็กที่กระทำความผิดทางอาญาและเป็นเด็กที่อาจมีปัญหาพฤติกรรมถูกปล่อยปละละเลยและอาจถูกทารุณกรรมมาก่อน ทั้งนี้เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงมาตั้งแต่แรกเช่นเดียวกัน[3]

                โดยอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กได้ระบุรายละเอียดของสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ ไว้ว่าทุกประเทศต้องรับประกันเด็กในประเทศของตน ได้แก่

  • สิทธิที่จะมีชีวิตรอด – ได้รับการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน มีสันติภาพ และความปลอดภัย
  • สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา – มีครอบครัวที่อบอุ่น ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ และมีภาวะโภชนาการที่เหมาะสม
  • สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง - ให้รอดพ้นจากการทำร้าย การถูกล่วงละเมิด การถูกทอดทิ้ง และการแสวงประโยชน์ในทุกรูปแบบ
  • สิทธิที่ในการมีส่วนร่วม – ในการแสดงความคิดเห็น แสดงออก การมีผู้รับฟัง และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องที่มีผลกระทบกับตนเอง[4]
  • จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าประเทศไทยยังมีปัญหาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับเด็กอยู่มาก ซึ่งหากประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กดังกล่าว ตามที่เด็กพึงได้รับ ประกอบด้วย สิทธิและเสรีภาพของเด็กโดยทั่วไป การคุ้มครองร่างกาย ชีวิต เสรีภาพ และสวัสดิภาพของเด็ก การให้สวัสดิการสังคมแก่เด็ก การคุ้มครองสิทธิทางแพ่ง การคุ้มครองเด็กที่มีปัญหาความประพฤติหรือกระทำความผิดทางอาญา การคุ้มเด็กผู้ด้อยโอกาส ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเด็กก็จะลดลง


    [1] ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่ไทยเป็นภาคี. สิทธิมนุษยชน HUMAN RIGHTS. [Website] 2010 Dec [cited 2014 Apr 25]. Available from: http://www.mfa.go.th/humanrights/human-rights-conventions

    [2] ประเทศไทยลงนามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ. สิทธิมนุษยชน HUMAN RIGHTS. [Website] [cited 2014 Apr 25]. Available from: http://www.mfa.go.th/humanrights/news/1-latest-news/167--thailand-signs-the-international-convention-on-the-protection-of-all-persons-from-enforced-disappearance

    [3] การละเมิดสิทธิมนุษยชนเด็ก และ เยาวชน. oknation. [Website] 2009 Jan [cited 2014 Apr 25]. Available from: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=389345

    [4] อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC). unicef. [Website] [cited 2014 Apr 25]. Available from: http://www.unicef.org/thailand/tha/overview_5954.html

    หมายเลขบันทึก: 566828เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2014 22:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 เมษายน 2014 22:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท