กฎหมายไทยว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


      สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อเป็นเครื่องประกันสิทธื และ เรียกร้องเมื่อถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนไว้ด้วย อย่างชัดเจน เช่น[1]

มาตรา ๔ บัญญัติว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง”

มาตรา ๒๖ บัญญัติว่า “การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพ”

มาตรา ๒๘ บัญญัติว่า “บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล อื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน

       เมื่อพิจารณาถึงรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2550 จะเห็นได้ว่า ได้มีการบัญญัติคุ้มครองสิทธิต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้น แต่เมื่อพิจารณาถึงสิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2550 ในส่วนที่เกี่ยวกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่เป็นการใช้อำนาจรัฐ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและเอาผู้กระทำความผิดมาลงโทษอันอาจมีผลกระทบ ต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลโดยตรง เนื่องจากในสังคมปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาอาชญากรรมมีแนวโน้มการก่อเหตุในลักษณะทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ รัฐจึงจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการป้องกันสังคมให้สงบสุข โดยมีการตรากฎหมายกำหนดบทลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด โดยโทษหนักหรือเบานั้นขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการก่อเหตุและสภาพความผิดที่หนัก หรือเบาโดยเชื่อว่าการลงโทษผู้กระทำความผิดนั้นจะก่อให้เกิดผลดีต่อความสงบ ของสังคมอันจะทำให้อาชญากรรมลดลง

      การลงโทษผู้กระทำความผิดนั้นมีอยู่ด้วย 5 ประเภท คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ตามมาตรา 18 แห่งประมวลกฎหมายอาญา แต่การลงโทษที่ถือว่าเป็นการกำจัดผู้กระทำความผิดออกไปจากสังคมที่รุนแรงที่ สุด คือ “โทษประหารชีวิต”

     โทษประหารชีวิต เป็นการลงโทษที่มีความรุนแรงที่สุดที่ใช้ต่อผู้กระทำความผิดและถือได้ว่า เป็นการลงโทษที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งมีมาแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการลงโทษเพื่อเป็นการแก้แค้นตามหลักตาต่อตาฟันต่อ ฟัน เพื่อแก้แค้นทดแทนความผิดที่ได้กระทำลงไป ลงโทษเพื่อเป็นการข่มขู่ยับยั้ง ลงโทษเพื่อการปรับปรุงแก้ไขและที่สำคัญที่สุด คือ การตัดโอกาสการกระทำผิดซ้ำอันเป็นการกำจัดผู้กระทำผิดออกไปจากสังคมอย่าง เด็ดขาด สำหรับการประหารชีวิตในประเทศไทยนั้นการประหารชีวิตด้วยปืนได้มีการยกเลิก เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2546 กล่าวคือ รัฐบาลได้มีการเสนอแก้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 16) พ.ศ.2546 โดยแก้ไขมาตรา 19 ว่า “ผู้ใดต้องโทษประหารชีวิตให้ดำเนินการด้วยวิธีฉีดยาหรือสารพิษให้ตาย” ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 กันยายน 2546 และได้มีการประหารชีวิตด้วยวิธีฉีดยาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2546 ซึ่งจากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า ประเทศไทยยังคงมีการลงโทษประหารชีวิต เนื่องจากการลงโทษประหารชีวิตเป็นวิธีเดียวเท่านั้นที่จะกำจัดอาชญากรผู้เป็นภัยออก จากสังคมเด็ดขาด โดยอาชญากรผู้นั้นจะไม่สามารถกลับไปก่อเหตุร้ายได้อีก และทำให้ผู้คนในสังคมส่วนใหญ่มีความเกรงกลัวต่อโทษประหารชีวิตและไม่กล้า กระทำความผิดที่มีลักษณะรุนแรง และ ยังเป็นการทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย [2]

     แต่ในอีกมุมมองหนึ่งสังคมโลกส่วนใหญ่ต่างยอมรับว่า การลงโทษประหารชีวิตเป็นการปฏิเสธสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่จำเป็นที่ สุดสำหรับบุคคล นั่นคือ เป็นการละเมิด “สิทธิในการมีชีวิต” ซึ่งได้รับการรับรองไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โทษประหารชีวิตเป็นการสังหารบุคคลโดยรัฐเป็นผู้ลงมืออย่างเลือดเย็นและมีการ ไตร่ตรองไว้ล่วงหน้า และที่น่าหวาดหวั่นที่สุด คือ การลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในรูปแบบนี้ ถูกกระทำในนามของความยุติธรรม เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้การลงโทษประหารชีวิตในต่างประเทศต่างมีแนวโน้มในการทยอยเลิกโทษประหารชีวิตมากขึ้น

      ในความคิดของผู้เขียน ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกโทษประหารชีวิตในประเทศไทย  แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศส่วนน้อยที่ยังคงโทษประหารชีวิต แต่การคงไว้ซึ่งการลงโทษประหารชีวิตนั้น เป็นการคงไว้ซึ่งบทลงโทษที่เด็ดขาด เพื่อให้ผู้ที่คิดจะกระทำผิดเกิดความเกรงกลัวไม่กล้ากระทำความผิด และ คงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย ซึ่งโทษประหารชีวิต ถือว่ายังคงมีความเหมาะสมกับประเทศไทย เมื่อเทียบกับปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้น และ ในทางปฏิบัติประเทศไทยได้มีการคุมขังนักโทษประหารชีวิตโดยชะลอการลงโทษประหารชีวิตและมีนักโทษที่จะถูกประหารชีวิตค่อนข้างน้อย จะเห็นได้ว่าประเทศไทยมิได้มีความเคร่งครัดต่อการบังคับโทษประหารชีวิตทันที   

        แม้ว่าการประหารชีวิต จะเป็นการพรากไปซึ่งสิทธิในชีวิตร่างกาย ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่เมื่อเปรียบกับสภาพที่เกิดขึ้นในสังคม ที่มีการก่อเหตุร้าย ความรุนแรงเพิ่มขึ้น และมีวิธีการรูปแบบที่มีความสลับซับซ้อนโหดร้ายมากกว่าในอดีต การคงไว้ซึ่งโทษประหารชึวิตจึงเป็นการเหมาะสมเพื่อให้กฎหมายมีความสอดคล้องกับสภาพการณ์ในสังคมปัจจุบันและ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดี จึงต้องมีบทลงโทษที่เด็ดขาด หากยกเลิก การประหารชีวิต ก็อาจทำให้เกิดปัญหาอื่นๆมากมายตามมา และ ยังทำให้กฎหมายเสื่อมความศักดิ์สิทธิ์

อ้างอิง

[1] สิทธิมนุษยชน (Human Right)

http://kittayaporn28.wordpress.com/%E0%B9%82%E0%B8...

[2]ข้อดีข้อเสียของโทษประหารชีวิตกับสังคมไทย

http://elib.coj.go.th/Ebook/data/judge_report/jrp2...

หมายเลขบันทึก: 566826เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2014 21:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 19:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท