กฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย


          สิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่ประชาคมโลกให้ความสำคัญ จึงทำให้มีการร่วมมือในการตกลงร่วมในสนธิสัญญาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน โดยมีขั้นตอนในการทำสนธิสัญญาและเมื่อได้เข้าเป็นแล้ว ก็ต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาต่อไป การเข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญาทำให้ต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับสนธิสัญญา มิฉะนั้นอาจต้องรับผิดในทางระหว่างประเทศ ดังนั้น เมื่อประเทศไทยเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน ประเทศไทยก็ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีของสนธิสัญญาดังกล่าว

         ในปัจจุบันประเทศไทยเป็นภาคีสนธิสัญญา ด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งสหประชาชาติถือเป็น สนธิสัญญาหลัก จำนวน 7 ฉบับจาก 9 ฉบับได้แก่

1.อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child - CRC)

2.อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Woman - CEDAW)

3.กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covernant on Civil and Political Rights - ICCPR)

4.กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (International Covernant on Economics, Social and Cultural Rights - ICESCR)

5.อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกประติบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination - CERD)

6.อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment - CAT)

7.อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities - CRPD)

         ซึ่งแต่ละอนุสัญญาต่างก็มีจุดประสงค์แตกต่างกันออกไป โดยในประเทศไทยถึงแม้เข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาแล้ว แต่ก็ยังมีปัญหาในเชิงปฏิบัติอยู่เสมอๆ ดังเห็นได้จาก ข่าวแรงงานต่างด้าว ข่าวอาชญากรรมเกี่ยวกับการละเมิดลิทธิสตรี การปล่อยปละละเลยคนพิการในสังคมเป็นต้น ซึ่งปัญหาต่างๆเหล่านี้ยังต้องแก้ไขกันต่อไป โดยเฉพาะ สิทธิคนพิการที่ไทยได้ลงนามเป็นภาคีทั้งกฎหมายระหว่างประเทศ อย่าง อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities - CRPDโดยระบบความคิดในการทำงานด้านคนพิการต้องประกอบด้วยหลักการสำคัญ 4 ประการ ดังนี้

1.คนพิการทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน - โดยเปลี่ยนสังคมไทยจาก “เวทนานิยม” หรือ “สังคมฐานสงเคราะห์” ไปสู่ “สังคมฐานสิทธิ”ซึ่งคนพิการทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันและเท่าเทียมกับคนทั่วไป เช่น คนพิการทุกคนจะได้ “เบี้ยความพิการ” เดือนละ 500 บาท ตั้งแต่เมษายน 2553 ส่วน “สังคมฐานสงเคราะห์” ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ให้จะให้ใคร เป็นเรื่องของเมตตาธรรม ซึ่งเหมาะกับการดูแลคนแบบปัจเจก หรือเป็นรายบุคคล ซึ่งมักปฏิบัติโดยองค์กรเอกชนแต่ ระดับรัฐต้องปฏิบัติงานโดยใช้ฐานสิทธิ

2. “ความพิการ”เป็นความหลากหลายของมนุษยชาติ คนพิการจึงมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์และสิทธิเท่าเทียมกับคนทั่วไป - การกำหนดนิยามของ “ความพิการ” จึงไม่ให้ความสำคัญต่อความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ หรือสติปัญญา แต่ “ความพิการ” ขึ้นอยู่กับสังคม สภาพแวดล้อม และโอกาส ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยคนพิการให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุขเท่าเทียมกับคนทั่วไป ถ้าสภาพแวดล้อมไม่เอื้อ คนพิการยิ่งพิการมากขึ้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าคนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างเท่าเทียมกับคนทั่วไป ความพิการก็จะไม่มาก นั่นคือ ความพิการ เกิดจากสภาพร่างกายของคนพิการ กับ อุปสรรคในสภาพแวดล้อม

3. คนพิการต้องไม่ถูกเลือกปฏิบัติ – โดยดำเนินการให้มีการปฏิบัติตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งระบุว่า การเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมต่อคนพิการจะปฏิบัติมิได้

4. คนพิการและผู้ดูแลคนพิการต้องได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย – ถ้าคนพิการและผู้ดูแลคนพิการได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายต่างๆ ความพิการจะไม่เป็นอุปสรรคและคนพิการจะสามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างเท่าเทียมกับคนทั่วไปแล้ว[1] ยังมีกฎหมายภายในประเทศรองรับอีก เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540

มาตรา 55 ระบุว่า “ บุคคลซึ่งพิการ หรือทุพพลภาพมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็น

สาธารณะ และความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ เป็นต้น

             แต่ในความเป็นจริงคนพิการได้รับการปฏิบัติไม่ได้เท่าเทียมจากคนปกติ พวกเขาถูกเลือกปฏิบัติ จากการใช้ชีวิตร่วมผู้อื่น การรับเข้าทำงาน การศึกษา และมักถูกเอารัดเอาเปรียบ จนทำให้หนทางในการลืมตาอ้าปากของคนพิการ มีอยู่น้อย ส่วนคนพิการที่มีร่างกายครบ สมบูรณ์ แต่ หูหนวก เป็นใบ้ ที่น่าจะมีหนทางในการใช้ชีวิตมากกว่าพิการในด้านอื่นนั้น กลับขาดแคลนในด้านการศึกษาอย่างเช่น ล่ามภาษามือ ความคิดของคนในครอบครัวที่กลัวคนพิการประเภทนี้ถูกล่อลวงหรือ เป็นอันตรายและเก็บพวกเขาไว้อยู่แต่ที่บ้าน ทำให้ทางออกในการพัฒนาชีวิตที่ดีขึ้นน้อยลง ทั้งนี้ในความคิดข้าพเจ้า บางเรื่องคนพิการสมควรได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างจากคนธรรมดาได้เป็นบางอย่างเช่น ในการประกอบอาชีพบางประเภทที่จำเป็นต้องมีร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง เช่น อาชีพนักบินอวกาศ หมอบางประเภท เพื่อให้งานที่ทำนั้นสำเร็จลุล่วง แต่ ในอาชีพที่พวกเขาสามารถทำได้นั้นมักถูกปฏิเสธอยู่เสมอ

             ดังนั้นรัฐรวมทั้งเอกชน ควรให้โอกาสทั้งในด้านการศึกษา ชีวิตความเป็นอยู่ ฯลฯ กับคนพิการเพราะ คนพิการไม่ได้ด้อยในศักยภาพไปกว่า คนปกติ ดังเห็นได้จาก สตีเฟ่น ฮอคกิ้ง ที่ถึงแม้พิการไม่สามารถสื่อสารทางคำพูดแต่ยังผลิตผลงานทางวิทยาศาสตร์ได้

อ้างอิง

[1] พชร วิเชียรสรรค์, สิทธิคนพิการ ค้นเมื่อ 26 เมษายน 2014 แหล่งที่มา:http://www.l3nr.org/posts/367092

ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชน,สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ค้นเมื่อ 26 เมษายน 2014

 แหล่งที่มา:http://www.nhrc.or.th/2012/wb/th/contentpage.php?i...

กฏหมายสำหรับคนพิการ,กระทรวงแรงงาน ค้นเมื่อ 26 เมษายน 2014 แหล่งที่มา:http://www.mol.go.th/employee/low_disabilitie

หมายเลขบันทึก: 566825เขียนเมื่อ 26 เมษายน 2014 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2014 03:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท