beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

ครอบครัวตึ๋งหนืด <๓๓> เมื่อตี๋งหนืดถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรายปีบริการผูกบัญชีเงินฝากกับบัตรเครดิตเพื่อใช้บริการ ATM จะทำอย่างไร?


อาจจะเข้าทำนอง "เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย"

   หลังสงกรานต์ ได้รับจดหมายจากธนาคารกสิกรไทย ลงวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๗ เรื่อง

เรื่อง การเก็บค่าธรรมเนียมรายปีบริการผูกบัญชีเงินฝากกับบัตรเครดิตเพื่อใช้บริการที่เครื่องเอทีเอ็ม (แทนบัตรเดบิต/บัตรเอทีเอ็ม)

    ความว่า

ธนาคาร ขอขอบพระคุณท่านที่ได้มอบความไว้วางใจใช้บริการบัญชีเงินฝากผูกกับบัตรเครดิต เพื่อช้บริการเอทีเอ็มบนบัตรเครดิตผ่านตู้เอทีเอ็ม (ATM) โดยบริการบัญชีเงินฝากผูกกับบัตรเครดิตของท่านมีรายละเอียด ดังนี้

หมายเลขบัตรเครดิต เลขที่บัญชีเงินฝากที่ผูกกับบัตรเครดิต
5239xxxxxxxxxxxx4 554xxxxxx2
4921xxxxxxxxxxxx1
294xxxxxx8
4921xxxxxxxxxxxx4 107xxxxxx6


    ธนาคารขอเรียนให้ทราบว่า ตั้งแต่วันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๗ เป็นต้นไป ธนาคารจะทำการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรายปีบริการบัญชีเงินฝากผูกกับบัตรเครดิตเพื่อใช้บริการเอทีเอ็มบนบัตรเครดิต ในอัตรา ๒๐๐ บาทต่อปี ต่อบัตร (บัตรเครดิต)  โดยการตัดชำระผ่านการหักบัญชีเงินฝากของท่านในเดือนมิถุนายนของทุกปี 

    หากท่านไม่ประสงค์ให้ธนาคารหักบัญชีเงินฝากเพื่อตัดชำระค่าธรรมเนียมข้างต้น ท่านสามารถแจ้งยกเลิกบริการบัญชีเงินฝากผูกกับบัตรเครดิต ภายในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗ โดยกรอกแบบฟอร์ม พร้อมจัดส่งที่สาขาของธนาคารได้ทั่วประเทศ ซึ่งธนาคารจะทำการยกเลิกบริการดังกล่าวและส่ง SMS แจ้งผลดำเนินการให้ท่านทราบภายใน ๑๐ วันทำการ...

   บีแมนพิจารณาแล้ว

  1. มีเหตุผลสมควรที่ธนาคารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ATM เพราะได้ใช้บริการฟรีมานานแล้ว
  2. โดยจะทำการยกเลิกบัตรเครดิตที่ผูกกับบัญชีออมทรัพย์ ๒ ใบ คงเหลือไว้เพียงใบเดียว และอาจพิจารณาปิดบัญชีออมทรัพย์และปิดบัตรเครดิตต่อไป
  3. โดยบัตรเอทีเอ็ม ที่เหลืออยู่ ๑ ใบ สามารถใช้โอนเงินข้ามเขตบัญชีได้ฟรี ๑ ครั้งต่อเดือน และค่าธรรมเนียมทั่วไปถูกว่าโอนผ่านตู้หรือผ่านพนักงาน
  4. การทำบัตรเดบิต (เอทีเอ็ม) ที่ผูกกับบัญชีธนาคารใบใหม่ เสียค่าธรรมเนียมรายปีแพงกว่า อยู่ที่ ๒๕๐ บาท
  5. ต้องจดบันทึกรายจ่ายจากค่าธรรมเนียมที่ประหยัดได้ เนื่องด้วยการใช้บัตรเครดิต ว่าจะคุ้มค่าปีละ ๒๐๐ บาท หรือไม่ (ซึ่งคาดว่าน่าจะคุ้ม) โดยไม่คำนึงถึงดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ ที่เหลือร้อยละ ๕๐ สตางค์ต่อปี
  6. รออีก ๑ ปี ค่อยมารายงานความตึ๋งหนืดใหม่..อิอิ

    บางครั้ง ในเหตุผลความจำเป็น เราต้องมีวิธีคิดแบบใหม่ๆ เพื่อการประหยัด ไม่ใช่จะยืนยันไม่จ่ายท่าเดียว ซึ่งอาจจะต้องจ่ายมากกว่า เหมือนสุภาษิตคำพังเพยโบราณที่ว่า "เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย" ยังไงยังงั้น 

หมายเลขบันทึก: 566670เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2014 17:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 เมษายน 2014 20:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท