เสียงสะท้อนจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลคุณภาพชีวิตในเขตพื้นที่ปนเปื้อนแคดเมี่ยม


         จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลการศึกษาภาระโรคจากแคดเมี่ยมในพื้นที่ อ.แม่สอด เพื่อศึกษาวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ปนเปื้อนสารแคดเมี่ยมใน 3 ตำบล ในระหว่างวันที่ 17-21 กุมภาพันธ์ 2557 โดยได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลแม่สอด ในการประสานกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ของแต่ละพื้นที่ เพื่อนัดกลุ่มตัวอย่างมาสัมภาษณ์ รพ.สต 4 แห่ง ได้แก่ รพ.สต แม่ตาว รพ.สต แม่กุ รพ.สต แม่กุเหนือ รพ.สต พระธาตุผาแดง อสม. 12 หมู่บ้าน รวมทั้งหมด 34 คน ซึ่งมีการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด 326 คน จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 408 คน 

        แม้จะพบข้อจำกัดในการลงพื้นที่ ในเรื่องของ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ มีปัญหาในการสื่อสารให้เข้าใจในข้อคำถาม และมีปัญหาเรื่องการได้ยินบางกลุ่มเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ไม่เข้าใจภาษาไทย ต้องใช้ล่ามในการแปลภาษา รวมถึงวิถีชีวิตบางกลุ่มไปทำงานนอกพื้นที่ ตอนเย็นหรือค่ำจึงจะกลับบ้าน จำเป็นต้องไปสัมภาษณ์ที่บ้าน โดยให้ อสม. พาไป ซึ่งต้องใช้เวลานานและกลับออกจากพื้นที่ที่ไปสัมภาษณ์ค่อนข้างดึก แต่คณะทำงานกลับมีกำลังใจและมุ่งมั่นเป็นอย่างมาก เนื่องด้วยทีมงานที่มีความทุ่มเท และการสนับสนุนที่ดี จากโรงพยาบาลแม่สอด และ เจ้าหน้าที่ทุกท่าน รวมถึงลุงป้านน้าอาชาวแม่สอดที่แสนน่ารักที่สละเวลาร่วมให้ข้อมูลตอบแบบสอบถามในการเก็บข้อมูลอย่างเต็มที่ 7 วัน ที่ได้อยู่ร่วมกันและลงพื้นที่ 

        นอกจากข้อมูลคุณภาพชีวิตแล้ว คณะทำงานได้เรียนรู้ ได้ฟังเรื่องราวชีวิต ได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ เรียนรู้คนเรียนรู้ชุมชน ทุกความประทับใจ สร้างความมุ่งมั่นว่า ข้อมูลต่างๆ มากมายเหล่านี้จะนำกลับมาดำเนินการวิเคราะห์เพื่อสะท้อนให้คืนกลับสู่ชุมชนเพื่อการพัฒนาต่อไป

หมายเลขบันทึก: 566643เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2014 11:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 เมษายน 2014 11:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มาจากไหน..คะ..สารนี้..แม่สอด...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท