ผู้ประกอบธุรกิจต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนด้วยหรือ


 ตามหลักปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนสากลนั้น มนุษย์ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครอง และขจัด การปฏิบัติอันถือเป็นการกระทำที่มีลักษณะละเมิดสิทธิ หรือ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดังนั้นแล้วไม่ว่าจะเป็นการกระทำของรัฐ หรือ เอกชนก็ตามจะต้องเป็นการกระทำที่มีลักษณะไม่เป็นการไปละเมิดสิทธิมนุษยชนของบุคคลอื่นจนเกินความสมควร 

  สิ่งที่จะกล่าวในบทความนี้ คือ เรื่องของการประกอบธุระกิจต่างๆไม่ว่ารัฐ หรือ เอกชนจะเป็นผู้ดำเนินการก็ตามแต่สิ่งที่สำคัญ ธุระกิจหรือ กิจการเหล่านั้นจะต้องไม่ไปกระทบกระเทือน หรือ ละเมิดสิทธิมนุษยชน ของบุคคลอื่นมากจนเกินไป ซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าเป็นหลักประการสำคัญที่ผู้ประกอบธุระกิจต่างๆพึงต้องคำนึงถึง มิใช่จะคำนึงถึงแต่เพียงผลกำไรจากการประกอบธุระกิจเพียงอย่างเดียว 

  จากตัวอย่างที่อาจารย์ได้พูดถึงในห้องนั้นเป็นเรื่องของการโฆษณา ซึ่งการโฆษณาถือเป็นเทคนิคทางการตลาดที่สำคัญสำหรับผู้ที่ประกอบธุระกิจที่มีลักษณะเป็นการซื้อขายสินค้า แต่กระนั้นการโฆษณา ถึงสรรพคุณของสินค้าของตนนั้นจะต้องคำนึงถึงรูปแบบของการโฆษณาว่ามีลักษณะที่จะไปกระทบต่อสิทธิมนุษยชนหรือไม่ แต่การจะสังเกตุว่าลักษณะใดที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้นคงจะต้องคำนึงถึงลักษณะทางสังคม จารีต ประเพณีและวัฒนธรรมของสังคม นั้นด้วย เพราะการกระทำบางอย่างอาจจะรู้สึกว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของสังคมหนึ่ง แต่กับอีกสังคมหนึ่งอาจถือเป็นเรื่องปกติธรรมดาก็เป็นได้ ตัวอย่างเช่น โฆษณาที่อาจารย์ได้ยกตัวอย่างให้ดูนั้น โฆษณาตัวแรกที่เป็นการนำคนผิวดำมาถือโดนัทสีดำ และมีการทาลิฟสติกสีชมพู(เป็นสีที่ดูโดดเด่น) สำหรับสังคมไทยแล้วข้าพเจ้าคิดว่าการะโฆษณาดังกล่าวยังไม่ได้มีลักษณะของการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเห็นได้ชัด เพราะเรื่องของการเหยียดสีผิวในสังคมไทยนั้น มิได้มีความละเอียดอ่อนเท่ากับประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเขามีปมประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องของทาส ที่เป็นชนผิวดำที่ถูกกดขี่มาอย่างยาวนาน ดังนั้นจึงทำให้ชาวอเมริกามองว่าโฆษณาดังกล่าวของประเทศไทยมีลักษณะไม่เหมาะสมเพราะเข้าข่ายของการเหยียดสีผิว อันเป็นการละเมิดหลักสิทธิมนุษยชน

  อีกตัวอย่างหนึ่งที่ข้าพเจ้าเคยอ่านข่าวเจอในเรื่องของการเหยียดสีผิว เป็นข่าวที่มีข้อเท็จจริงที่ว่า มีนิตยสารที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับนางแบบฉบับหนึ่งของไทย ได้นำรูปนางแบบผิวสีชาวอเมริกามาขึ้นบนปกนิตยสาร แต่สิ่งที่ก็ให้เกิดข้อวิพากษ์วิจารณ์ขึ้น คือ การที่นิตยสารฉบับนั้นได้ปรับเรื่องของแสงให้มีความสว่างขึ้น ทำให้รูปของนางแบบผิวสีที่นำมาขึ้นปกดูขาวกว่า รูปจริงที่เป็นต้นฉบับ จึงทำให้เกิดการวิพากษ์เป็นอย่างมากว่าการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายลักษณะของการเหยียดสีผิวเพราะโดยปกติแล้วสำหรับประเทศสหรัฐอเมริกานั้น การนำรูปนางแบบขึ้นบนปกหนังสือจะไม่มีการปรับเรื่องของแสง หรือ เพิ่มความสว่างให้กับหน้าของนางแบบแต่อย่างใด กรณีนี้เองที่ทำให้ข้าพเจ้าสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่า เรื่องของการเหยียดสีผิวในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก หากแต่สำหรับสังคมไทยแล้ว การแต่งรูปให้ดูขาวขึ้นหรือ การปรับความสว่างใหห้กับรูปนั้นเป็นเพียงแต่การเพิ่มความสวยงามให้กับรูปภาพเท่านั้น มิได้มองลึกลงไปถึงกรณีที่ว่าจะเป็นเรื่องของการเหยียดสีผิวแต่อย่างใด

  หรือจะเป็นโฆษณาที่เกี่ยวกับเรื่องความอ้วน และ ความผอม ที่มักจะปรากฏอยู่เสมอว่าจะถูกนำมาเปรียบเทียบกันอยู่เสมอ ซึ่งในโฆษณาส่วนใหญ่มักจะเป็นการทำให้ภาพพจน์ของคนที่มีน้ำหนักตัวมากนั้นอยู่ในทางลบ เช่น มีโฆษณาตัวหนึ่งที่ มีผู้ชายสองคน คนหนึ่งอ้วน ไปชอบผู้หญิงคนหนึ่งแล้วผู้หญิงกลับปฏิเสธ แต่ต่อมาเขาได้ทานอาหารตัวหนึ่งส่งผลให้เขาผอม และสมหวังในความรักกับผู้หญิงคนนั้น โฆษณาตัวนี้ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นการกระทำที่มีลักษณะเป็นการลดทอนคุณค่าของคนที่มีน้ำหนักมากลง ซึ่งถือเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกให้กับคนในสังคมว่าคนอ้วนนั้นต้องเป็นตัวตลกของสังคมและจะไม่สามารถที่จะเข้าสังคมได้ดีอย่างคนที่มีรูปร่างดี ซึ่งตรงนี้เองที่ข้าพเจ้าเห็นว่าในการโฆษณา เกี่ยวกับอาหารที่มีลักษณะเป็นการควบคุม น้ำหนักตัว(มิใช่การทานยาลดน้ำหนัก สำหรับข้าพเจ้าคิดว่ายาลดน้ำหนักนั้นหลอกลวงผู้บริโภค) แทนที่จะทำเป็นลักษณะการเปรียบเทียบคุณค่าของคนอ้วนและคนผอม ข้าพเจ้าว่ายังมีอีกหลายวิธีที่จะแสดงให้เห็นว่าการเป็นคนอ้วนนั้น เป็นอันตรายในลักษณะทางสุขภาพ มิใช่เป็นการเปรียบในลักษณะนี้

  ดังนั้นจากบทความที่ข้าพเจ้าได้เขียนขึ้นความเห็นของข้าพเจ้านั้น กล่าวได้ว่าไม่ว่าท่านจะกระทำการประกอบธุระกิจใๆก็ตาม ข้าพเจ้าเข้าใจว่าผลกำไรย่อมเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับนักธุระกิจที่ต้องคำนึงถึง แต่กระนั้นจะคำนึงแต่ผลกำไรคงจะดูเห็นแก่ตัวเกิดไป ผู้ประกอบธุระกิจต่างๆควรหันมามองเรื่องสิทธิมนุษยชนด้วยว่า การกระทำของตนกระทบกระเทือนถึงสิทธิเช่นว่านั้นหรือไม่ หากกระทบกระเทือนควรจะหาทางแก้ไขเยียวยา เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายมากขึ้น

หมายเลขบันทึก: 566543เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2014 22:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท