NFE Leader Camp for Agricultural Development in Thailand to ASEAN (TRAINING THE TRAINERS) รุ่นที่ 2


สวัสดีครับลูกศิษย์ กศน. ทุกท่านและชาว Blog  

         ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่โครงการค่ายผู้นำต้นแบบของ กศน. เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยสู่อาเซียน NFE Leader Camp for Agricultural Development in Thailand to ASEAN (TRAINING THE TRAINERS) รุ่นที่ 2 กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในระหว่างวันที่ 20 - 24 เมษายน 2557 ณ โรงแรมบุศยรินทร์ จังหวัดหนองคาย

         ผมรู้สึกเป็นเกียรติและขอขอบคุณ สำนักงาน กศน. โดยเฉพาะท่านเลขาฯ ประเสริฐ บุญเรือง เลขาธิการ กศน. ที่ท่านมีปรัชญาและความเชื่อเรื่องทุนมนุษย์ และได้เล็งเห็นความสำคัญเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์ขององค์กร และได้มอบหมายภารกิจสำคัญนี้ให้แก่ผมในนามของมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ร่วมกับ สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นผู้ดำเนินการโครงการค่ายผู้นำของ กศน. ในครั้งนี้ ซึ่งนับว่าเป็นการจัดสำหรับรุ่นที่ 2 แล้ว มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ รวม  103 คน 

         ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการนี้จะเป็นตัวอย่างที่ดีต่อการพัฒนาผู้นำในอนาคตเพื่อพัฒนาเกษตรกรของไทยให้ก้าวไกลต่อไป จึงขอฝาก Blog นี้เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารร่วมกันครับ 

         จีระ หงส์ลดารมภ์         

...........................................................................

ติดตาม Blog ของรุ่นที่ 1 ได้ที่ลิงค์นี้ www.gotoknow.org/posts/560141

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 566144เขียนเมื่อ 17 เมษายน 2014 10:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 เมษายน 2014 09:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (307)

สรุปการบรรยายโดย ทีมงาน Chira Academy

กล่าวต้อนรับ

โดย นายประเสริฐ บุญเรือง

เลขาธิการสำนักงาน กศน.

วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2557

เชื่อว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ดีและสามารถเป็นต้นแบบในการพัฒนาสู่เกษตรกรอาเซียนโดยเฉพาะศูนย์ฝึกอาชีพเกษตรกรชายแดนที่อยากให้พัฒนาต่อเนื่อง

โครงการในครั้งนี้จะเป็นโครงการต่อเนื่องคือคัดเลือกคน 40 คนจากในวันนี้ไปศึกษาดูงานที่ประเทศเวียดนาม และอินโดนีเซีย

ใน 100 คนจะตั้งใจอบรม รับฟัง ปฏิบัติตามที่วิทยากรขอความอนุเคราะห์ทำกิจกรรมต่าง ๆ เป็นอย่างดี

อยากให้วิทยากรให้เห็นใจคน กศน.ด้วยว่า การจัดดึกดื่นมากเกินไปอาจไม่ไหว

จากครั้งที่แล้วทุกคนให้ความเห็นว่าเป็นโครงการดีเยี่ยม เป็นประโยชน์ สามารถทำไปให้เกิดประโยชน์ต่อยอดได้ แต่ได้เสนอว่าเวลาที่อบรมแน่นไป มากเกินไป จึงขอทั้งสองฝ่ายคือ ผู้อบรมตั้งใจ และให้ผู้อบรมเห็นใจ

ให้นำเสนอสรุปในวันสุดท้ายแบบกระชับในเวลา 5 นาที โครงการนี้ได้รับนโยบายจากเลขาธิการรัฐมนตรีชาญยุทธ ได้กำหนดให้ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิฯ มารับผิดชอบ 2 สำนักงานคือ กศน. กับอาชีวศึกษา ดังนั้นจึงเกิดข้อเปรียบเทียบว่าคน กศน. กับ อาชีวะใครเอาจริงกว่ากัน อยากให้คน กศน. รักองค์กร ทำให้องค์กรเป็นชื่อเสียงอย่าให้เกิดจุดบอดขององค์กร ออกข้อสอบที่มีมาตรฐาน ว่ากราฟปกติหรือไม่ มีการประเมินที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

ขอฝากผู้เข้ารับการอบรมเรียนรู้ในวันนี้ เพราะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งนี้ คนนอกจัด วิทยากรมาจากอาเซียน และจากมูลนิธิฯ ซึ่งเป็นวิทยากรที่มีความรู้และประสบการณ์มากจึงอยากให้คน กศน.ใส่ใจและรับฟังนำไปปฏิบัติ ให้มีความตั้งใจ ทำให้ 5 วันเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร อย่าให้พูดลับหลังว่า คน กศน. ให้ทำอะไรก็ไม่ทำ ต้องมีความตั้งใจในการอบรมอย่างดี เพื่อสร้างวิสัยทัศน์และทัศนคติในความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการในระดับสากล และทำกิจกรรมต่าง ๆ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในการช่วยทำให้ประเทศชาติมีรายได้สูงขึ้น เป็นไปได้หรือไม่ในการเพิ่มค่าเฉลี่ยรายได้ประชากรต่อปี

ต้องสร้างความพร้อมของประเทศไทยให้มีความพร้อมมากเท่าที่ควร ฝากโครงการนี้เป็นโครงการที่มีค่าใช้จ่ายคุ้มค่าต่อการมาอบรมในครั้งนี้ จึงอยากให้ทุกคนที่ฟังอยู่แล้วเป็นประโยชน์สูงสุดและนำไปต่อยอดให้เกษตรกรในตำบล และอำเภอต่อไป

ขอให้โครงการดำเนินการด้วยคุณภาพ และประสบความสำเร็จ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

การทำโครงการต่อเนื่องจะยึดจากคนที่ได้รับการเรียนรู้ใน 2 รุ่นก่อน รุ่นละ 40 คน

การเสนอ กศน. กับอาชีวะ เนื่องจากเส้นทางคนที่อยู่นอกระบบการศึกษามีจำนวนมาก และมีหลายคนที่ออกไปทำงานมีทั้งเกษตร อุตสาหกรรม บริการ แต่ที่เลือกการเกษตรเพราะภาคการเกษตรของไทยมีความเข้มแข็ง

ข้อดีของกศน.คือ อยู่ในพื้นที่ และรู้จักคนอยู่แล้วแต่การบริหารจัดการการเกษตรยุคใหม่ต้องรู้เรื่องการเงิน การสร้างแบรนด์ทางการตลาด ทำอย่างไรที่มีคนเท่าเดิมแต่ให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น

ภาคการเกษตรมีเจ้าภาพหลายฝ่ายทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ กศน.

การบริหารจัดการต้องเน้น คน เงิน เทคโนโลยี และทรัพยากรธรรมชาติ

Phase 2 จะทำ 3 เรื่อง

1. ฝึกคนเป็นพี่เลี้ยง ถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาสู่อาเซียน

2. คัดเลือกโปรเจคซึ่งเป็นโครงการเกษตรที่ต้องให้เกษตรกรเข้มแข็ง

3. โอกาสในการปะทะความจริงกับประเทศในอาเซียนเช่น ปะทะการเกษตรที่เวียดนามและอินโดนีเซียเป็นต้น

หลักสูตรนี้เน้นแนวคิดอยู่ 2 เรื่อง

1. Respect ในฐานะเป็นผู้นำของ กศน.

2. Dignity เราทำงานด้วยศักดิ์ศรีของกศน.

การที่ได้มีโอกาสมารับใช้ของ กศน. เหมือนการพลิกปิรามิด เพราะ กศน.อยู่ข้างล่างสามารถกระจายความรู้ไปสู่ตำบล ท้องถิ่นได้ และในที่สุดจะช่วยประเทศของเรา

สรุปการบรรยายโดย ทีมงาน Chira Academy

ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้ในยุคโลกที่เปลี่ยนแปลง

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการสำนักงาน กศน.

วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2557

สิ่งแรกที่จะพูดในวันนี้คือจะปรับตัวให้การเรียนในวันนี้กระชับ และได้ผลเต็มที่

ความรู้ต้องชัด และสามารถต่อยอดได้ วันนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดต้องให้คนไทยเป็นสังคมการเรียนรู้ และมีความรู้สึกอยากรู้อยากเห็น โค้ชแต่ละท่านต้องช่วยเรื่อง Learning how to learn ด้วย

ก่อนอื่นให้ลองดูว่า 8K’s กับ 5K’s เข้าใจหรือไม่ 8K’s 5K’s มาจากประสบการณ์ที่สะสมในการเรียนรู้ตลอดชีวิต สิ่งนี้เป็นพฤติกรรมในการเรียนรู้

สิ่งที่อันตรายที่สุดในวันนี้คือ Intangible คืออะไรที่อยู่ข้างในของเรา

ประธานแต่ละโต๊ะต้องกระตุ้นให้แสดงความคิดเห็นในการมีส่วนเรื่องและให้ใช้ทฤษฎี 2 D มากขึ้นคือ Deep and Dive ให้แต่ละท่านอย่าพูดลอย ๆ ไปเรื่อย ๆ หรือพูดโดยไม่คิด

จุดประสงค์ในวันนี้มี 3 เรื่องคือ

1. Value Added การเตรียมตัวเป็น Training for Trainer ต้องขยายความรู้ต่อ (เมื่อได้ความรู้แล้วไปต่อยอดในระดับอำเภอ ตำบล ทำอะไรต่อ) Basic คือต้องมีคู่มือในการฝึกให้มีคุณภาพ

- เป็น กศน. สอนพลเมืองทั่วไป สอนเกษตรมูลค่าเพิ่ม ความอยู่รอด ความยั่งยืน และ การเชื่อมโยงกับอาเซียน

- 3 V ที่ชัดเจนที่สุดคือ คนที่เข้าไปพัฒนาเป็น Trainer

2. Value Creation คือจะเลือก Project ที่เกี่ยวกับการเกษตรที่ทำแล้วหรือไม่ได้ทำออกมาในบ่ายวันนี้ (ต้องเสนอโปรเจคที่ไม่เหมือนกับรุ่นที่ 1 แต่เป็นโปรเจคที่ Deep Dive 8 เรื่องตลอดการเรียนรู้) การศึกษายุคใหม่ Networking ในวันนี้สำคัญ เป้าหมายจะต้องรู้กำลังของเรา อย่าบ้าทฤษฎีจนเกินไป ให้บ้าในสิ่งที่ตรงกับความเป็นจริง

3. Value Diversity หมายถึงโปรเจคไหนก็ตามที่ปรับปรุงในภาคเกษตรต้องคิดใน Context ของอาเซียนด้วย โปรเจคหลายโปรเจคต้องเกี่ยวข้องในสิ่งที่จะไป

โครงการต่อยอดในกลุ่มที่ 2 ให้เลือกว่าจะไปดูงานเวียดนามหรืออินโดนีเซียก่อน ในลักษณะลงพื้นที่

สิ่งสำคัญคือ เราต้องมีพันธมิตรในการทำงานใน Phase 2 เช่นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สหกรณ์การเกษตร ซี.พี. ฯลฯ (ลองศึกษาดูในทุน 8K’s เรื่อง Networking)

ความรู้ของ กศน. บางครั้งกระจัดกระจาย ต้องปรับให้เป็น System ก่อนถึงค่อยมี Creativity ดังนั้นในวันนี้ขอให้กลับเข้ามาสู่ความลึกซึ้งหรือ Foundation

การเรียนรู้ต้องมี 1. Basic 2. Foundation

หลักการและเหตุผล

- เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม คนต้องจัดการการเปลี่ยนแปลงให้ได้

- คนส่วนใหญ่ในภาคเกษตร ตัวเลข 45 % เกษตรเพิ่มมูลค่า

- สัดส่วนของ GDP มี 8-10% ถ้าเพิ่มสัดส่วนของมูลค่าเพิ่มทางการเกษตร การแปรรูปสามารถสร้างคุณค่าให้เกษตรมหาศาล

วัตถุประสงค์หลัก

  • 1.อยากให้ตัวท่านเป็นผู้นำทางการศึกษาของ กศน.เพิ่มขึ้น แต่หลัก ๆ คือ ผู้นำกศน.ในยุคต่อไปต้องเป็นผู้นำแห่งการเรียนรู้ต้องเป็น Learning Leadership
  • 2.เราต้อง Serious เรื่องคุณธรรม จริยธรรม
  • 3.บทบาทของ กศน. คือต้องไป Train คน ไปสร้างโปรเจคใหม่ และนำโปรเจคไปเชื่อมโยงกับอาเซียน ดังนั้นการเตรียมคู่มือจึงต้องทำให้ดี

การมุ่งสู่ภาคเกษตรใน ASEAN 2015 ตามทฤษฎี 4 H

1. High Standard มีมาตรฐาน ปลอดสารพิษ

2. High Productivity ใช้ศักยภาพเพิ่มมูลค่าในการทำงาน ใช้ปัจจัยการผลิตเท่าเดิมแต่มูลค่าสูงขึ้น

3. High Income เมื่อมี Productivity สูงขึ้นรายได้สูงขึ้นแน่นอน ตัวอย่างเช่นทำไมสิงคโปร์หรือนิวซีแลนด์รวย เนื่องจากเน้นการวิจัย เรียกว่า Post Harvest ดังนั้นวิทยาศาสตร์กับการเกษตรต้องไปด้วยกัน เช่น Biotech

4. Higher Income Distribution คือการกระจายรายได้ ปัจจุบันคนรวย ๆ ล้นฟ้า จน ๆ มาก ทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคม

อยากให้การเรียนครั้งนี้เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน มีการประชุมประธานแต่ละโต๊ะบ่อย อยากให้ประธานได้แชร์ความรู้มากที่สุด แบ่งปันความรู้ให้ดี ในห้องนี้ทั้ง 100 คน ต้องมีส่วนร่วม

แสดงความคิดเห็นลงไปใน Blog ทุกวัน

แก่นที่มีอยู่ในวันนี้คือวิธีการเรียน

1. ฝึกให้คนคิดเป็น วิเคราะห์เป็น

2. ฝึกให้ต่อยอด

แนวคิดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

1. ทำอะไร

2. ทำเพื่อใคร

3. ทำแล้วได้ประโยชน์อย่างไร

หลักการทำงาน

  • 1.ให้มองถึง Macro แล้วไปทำ Micro
  • 2.ทำอะไรเป็นขั้นเป็นตอน
  • 3.ทำอะไรง่าย ๆ
  • 4.ผลกระทบต่อภูมิสังคมในวงกว้าง
  • รู้-รัก-สามัคคี
  • รู้ ทำอะไรต้องรู้จริง อะไรเห็นแล้วไม่มั่นใจให้ถาม
  • รัก ทำอะไรต้องรักในสิ่งนั้น เช่น ทำกศน.มีความสุขในการทำงานหรือไม่
  • สามัคคี ทำอะไรให้ทำเป็นทีม อย่าทำคนเดียว ความหลากหลายแต่ละโต๊ะ ถ้าร่วมมือกันได้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
  • กฎของ Peter Senge
  • 1. รู้อะไร รู้ให้จริง
  • 2. กรอบความคิด มีแบบอย่างทางความคิดที่ดี เช่น ทำอย่างไรให้ตัดสินใจให้ Improve ด้วยตนเอง ความสามารถในการเปลี่ยนวิธีการคิด
  • 3. มีเป้าหมายร่วมกัน
  • 4. เรียนรู้เป็นทีมช่วยเหลือกัน
  • 5. มีระบบการคิด มีเหตุมีผล
  • 4L’s
  • 1.Learning Methodology วิธีการเรียนรู้ เช่น ถามคำถามที่ไม่มีคำตอบชัดเจน
  • 2. Learning Environment การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้
  • 3. Learning Opportunity โอกาสที่เกิดจากการเรียนรู้ เช่น การมีโอกาสในการปะทะกันทางปัญญา
  • 4. Learning Community เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้
  • 2 R’s
  • Reality – ทำอะไรก็แล้วแต่ต้องไปปะทะกับความจริง เช่น หาความจริงว่าเกษตรในอาเซียน หน้าตาเป็นอย่างไร เขียนช่องว่างมาว่าอยู่ตรงไหนบ้าง
  • Relevance – ตรงประเด็น เมื่อได้ช่องว่างแล้วอย่าทำตัวรู้ทุกเรื่อง เลือกประเด็นที่ Relevance ต่ออาเซียนในประเด็น Context ให้ได้ เราต้องเดินยุทธศาสตร์ที่เป็นประโยชน์จริง ๆ มูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการเกษตร มาจากการเกษตรแปรรูป
  • 2I’s
  • Inspiration – จุดประกาย
  • Imagination – จินตนาการ

คุณพิชญภูรี พึ่งสำราญ

ที่เราพูดในวันนี้ประกอบด้วย กศน. ภาคการเกษตร และอาเซียน โดยทั้ง 3 นี้ มีกระบวนการที่ต้องใช้คือ Learning how to learn

โจทย์คือ High Value Agricultural เป็นทั้งความร่วมมือจากไทยและอาเซียน

Learning how to learn ได้แก่

8K’s 5K’s คือพื้นฐานของทุนมนุษย์ (Capital-จะเป็นทุนได้ต้องเสียก่อนได้)

Learn – Share - Care

Care ความคิดที่แตกต่างกัน ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน ความหลากหลายจะนำไปสู่ความเจริญ

แต่ละกลุ่มต้องคิดออกมาเป็นโครงการ Turn idea into action และ Turn action into success

2 R’s

นวัตกรรม สิ่งที่มีอยู่แล้วแต่นำไปใช้ต่อสิ่งใหม่ นำสู่ความสำเร็จทางเศรษฐกิจ ต้อง Increase high income เอาของเก่ามาทำใหม่ แต่เป็นที่ไม่เคยทำมาก่อน ต้องโยงไปถึง Sustainable

โจทย์สำหรับแต่ละกลุ่มร่วมแสดงความคิดเห็น (เลือก 1 เรื่อง)

1. ให้คุยในกลุ่มว่าตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงมีอะไรเป็น Value ให้กับตัวเอง 1 เรื่อง

2. คาดหวังอะไร

กลุ่มที่ 3

1. สิ่งที่ได้วันนี้คือ การคิดภาคการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการคิด Model หรือการเรียนรู้รูปแบบใหม่ คิดวิสัยทัศน์ เกษตรเพื่อเข้าสู่อาเซียน

2. สิ่งที่คาดหวัง คือทำอย่างไรให้พี่น้องในพื้นที่เกิดการเรียนรู้ได้อยู่อย่างยั่งยืน ภายใต้สิ่งที่กำหนดตามสถานการณ์

กลุ่มที่ 6

1. เกิดคำถามว่า กศน.จะมีส่วนร่วมในภาคการเกษตรอย่างไรเพื่อลดช่องว่างในภาคเกษตรกับอาเซียนในสังคมอย่างไร

กลุ่มที่ 5

1. Learn – Share- Care เป็นกระบวนการเรียนรู้ของกศน. จะเป็นผู้เชื่อมเครือข่ายให้ภาคเกษตรมีความรู้สู่การเข้าอาเซียนอย่างมีประสิทธิภาพ

กลุ่มที่ 7

1. บทบาทของกศน.เป็น กศน.ที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด ความรู้เกษตรเป็นแบบพื้น ๆ หรือพออยู่พอกิน ทำขายได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ไม่คิดว่าจะพาไกลขนาดนี้คือเกษตรสู่อาเซียน ได้แรงบันดาลใจในการกล้าคิดในการก้าวสู่อาเซียนต่อไป

กลุ่มที่ 8

1. Change ได้มิตรภาพ ได้เรียนรู้ร่วมกัน ได้สร้าง Network ได้รับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคร่วมกัน ระหว่างภาคการเกษตรของกศน.

2. คาดหวังได้กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อทำอะไรสู่อาเซียนได้

กลุ่มที่ 4

1. ความรู้ที่ได้ในวันนี้ต้องลงลึกให้ชัดเจน มีความรู้พื้นฐาน สามารถนำเอาความรู้ให้ประชาชนเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชนนั้น ๆ เปลี่ยนจากการทำเกษตรแบบเดิม ๆ สู่การเปลี่ยนแปลง

กลุ่มที่ 1

1.นวัตกรรมเรียนรู้ไปต่อยอดไปขยายเครือข่าย 1 : 100 เราต้องสร้างองค์ความรู้ให้กับตัวเองให้มากพอที่จะไป Train คนได้

กลุ่มที่ 2

1. ได้หัวข้อเพิ่มมูลค่าและคุณค่า คือรู้จริง วิเคราะห์เป็นระบบ มีคุณธรรมจริยธรรม นำสู่แผนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ใช้เครื่องมือของ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์มาประกอบกันเป็นแผน

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การพูดว่าเห็นคุณค่าได้อย่างไร

1. เกษตรที่เคยอยู่ของ กศน.เป็นเกษตรพื้นบ้าน ถ้า กศน.บางส่วนวิ่งไปสู่แบรนด์ที่สูงขึ้นก็จะทำ

อันไหนที่สร้างเป็นพื้นฐานเดิมก็ยังทำอยู่

2. การมีความรู้เรื่องเกษตรของกศน.ยุคใหม่ต้องใช้เวลา ใช้ Knowledge ที่มีอยู่ในครั้งนี้ทำเป็นเครื่องมือคือ ไป Train เขา และไปทำ Project และไปLink กับอาเซียน

3. จาก 2 R’s จะเห็นว่าทุกโปรเจคไม่ได้ไปสู่อาเซียน ดังนั้นความเป็นจริงคือเอาเกษตรมาตั้งก่อนว่าคืออะไร แล้วจะเอากศน. ไปเสริมอะไร

เป็นโอกาสที่ดีมากที่ได้มาเรียนรู้ในโครงการนี้ขอบคุณท่านอาจารย์จริงๆค่ะ

สรุปการบรรยายโดย ทีมงาน Chira Academy

บทบาทของ กศน. และสร้างคุณค่าให้แก่ภาคการเกษตรด้วยแนวคิดแบบ 3 V

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการสำนักงาน กศน.

วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2557

บทบาทของ กศน.และสร้างคุณค่าให้แก่ภาคการเกษตรด้วยแนวคิดแบบ 3 V

  • 1.3 V ต้องสามารถ Apply กับสิ่งที่เกิดขึ้นในภาคเกษตร
  • Value Added - การนำการเรียนรู้ที่เรียนมาสู่การต่อยอด Training the Trainer 1: 100
  • Value Creation – การคิดโครงการใหม่ ๆ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ เน้นทฤษฎี Blue Ocean มีลูกค้าใหม่ ความสร้างสรรค์ใหม่ นวัตกรรมใหม่ กศน.คิดสร้างสรรค์เพื่อไปสู่เกษตร
  • Value Diversity – โครงการที่คิดสามารถสร้างความร่วมมือในอาเซียนได้ เช่น ถ้าคิดทำเรื่องเกี่ยวกับผลไม้ กศน.ต้องจับมือกับ ม.เกษตร ม.ขอนแก่นได้ หรือ Link ทางด้านวิทยาศาสตร์กับเวียดนาม เช่น เวียดนามมีศูนย์วิจัยพันธุ์พืชอยู่ ก็อาจร่วมมือกับเขา
  • 2.ปลูก คือ การพัฒนาทุนมนุษย์ ตามทฤษฎี 8K’s 5K’s
  • ทุนมนุษย์คือตัวแม่ ที่เหลือคือตัวลูก เช่น ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความสุข ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
  • 3.เก็บเกี่ยว อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้เป็นเลิศ อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้มีมาตรฐานสูงขึ้น การเปลี่ยนพฤติกรรม ต้องเปลี่ยนวิธีการคิด กระบวนการคิดของเขา ต้องการให้ 5 วัน มีแรงบันดาลใจ เรียนรู้ มีความสุข เป็นมิตรกับดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ สำคัญที่สุดคือ การเรียนครั้งนี้ไม่ใช่สอนหนังสืออย่างเดียว ต้องทดลองในกรณีศึกษา
  • 4.Execution เมื่อเราเข้าไปช่วยการเกษตรใน Real Sector ช่วยจริงหรือไม่ และถ้าจะสนับสนุน Project ในอาเซียนต้องมีใครบ้าง ต้องบริหาร Real Sector เพราะ Private Sector (ภาคเอกชนเท่านั้น) เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต

การพัฒนาทุนมนุษย์ด้วย 8K’s + 5K’s และการบริหารทุนมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพจะนำไปสู่สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของการปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงในอนาคต คือ

1. Standard มีมาตรฐาน

2. Quality มีคุณภาพ

3. Excellence มีความเป็นเลิศ

4. Benchmarking เทียบเคียงกับคู่แข่งได้

5. Best Practice เป็นแบบอย่างการปฏิบัติที่ดีที่สุด

ในด้านเกษตร...การรวมตัวกันของอาเซียน 10 ประเทศมีความหลากหลาย (Diversity) มากมาย ยกตัวอย่างเช่น

บรูไน - มีรายได้สูง แต่ซื้อสินค้าเกษตรจากไทยจำนวนมาก

สิงคโปร์ - ไม่มีพื้นที่ แต่อยากมีความสำคัญในภาคเกษตร

อินโดนีเซีย - เป็นประเทศที่น่าสนใจ มีประชากรมาก มุสลิมมาก เป็นเกาะ ความต้องการสินค้าเกษตรจากเรามีมหาศาล ซื้อข้าวจากเรามาก ซื้อไก่ เพราะประเทศเขาเป็นฮาลาล เป็นมุสลิมที่ไม่เหมือนมาเลเซีย เพราะคนมาเลเซียมีทัศนคติต่อประเทศไทยที่ไม่น่าไว้วางใจ

ลาว กับ ไทยมีความสัมพันธ์มากในด้าน Contract Farming และต้องการเทคโนโลยีจากไทย

เวียดนาม เมื่อ 10 ปีที่แล้วพึ่งพาเรามากในการแปรรูปการเกษตร แต่ยังต้องการ การเกษตรเชิงพาณิชย์ Commercial Agriculture ที่เขาเก่งเรื่องข้าวเนื่องจากประเทศไทยผิดพลาดเรื่องข้าว

มาเลเซีย เก่งมาก ๆ เรื่องปาล์ม ถ้าเปิดเสรีเรื่องปาล์ม ไทยสามารถแข่งขันได้หรือไม่ มาเลเซียเป็นประเทศที่น่ากลัวสำหรับการแข่งขันกับประเทศไทยมาก

พม่า เคยรุ่งเรืองทางเกษตรมาก แต่วันดีคือดีจะอยู่ในมือของทหาร แต่วันนี้พม่าเปิดประเทศแล้ว กศน. ไทยกับพม่าจะมีความสัมพันธ์กันอย่างไรเป็นเรื่องสำคัญมาก

ในอาเซียน ความหลากหลายของ Economy สามารถอยู่ใน Value Chain ได้หมดเลย

กศน.มีบทบาทมากในการจัดการเรื่องสารพิษต่าง ๆ

ทำอย่างไรเปลี่ยน Diversity ทางการเกษตรให้เกิดมูลค่าสูงสุด

Value Chain ทางการเกษตรของกศน.

- เกษตรของกศน. ต้องผลิต มีวัฒนธรรม ความรู้และความใฝ่รู้สู่การสร้าง 3 V

ห่วงโซ่อุปทานสุดท้ายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนเพื่อไป Value Creation คือ

- ปัจจัยการผลิตสู่การผลิตสู่การขนส่ง Logistics สู่การเก็บรักษา สู่การขาย การตลาด การสร้าง Brand สู่การบริการหลังการขายสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าสู่ ความพึงพอใจในอาเซียน

Value Creation น่าจะมาจาก

1. Creativity capital

2. Innovation

3. Digital

4. Talented

Workshop

1. เสนอโครงการที่เป็นรูปธรรมที่คิดว่าทำกับอาเซียนและเกิด Value Creation และสามารถปฏิบัติได้โดย กศน.

2. เสนอโครงการที่สามารถทำให้กศน.นำเอาแนวคิดความร่วมมือกับอาเซียนไปสู่ Value Diversity ที่เป็นรูปธรรม

กลุ่มที่ 6 หมู่บ้านเกษตรอินทรีย์เพื่อความยั่งยืนสู่การท่องเที่ยวอาเซียน

หลักการเหตุผล

1. ปัจจัยทางการเกษตรพืชทุกชนิดคือปุ๋ยมีความสำคัญเรื่อย ๆ แต่ปัจจัยการเกษตรลดลง

2. โครงการ SMEs พบว่ามีความต้องการปุ๋ย 85 %

3. มติอาเซียน สินค้าทางการเกษตรทุกอย่างถ้าเป็นเคมีห้ามจำหน่าย อย่างบางประเทศในอาเซียนห้ามใช้เคมี เช่น ลาว กัมพูชา แต่สำหรับประเทศไทยยังไม่ได้ออกมาห้ามอย่างชัดเจน

วิธีการคือ

1. การนำร่องโดยใช้หมู่บ้านเกษตรอินทรีย์

2. ใช้งบเศรษฐกิจพอเพียงตำบลละ 1 หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านนำร่องทุกอย่างเป็นเกษตรอินทรีย์ทั้งหมด เมื่อครบงบประมาณก็เปลี่ยนหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านอื่น ๆ และขยายสู่ตำบล

3. การดึงเครือข่าย เกษตรอำเภอ อบต. มาเพื่อให้ได้งบ และให้ความรู้ทางการเกษตร

4. สิ่งที่สร้างมูลค่าคือ ทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งดูงานได้ เป็นแหล่งเรียนรู้ อย่างเช่นมีจังหวัดบึงกาฬ จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดชายแดนที่ติดต่อทำการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน และเชิญชวนประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และภูมิปัญญาเพื่อการเรียนรู้

แสดงความคิดเห็นโดย อาจารย์ชูศักดิ์

กลุ่มนี้มาถูกทาง แต่วิธีคิดต้องเข้าใจในระบบก่อนว่าใช้ได้จริงหรือไม่ แล้วสร้างมูลค่าเพิ่มเช่นการท่องเที่ยว ต้องสร้างเครือข่ายให้ได้และสร้างเครือข่ายให้ดีที่สุด

กลุ่มที่ 7 การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรชุมชนแบบปลอดสารพิษสู่ AEC

หลักการและเหตุผล

1. สินค้าในประเทศไทยล้นตลาด มีสารเคมีตกค้าง ราคาตกต่ำ กระแสเรื่องสุขภาพอนามัยตื่นตัวมาก

การแก้ปัญหาสินค้าล้นตลาดทำอย่างไร ให้มีการจัดสรรแบ่งโซนการผลิตสินค้าเพื่อให้สินค้าที่จะออกไม่ตรงช่วงกัน

2. สร้างบุคลากรเพื่อให้ความรู้เกษตรกรหรือชาวบ้าน จะผลิตสินค้าปลอดสารพิษได้อย่างไร

3. สร้างเครือข่ายในประชาคมอาเซียน

4. การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในการผลิต ให้ใช้สารปลอดภัยได้มาตรฐาน

5. แปรรูปผลผลิต ใช้กระบวนการวิจัยเพื่อใช้สินค้าในรูปแบบการถนอมและรักษาคุณภาพสินค้าให้ได้นาน ๆ

การเข้าสู่ AEC

1. สร้างเครือข่ายในประชาคมอาเซียน

2. ทำอย่างไรให้สินค้ามีคุณภาพปลอดภัย น่าซื้อ

3. เพิ่มทักษะในเรื่องภาษา

แสดงความคิดเห็นโดย อาจารย์ชูศักดิ์

เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าทำได้จะเป็นการสร้าง Value ในตัวสินค้านั้น ๆ การอยู่ในอนาคตต้องมีเพื่อนในอาเซียนถึงจะสร้างจุดขายได้ ถ้าทำได้ กศน.สร้างบุคลากรที่เป็นกูรูไปสอนคนไปปฏิบัติจะทำได้อย่างไร ต้องหาคนช่วยเยอะ เช่น กระทรวงเกษตร อบต. อบจ. ทั้งหลาย

กลุ่มที่ 8 ประเทศไทยจะเป็นผู้นำผลไม้เมืองร้อนสู่อาเซียน

เราคิดเห็นอย่างไรถ้าเป็นผู้นำทางการเกษตรในอาเซียน

หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยไม่มีอัตลักษณ์ที่ชัดเจนด้านการเกษตร เราไม่ได้เป็นเลิศด้านข้าวหรือด้านใด ปัญหาเกษตรกรไทยคือผลิตแล้วไม่รู้ขายได้ที่ไหน แล้วไม่สามารถขายได้ราคาที่ดี จึงมีความเห็นว่าทำอย่างไรไทยจึงเป็นผู้นำผลไม้เมืองร้อนสู่อาเซียนได้ เช่นทำอย่างไรจีนจะนำเข้าสินค้าประเทศไทยได้เพียงรายเดียว

ข้อดี คือ ไทยมีผลไม้หลากหลาย แต่แปรรูปไม่ตรงตามความต้องการ เช่นแปรรูปเป็นน้ำตาลขายให้ฝรั่ง แต่จริง ๆ ฝรั่งต้องการความสดของผลไม้ ดังนั้นการทำให้เกษตรไทยเป็นหนึ่งในอาเซียนได้ต้องประกาศให้ชัดเจนว่าประเทศไทยจะเป็นผู้นำผลไม้เมืองร้อนสู่อาเซียน

แสดงความคิดเห็นโดย ดร.จีระ

ที่ชอบกลุ่ม 7 คือไปเพิ่มคุณธรรม จริยธรรม และพัฒนาศักยภาพของเราด้วย ถ้าทำเรื่องสารพิษเราต้องเป็นแกนนำและนำ Knowledge จากอาเซียนเข้ามา

กลุ่มที่ 3 โครงการผลิตข้าวกล้องงอกปลอดสารพิษ

หลักการและเหตุผล

ข้าวเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาต่อยอดหรือริเริ่มได้ คือโครงการผลิตข้าวกล้องงอกปลอดสารพิษ มีข้อดีคือ เป็นประโยชน์ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางโภชนาการ เก็บไว้ได้นานไม่ต้องจำนำ ป้องกันโรคหลายโรค

V 2 ทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์คือปรับวิถีการตลาด เราต้องปรับวิธีให้ได้เพื่อไปสู่การตลาด

ข้าวกล้องงอกปลอดสารพิษ เราต้องประชาสัมพันธ์ได้

V3 เป็นการรวมกลุ่มให้ยั่งยืน มีสถานที่ชัดเจนเพื่อนำไปสู่เวทีโลกได้

สิ่งที่ต้องทำคือ ต้องมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ประชาสัมพันธ์ด้วยภาษาที่หลากหลาย พัฒนาและวิจัยสู่อาเซียนและเวทีโลกได้

กลุ่มที่ 4 โครงการพัฒนาการเกษตรเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากการท่องเที่ยว

หลักการและเหตุผล

เมืองไทยมีชื่อเสียงทางด้านการเกษตร ตัวอย่างเช่น มังคุดตปท.ลูกละ 75 บาท แต่จริงๆ ที่สวน กก.ละ 5 บาท และเกษตรกรไทยขายสินค้าไม่ตามกำหนด

สิ่งที่จะทำคือ พัฒนาการเกษตรเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวาไปชมที่สวน เช่นที่ไร่องุ่นคุณ สุพรรษา

ข้อดีคือ เป็นการตอบรับในเรื่องการรวมตัวของเกษตรกร การเพิ่มมูลค่า การเชื่อมโยงกับภาคต่าง ๆ

กลุ่มที่ 2 ศูนย์เรียนรู้ยางพาราของ กศน.

หลักการและเหตุผล

ปัจจัยในการผลิตยางพาราขึ้นอยู่กับ ดิน ปุ๋ย น้ำยาง วิธีการปลุก สภาพการณ์ องค์ความรู้ การกรีดยาง
การทำยางแข็งแปรรูป มีวิธีการเก็บรักษาที่ถูกต้อง การเพิ่มมูลค่าสามารถทำได้หลายอย่าง และสามารถแปรรูปได้หลายอย่าง สามารถแปรรูปเป็นผลิต มีศูนย์การศึกษาและวิจัยยางพาราทั้งในภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

กลุ่มที่1 การแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพาราในชีวิตประจำวันสู่อาเซียน

ม.สุราษฎร์ มีเทคโนโลยีเกี่ยวกับยางพารา

สิ่งที่ต้องทำคือ ต้องมีเครือข่ายในการแปรรูปยางพารา

1. ตัวผลิตภัณฑ์ : รองเท้าบู้ท ,ถุงมือ,หนังยาง

2. ความรู้ สามารถนำไปเผยแพร่และต่อยอดได้

การสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์

1. เกษตรกร จากการขายยางดิบ และผลิตภัณฑ์

2. องค์ความรู้ (R&D)

3. การกระจายสินค้าสู่อาเซียน

4. การทำงานร่วมกับกลุ่มอาเซียน

โอกาสความเป็นไปได้

1. มีวัตถุดิบ

2. มีองค์ความรู้ (ม.สุราษฎร์ ,สกย.,สหกรณ์ ,มหาวิทยาลัยเอกชน)

3. ปัจจุบันราคายางพาราตกต่ำ (เพราะปริมาณยางมาก)

4. ผู้ผลิตสามารถกำหนดราคาสินค้าได้เอง

อุปสรรค

1. ชุมชนขาดความรู้

2. ชุมชนขาดแหล่งเงินทุน

กลุ่มที่ 5 การแปรรูผลผลิตทางการเกษตรเชิงสร้างสรรค์

เช่นกล้วย เนื่องจากมีการเชื่อมโยงกับบริบทต่าง ๆ ของสังคมไทย จึงควรส่งเสริมและแปรรูปให้มีการใช้และบริโภคทุกฤดูกาล เนื่องจาก ความต้องการมีตลอดเวลา และสามารถเชื่อมโยงกับการแปรรูปได้โดยเฉพาะโอกาสที่จะก้าวไปข้างหน้า เช่นเรื่องของอาเซียน ปี 58 สามารถขยายตลาดไปสู่อาเซียนมีการขยายไปในระดับโลกได้ มีการขนส่งและเชื่อมโยงมากขึ้น การพัฒนารูปแบบสู่สากล คิดเรื่องการบรรจุ Packaging การออกแบบผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่า

แสดงความคิดเห็นโดย ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอชื่นชมทุกกลุ่มเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มตามแนว 3 V เช่นยางพาราเชื่อมไปใต้ Linkกับต่างประเทศได้ อยากให้โปรเจคยางพาราทำร่วมกัน 2 ภาค

การกระเด้งถึง Agro Tourism และการกระเด้งเรื่องการสร้างทักษะ Deep Dive ใน กศน.

การสร้าง Expert จะเป็นตัวกระตุ้น

ให้แต่ละกลุ่มจำไว้ว่าหัวข้อของตัวเองคืออะไรอย่าไปเปลี่ยนหัวข้อ แต่ให้ลงลึก

สรุปการบรรยายโดย ทีมงาน Chira Academy

หัวข้อ ภาวะผู้นำ และการพัฒนาทัศนคติ (Mindset) สู่ความเป็นเลิศ

โดย รศ.ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2557

ถามความคิดเห็นผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้

ทำไมต้องมีผู้นำ

เพราะผู้นำต้องมีการพัฒนาไปข้างหน้า

ทำไมต้องมีการปรับทัศนคติ

ต้องมีการคิดเป็นระบบ (System Thinking)

Mindset กับทัศนคติเป็นอย่างไร ต่างกับ Vision อย่างไร

ทัศนคติใหญ่กว่าเพราะเป็นของตัวบุคคล

ทัศนคติเป็นตัวบนในการขับเคลื่อนสิ่งต่าง ๆ

กิจกรรมที่ 1 แจกกระดาษให้แต่ละคนหาคู่ของตนเอง

เกมส์นี้บอกอะไรเรา

- เราเห็นอะไรเรานึกถึงอย่างนั้น เช่นกรรไกร นึกถึงกรรไกร เครื่องบินหรือเครื่องบิน แต่เมื่อเวลาผ่านไปความคิดอาจเปลี่ยนไป

คำถามคือครั้งแรกอะไรเป็นตัวกำหนด

- คำตอบคือทัศนคติ

ทัศนคติต่างกันทำให้ผลลัพธ์ต่างกัน

ตัวอย่างเช่น ทัศนคติเปิดร้านอาหาร ต้องมีกำไรและรวยไว ๆ กับการเปิดร้านอาหารขอให้ฉันมีความสุขและมีเพื่อนมาทานอาหาร ทำให้ร้านทั้งสองร้านต่างกัน

ทัศนคติที่ต่างกันกับการทำงานขององค์กรต่างกัน ทำให้การทำงานข้างล่างต่างกัน

คำถาม คือทัศนคติของกศน.เป็นอย่างไร

คำตอบ เช่น อะไรก็ได้ ยืดหยุ่น ไม่ต้องอยู่ในกรอบ

คำถาม คนกับลิงอุรังอุตังต่างกันเกิน 1% จริงหรือไม่

คำตอบ ปัจจุบันวิทยาศาสตร์พิจารณาว่า คนกับลิงต่างกันไม่ถึง 1 %

มนุษย์ต่างกันเพราะอะไร

มนุษย์ต่างกันด้วยการอบรม บ่มและสร้าง (พันธุกรรมไม่ต่าง แต่พันธุกรรมเกิดจากการบ่มเพาะและการสร้าง) หน้าที่ของ กศน.คือการพัฒนาคน

การแบ่งคนตาม 4 Q ทำให้คนมีพัฒนาต่างกัน

IQ EQ MQ SQ

ตัวอย่างเช่น ถ้าคนเชื่อมด้วย IQ MQ จะเป็นคนที่มีมีความถูกต้องชัดเจน และทำตามกฎหมาย

สิ่งสำคัญคือการให้เข้าใจตนเอง เข้าใจหัวหน้า ลูกน้อง และคนที่เราไปเจอ

ต้องหาตนเองให้เจอและยอมรับว่าตนเองเป็นแบบนั้น

C นักทฤษฎี (ลักษณะคนเหนือ)

–ชัดเจน ถูกต้อง ตามกฎ มีเหตุผล ระมัดระวัง เป็นทางการมีหลักการ ยึดติดกับรายละเอียด ไม่ชอบเสี่ยง

D นักผจญภัย (ลักษณะคนใต้)

–กล้าตัดสินใจ เข้มแข็ง มุ่งมั่น ชอบการแข่งขัน มีข้อเรียกร้องสูง เป็นอิสระ มั่นใจในตัวเอง ดุดัน ผ่า ซาก เอาตัวเองเป็นหลัก ใช้อำนาจ

S นักปฏิบัติ (ลักษณะคนกลาง)

–สงบนิ่ง ระมัดระวัง อดทน เป็นผู้ฟังที่ดีถ่อมตน เชื่อถือได้ ไม่รับแนวคิดใหม่ ไม่แสดงออก ดื้อเงียบ ไม่แสวงหาการเปลี่ยนแปลง

I นักกิจกรรม (ลักษณะคนตะวันออกเฉียงเหนือ)

–ชอบเข้าสังคม ช่างคุย เปิดเผย กระตือรือร้น มีพลัง ชักจูงใจผู้อื่น ร่าเริง โวยวายเสียงดัง ไม่ระมัดระวัง ตื่นเต้น รีบร้อน ไม่สนใจเรื่องเวลา

Mindsetของคนไทย

ถ้าจนแล้วต้องขยัน ถ้าจนแล้วต้องเจียม

ถ้าเปลี่ยน Mindset ใหม่ คือต้องขยันและประหยัด ขยันและมีความรู้ คือไม่ต้องเคี่ยวเข็ญให้เรียน

Mindset ของเราจะหน้าตาอย่างไรที่ทำให้องค์กรก้าวหน้า

Value

มนุษย์เองจะเปลี่ยนตัวเองเมื่อเห็นคุณค่าของสิ่งนั้น

คนจะเปลี่ยนแปลงตัวเองเกิดจากอะไร

1. แรงจูงใจ

2. หนีความตาย

ถ้าเรายอมรับเราจะเปลี่ยนแปลงถ้าไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงจะไม่เกิดขึ้น

ความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วม

ถ้าประชาชนไม่เข้าไปหากศน. กศน.ต้องเข้าไปหาประชาชนเอง เพื่อรักษาองค์กรของเราให้รอดความตายให้ได้ การเปิดอาเซียน ถ้าคนไทยเป็นเช่นนี้ต่อไป ถ้าเปิด AEC อาการไปไม่รอดเป็นอย่างไร แรงงานราคาถูกสู้ไม่ได้ ไม่มีงานทำแน่

คนกลุ่มไหนจะเอาตัวรอดและรวยขึ้น

คนมีเทคโนโลยี คนรวย จะรวยขึ้น เพราะสามารถดึงเอาเทคโนโลยีมาใช้ได้

ถ้าคนในประเทศไทยพัฒนาไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงของอาเซียน ความน่ากลัวสูงมากคือโครงสร้างของประเทศไทยอาจมีปัญหา ถ้าคนที่อยู่ในวัยทำงานในยุคถัดไปไม่เก่งพอ ความจริง 1 คนต้องเลี้ยง 3 คน แต่เด็กรุ่นนี้ เลี้ยงตัวเองให้รอดก็เก่งแล้ว

ในสังคมเกษตรอีสาน 70% ในครัวเรือนจะเป็นผู้สูงอายุ ถ้ากระบวนการศึกษาไปไม่ถึงประเทศไทยจะไปไม่รอด

การศึกษาภาคปกติ เรียนแล้วมาใช้ได้หรือไม่

กศน.จึงเป็นองค์การแก้วสารพัดนึก

เมื่อรู้ว่ากศน.มีคุณค่าขนาดนี้ภูมิใจหรือไม่ แล้วจะไปต่ออย่างไร

Mindset เป็นตัวบอกว่าคนจะไปในทิศทางไหน เห็นคุณค่าของตนเองกับการทำงานของ กศน.หรือไม่

กศน.ให้โอกาสกับคนที่ขาดการศึกษา คุณค่าตัวเองมองว่า กศน.เป็นองค์กรแม้มีการศึกษานิดหน่อยแต่สามารถคืนคุณค่าสู่สังคมได้

กศน.ช่วยขับเคลื่อนสังคมให้น่าอยู่มากขึ้นสำหรับคนที่ขาดโอกาสและต้องการนำวุฒิการศึกษาไปใช้ประโยชน์เช่นทางเศรษฐกิจ ธุรกิจ ชุมชน และหลายคนก็สามารถไปต่อปริญญาตรีหรือปริญญาโทได้

กศน. สร้างความผูกพันอย่างดี จะรักองค์กรนี้ไปตลอด

การเห็นคุณค่ากับการหนีตาย

คนไทยเหมือนปลาทองที่อยู่ในโหลแก้ว เมื่อรู้ว่าโหลกำลังรั่วจะโดดขึ้นโหลใหญ่หรือไม่

การที่กศน.จะโดดขึ้นโหลใหญ่ ทำอย่างไรถึงเห็นคุณค่าของการโดดขึ้น คือต้องมีความก้าวหน้า และความมั่นคงล่อ

การที่คนไทยยอมโดดขึ้นโหลใหญ่ได้ต้องมีกิเลสตัณหาและความอยาก ทำอย่างไร กศน.ถึงอยากไปแบบนั้น

คำตอบ คือ มีเป้าหมายต้องชัด

อาการของประเทศไทยและกศน. ปลายทางสุดของความอยาก เป้าไม่ชัด ทำอย่างไรให้ชัด

งานคือการสร้างจินตนาการให้เกิด Imagination ว่ากศน.ในประเทศไทยจะเดินไปอย่างไร

เช่น คนในกศน.ขยัน ทำงานดีและประสบความสำเร็จในชีวิตจะอยากทำหรือไม่ คนสร้างคือคนใน กศน.เอง ดังนั้น ต้องลุกขึ้นยืนว่า กศน.ยุคใหม่ เราต้องจินตนาการให้เห็นภาพสุดท้ายว่าเราต้องการเป็นอย่างไร เช่น โครงการยางพารา เห็นคุณค่าของโครงการหรือไม่ เช่นจะเชื่อมสองภูมิภาคเลย บทบาทของกศน.จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างประชาชนกับมหาวิทยาลัยกับการสร้างความรู้ ต้องเป็นสะพานที่จะเชื่อมไป สุดท้ายต้องสร้างคน

Agro Tourism บทบางของกศน.ต้องทำอะไร กศน.ต้องเป็นผู้ประสานระหว่างเจ้าของสวนกับเจ้าของตัว

เวลาตั้งโครงการบางครั้งหลุดจาก KPI ขององค์กร แล้วจะเอาเงินจากรัฐบาลไม่ได้

บทบาทคือการสร้างกระบวนการเรียนรู้ อย่าหลุดจาก KPI ขององค์กร การวัดได้คือ Impact ที่กลับมาดี กศน.เป็นเสมือนตัวขับเคลื่อนให้ได้ อย่าหลุดออกจากฐานที่เป็นบทบาทฐานของเรา

ให้พยายาม Revise ให้นำเครื่องมือเหล่านี้ทำงานแล้วจะทำงานเร็ว

ให้ตั้งโปรเจคที่เป็นขององค์กร และให้วัด Impact

การมีจินตนาการที่ชัด มีบทบาทที่ชัด

ให้วางตอนจบคือ โปรเจคพระเอกกับนางเอกเป็นอย่างไร

ต้องหา The end of point ให้ได้ว่าจบอย่างไรให้สวย

เราจะไปข้างหน้าได้ ต้องใส่ความสามารถ ใส่ความอดทน ตัวทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มคือ นวัตกรรม และความคิดใหม่ หาความใหม่ให้เจอในสิ่งที่เราทำแล้วของพวกนี้จะขายได้

เวลาทำงานในโปรเจค

1. หาคุณค่าแท้จริงให้เจอ ไม่เช่นนั้นจะหลงทางกับความจริงข้างเคียงที่หลอกเรา

- คนดีคือคนไม่โกง กับคนที่มีโอกาสโกงแล้วไม่โกง อันไหนคือคนดี

- ทำงานแล้วได้ตำแหน่งใหญ่ เป็นความแน่นอนหรือไม่ ถ้าไปยึดติดทุกข์หรือไม่

- ความจริงที่จริงแท้คือความสุข (ความสุขจริง ๆ อยู่ข้างนอกหรือข้างในตัวเรา)

- เรารู้หรือไม่ว่าของทุกอย่างมีสองด้านเสมอ ตำแหน่งใหญ่ดูดีแต่ตำแหน่งใหญ่มีสิ่งซ่อนไหวเสมอ เช่นมีภาระที่ต้องรับผิดชอบ

- การอยู่กับความจริงแท้ในที่สุดจะประสบความสำเร็จ

2. รักแบบใดถึงยั่งยืน

- มีอาชีพที่เป็นพ่อพระแม่พระกี่อาชีพ

ถ้าโครงการที่ตั้งแล้ว ทำไมไม่ได้เริ่ม

เพราะไม่ได้ตั้งใจ

เมื่อโครงการหลุดจากเวทีอยากให้เกิดก็คือการเริ่มต้น และจะมีครั้งที่สองหรือสาม

การเริ่มโครงการ

คิดให้ใหญ่ และเริ่มให้เล็ก มีปัจจัยส่งต่อได้ แล้วโครงการจะเกิด คิดใหญ่มีงบประมาณ งานที่ทำจะเยอะ

ทำโครงการอย่างไรให้ยิ้มแย้มแจ่มใสได้ไม่ทุกข์เลย

อยู่กับปัจจุบัน ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด อย่าเอาอดีตกับอนาคตแบกไว้ ทำเสี้ยววินาทีนี้ให้ดีที่สุด ผลจะต้องดี

ใช้เหตุผลในการทำงาน

ณ เวลานั้นตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลในเวลานั้น เมื่อเวลาเปลี่ยนสามารถเปลี่ยนการตัดสินใจได้ อย่าไปซื้อเวลา มีเท่าไหร่ทำเท่าที่ทำได้ แต่อย่ากลัวเริ่มต้น ให้ใจคิดขับเคลื่อนไปข้างหน้าแล้วผลดีจะกลับมาหาเอง ให้นึกถึงความแตกต่างและความใหม่ให้ได้ ตัวอย่างเศรษฐีในโลกอาศัยความว่าง เช่น Steve Job ใช้ Cloud โยนข้อมูลไปในอากาศ Bill Gates ค้นพบสัจธรรมคือความว่าง แล้วก็คืนเงินกลับไปที่ความว่าง ให้หาว่าโครงการของเรามีอะไรที่คนอื่นไม่ทำแล้วเราไปทำ

ความว่างจะนำไปพบความใหม่ได้ หาให้เจอ ถ้าอยู่กับตัวเองแค่ช่วงเสี้ยววินาทีจะไม่ทุกข์เพราะอยู่กับตัวเราเอง คนอื่นไม่เกี่ยว จะรู้จักการเป็นผู้ให้ ยิ่งให้ความโชคดีจะเข้ามาในชีวิต หลายสิ่งหลายอย่างจะไหลเข้าหาคนทำความดี เหมือนน้ำตกจากที่สูงมาหาที่ต่ำ แต่ถ้ากอบโกยไว้เต็มแก้วจะไม่มีคนให้เรา ยิ่งสอนยิ่งเก่ง แล้วสิ่งต่าง ๆ จะหลั่งไหลมา ที่สำคัญคือให้อภัย พูดจาดี ๆ กับคนรอบข้าง พูดจาขอบคุณกับคนที่ให้เรา ตัวอย่างสังคมญี่ปุ่น สอนเรื่องการประหยัดใช้น้ำ และทำอย่างไรในการดูแลน้ำ คิดว่าน้ำมีชีวิต เมื่อมีชีวิตให้ดูแลเขาให้ดี

การสอน สอนจากแก่นในความเข้าใจสิ่งนั้น เห็นคุณค่าสิ่งรอบข้าง ดูแลสิ่งรอบข้างแล้วจะไปได้ดี

ในศาสนาพุทธสอนบัวสี่เหล่า เราควรเอาบัวกลุ่มไหนมาสอนดี

วิธีที่ได้เกษตรกรที่ดีแกนนำต้องไปเลือกบัวพ้นน้ำหรือบัวเหนือน้ำมาแล้วจะทำให้กระบวนการไปไวมาก ให้บัวเหนือน้ำเกษตรคุยกันเองแล้วจะไปได้ดี เอาเกษตรกรที่ชำระหนี้ได้มาอบรม

ให้เลือกคนที่มีคุณภาพมาสอนเป็นสมาชิก 1 ใน 100

คนที่มีบารมี มีอำนาจจะช่วยให้เราขับเคลื่อนได้

เมื่อรู้ว่าโชคดีแล้วเราจะรู้สึกขอบคุณคนรอบข้าง

การตัดสินใจเลือกว่าเราทำอะไร

จะได้ง่าย ไว ใหม่ ยั่งยืน เป็นความสุข

ให้เอาทาบกับโครงการเรา แล้วจะพบว่าโครงการน่าทำหรือไม่เพราะธรรมชาติของคนชอบง่าย ๆ ไว ๆ ใหม่ ๆ

หลักการคิดความใหม่ไม่ยาก เติบโตได้หลายรูปแบบ

เราอาจจะสร้างความใหม่ได้โดยการใช้สมองอันชาญฉลาดในการเอาตัวรอดให้ได้ ใช้ศิลปะในการเอาตัวรอด โปรเจคจะไปแบบไหน เราควรสอนแบบไหน

ตัวอย่าง รถบรรทุกขี่เรือ โถส้วมอัจฉริยะของญี่ปุ่น

เวลาทำแผน

  • 1.ต้องมองตลาดให้ได้ว่าอยู่ตรงไหน
  • 2.ตลาดของกศน.คือประชาชนที่จะรับความรู้ของเราไป
  • 3.ตลาดของประชาชนอยู่ที่ไหน อยู่ที่หมู่บ้าน ไม่ใช่ต่างประเทศ เมื่อหมู่บ้านได้แล้วค่อยออกไปอาเซียน
  • สรุปคือต้องเข้มแข็งจากข้างในแล้วค่อยออกไป อาศัยช่องว่างในการทำสิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น ถ้าอะไรไม่ใช่ความสามารถของเรา ไม่ใช่ KPI ขององค์กรเรา ควรจะทำหรือไม่
  • การที่กศน.ไปข้างหน้าให้นึกถึง Mindset ให้ดี และระหว่างเวลากับเข็มทิศ เข็มทิศสำคัญกว่า เพราะเวลาจะทำให้เราเป็นทุกข์แต่เข็มทิศจะทำให้เรามุ่งไปข้างหน้า
  • Workshop
  • กลุ่ม 1-4 ทำในฐานะของ กศน. และทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านของกลุ่ม 5-8
  • กลุ่ม 5-8 ทำในฐานะของเกษตรกร และทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านของกลุ่ม 1-4

1. ทำไมถึงต้องพัฒนาภาวะผู้นำและทัศนคติของกศน.และเกษตรกร

2. ภาวะผู้นำและทัศนคติใหม่ของ Mindset ของกศน.และเกษตรกรคืออะไร เช่น

3. ทำอย่างไรถึงพัฒนาภาวะผู้นำและทัศนคติใหม่ของกศน.และเกษตรกรได้

ทุกกลุ่ม ต้องตั้งคำถามในเชิงสร้างสรรค์และแสดงความอัจฉริยะ

ด้านกศน.

กลุ่มที่ 1

1. กศน.ต้องเป็นแบบอย่างองค์กรสมัยใหม่ที่นำพาประเทศชาติและชุมชนให้ก้าวขึ้นไป เป็นองค์กรที่กระจายความรู้สู่ชุมชน เป็นองค์กรที่สร้างความเชื่อมัน และคลุกคลีโดยตลอด สังคมให้ความมั่นใจ

2. ต้องเป็นนักมนุษยสัมพันธ์เข้ากับผู้คนได้ กระตุ้นคนในชุมชน มีความยืดหยุ่นปรับเข้ากับสังคมได้ทุกมิติ เป็นนักจัดการในชุมชน สร้างให้เกิดความเปลี่ยนแปลง

3. พัฒนาทักษะของผู้นำในการเป็นทักษะผู้นำ หาแหล่งวิชาการเป็นตัวเชื่อม บุคลากรต้องรู้ลึกในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย ใช้นวัตกรรมเรียนรู้ที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะเทคโนโลยี มีอินเตอร์เน็ตชุมชน เรียนรู้ร่วมกับชุมชน

สรุป เปลี่ยนองค์กรเป็นการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยี

กลุ่มที่ 2

1. ต้องเปลี่ยนแปลงแนวคิดทั้งเดิมและใหม่ สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป กศน.ต้องปรับเปลี่ยนด้วย บทบาทหน้าที่ กศน.มีหน้าที่ให้ความรู้ทั้งเก่าและใหม่

2.การยอมรับการเปลี่ยนแปลง ความรู้ความมั่นใจในการนำผู้อื่นได้ มีบุคลิกภาพที่ดี การรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น มั่นใจในตนเองกล้าตัดสินใจ ปรับเปลี่ยนทัศนคติใหม่ให้สอดคล้องกับภาวะที่เปลี่ยนแปลงไป

3. ยอมรับการเปลี่ยนแปลง มีจิตใจกว้างยอมรับการเปลี่ยนแปลง พัฒนาบุคลิกภาพ เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลา

อ.เฉลิมพลสรุปว่า เป็นองค์กรที่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่ข้างหน้าที่ดีกว่า

กลุ่มที่ 3

1. เพื่อให้ครูรู้จริง รู้ในงานที่ทำเพื่อสร้างศรัทธาต่อชาวบ้าน เน้นให้รู้ทั้งลึกและกว้าง ให้รู้จริง เป็นแบบอย่างเชิงความคิดให้ชาวบ้านให้ผู้รับบริการ ส่งเสริมการเรียนรู้ สร้างเครือข่ายทำงาน คิดเชิงระบบ มีเหตุผล คิดเชิงอนาคต

2. ต้องเป็นคน Smart มีองค์ความรู้ สร้างทัศนคติ เพิ่มภาวะผู้นำ ยอมรับการเปลี่ยนแปลงของโลก เป็นนักจัดการองค์ความรู้ การเรียนรู้ของประชาชนผู้รับบริการ มีความยืดหยุ่น ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปเรื่อย ๆ

3. การพัฒนาคน กศน.โดยใช้ทฤษฎีใหม่ ๆ อาจใช้ 2I และ 2R ในการสร้างแนวคิดและ Update

อ.เฉลิมพลสรุปว่า พยายามลงรายละเอียดที่รู้จริง

กลุ่มที่ 4

1. กศน.มีความหลากหลาย ความสมบูรณ์ในการเป็นผู้นำไม่เท่าเทียมกัน ภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของสังคมและสิ่งแวดล้อม คุณธรรม จริยธรรมให้เหมาะสมกับโอกาส

2. ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง แยกแยะบุคลิกภาพของคนให้ได้ เห็นคุณค่าแท้จริงของตนเองและองค์กร คิดใหญ่ แต่เริ่มจากจุดเล็ก ๆ ในการพัฒนางานของเรา ทำงานให้มีความสุข เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในองค์กรเสมอ ก้าวทันเทคโนโลยี มีเป้าหมายชัดเจนในการทำงาน หาคุณค่าแท้จริงเป้าหมายให้เจอ

3. ต้องฝึกอบรมจำลองสถานการณ์ผู้นำ ใช้รูปแบบลูกเสือ อบรมแกนนำ

ด้านเกษตรกร

กลุ่มที่ 5 ถาม

ท่านคิดว่าอัตลักษณ์ของคนกศน.คืออะไร

กลุ่ม 4 ตอบ

ง่าย ไว ใหม่ ยั่งยืน มีความสุข

กลุ่มที่ 6 ถาม

ในฐานะที่เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ กศน.จะสร้างการนำให้การเมืองไทยน่ารักขึ้นได้อย่างไร

กลุ่ม 4 ตอบ

รู้จักให้อภัย รู้รักสามัคคี

กลุ่มที่ 7 ถาม

เราจะเดินไปถึงความฝันได้อย่างไร มีแรงจูงใจสร้างบุคลากรให้เป็นบุคลากรทางการเรียนรู้ได้

กลุ่ม 1 ตอบ

ใช้หลักธรรม ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

อ.เฉลิมพลสรุปคือ องค์กรที่ยอมรับในการพัฒนา มีเป้าชัด รู้เทคโนโลยีใหม่ จัดการใหม่ พัฒนา มีเหตุผล ให้อภัย ถ่ายทอดจากสถานการณ์จริงเข้ามา เข้าใจธรรมชาติของโจทย์ เหตุการณ์ และสิ่งที่จะเรียนรู้

ด้านกศน.

กลุ่มที่ 6

ข้อ 1

- เกษตรกรในปัจจุบันขาดความเป็นผู้นำและมีทัศนคติที่ดีในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิต ส่วนใหญ่การเป็นผู้นำเอนเอียงตามกระแสขาดการไตร่ตรอง ในการประกอบอาชีพใช้สารเคมีมากอยู่ทั้ง ๆ ที่รู้ว่ามีผลกระทบ

- วิถีการเปลี่ยนแปลงของโลก

- เพื่อความอยู่รอดในอนาคตอันใกล้ของเกษตรกร

- เป็นต้นแบบของผู้นำที่อาจจะ 5-10 คนหรือ 1 : 100

- ให้รู้เท่าทันกระแสโลก

ข้อ 2

- Positive Thinking ส่งเสริมให้เกษตรกรคิดเชิงบวก ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ออกจากสภาพเดิม ๆ

- การเข้าสู่วงจรใหม่ให้มีชีวิตดีขึ้น

- ทำแบบครบวงจรให้ครอบคลุมทุกกระบวนการเพื่อนำสู่รายได้มั่นคง

- เพื่อเปลี่ยนความคิดเชิงบวก เปิดใจกว้างรับสิ่งใหม่

- วางเป้าหมายให้ชัดในสิ่งที่เกษตรกรก้าวไป

ข้อ 3

- สร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นกับเกษตรกร เช่นแลกเปลี่ยน เรียนรู้ Workshop เพื่อนช่วยเพื่อน ใช้ชุมชนเป็นหลัก อยู่ด้วยหลักเหตุผล ไปพัฒนากลุ่มผู้นำเพื่อให้เกิดกลุ่มตัวอย่าง

กศน. ถาม

เราจะพัฒนาทัศนคติของเกษตรกรแล้วเขาไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงจะทำอย่างไร

คำตอบ

ให้เกษตรกรมองเห็นภาพความสำเร็จก่อน เพื่อเป็นตัวเลือกที่ดีจะทำให้เห็นความสุขที่แท้จริง

ดร.เฉลิมพล สรุป

ขอให้กศน. นำอัตลักษณ์ไปพัฒนา เมื่อไรยอมรับมีโอกาสพัฒนา ถ้าไม่ยอมรับไม่มีการพัฒนา อภัย ยืนบนสิ่งที่เป็นเหตุและผล เรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนความคิดและการจัดการจะนำไปสู่การจัดการการเปลี่ยนแปลงเกษตรกร ถ้าไม่เปลี่ยนเปลี่ยนไม่ได้ ไม่งั้นจะไม่มีความหวัง มีองค์กรที่สอนพวกเราปลายทางสุดไปไม่ถึง การทำงานไปบางครั้งอาจไปไม่ถึง ถ้าล้มเหลวบ่อยจะทำให้ไม่กล้า กลัว ดังนั้นต้องคิดให้ครบวงจร ที่สำคัญต้องเรียนรู้ที่จะเริ่ม

Work shop วิชาที่2 group 8

วิเคราะห์ SWOT

1.โอกาสของการพัฒนาการเกษตรในพื้นที่เพื่อก้าวสู่อาเซียนด้วยแนวคิด 3v บวกกับ

2.ความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่

โอกาสของการพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ คือประเทศไทย

- มีแหล่งวัตถุดิบที่เพียงพอต่อการผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศ และส่งออก

- ความต้องการทางการตลาดมีปริมาณที่สูงขึ้น ในขณะที่การผลิตน้อยลง ซึ่งเป็นแรงขับให้เกิดการกระตุ้นการผลิตเพื่อความต้องการที่เพียงพอ

จากการวิเคราะห์ นำมาสู่โครงการดังนี้

1.ชื่อโครงการ : โครงการแปรรูปผลไม้ (มะพร้าว)เพื่อการพาณิชย์สู่อาเซียน

2.เหตุผลที่เลือกทำโครงการนี้ : เนื่องจากเป็นโครงการที่ กศน.ปฏิบัติง่ายและมีวัสดุในท้องถิ่น และมะพร้าวมะพร้าวมีการบริโภคกันทั่วโลกมีหลากหลาย เนื้อมะพร้าวเป็นแหล่งโภชนาการที่สำคัญของผู้บริโภคในประเทศเขตร้อน ซึ่งประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตนี้ ผลิตภัณฑ์จากเนื้อมะพร้าวมีหลากหลาย ตั้งแต่เนื้อมะพร้าวแห้ง(desiccated coconut) นำไปผลิตเป็นแป้ง ครีม กะทิ ฯ น้ำมะพร้าวก็มีสารให้ความชุ่มชื้น มีคุณค่าทางโภชนาการ เปลือกใช้ทำเส้นใย กะลาใช้ในงานหัตถกรรม ผลิตถ่านกัมมันต์ เป็นต้น แต่ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวที่ทั่วโลกรู้จักและคุ้นเคยกันดี คือ น้ำมันมะพร้าว และเนื้อมะพร้าวแห้งการที่ประเทศไทยจะแปรรูปมะพร้าวนั้น ส่วนหนึ่งต้องคำนึงถึง วัฒนธรรมของผู้บริโภค ปริมาณความต้องการของตลาด และการรักษาความปลอดภัยของสินค้ารวมไปถึงความสดใหม่ของสินค้า การนำมะพร้าวซี่งเป็นไม้ผลของประเทศซึ่งวัตถุดิบมีอยู่ทุกภาคของประเทศ มาแปรรูปจึงมีความเหมาะสมและเป็นการท้าทายการแข่งขันทางตลาดของกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันเพื่อส่วนแบ่งทางการตลาดและเป็นการเปิดตลาด

3. จะทำให้เกิดความสำเร็จเป็นรูปธรรมได้อย่างไร โดยใช้หลักการ 8K’s

1.คัดเลือกเกษตรกรแกนนำมาอบรม

2.ให้ความรู้โดยการจัดกระบวนการเรียนรู้

3.ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม

4.เป้าหมายที่ได้รับ คือการประสบความสำเร็จ

5.สังคมให้การยอมรับ

6.เกิดอาชีพที่ยั่งยืน

7.สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในกระบวนผลิตและจำหน่าย

8.สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า

Work shop วิชาที่3 group 8

1.ทำไมจึงต้องพัฒนาภาวะผู้นำและทัศนคติใหม่ของเกษตรกร

- เพราะเกษตรกรต้องเพิ่มองค์ความรู้เชิงสร้างสรรค์ในการพัฒนาอาชีพ

- ต้องการผู้นำที่เป็นแบบอย่างที่ดี

- สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการต่อรอง

2.ภาวะผู้นำและทัศนคติใหม่ของเกษตรกรคือ

- เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

- เป็นบุคคลที่สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

- เป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์

- สามารถใช้เทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์

- เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เกษตรกร

3. ทำอย่างไรจึงจะพัฒนาผู้นำและทัศนคติใหม่ของเกษตรกร

-คัดเลือกตัวแทนเข้ารับการอบรมเข้าสู่การจัดกระบวนการเรียนรู้

- เรียนรู้จากภูมิปัญญา

- เรียนรู้จากเทคโนโลยีใหม่ๆ

-ก่อให้เกิดการชี้นำตนเองเพื่อเข้าสู่สังคมแห่งการรียนรู้

Work shop วิชาที่3 group 3

1. ทำไมจึงต้องพัฒนาภาวะผู้นำและทัศนคติใหม่ของ กศน.

- ให้รู้จริงงานที่ทำ

- ให้มีแบบอย่างทางแนวคิด

- เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เป็นทีม

- เพื่อให้มีระบบความคิด มีเหตุผล

- คิดใหม่เพื่ออนาคต

2. ภาวะผู้นำและทัศนคติใหม่ (Mind Set) ของ กศน.

- สร้างความเชื่อมั่นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก

- นักจัดการองค์ความรู้ ยืดหยุ่น

3. ทำอย่างไรจะพัฒนาภาวะผู้นำและทัศนคติใหม่ของ กศน.

- อบรม/พัฒนาคน

- ใช้ทฤษฎี 2I’s และ 2R’s

- สร้างสมมุติฐานวางรูปแบบของแนวคิดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

สามารถเข้าไปอ่านความคิดเห็นของผู้เข้าอบรมอีกชองทางหนึ่งได้ที่

Fanpage https://www.facebook.com/nfeleadercamp

เป็นโครงการกิจกรรมที่ใช้ห้ความรู้มากมาย ชอบคะ ขอบคุณท่านคณะวิทยากรผู้รับผิดชอบโครงการทุกท่าน

เป็นโครงการที่ดีมากๆครับ ซิน คัม เอิน ครับ

สุดยอดกศนต้นแบบสู่อาเชียน

ได้เรียนรู้เรื่องราวของประเทศเวียดนามภาพรวมโดยสรุปและคำทักทาย การนับตัวเลข

ดีใจที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้ กศน.พัฒนาทุนมนุษย์ด้าน

การเกษตรสู่ASEAN

ทฤษฎี 3 V

V1 สร้างมูลค่าเพิ่ม

V2 สร้างคุณค่าใหม่

V3 สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

รู้การตลาดที่เราจะส่งสินค้าการเกษตรไปที่ลาว

อบรมวันที่่สองได้รับความรู้เพื่อก้าวสู่อาเซียนโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการเกษตรกับประเทศสมาชิกทำให้รู้เขารู้เรามากขึ้น เยี่ยมจริงๆ คะ

สิ่งที่สำคัญ..และอยากรู้คือ. เกษตรกรไทยจะขายอะไรให้เพื่อนบ้าน. ....เราชอบกินอาหารเวียตนาม. ...แล้วคนเวียดนามล่ะชอบกินอาหารไทยชนิดใด

เพราะ...วันนี้เกษตรกรไทยไม่ใช่นางงามโลกที่ต้องเล่นบทรักเด็กแสนดี...ทั้งๆที่ ปากท้องยังหิวโหย

เป็นมิติหนึ่งของการอบรมสัมมนาที่เข้มข้นหลากหหลายมีส่วนร่วม คิด เขียน พูด ผสมผสาน รู้เพื่อนอาเซียนขึันบ้าง ขอบคุณท่านอาจารย์จีระ หงส์ลดารมณ์ ที่จัดเรื่องดีอย่างนี้ให้คน กศน.

สองวันของการเรียนรู้วันแรกได้เรียนรู้ เรือ่ง

v3 วัน สอง เรียนภาษาเวียดนา

กลุ่ม 3

Worshop วิชาที่ 2

วิเคราะห์ (swot).

1. โอกาสของการพัฒนาการเกษตรในพื้นที่เพื่อก้าวสู่อาเซียนด้วยแนวคิด 3 v บวกกับ

2. ความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่

วิเคราะห์(swot)

โอกาส.

1. เพิ่มผลผลิตข้าว/ไร่

2. เพิ่มมูลค่าของข้าวให้มีราคาสูงขึ้น

3. เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ

4. สามารถเก็บรักษาได้นานและควบคุมคุณภาพไว้

โครงการ ผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องงอกปลอดสารเคมีสู่เวทีโลก

เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรโดยเฉพาะปลูกข้าวใช้พื้นที่ปลูกจำนวนมากแต่ผลผลิตต่อไรต่ำใช้สารเคมีในกาีผลิตทำปุ๋ยสารเคมีฆ่าแมลงและกำจัดศัตรูพืชทำให้สารเคมีตกค้างในผลผลิตและส่งผลต่อผู้บริโภคต่อสิ่งแวดล้อมอายุการเก็บรักษาสั้นเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าและสร้างคุณค่าให้กับผลผลิตนอกจากนี้ยังสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานคุณค่าทางโภชนาการ

จะทำให้สำเร็จอย่างไร.

1. รวมกลุ่มสหกรณ์

2. จัดให้มีอาคาร/สถานที่ในการพบกลุ่ม

3. นำเทคโนโลยีเจ้ามาใช้ในการผลิตเพื่อนำผลิตภัณฑ์ข้าวกล้อง

4. จัดทำบรรจุภัณฑ์+ ปรับวิถีการตลาด

5. ประชาสัมพันธ์สินค้าโดยใช้ภาษาที่หลากหลาย

6. วิจัยและพัฒนา

วิทยากรจากสิงคโปร สุดยอดเลยครับ เสียบตลอดอย่าถอดปลั๊ก

"Don't wait for the perfect moment

Take the moment and make it perfect"

ข้อคิดดีๆจากท่านวิทยากรสิงคโปร์ คนไทยแพ้วิธีคิดคนสิงค์โปร

แต่ไม่ได้แพ้วิธีทำ

เรียนรู้วิธีคิดพิชิตวิธีทำสา ารถนำชัยชนะได้

สุทธิ วรรณนุช กลุ่ม 1

วันที่สองช่วงเช้าได้รู้เบื้องต้นของเจ็ดประเทศในอาเซีอนรู้สึกต้องคิดตามและคิดต่อกับการนำเสนอของวิทยากรสิงคโปร์ในการกระตุ้นต่อมความคิดอย่างมากแล้วค่อยนำเสนอแนวคิดต่อไป

ผู้นำต้นแบบของกศน ๑.เป็นผู้ที่สามารถถ่ายทอด แนะนำ องค์ความรู้ไปสู่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อนำไปต่อยอดได้ ๒.เป็นผู้ที่ต้องเข้าใจ กระบวนการปฏิบัติงานและเป็นแบบอย่างที่ดีได้ต่อเกษตรกร. ๓.เป็นผู้ที่สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ๔เป็นผู้ประสานงาน และอำนวยความสะดวกในการจัดการเครือข่าย

ได้รับความรู้เพิ่มค่ะ

ยืนหยัดอย่าได้ท้อถอย

อบรมวันนี้ชอบมากเรยครับ เรียนรู้จากเพื่อนอาเซียน

ค่ายผู้นำวันที่ 2 เป็นการเรียนรู้แลกเปลี่ยนภาษา ASEAN ช่วงเช้าได้รับความรู้ภาษา เวียดนาม ซินจ่าว= สวัสดี

มีความประทับใจอาจารย์มากครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ขอสมัครเป็นศิษย์ซักคนนะคะ

ความเจริญของประเทศต้องอาศัยความเจริญภาคเกษตรเป็นสำคัญ

ต้องการส่งออกสินค้าเกษตร

ขอขอบคุณสำหรับองค์ความรู้ที่ให้ครับ...อาจารย์

อัจฉรา ไชยศรีแก้ว

ค่ายผู้นำต้นแบบของ กศน.เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยสู่อาเซียน ในวันนี้ได้ความรู้

วัฒนธรรมของ ประเทศต่างๆในอาเซียน

เมื่อเช้าได้ข้อมูลของกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นประโยชน์มาก และรู้สึกว่าเขารู้เรื้องเราเป็นอย่างดี แต่เรายังหลงตัวเอง เราไม่รู้เรื่องของเขาเลย เข้าสู่อาเซียนเมื่อไร น่ากลัวๆ

คณะวิทยากร โดย การนำของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ สุดยอดมากเลยครับ นี้คือทางออกของเกษตรกรรมที่จะสามารถเข้าสู่อาเชียนได้และเห็นช่องทางในการแข่งขันในประชาคมอาเชียนได้เป็นอย่างดี ซึ่งเราชาว กศน. จะต้องนำสู่การปฏิบัติอย่างจริงจังเพื่อพี่น้องประชาชนได้อยู่ดีกินดีต่อไป

ชญาน์ทิพย์ ไกรลาศ

วันนี้

สมาชิกกลุ่ม 5 ขอรายงานตัวนิดนึงค่ะ

Learn share Care. เรียนรู้ แลกเปลี่ยน ให้เกียรติโดยการเคารพความเห็นของกันและกัน=การมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้

ค่ายผู้นำต้นแบบ เพื่อพัฒนาเกษตรกรไทยสู่อาเซียน ได้ความรู้มากมายในประเทศอาเซียน

ค่ายผู้นำต้นแบบของ กศน. เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยสู่อาเซี่ยน รุ่น 2 เป็นหลักสูตรที่ดีเยี่ยม

กศน.จะนำพี่น้องเกษตรกร(นักศึกษา กศน.) ด้วย 3 V ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้แน่นอนครับ

นพกนก บุรุษนันทน์

V7.....กลุ่ม7สนใจเรื่อง"การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรชุมชนให้ปลอดภัยสู่AEC"

ใช้หลัก Learn Share Care

นุชรี ใจมูล ศฝช.อุตรดิตถ์ G 2

โครงการศูนย์เรียนรู้ยางพารา กศน. (นวัตกรรมการเรียนรู้นอกโรงเรียนอย่างยั่งยืน) ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของ กศน.ที่ครบวงจรในอนาคตต่อไป ที่สอดคล้องกับทฤษฎี 3 V ของท่าน ศ.ดร.จีระ หงศ์ลดารมภ์

นิตยา จิตภักดี สมาชิกกลุ่ม ๕

กลุ่มที่ ๕ วิชาที่ ๒

๑. โครงการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเชิงสร้างสรรค์ (ผลไม้)

วิเคราะห์

โอกาสของการพัฒนาการเกษตรในพื้นที่เพื่อก้าวสู่อาเซียนด้วยแนวคิด 3V บวกกับความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่

โอกาส ความต้องการ
๑. ผลผลิตทางการเกษตรไทยมีมากมายและมีความหลากหลาย เช่น กล้วย มะม่วง ทุเรียน เงาะ เป็นต้น

๒. ผลผลิตทางการเกษตรไทยมีทุกฤดูกาล มีทุกภาคของประเทศไทย

๓. ต้นทุนการผลิตไม่สูง

๑. กลุ่มลูกค้ามีมากมายทั้งในและต่างประเทศ เช่น ประเทศกัมพูชา นำเข้ากล้วยจากไทย

๒. การเพิ่มมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร

๓. เก็บรักษาผลผลิตไว้ให้ได้นานๆ

๔. การแปรรูปผลผลิตสามารถทำได้หลายรูปแบบ

เหตุผลที่เลือกทำโครงการนี้และโครงการจะช่วยสร้างคุณค่าได้อย่างไร

ประเทศไทยมีพื้นที่ทางการเกษตรจำนวนมาก โดยเฉพาะผลไม้ ยิ่งมีมากมายหลายชนิด หลายประเภทแตกต่างกันไปตามพื้นที่ บางประเภทมีปลูกกันทั่วทุกภาค เช่น กล้วย มะม่วง เป็นต้น ผลไม้ส่วนใหญ่จะให้ผลผลิตตามฤดูกาล ซึ่งจะทำให้ราคาตกต่ำ อีกทั้งไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน นอกจากนี้การขนส่งยังทำได้ยากโดยเฉพาะผลไม้ที่มีเปลือกอ่อนอย่างเช่น กล้วย นอกจากนี้ปัญหาด้านสภาพแวดล้อม ฤดูกาลยังส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วย ปัญหาเหล่านี้มีผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรอย่างแน่นอน จึงได้เสนอโครงการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรขึ้นเพื่อช่วยเพิ่มคุณค่าให้ผลผลิต ให้สามารถเก็บรักษาผลผลิตไว้ได้นานๆ นำออกจำหน่ายในพื้นที่ หรือชุมชนอื่นได้ สะดวกในการขนส่ง เพิ่มทางเหลือแก่ผู้บริโภค และเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน

การดำเนินการให้เกิดความสำเร็จเป็นรูปธรรม

๑.สร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักให้เกิดขึ้นแก่เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย

๒.หาภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนด้านงบประมาณ ความรู้ เทคนิค วิธีการการออกแบบผลิตภัณฑ์ การตลาด วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น ภาคการเกษตร อุตสาหกรรม สาธารณสุข ธกส. ฯลฯ

๓.จัดตั้งกลุ่มเกษตรกรด้านการแปรรูป ดำเนินการในรูปคณะกรรมการ โดยมีหน่วยงานต่างๆ เป็นที่ปรึกษาในเรื่องต่าง ๆ ทั้งการผลิต การขอ อย. การตลาด การออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ การประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อต่าง ๆ

๔.ดำเนินการแปรรูปโดยวัตถุดิบที่มีในชุมชน ทดลอง จำหน่ายในชุมชน พื้นที่ใกล้เคียง แล้วจึงขยายออกไปสู่ชุมชนอื่น ๆ

๕.ให้มีคณะกรรมการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข ทั้งในเรื่องของ วัตถุดิบ กระบวนการแปรรูป ผลผลิต ความต้องการของลูกค้า การบริหารจัดการ เป็นต้น

๒. โครงการพัฒนาการตลาดของการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร(ผลไม้)

วิเคราะห์

โอกาสของการพัฒนาการเกษตรในพื้นที่เพื่อก้าวสู่อาเซียนด้วยแนวคิด 3V บวกกับความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่

โอกาส ความต้องการ
๑. การรวมกลุ่มสมาชิกทำให้มีตลาดที่ใหญ่และกว้างขวางขึ้น

๒. กลุ่มลูกค้ามีปริมาณเพิ่มมากขึ้น

๓. เกิดการเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค

๑. มีรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม ทันสมัย น่าสนใจ

๒. เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านทาง Online

๓. การแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย

๔. เพิ่มมูลค่าผลผลิต

เหตุผลที่เลือกทำโครงการนี้และโครงการนี้จะช่วยสร้างคุณค่าได้อย่างไร

ปัจจุบันตลาดด้านการเกษตรของไทย สำหรับเกษตรกรในพื้นที่ยังไม่แพร่หลาย ส่วนใหญ่ขายผ่านพ่อค้าคนกลางทำให้ถูกกดราคา และเป็นตลาดในชุมชน เมื่อมีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรแล้วทำให้ผลผลิตเก็บไว้ได้นาน สามารถส่งขายไปยังตลาดอื่น ๆ ได้ โดยเฉพาะชุมชนเมืองหรือตลาดต่างประเทศ ซึ่งจะสามารถช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรอีกทางหนึ่ง จึงได้ทำโครงการพัฒนาการตลาดของการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรด้านผลไม้ขึ้น เพื่อให้ผู้ผลิตมีตลาดจำหน่ายได้กว้างขวางขึ้น ผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับ ทำให้เกษตรกรมีอาชีพ มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การดำเนินการให้เกิดความสำเร็จเป็นรูปธรรมที่สามารถปฏิบัติได้โดย กศน.+ อาเซียน

๑.สร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้แก่เกษตรกรด้านการตลาด

๒.ระดมเครือข่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามาให้การสนับสนุน ทุน วัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยี

๓.กศน. เกษตรกร และเครือข่ายทุกภาคส่วน ร่วมกันประชุม วางแผนในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัย สะดวกในการขนส่ง

๔.ประชาสัมพันธ์ ผลิตภัณฑ์ ผ่านสื่อ Online ต่าง ๆ

๕.ติดตามประเมินผลด้านการตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงพัฒนาต่อไป



ได้เรียนรู้อย่างดียี่ยมครับ

ชญาน์ทิพย์ ไกรลาศ

การอบรมวันนี้เป็นประโยชน์อย่างมากได้เรียนรู้ภาษาเพื่อเป็นการพัฒนาตนเองและต้องนำไปสู่การขยายผลที่เราต้องเร่งรีบต่อการแข่งขันสู่อาเซียนต้องมีการเดินกน้าต่อไปโดยไม่หยุดนิ่งและสามารถนำเทคนิคของวิทยากรแต่ละคนไปใช้ได้ในกระบวนการกศน.

โชติชัชวาล ศรีลาชัย

3 v คือ ทฤษฎีใหม่ กศน.ควรนำไปใช้ให้เกิดความสอดคล้องกับบทบาทภารกิจควบคู่และจะเกิดคุณค่าความหลากหลายตรงตามความต้องการต่อเกษตรกรไทยอย่างดีเยี่ยม

ยอมรับตัวเองก่อนว่า ทักษะภาษาอังกฤษน้อยมาก วันนี้เป็นต้นไปต้องเริ่มทำความรู้ความเข้าให้มากขี้นตามทีวิทยากรสิงคโปรบอกว่าอย่าถอดปลั๊ก ต้องพัฒนาตนเองแล้วไม่นั้นจะไปร่วมกันขับเคลื่อนชาวประขาให้รู้เข้าใจและทำกิจกรรมร่วมกับอาเซียนและสังคมโลกได้อย่างไรขอบคุณ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ คณะวิทยากรทั้งไทยและชาวอาเชียนที่เปิดประตูความคิดความรู้ให้นำไปสู่การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของ กศน.และแนวคิดของตัวเองโดยเฉพาะทางการเกษตรต้องขับเคลื่อนแล้ว จะขับเคลี่อนอย่างไรต้องชวนกันคิด กำหนดแนวทางวิธีการเดินทางเต็มกำลังแล้วครับ

กลุ่มที่ 4

โครงการพัฒนาการเกษตรเป็นแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการรวมตัวของอาเซียน

หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากเกษตรกรไทยในปัจจุบันสามารถผลิตผลผลิตทางการเกษตรได้จำนวนมาก แต่จำหน่ายและส่งออกไม่เป็น ไม่สามารถกำหนดราคาเองได้ ทำให้ประสบปัญหาผลผลิตขายไม่ออก ต้นทุนสูง เกิดการไม่คุ้มทุน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดจากากรเกษตรขาดการเรียนรู้ทางด้านการตลาด การเพิ่มมูลค่าผลผลิตและการส่งออก

เพื่อให้ปัญหาดังกล่าวหมดไป กศน.ต้องเข้าไปจัดกระบวนการต่างๆ โดยการพัฒนาการเกษตรให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากการรวมตัวของอาเซี่ยน โดยกิจกรรมต่างๆในแหล่งการทำการเกษตรในชุมชน

V1= การรวมตัวของเกษตรกร กศน.ให้ความรู้ โดยการจัดทำเวทีการอบรม การศึกษาดูงาน และการฝึกปฏิบัติจริง ในการเพิ่มมูลค่าและการบริหารจัดการสวนให้ได้มาตรฐาน มีกิจกรรมหลากหลาย

V2= พัฒนาการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร พัฒนามัคคุเทศก์ พัฒนาการบริหารจัดการสร้างให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เพื่อสร้างรายได้ให้เพิ่มขึ้น โดยไม่ผูกขาดกับราคาของผลผลิตทางการเกษตร พัฒนาแหล่งน้ำ แหล่งธรรมชาติ

V3= สร้างเครือข่ายให้เทคโนโลยี และเน้นการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พัฒนาผลิตภัณฑ์และกิจกรรมเสริมให้หลากหลาย และเพิ่มการทำการเกษตรให้เป็นเกษตรธรรมชาติ สร้างองค์ความรู้ให้กับคนในชุมชนรู้ลึกเรื่องวัฒนะธรรมประเพณี เรื่องความรู้ทางการเกษตรที่ชัดเจน

กลุ่มที่ 4

1.ทำไมจึงต้องพัฒนาภาวะผู้นำและทัศนะคติใหม่ ของ กศน.

-เพราะมนุษย์ไม่มีความสามารถในการเป็นผู้นำ

-ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง

-การเปลี่ยนแปลงของสังคม สิ่งแวดล้อมภายนอก

-ผู้นำจำเป็นต้องมีและใช้คุณธรรมจริยธรรม ให้ถูกต้องเหมาะสมตามโอกาส

2.ภาวะผู้นำและทัศนะคติใหม่ (Mind Set)ของ กศน.

-ยอมรับการเปลี่ยนแปลง

-แยกแยะบุคลิกภาพของคนได้เกี่ยวกับ IQ, EQ, MQ, SQ

-เห็นคุณค่าที่แท้จริงของตัวเองและองค์กร

-คิดใหญ่แต่เริ่มจากจุดเล็ก

-จำโปรเจคได้ไว ใหม่ ใหญ่ ยั่งยืน มีความสุข

-เป็นผู้นำที่ก้าวทันเทคโนโลยี

-ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนในการทำงาน

-หาคุณค่าที่แท้จริงของเป้าหมายให้เจอ

3.ทำอย่างไรจรึงพัฒนาภาวะผู้นำและทัศนะคติใหม่ ของ กศน.

-ฝึกอบรม จำลองสถานการณ์

-เป็นผู้นำ วิธีการแบบลูกเสือ

-อบรมแกนสรุป

กลุ่มที่ 4

Workshop : วิชาที่ 2

วิเคราะห์ (SWOT)

  • 1. โอกาสของการพัฒนาการเกษตรในพื้นที่เพื่อก้าวสู่อาเซียนด้วยแนวคิด 3V บวกกับ
  • 2.ความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่
  • เพื่อเพิ่ม Productivity ภาคเกษตรไปสู่อาเซียน ไปสู่ 3V
  • 1.เสนอโครงการที่เป็นรูปธรรมที่คิดว่าเกิด Value Creation และสามารถปฏฺบัติได้โดย กศน.
  • oโครงการอะไร
  • oเหตุผลที่เลือกทำโครงการนี้เพราะอะไร โครงการนี้จะสร้างคุณค่าอย่างไร?
  • oจะทำให้เกิดความสำเร็จเป็นรูปธรรมได้อย่างไร
  • 2.เสนอโครงการที่เป็นรูปธรรมที่คิดว่าเกิด Value Creation+Value Diversity และสามารถปฏิบัติได้โดย กศน.+อาเซียน
  • o โครงการอะไร
  • oเหตุผลที่เลือกทำโครงการนี้เพราะอะไร โครงการนี้จะสร้างคุณค่าอย่างไร?
  • oจะทำให้เกิดความสำเร็จเป็นรูปธรรมได้อย่างไร

วิเคราะห์ (SWOT)

  • 1. โอกาสของการพัฒนาการเกษตรในพื้นที่เพื่อก้าวสู่อาเซียนด้วยแนวคิด 3V บวกกับ
  • 1.1ผลผลิตทางการเกษตรของไทยเป็นที่ต้องการของต่างประเทศ
  • 1.2ผลผลิตทางการเกษตรสามารถนำมาแปรรูปได้
  • 1.3ผลผลิตทางการเกษตรออกตามตามฤดูกาลมีจำนวนมากและตลอดปี
  • 1.4เกษตรกรมีพื้นที่เพียงพอในการทำการเกษตร
  • 1.5เกษตรกรเริ่มมีความรู้ในการทำปุ๋ยใช้เอง
  • 1.6เกษตรกรสามารถจำหน่ายสินค้าเกษตรทั้งเป็นผลผลิตและผลิตภัณฑ์ได้ตลอดปี
  • 1.7เกษตรกรสามารถขายศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น ผสมผสานกับผลผลิต
  • 2.ความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่
  • 2.1ความต้องการมีรายได้สูง
  • 2.2มีความรู้ในการบริหารจัดการผลผลิตอย่างมีคุณภาพสามารถเพิ่มมูลคาให้สูงขึ้น
  • 2.3มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและมีความมั่นคงในอาชีพทางการเกษตร
  • 2.4ความรู้ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตและบรรจุภัณฑ์
  • 2.5ความภาคภูมิใจในวิถีชีวิต เช่นลูกหลานเป็นเกษตรกรรักษ์ท้องถิ่น
  • สรุป
  • วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2557
  • การปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้ในยุคโลกเปลี่ยนแปลง
  • พิธีเปิดโดย ฯพณฯ นายอำพล เสนาณรงค์
  • กล่าวต้อนรับและให้โอวาท โดย นายประเสริฐ บุญเรือง
  • ปฐมนิเทศค่ายผู้นำต้นแบบของ กศน. เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยสู่อาเซียน โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมณ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรณ์มนุษย์ระหว่างประเทศ
  • บทบาทของ กศน. และสร้างคุณค่าให้แก่ภาคการเกษตรด้วยแนวคิดแบบ 3V
  • หลักการและเหตุผล
  • ประชาคมอาเซียน และ AEC2015
  • วัตถุประสงค์
  • 1.Pre-planing
  • 2.Leader Camps
  • 3.กศน.+เกษตร+ไปสู่อาเซียน
  • Thailand High Value Agriculture Asean
    Oval: NFE
  • Oval: AgriOval:  ASEAN
  • -การเพิ่มมูลค่าจากการทำการเกษตร
  • -การเพิ่มมูลค่าภายใต้ปัจจัยการผลิตเท่าเดิมแต่ผลผลิตเพิ่มขึ้น
  • -กศน. ผู้นำแห่งการเรียนรู้
  • -ผู้นำ ประกอบไปด้วย การเรียนรู้ คุณธรรม และการเปลี่ยนแปลง
  • -การสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตทางการเกษตร
  • -การพัฒนาการเกษตรโดย กศน. ประกอบด้วย วัฒนธรรม ความรู้และความใฝ่รู้
  • -การสร้างมูลค่าเพิ่มทางผลผลิตของ กศน. ต้องมีความคิดอย่างสร้างสรรค์
  • 4H : High Standard
  • High productivity
  • High Income
  • High Income dil
  • 4L
  • Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี
  • Learning Environment การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้
  • Learning Opportunities การสร้างโอกาสในการเรียนรู้
  • Learning Communities การสร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้
  • 2R
  • Reality มองความจริง
  • Relevance ตรงประเด็น
  • การสร้างมูลค่าเพิ่มทางผลผลิตของ กศน. ต้องมีความคิดอย่างสร้างสรรค์
  • ภาวะผู้นำและการพัฒนาทัศนคติ(Mind set)
  • -ทัศนะคติเป็นตัวกำหนดสิ่งต่างๆ
  • -Mind set เป้าหมาย
  • - กศน. จัดกระบวนการเรียนรู้โดยสร้างคนให้ธุรกิจเคลื่อนตัวได้
  • - นวัตกรรมและการคิดใหม่คือที่มาของการสร้างมูลค่าเพิ่ม
  • - หาคุณค่าให้เจอแล้วเริ่มทำสิ่งนั้น
  • - คิดให้ใหญ่เริ่มให้เล็ก
  • -แนวคิดอยู่กับปัจจุบัน ทิ้งอนาคตและอดีต
  • - อาศัยความว่างในการสร้างนวัตกรรมหรือมูลค่า
  • - การตัดสินใจ ภายใต้เงื่อนไข ง่าย ไว ใหญ่ ยั่งยืน ความสุข
นุชรี ใจมูล ศฝช.อุตรดิตถ์

การขยายงาน 1:100 ถ้าจะให้ได้ผลเชิงประจักร์ ผู้นำหรือครู จะต้องมีความรู้อย่างแท้จริง หลากหลาย รอบด้าน ยอมรับการเปลี่ยนแปลงของโลก เชื่อมโยงกับอาเซียน ที่สำคัญจะต้องมีคุณธรรม จริยธรรม

น้องเซ็ง กศน.ยะลา

โอกาสของไทยสู่อาเซียน คนไทยมีทักษะความรู้ในด้านการเกษตรที่ดี หากรัฐมีนโยบายที่ชัดเจนและสามารถกำกับได้อย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะในเรื่อง อาหารปลอดสารพิษ ไทยจะเป็นครัวอาเซียน ครัวโลกได้ไม่ยากเลยครับ

นุชรี ใจมูล ศฝช.อุตรดิตถ์ G2 รุ่น 2

โครงการ ศูนย์เรียนรู้ยางพารา กศน.

ความรู้ที่ได้รับจากอาเซียนครั้งนี้

  • 1โอกาสของไทยจากการเปิดเสรีอาเซียน มีอะไรบ้าง ?
  • 1.1ด้านการผลิต
  • -ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ
  • เหตุผลเพราะ ยางพารา อยู่ในภูมิภาคที่ยางเจริญเติบโตได้ดี
  • -มีสถาบันวิจัยยางพารา กองทุนสวนยาง หน่วยงานสนับสนุน
  • เหตุผลเพราะ มีหน่วยงานที่สนับสนุนร่วมกันด้านการปลูก จำหน่าย ฯลฯ
  • -แสวงหาวามร่วมมือด้านการผลิตกับประเทศที่มีทุน เช่น สิงคโปร์
  • -เหตุผลเพราะ พัฒนาแหล่งเงินทุนเพิ่ม
  • 1.2ด้านการตลาด
  • -รวมกลุ่มเกษตรไทยเพื่อเชื่อมโยงสู่อาเซียน
  • เหตุผลเพราะ 1. แสวงหาความร่วมมือด้านการค้า/ผลิต
  • 2. พัฒนาการแปรรูป
  • 2ความรู้ที่จำเป็น คือ อะไร ?
  • -พันธุ์ยาง สายพันธุ์ยาง วิธีปลูก การเพิ่มผลผลิต วิธีการกรีดยาง
  • -การแปรรูป พัฒนา เพิ่มคุณภาพ
  • -การบริหารจัดการ การตลาด
  • -พัฒนาคุณภาพ (คน อุปกรณ์ เครื่องจักร)
  • 3ในฐานะที่ท่านเป็น กศน. ท่านจะต้องทำอะไรบ้าง ?
  • -รวบรวมองค์ความรู้ให้ครบถ้วน หลากหลาย
  • -พัฒนาคน ( กศน. ชุมชน ) ด้านทัศนคติ ทักษะที่จำเป็น
  • -การจัดกลุ่ม ผู้ผลิต/จำหน่าย/ส่งออก
  • 4ความร่วมมือระหว่าง กศน. กับอาเซียน เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยกับอาเซียนควรทำเรื่อง ?
  • -แสวงหา / แลกเปลี่ยน องค์ความรู้ใหม่ๆ /จัดทำเวทีแลกเปลี่ยน/ดูงาน
  • -ส่งเสริมให้มีการวิจัย พัฒนา
  • 5หากจะร่วมมือกับอาเซียน(ตามข้อ 4) กศน. มีหน้าที่ต้องทำอะไร ?
  • -จัดทำเวที เสวนา แลกเปลี่ยนร่วมกันในอาเซียน
  • -จัดทำ/ร่วมทำสัญญา (MOU)

แสวงหาแหล่งเงินทุน เพื่อการผลิต/จำหน่ายระหว่างอาเซียน

สุดยอดแห่งความคิดเพื่อก้าวส

การถ่ายทอดความรู้ ที่ได้ประโยชน์อย่างแท้จริง ผู้รับต้องรู้เรื่อง เข้าใจ ถ่ายทอดได้ และเกิดผลผลิดที่มีคุณภาพ นี้คือความรู้ที่สมบูรณ์

ชญาน์ทิพย์ ไกรลาศ

Workshop วิชาที่4-5

ความรู้ที่ได้รับจากอาเซียนครั้งนี้

1.โอกาสของไทยจากการเปิดเสรีอาเซียนมีอะไรบ้าง?

1.ด้านการผลิต

1.1ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ

1.2มีสถาบันวิจัยยางพารา กองทุนสวนยาง
หน่วยงานที่สนับสนุน

1.3แสวงหาความร่วมมือด้านการผลิตกับประเทศที่มีทุน
เช่นสิงค์โปร

เหตุผลเพราะอยู่ในภูมิภาคที่ยางเจริญเติบโตได้ดี

2.การตลาด

1 รวมกลุ่มเกษตรไทย
เพื่อเชื่อมโยงสู่อาเซียน

เหตุผลเพราะแสวงหาความร่วมมือด้านการค้า/การผลิต/การแปรรูป

2.ความรู้ที่จำเป็นคืออะไร

2.1พันธ์ยาง/สายพันธ์ยาง/วิธีการปลูกยาง/การเพิ่มผลผลิต

2.2การแปรรูป/พัฒนา/เพิ่มคุณภาพ

2.3 การบริหารจัดการ การตลาด

2.4 การพัฒนาคุณภาพ (คน/อุปกรณ์/เครื่องจักร

3.ในฐานะที่ท่านเป็นกศน. ท่านจะต้องทำอะไรบ้าง(สิ่งที่เราควรรู้)

-รวบรวมองค์ความรู้ให้ครบถ้วนหลากหลาย

- พัฒนาคน(กศน+ ชุมชน) ด้านทัศนคติ
ทักษะที่จำเป็น

- จัดตั้งกลุ่ม ผู้ผลิต /จำหน่าย/ส่งออก

- การทำหลักสูตร/แปรรูป

4.ความร่วมมือระหว่าง กศน.กับอาเซียน เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยอาเซียนควรทำเรื่องอะไร

- แสวงหาความร่วมมือและความร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยน

-จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

- ดูงาน

- ส่งเสริมให้มีการวิจัย พัฒนา

Work shop วิชาที่ 4 และ 5 group 8

1.โอกาสของไทยจากการเปิดเสรีอาเซียนมีอะไรบ้าง ในด้าน

1.1 ด้านการผลิต

โอกาสในด้านการผลิต ในส่วนของการดำเนินงานโครงการโครงการแปรรูปไม้ผล (มะพร้าว)เพื่อการพาณิชย์สู่อาเซียน ซึ่งประเทศที่มีการแปรรูปและส่งออกมะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจ และเป็นแหล่งวัตถุดิบที่มากที่สุด คือ ประเทศอินโดนีเซียและประเทศฟิลิปปินส์ การที่จะทำโครงการนี้ จะต้องหาข้อมูลการดำเนินงานในแต่ละส่วนของระบบการผลิต ของประเทศดังกล่าวได้มากที่สุด เพื่อนำมาปรับใช้ในระบบการผลิตของไทยซึ่งสามารถสรุปโอกาสด้านการผลิตจากการเปิดเสรีอาเซียนได้ดังนี้

- การลดต้นทุนการผลิต

เพราะ มีวัตถุดิบมากขึ้น คุณภาพดี แรงงานราคาถูก

- มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เพราะ ทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ได้มากขึ้น

ในส่วนของการหาข้อมูลในด้านการผลิต แหล่งวัตถุดิบ จะต้องเน้นในการแปรรูปเพื่อการบริโภคภายในประเทศ และการส่งออกต่อไป

1.2 ด้านการตลาด

โอกาสทางการตลาด ความต้องการบริโภคมะพร้าวมีปริมาณที่สูงขึ้น ดังนั้น โอกาสที่จะทำตลาดการแปรรูปมะพร้าวเพื่อการพาณิชย์ส่งออกไปสู่อาเซียนนั้น เป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะต้องแข่งขันกับประเทศที่เป็นผู้ส่งออกอันดับต้นๆของโลก อย่างไรก็ตาม เมื่อต้องการให้ตลาดของการแปรรูปมะพร้าวเพื่อการส่งออกของไทย เติบโตในตลาดอาเซียนและตลาดโลกนั้น จะต้องศึกษาข้อมูลการทำการตลาดของประเทศคู่แข่งและทำวิจัยให้ได้มากที่สุดเพื่อ เข้าถึงส่วนแบ่งทางการตลาดให้ได้ในปริมาณที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านการตลาดด้วย โดยสรุป โอกาสทางด้านการตลาดของไทยจากการเปิดเสรีอาเซียนได้ดั้งนี้

- มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการค้าเสรี

เพราะได้รับการยกเว้นภาษี

- มีช่องทางการขนส่งสินค้า เพิ่มมากขึ้น

เพราะสะดวก รวดเร็ว ลดระยะทาง ในการขนส่งสินค้าและผลิตภัณฑ์

2.และความรู้ที่จำเป็นคืออะไร

-เทคโนโลยี

-วัฒนธรรม ประเพณี

- ภาษา

- การพัฒนาผลิตภัณฑ์

- กลยุทธ์การตลาด

3.ในฐานะที่ท่านเป็น กศน. ท่านจะทำอะไรบ้าง

การจัดกระบวนการเรียนรู้ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เกษตรกร แรงงาน ผู้ประกอบการ ในด้าน

- เทคโนโลยี

-วัฒนธรรม ประเพณี

- ภาษา

- การพัฒนาผลิตภัณฑ์

- กลยุทธ์การตลาด

4.ความร่วมมือระหว่าง กศน – อาเซียน เพื่อพัฒนาการเกษตรของไทยและอาเซียนควรจะทำเรื่องอะไร

-การจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรด้วยวิธีการต่างๆ เช่น เกษตรกร ครู ผู้บริหาร ผู้เรียน เป็นต้น

- ศึกษาดูงานระหว่างหน่วยงานระหว่างประเทศ

- ประชุมเชิงปฏิบัติการ

- การฝึกอบรม

5.หากจะร่วมมือกับอาเซียน (ตามข้อ 4 ) กศน.มีหน้าที่ทำอะไรบ้าง

- เป็นผู้จัดและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้

- เป็นผู้ประสานงาน

- ประชาสัมพันธ์

สุทธิ วรรณุช กลุ่ม 1 บ้านนาสาร สุราษฏร์

เมื่อสังคมไทยเข้าสู่อาเซียนเราร่วมกับเพื่อนบ้านเข้าเป็นชุมชนเดียวกัน กระบวนการในการอยู่่ร่วมกันต้องเกื้อกูล ดูแล ประสานความคิดความเข้าใจ ช่วยเหลือกัน ประโยชน์ร่วมกัน นี้คือมุมคิดมุมหนึ่งของคๆหนึ่งที่มีบทบาทในฐานะคน กศน.แล้วจะทำอะไรดีละให้เกิดตามที่คิด เมื่อต้องทำหน้าที่จัดการศึกษาให้คนเจริญงอกงามขี้น คงต้องจัดกระบวนเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลายให้คนรู้ เข้าใจนำเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่สร้างสรรค์ เกิดความสุขกับชีวิตกับการเป็นชุมชนอาเซี่ยนเพื่อให้เกิดตามสิ่งที่คิดร่วมกัน

ความรู้ตั้งแต่วันแรก (เมื่อวาน 20-04-57) จนถึงวันนี้ดีมาก ได้รับความรู้เพิ่มเติม จะนำไปพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ในพื้นที่ๆรับผิดชอบ

กลุ่มที่ 4 WORKHOP วิชาที่ 4 และ 5 วันที่ 21 เมษายน 2557

ความรู้ที่ได้รับจากอาเซียนครั้งนี้

โดยวิเคราะห์ เชื่อมโยง จากโครงการพัฒนาการเกษตรเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่ม

1. โอกาสของไทยจากการเปิดเสรีอาเซี่ยน

ด้านการผลิต

1.1 ด้านการผลิต

-เพิ่มกลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยว

-จำหน่ายผลผลิตมากขึ้น

-สร้างมูลค่าเพิ่มทางการเกษตร

-การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม

1.2 ด้านการตลาด

-สร้างเครือข่ายในต่างประเทศ

-ประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบ

-ทำ Branding ให้ติดตลาด

-เปิดตลาดต่างประเทศ

-การค้าต่างตอบแทน แลกเปลี่ยนนักท่องเที่ยวในอาเซียน

2.ความรู้ที่จำเป็นคืออะไร

2.1 การผลิต

2.2 การตลาด

2.3 การแปรรูปผลผลิต

2.4 การจัดการ

2.5 ภาษา

2.6 การสร้างกลุ่ม

2.7 การประชาสัมพันธ์

3..ในฐานะที่เป็น กศน.ท่านจะต้องทำอะไรบ้าง

3.1 จัดกระบวนการเรียนรู้ ด้านการผลิต ด้านการตลาด ด้านการแปรรูปผลผลิต ด้านการจัดการ ด้านภาษา ด้านการสร้างกลุ่ม ด้านการประชาสัมพันธ์

3.2 การประสานงานเครือข่าย

4.ความร่วมมือระหว่าง กศน.-อาเซียน เพื่อพัฒนาการเกษตรของไทยและอาเซียน ควรจะทำเรื่องอะไรบ้าง

4.1 ให้ความรู้เรื่องวัฒนธรรมของแต่ละประเทศในอาเซียน

4.2 ระเบียบ กฎหมายเกี่ยวกับการส่งออกสินค้าทางการเกษตรของแต่ละประเทศ

5.หากจะร่วมมือกับอาเซียน (ตามข้อที่ 4 ) กศน. มีหน้าที่ต้องทำอะไรบ้าง

5.1 ให้ความรู้เรื่อง Food Safety

5.2 จัดทำข้อมูลพื้นฐานของชุมชน พื้นที่การเกษตรที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว

ชญาน์ทิพย์ ไกรลาศ ศฝช.อต

ศูนย์เรียนรู้ย่งพารา กศน. มีความรู้ทีจำเป็นต้องมีพันธ์ยาง วิธีการปลูกยาง การเพิ่มผลผลิต และการแปรรูปและต้องมีการพัฒนาอยู่ตลอดการทำงานพาราของกศน.ถึงจะไปได้

กลุ่มที่ ๕ Work shop วิชาที่ ๓ในฐานะเกษตรกร

๑.ทำไมจึงต้องพัฒนาภาวะผู้นำและทัศนคติใหม่ของ เกษตรกร

- เพราะความเปลี่ยนแปลงด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยี

- เพราะเกษตรกรไทยยังมีทัศนคติทางการเกษตรแบบเดิมๆ

- เพื่อให้เกษตรกรไทยมีวิสัยทัศน์ สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้

๒.ภาวะผู้นำและทัศนคติใหม่ ของเกษตรกร คืออะไร

- มีความรู้และใฝ่เรียนรู้ มีวินัยในตนเอง มีคุณธรรม จริยธรรม ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน

- นำเครื่องมือเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการดำเนินงาน

- ดำเนินชีวิตตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

- เกษตรกรต้องติดตามข้อมูลข่าวสาร รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง

- เกษตรกรมีสุขภาวะที่ดีขึ้น

๓.ทำอย่างไรจึงจะพัฒนาภาวะผู้นำและทัศนคติใหม่ของ เกษตรกร

- ให้ความรู้แก่เกษตรกร เช่น ค่ายผู้นำต้นแบบ จัดประกวดผู้นำต้นแบบ

- พัฒนาระบบกลุ่มสหกรณ์ จัดประกวดให้รางวัล

- สร้างระบบเครือข่าย การจัดการความรู้ ข้อมูลข่าวสาร

- จัดโครงการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีให้กับผู้นำโดยมุ่งเน้น กายใจและจิตวิญญาณ

การให้ความรู้ มิใช่สักแต่ให้แต่ต้องคำนึงถึงกลุ่มผู้รับด้วย โดนใจจริงๆๆ

ดีมากเลยค่ะ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้

ตั้งใจมากเลยน่ะค่ะในการเรียนรู้ในการเข้าโครงการในรุ่น 2

กลุ่มที่ ๕ work shop วิชาที่ ๔ และ ๕

ความรู้ที่ได้รับจากอาเซียนในครั้งนี้

๑.โอกาสของไทยจากการเปิดเสรีอาเซียน มี

(๑)ด้านการผลิต

- มีผลการผลิตทางการเกษตรเพียงพอ มีวัตถุดิบเพียงพอสำหรับการผลิต เพราะ ประเทศสิงคโปร์ไม่มีพื้นที่ทางการเกษตร และมีความต้องการที่จะเข้าลงทุนในประเทศไทย

- เป็นฐานการผลผลิตผลไม้แปรรูปส่งอาเซียน เพราะ ประเทศไทยมีแรงงานคนไทยที่มีความสามารถและยังมีแรงงานต่างชาติ จากประเทศสมาชิกอีกมาก เช่น พม่า ลาว กัมพูชา เป็นต้น

(๒) การตลาด

- ขยายเครือข่ายการผลิตทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพราะ ไทยสามารถเพิ่มช่องทางการจำหน่ายไปยังประเทศอาเซียน ได้มากขึ้น

- อาเซียน + 3 เพราะ กำลังจะเปิดเสรีการค้า

๒.ความรู้ที่จำเป็น คือ

(๑)กฎหมายระหว่างประเทศ

(๒)ความรู้ด้านการผลิต การแปรรูป การบริหารจัดการ การตลาด และเทคโนโลยี

(๓)ด้านภาษา วัฒนธรรม การเมืองและสังคม ของประเทศคู่ค้า

๓.ในฐานะที่เป็นคนของ กศน. จะดำเนินการ ดังนี้

(๑)ศึกษาความเป็นไปได้และความต้องการของตลาด

(๒)จัดทำโครงการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเชิงสร้างสรรค์ (ผลไม้)

๔.ความร่วมมือระหว่าง กศน.-อาเซียน เพื่อพัฒนาการเกษตรของไทยและอาเซียน ควรดำเนินการ

(๑)จัดทำข้อตกลงความร่วมมือ(MOU)

(๒)วิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพผลผลิตทางการเกษตรเพื่อผลักดัน เข้าสู่การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรตามโครงการ

(๓)ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน

๕.บทบาทหน้าที่ของ กศน.ที่ต้องดำเนินการ

(๑)พัฒนาบุคลากร กศน. ๑: ๑๐๐

(๒)จัดตั้งกลุ่มผลิต (เกษตรกร) โดยจัดทำในรูปสหกรณ์

(๓)ให้ความรู้และพัฒนาสมาชิกกลุ่ม

นายเมทนี ผลจันทร์

กลุ่ม 2 ได้จัดทำศูนย์การเรียนรู้เรื่อง ยางพารา ความรู้ที่ได้ผมจะนำไปถ่ายทอดให้กับนักศึกษาของผมอย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้เตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

นุชรี ใจมูล ศฝช.อุตรดิตถ์ G 2 รุ่น 2

ขอบคุณท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และคณะวิทยากรทุกท่าน ที่ได้เปิดมิติเสรีอาเซียน ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่หลากหลาย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฝึกพูดภาษา (เวียดนาม) เป็นประโยชน์มากสำหรับเราชาว กศน. ค่ะ

ค่ายผู้นำต้นแบบวันที่สอง เปิดโลกทัศน์ กศน.สู่อาเซียน รู้เขารู้เรา คิดเชื่อมโยงความอาเซียนทางด้านการเกษตร หน้าที่ที่ กศน.ร่วมคิดร่วมทำ ด้วยทฤษฎี 3 v

โครงการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเชิงสร้างสรรค์_จะช่วยให้เกษตรกรไทยส่งผลผลิตไปยังประเทศสมาชิกอาเซี่ยนทั้งมวลได้_ทำให้เกิดรายได้_เกิดการลงทุน_เกิดสังคมอุดมทรัพย์_และเกิดฯลฯ

กศน.ภาคเกษตรสู่อาเซียน ทำ 3 เรื่อง 1.Train คน 2.ขยายผล 3. ร่วมมือกับอาเซียน

อบรมคนเพิ่มมากขึ้น

การเรียนแลกเปลียนความคิดเห็นตลอดวัน ***รู้จริง ไม่จำเป็นต้องรู้ทุกเรื่อง***

4 L's :

1.มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี

2.สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

3.สร้าง/เปิดโอกาสจากการเรียนรู้

4.สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

2 R's

1.มองความจริง ทำแล้วต้องเอาไปปะทะกับความจริง

2.ตรงประเด็น/หาช่องว่าง/Relevance.

สรุป

1.Train

2.Project

ภาคใต้ต้องดู Project ยางพาราสู่ ASEAN

กลุ่ม 2 ศูนย์เรียนรู้ยางพารา "กศน."

สรุปในภาพรวมคือ ประเทศไทยมีภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศที่เหมาะสมกับการปลูกยางพารา

ด้านการตลาด ต้องมีการพัฒนาด้านการปลูก การผลิต กาดูแลรักษา และการรวมกลุ่ม

ด้านการศึกษา กศน. เป็นศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฝึกทักษะ ความสามารถ เพื่อจะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนี้ การเสวนาและการทำ mou ร่วมกันระหว่างประเทศในอาเซียน

ธัชชเวชช์ จำปาเทศ

g. 5. สุดยอด

นางสุวาลี บุญปัญญา

ได้รับความรู้เกี่ยวกับพืชเศรษฐกิจที่สามารถทำรายได้ไห้กับประเทศไทย และนักศึกษา กศน. ในพื้นที่ จะนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้กับบุคคลากรของ กศน. จังหวัดยโสธรต่อไป

ได้รับความรู้เกี่ยวกับพืชเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเชียน

บทบาทหน้าที่ของ กศน.ที่เราสามารถดำเนินการได้ทันทีคือ การบูรณาการความรู้เข้าไปในหลักสูตร เรามีโครงการศูนย์ฝึกอาชีพขุมชน ที่จะพัฒนาไปสู่OTOP Mini MBA คือมองไปที่กระบวนการผลิต การตลาด และส่วเสริมให้มีการรวมกลุ่มกัน

ศูนย์เรียนรู้ยางพารา กศน. ของกลุ่มที่ 2 เป็น new projec เป็นความคิดที่จะพัฒนาระบบการผลิต การจำหน่าย การสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ภายใต้ความร่วมมือของอาเซียน ตามบทบาทหน้าที่ของ กศน. คือการพัฒนาคนภาคการเกษตร คนของ กศน.ต้องแสวงหาความรู้ พัฒนาหลักสูตร พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรม ในขณะเดียวกันคนของ กศน.ควรได้รับโอกาสการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเกษตร การตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเรียนรู้อาเซียนและสังคมโลกมากขึ้น

โชติชัชวาล ศรีลาชัย

project ดี กศน.มองโอกาสความสำคัญการเชื่อมโยงสู่อาเซียนในอนาคตอย่างแน่นอน

ได้รับความรู้เกี่ยวกับพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้กับ 10 ประเทศอาเชียน

การไปคนเดียวไปได้ไว แต่การไปเป็นกลุ่มจะไปได้ไกล

การเป็นNet Working ที่ดี ในกลุ่มอาเซียน ทุกฝ่าย ต้อง Win Win Win together

นุชรี ใจมูล ศฝช.อุตรดิตถ์

แนวทางการดำเนินงานใหม่ โลกกระทัศน์ใหม่ องค์ความรู้ใหม่ๆ เครือข่ายใหม่ ในยุดเสรีอาเซียนค่ะ สุดยอด....กศน.

เยี่ยมค่ะ วิทยากร โชติวิชช์ โวหารเดชวรนันท์ ไม่เคยทำนา แต่กล้าเรียนรู้และกล้าลงมือทำ และทำนามาแล้ว 6 ปั

การทำน้ำหมักชีวภาพ (ไม่ใช่ปุ๋ย)แค่เป็นตัวทำให้ดินโปร่ง ดินร่วน

ผลผลิตการเกษตรของอาเซียน เป็นทั้งคู่ค้าและคู่แข่ง

จำเป็นที่จะต้องสร้างnet working โดยการwin-winทุกฝ่าย ให้เกียรติกันและมีความเสมอภาค

กศน.อาเซียน คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก

นางชญาน์ทิพย์ ไกรลาศ ศฝช.อต กลุ่ม 2

การใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพเพราะจะช่วยย่อยสลายได้ง่ายเวลาถอนกล้ารากกล้าข้าวจะไม่ช้ำ

อาจารย์โชติวิชช์ เน้นเรื่องคุณธรรม เป็นเรื่องที่เยี่ยมมาก เพราะคนไทยเราตอนนี้ห่างไกลคำว่า "คุณธรรม"

นางชญาน์ทิพย์ ไกรลาศ ศฝช.อต กลุ่ม 2

การไม่ใช้ยาฆ่าแมลงจะเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและจะไม่ฆ่าตัวเราด้วยแล้วเราจะมีสุขภาพที่แข็งแรง

นุชรี ใจมูล ศฝช.อุตรดิตถ์

ทำไมชาวนาถึงเป็นหนี้? โดยเกษตรกรชาวหนองคาย

ยึดการทำนาแบบอินทรีย์เพื่อลดต้นทุน

กล้า 3 กก. : ไร่ อายุ 15 วัน ใช้ดำ ดำเอง ดำต้นเดียวแต่แตกกอประมาณ 30 ต้น ระยะห่างในการดำ 35 ซม.

ปูกินข้าว นกกินข้าว ก็ปล่อยให้มันกิน เพราะมันทำนาไม่เป็น ......เราก็ปลอดสารพิษด้วย..

การทำนาแบบอินทรีย์ไม่เน้นเรื่องการค้าขาย คิดถึงสุขภาพเป็นอับดับแรก เหลือแจกญาตพี่น้อง ทำบุญ

(การอยู่แบบพอเพียงไม่คิดถึงรายได้ เงินทอง ชีวิตก็จะพบกับความสุข)

วิทยากร นายโชติวิชช์ โวหารเดชวรนันท์ , นายทำนอง ดาศรี และ ผศ.ธีระยุทธ์ เพ็งชัย

นุชรี ใจมูล ศฝช.อุตรดิตถ์ G 2 รุ่น 2

การขายสินค้า การบรรจุภัณฑ์ การบรรจุหีบห่อ (Packing )และการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่ดึงดูดใจ แปลก สวยงาม

ช่วยเพิ่มมูลค่าของสินค้าได้

ความรู้ที่ได้จาก อ.โชติวิชช์

1.ปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์

2.ทำการเกษตรด้วยคุณธรรม

3.ใส่ใจในการปลูกข้าว

4.ปลูกหญ้าแฝก

5.ไม่คำนึงว่าจะต้องได้เงินแล้วรวย ปลูกกินเองพร้อมแจกต่ายแก่เพื่อนบ้าน

นางชญาน์ทิพย์ ไกรลาศ ศฝช.อต กลุ่ม 2

การเลือกแบบ packing มีความน่าสนใจดึงดูดและป้องกันความเสียหายของผลิตภัณฑ์ได้

ภาคบ่ายวันที่ 2 ของค่ายผู้นำต้นแบบ วิทยากร ผศ.ธีรยุทธ์และะท่านโชติวิทย์ ให้ความรู้เรื่องการทำนาปลอดสารเคมี ลดต้นทุนในการผลิตที่หลากหลายวิธีการทำนา กล้า 1 ต้นได้ข้าว 30 ต้น ดำนาถึ่ได้ฟาง ดำนาห่างได้ข้าว และการเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ การทำ แพ็คเก็จให้น่าสนใจ ทันสมัย ดูดี

นุชรี ใจมูล ศฝช.อุตรดิตถ์ G2 รุ่น 2

การป้องกันพันธุ์ข้าวไม่ให้กลายพันธุ์?

- ข้าวจะต้องปลูกเป็นพันธุ์ที่นิ่งแล้ง และทดรองมาแล้ว 8 คอร์ด

-.ใส่ใจ

- ปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันสารเคมีจากนาใกล้เคียง ต้นน้ำทำเป็นปลวก

- บริเวณที่นา ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง

- ดำนา 3 วันแล้วจะปล่อยน้ำเข้า 15 วันปล่อยให้แห้ง แล้วใส่ปุ๋ย นำน้ำเข้านา 15 วัน ช่วงนี้จะมีเพรีย แล้วนำน้ำออก15 วัน

- แชร์ข้าวด้วยน้ำเกลือ (การทดลองความเค็มของเกลือ ใส่ไข่เป็ดหรือไข่ไก่ ให้ไข่ลอยจากพื้นประมาณเหรียญ 1บาทหรือ 10 บาท) แล้วนำไปล้างออกด้วยน้ำสะอาด นำไปบ่ม ใส่สาร ไตโครโรมา เพื่อป้องกันเชื้อรา

ความรู้ที่ได้จาก ผศ.ธีระยุทธ์

1.การเพิ่มมูลค่าของสินค้าจาก Packaging

2.การออกแบบผลิตภัณฑ์ สร้างสรรค์และน่าซื้อ

3.ได้แนวคิดในการไปให้คำแนะนำ ส่งเสริมกลุ่มในชุมชน

ทำไมชาวนาถึงเป็นหนี้? ข้อคิดจากเกษตรกรชาวหนองคาย

ยึดการทำนาแบบอินทรีย์ เพื่อลดต้นทุน

กล้า 3 กก. : ไร่ อายุ 15 วัน ใช้ดำ ดำเอง ดำต้นเดียวแต่แตกกอประมาณ 30 ต้น ระยะห่างในการดำ 35 ซม.

ปูกินข้าว นกกินข้าว ก็ปล่อยให้มันกิน เพราะมันทำนาไม่เป็น ......เราก็ปลอดสารพิษด้วย..

การทำนาแบบอินทรีย์ไม่เน้นเรื่องการค้าขาย คิดถึงสุขภาพเป็นอับดับแรก เหลือแจกญาตพี่น้อง ทำบุญ

(การอยู่แบบพอเพียงไม่คิดถึงรายได้ เงินทอง ชีวิตก็จะพบกับความสุข)

ชม.นี้ได้คุณค่าของบรรจุภัณฑ์และข้าวธรรมชาติ

copy-understand-value added

เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำคนละอย่าง

นายเมทนี ผลจันทร์ ครู กศน.ตำบล จากกลุ่ม ๒ ครับ

กลับมาชวนพี่น้องชาว กศน. หันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพกันเถอะครับ เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น

นายเจียม ขันเงิน ผอ อำเภอป่าติ้ว ยโสธร

ยิ่งอบรม ยิ่งพัฒนาตนเอง ครับ

นายเจียม ขันเงิน ผอ อำเภอป่าติ้ว ยโสธร

การแลกเปลี่ยนประสบการณ์คือกำไรชีวิต

นายเจียม ขันเงิน ผอ อำเภอป่าติ้ว ยโสธร

การเกษตรที่ดี ต้องมีวิธีคิด

นายเมทนี ผลจันทร์ ครู กศน.ตำบล ยโสธร

สุดยอดภาษาเวียดนาครับ XIN CHAO ! ชินเจา แปลงว่าสวัสดี ครับ

เหงื่อหยดเดียว เปลื่ยนชีวิตคนไปสู่เกษตรอินทรีย์ได้ ยอดเยี่ยมมากครับ

นางสุวาลี บุญปัญญา รอง ผอ รอง ผอ. สำนักงาน กศน. จังหวัดยโสธร

นับเลขเป็นภาษาเวียดนาม mot โมด แปลงว่า หนึ่ง

วันแรกของการอบรมแบบเข้มได้เรียนรู้วัฒนธรรมในการเรียน(Learning Culture)จากแนวคิด หลักคิดและปรัชญาของในหลวง แนวคิด ของ Peter Senge ของ Stephen Covey ของ Edward De Bono ของGrid ของของ ดร.จีระ

นางสุวาลี บุญปัญญา รอง ผอ รอง ผอ. สำนักงาน กศน. จังหวัดยโสธร

ภาษาเวียดนามวันละคำ HAI ไฮ แปลว่า สอง

หัวข้อ เทคนิคการเพิ่มผลผลิตและเพิ่มมูลค่าด้วย New technology และภูมิปัญญาท้องถิ่น

-แนวคิด/วิธีการของอ.โชติวัชช์ โวหารเดชวรนันท์ ปราญ์ชาวบ้าน เป็นวิธีการที่ตอบโจทย์การเพิ่มผลผลิต+เพิ่มมูลค่าได้อย่างดีเยี่ยม ขออนุญาตนำแนวคิด/วิธีการไปใช้ทางภาคใต้ (พัทลุง) บ้างนะครับขอบคุณที่ถ่ายทอดได้อย่างเห็นภาพที่ชัดเจน หมายเหตุ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไปสู่อาเซียนได้อย่างสบาย

จากนายวิรัตน์ สุขอ่อน

ความรู้ที่ได้จากอาเซียนครั้งนี้

๑.โอกาสของไทยจากการเปิดเสรีอาเซียนมีอะไรบ้าง?

๑) ด้านการผลิต

๑.๑ การพัฒนา คุณภาพน้ำยาง

เหตุผลเพราะ เพื่อให้ผลผลิตที่ออกมามีคุณภาพดี/เพิ่มผลผลิตโดยการใช้เทคโนโลยี/ใช้กระบวนการ R&D ร่วมมือกับภาคีเครือข่าย

๑.๒ การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางพารา

๒) การตลาด

๒.๑ ตลาดใหญ่ (ลักษณะชุมชนมารวมกัน)

เหตุผลเพราะ มีกำลังซื้อยางพาราสูง และสามารถกำหนดราคายางพาราได้

๒. ความรู้ที่จำเป็น คืออะไร

๒.๑ ด้านภาษาอังกฤษและภาษาในกลุ่มอาเซียน

๒.๒ ด้านเทคโนโลยี

๒.๓ ด้านมาตรฐานสินค้า (ปลอดภัย /มั่นคง /ยั่งยืน)

๒.๔ ด้านการผลิต

๒.๕ ด้านการตลาดระหว่างประเทศ

๒.๖ ด้านกฎหมายระหว่างประเทศอาเซียน

๓. ในฐานะที่ท่านเป็น กศน. ท่านจะต้องทำอะไรบ้าง (สิ่งที่ควรทำ)

๓.๑ จัดกระบวนการเรียนรู้ สู่มิติ แยกออกเป็น –ด้านภาษา, ด้านผลผลิต, ด้านการตลาด, ด้านการแปรรูป

๓.๒ จัดตั้ง กศน.สู่อาเซียน

๓.๓ ศึกษาดูงานระหว่างประเทศ

๔. ความร่วมมือระหว่าง กศน. – อาเซียน เพื่อพัฒนาการเกษตรของไทยและอาเซียน ควรทำอย่างไร

๔.๑ ร่วมมือกันระหว่างประเทศ/ชุมชน/ท้องถิ่น

๔.๒ โครงการแลกเปลี่ยนเยาวชน/อาเซียน และนโยบายของรัฐ

๕.หากจะร่วมมือกับอาเซียน (ตามข้อ ๔) กศน. มีหน้าที่ต้องทำอย่างไรบ้าง

๕.๑ พัฒนาบุคลากรด้านภาษา กศน./เกษตร/ICT

๕.๒ สร้างภาวะผู้นำและพัฒนาทัศนคติสู่ความเป็นเลิศของบุคลากร กศน.และเกษตรกร

จากนายสังข์ กาญจนเพิ่มพูน

วิชาที่ ๑ สิ่งคาดว่าจะได้รับมี ๓ อย่างได้แก่

๑. Pre-planing มีเพื่ออะไร

๒. Leader Camps เน้นอะไร

๓. กศน."เกษตรกร"สู่อาเซียน

วิชาที่ ๒ สิ่งที่คาดว่าจะได้รับ

๒.๑ ใช้หลักทฤษฎี ๓ V

- สร้างมูลค่าเพิ่ม

- สร้างคุณค่าใหม่

- สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

๒.๒ ความต้องการเรียนรู้ทางด้านภาษา/เทคโนโลยี

วิชาที่ ๓ สิ่งคาดว่าจะได้รับ

๓.๑ ภาวะผู้นำต้องมีองค์ประกอบด้วย ๔ QS คือ IQ EQ MQ และ SQ

วิชาที่ ๔ สิ่งที่คาดว่าจะได้รับ

๔.๑ การพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ และการพัฒนาบุคลากร

๔.๒ ความรู้เรื่องภาษา-ประเพณี-วัฒนธรรม

- เทคโนโลยี/การตลาด

- ปัจจัยการผลิตได้แก่ที่ดินทุนแรงงาน และเทคโนโลยี

จากนายประมวล ไชยศรี

๑. การปฐมนิเทศ

- รู้ทฤษฎีที่ในหลวงมีการทำเกี่ยวกับการจัดกระบวนการการเรียนรู้ การจัดการทำให้เห็นอย่างชัดเจน

- การเรียนรู้แนะนำให้นักศึกษามาใช้ในการจัดการสวนผลไม้ เช่น สวนเงาะ สวนมังคุด ฯลฯ

- การทำฝายเล็ก ลำน้ำเล็กที่ไหลผ่านสวน แปลงนา แปลงสวนเก็บใช้นานๆ

๒. การแปรรูปยางพารา ผลิตรองเท้าบู๊ท สายยางน้ำ จากสภาพยางพาราที่ราคาตกต่ำ + ปริมาณการผลิตมีจำนวนมากเกินไป ทำให้เกิดการเรียนรู้ของเกษตรกร เห็นมูลค่าเพิ่มขึ้น และประสานเครือข่ายมาร่วมมือกันผลิตสินค้าใหม่ๆ จากยางพารา

๓. การรวมความคิด+สติ+สัญชาตญาณ+ความรู้สึก จากบุคลิกภาพของคน"สู่ความสำเร็จ "มีนวัตกรรม +

มีเป้าหมาย+คุณค่า+แรงจูงใจ+ความสามารถ+ความอดทน

จากนานวัฒนา ไทยเกิด

กลุ่มที่ ๑

หัวข้อสรุปงานอบรมค่ายผู้นำต้นแบบของ กศน. เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยสู่อาเซียน

วันนี้ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๗

ท่าน สมปอง โชติพืช

ได้รับความรู้จากวิทยากรของประเทสกลุ่มอาเซียนด้านผลผลิตทางการเกษตร ที่ส่งออกและนำเข้าโอกาสการผลิตแปรรูปสินค้าและ กศน. สามารถทำปรัชญา “คิดเป็น’’ ไปจุดประกายความคิดให้กลุ่มเป้าหมายได้

ถ้าคิดเป็น จะเห็นงาน

ถ้าทำเป็น จะเห็นเงิน

ถ้าทำเป็น จะเห็น ความสุข

กลุ่มที่ ๑

หัวข้อสรุปงานอบรมค่ายผู้นำต้นแบบของ กศน. เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยสู่อาเซียน

วันนี้ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๗

ท่าน เรืองยศ โนราช

ได้รับความรู้จากวิทยากรของประเทสกลุ่มอาเซียนด้านผลผลิตทางการเกษตร ที่ส่งออกและนำเข้าโอกาสการผลิตแปรรูปสินค้าและ สามารถนำมาไปจุดประกายความคิดให้กลุ่มเป้าหมายได้ในเรื่องของการทำนาข้าวโดยต้นกล้าต้นเดียวแต่ได้ผลผลิตมากมายสามารถนำไปเป็นวิธีที่ดีแก่ชาวนาและยังได้ข้าวออกมาไร้สารพิษ ลดต้นทุนการผลิตด้วย

กลุ่มที่ ๑

หัวข้อสรุปงานอบรมค่ายผู้นำต้นแบบของ กศน. เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยสู่อาเซียน

วันนี้ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๗

ท่าน สุพิชญา ชื่นอก

ได้รับความรู้จากวิทยากรของประเทสกลุ่มอาเซียน ๖ ประเทศพวกได้ความรู้พื้นฐานทางด้านการเกษตรด้านผลผลิตทางการเกษตร ที่ส่งออกและนำเข้าโอกาสการผลิตแปรรูปสินค้าและ สามารถนำไปเป็นองค์ความรู้ให้ความรู้แก่เกษตรกรกลุ่มประชาคมอาเซียนได้โดยเน้น ทฤษฎี ๓ V

V๑ สร้างมูลค่าเพิ่ม

V๒ สร้างคุณค่าใหม่

V๓ สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

กลุ่มที่ ๑

หัวข้อสรุปงานอบรมค่ายผู้นำต้นแบบของ กศน. เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยสู่อาเซียน

วันนี้ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๗

นายพรศิริ สงเคราะห์สุข

เราได้รับความรู้จากวิทยากรของประเทสกลุ่มอาเซียนได้ความรู้พื้นฐานทางด้านการเกษตรด้านผลผลิตทางการเกษตร ที่ส่งออกและนำเข้าโอกาสการผลิตแปรรูปสินค้าและ สามารถนำไปเป็นองค์ความรู้ให้ความรู้แก่เกษตรกรกลุ่มประชาคมอาเวียนได้โดยเน้น

หวังว่าผู้เข้าอบรมได้ความรู้อย่างเต็มที่และนำไปใช้ได้อย่างเกิดประโยชน์

ทฤษฎี ๓ V

V๑ สร้างมูลค่าเพิ่มV๒ สร้างคุณค่าใหม่V๓ สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

กลุ่มที่ ๑

หัวข้อสรุปงานอบรมค่ายผู้นำต้นแบบของ กศน. เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยสู่อาเซียน

วันนี้ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๗

ท่าน วิรัตน์ สุขอ่อน

เราได้รับความรู้จากวิทยากรของประเทสกลุ่มอาเซียนและคณะวิทยากรทุกท่านที่ถ่ายทอดความรู้ด้านวิชาการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เพื่อต่อยอด ส่งผลให้ผู้เข้าอบรมเกิดความกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา

วันที่2ของการอบรม ได้เรียนแนวคิดจากวิทยกรจากต่างประเทศ ที่ประทับใจมาก าสุดคือ ประเทศสิงคโปร์ บอกว่าสิงคโปร์สามารถ นำหน้าประเทศอื่นได้ เพราะ วิธีคิด ที่แตกต่างจากบุคคลอื่น

กลุ่มที่ ๑

วิเคราะห์(SWOT)

๑.โอกาสของการพัฒนาการเกษตรในพื้นที่เพื่อก้าวสู่อาเซียนด้วยแนวคิด ๓ V บวกกับ

ตอบ

๑.ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ (เพราะปริมาณยางพาราล้นตลาด)

๒.ผู้ผลิตสามารถกำหนดราคาสินค้าได้เอง

๓.การมีวัตถุดิบที่เพียงพอในการผลิต

๒.ความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่

ตอบ

๑.ต้องการเพิ่มมูลค่าของยางพารา

๒.ต้องการองค์ความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปยางพารา/วิทยากรที่เชี่ยวชาญด้านยางพารา

๓.การมีวัตถุดิบที่เพียงพอในการแปรรูป

เพื่อเพิ่ม Productivity ภาคเกษตรไปสู่อาเซียนไปสู่ 3 V

๑.เสนอโครงการที่เป็นรูปธรรมที่คิดว่าเกิด Value Creation และสามารถปฏิบัติได้โดย กศน.

- ชื่อโครงการการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพาราใช้ในชีวิตประจำวันสู่อาเซียน

- เลือกโครงการเพราะว่าเพื่อเพิ่มมูลค่ายางพาราและแก้ปัญหายางพาราล้นตลาด

- การสร้างคุณค่า

๑.ให้กับเกษตรกรกลุ่มผลิตยางดิบนำไปสู่การผลิตภัณฑ์แปรรูป

๒.เกษตรกรมีองค์ความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปยางพารา

๓.มีการกระจายสินค้าสู่อาเซียน

๔.มีการทำงานร่วมกันกับกลุ่มอาเซียน

- จะทำให้เกิดความสำเร็จเป็นรูปธรรมได้

๑.ประสานเครือข่าย

๒.ประสานวิทยากร

๓.กระตุ้นความคิดปรับเปลี่ยนทัศนคติของเกษตรกร

๔.จัดกระบวนการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติจริง

๕.เปิดโลกทัศน์โดยการศึกษาดูงาน

๖.สร้างเครือข่ายเทคโนโลยี

น.ส.กนกอร ปะตะเน

กลุ่มที่ ๑

หัวข้อสรุปงานอบรมค่ายผู้นำต้นแบบของ กศน. เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยสู่อาเซียน

วันนี้ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๗

นายสุทธิ วรรณนุช

ได้รับความรู้จากวิทยากรของประเทสกลุ่มอาเซียนด้านผลผลิตทางการเกษตร ที่ส่งออกและนำเข้าโอกาสการผลิตแปรรูปสินค้าและ สามารถนำมาไปจุดประกายความคิดให้กลุ่มเป้าหมายได้ในเรื่องของการทำนาข้าวโดยต้นกล้าต้นเดียวแต่ได้ผลผลิตมากมายสามารถนำไปเป็นวิธีที่ดีแก่ชาวนาและยังได้ข้าวออกมาไร้สารพิษ ลดต้นทุนการผลิตด้วย

กลุ่มที่ ๑

หัวข้อสรุปงานอบรมค่ายผู้นำต้นแบบของ กศน. เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยสู่อาเซียน

วันนี้ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๗

นายถาวร คงปราบ

ได้รับความรู้จากวิทยากรของประเทสกลุ่มอาเซียน ๖ ประเทศพวกได้ความรู้พื้นฐานทางด้านการเกษตรด้านผลผลิตทางการเกษตร ที่ส่งออกและนำเข้าโอกาสการผลิตแปรรูปสินค้าและ สามารถนำไปเป็นองค์ความรู้ให้ความรู้แก่เกษตรกรกลุ่มประชาคมอาเซียนได้โดยเน้น ทฤษฎี ๓ V

V๑ สร้างมูลค่าเพิ่ม

V๒ สร้างคุณค่าใหม่

V๓ สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

การระดมความคิด และนำเสนองานของกลุ่มที่ ๑

กลุ่มที่ ๑

หัวข้อสรุปงานอบรมค่ายผู้นำต้นแบบของ กศน. เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยสู่อาเซียน

วันนี้ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๗

ท่าน รองยุวดี แจ้งกร

ได้รับความรู้จากวิทยากรของประเทสกลุ่มอาเซียน ๖ ประเทศ

Leaning through the second period morning and afternoon we have receive the knowledge of the speakers of the ASEAN -๖ countries , we have seen the basics of Agricutries in ASEAN

Including the concept of operations and management of the agricutre of the country to bring the concept TO๓ v

Value Added

Value creation

Value Diversitn

Thank you verymuch

workshop: วิชาที่ 4 ความรู้ที่ได้รับจากอาเซียนครั้งนี้...

1.โอกาสของไทยจากการเปิดเสรีอาเซียนมีอะไรบ้าง?

(1) ด้านการผลิต

1) อาหารปลอดภัยตามมาตราฐานเกษตรอินทรีย์

เหตุผลเพราะ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคด้านอาหารปลอดภัย ส่งเสริมสุขภาพที่ดีและเพื่อความยั่งยืนด้านการเกษตรอินทรีย์

2) ปฏิบัติการเชิงรุก "ต้นแบบของการผลิตเกษตรอินทรีย์"

เหตุผลเพราะ เป็นผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลง /เกิดนวัตกรรมด้านเกษตรอินทรีย์ (V2)

(2) ด้านการตลาด

1) การตลาดเชิงรุก

2) เกิดเครือข่ายทางธุรกิจ

3) สร้างแบรนด์

4) เป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าเกษตรอินทรีย์

5) เพิ่มโอกาสการเติบโตทางธุรกิจ

2. ความรู้ที่จำเป็น คือ อะไร

1.ปรับทัศนคติผู้ผลิตและผู้บริโภคในเรื่องการเกษตรอินทรีย์

2.ให้ความรู้และเป็นพี่เลี้ยงด้านการเกษตรอินทรีย์

3.ให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการ/การตลาด/ประชาสัมพันธ์/เทคโนโลยี

4.ให้ความรู้ด้านการทำบัญชี/การเงิน/การขนส่ง

3. ในฐานะที่ท่านเป็นกศน.ท่านจะต้องทำอะไรบ้าง?

1.เป็นผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลง

2.จัดกระบวนการเรียนรู้

3.พัฒนาหลักสูตรพื้นฐาน/วิชาชีพ

4.ผลักดันและสร้างเครือข่ายด้านการลงทุนและด้านอื่นๆ

5.พัฒนาเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านการเกษตรอินทรีย์

สำหรับวันนี้ความรู้ในการแพ็คกิ้งและการสร้างแบรนด์สำคัญสำหรับเราชาว กศน.เพราะทุกวันนี้ กศน.สร้างอาชีพให้กับชุมชนแต่ลืมการสร้างแบรนด์ให้เป็นเอกลักษณ์ของ กศน. โดยเฉพาะ

สรุปความรู้ที่ได้ในวันนี้คือ

ช่วงเช้า เป็นเวทีของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสร้างเครือข่ายการเรียนรู้

ช่วงบ่าย เป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิต ด้วยการลดต้นทุน และบรรจุภัณฑ์ โคยใช้เทคโนโลยี

นางสาวศิริวรรณ นาคทองรูป

สวัสดีค่ะ

Workshop วิชาที่4 และ 5 กลุ่มที่ 3

ความรู้ที่ได้จากการเปิดเสรีอาเซียนครั้งนี้....

1. โอกาสของไทยจากการเปิดเสรีอาเซียนมีอะไรบ้าง ?

(1)ด้านการตลาด

  • มีพื้นที่มากในการผลิต

เหตุผลเพราะ - เมืองไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม

- มีภูมิอากาศเหมาะสมในการผลิต

- มีแรงงานที่มีทักษะ

- มีเทคโนโลยี

- มีองค์กรสถาบันการศึกษาที่รวมกันวิจัย

(2) ด้านการตลาด

  • มีตลาดในการจำหน่ายที่มากขึ้น
  • มีการติดต่อค้าขายผ่านสังคมออนไลน์
  • เป็นศูนย์กลางของการขนส่งสินค้าอาเซียน
  • เจรจาผู้นำอาเซียน
  • มีตัวแทนการค้าในกลุ่มอาเซียนทุกประเทศ
  • สมาชิกอาเซียนรู้จักข้าวกล้องไทยมากขึ้น


2. ความรู้ที่จำเป็น คือ อะไร ?

1. ด้านการผลิต/การวิจัยพันธุ์ข้าว

2. ด้านเทคโนโลยีในการผลิต/food safety

3. ด้านการบรรจุภัณฑ์ของตัวสินค้า

4. ด้านการแปรรูป

5. ด้านขนส่ง


3. ในฐานะที่ท่าเป็น กศน. ท่านจะทำอะไรบ้าง (สิ่งที่ควรทำ)

1. เป็นศูนย์เรียนรู้

2. อบรม/พัฒนาเกษตรกร อัตรา1:100

3. จัดตั้งกลุ่มสหกรณ์การผลิตเพื่อจำหน่าย


4. ความร่วมมือระหว่าง กศน. – อาเซียน เพื่อพัฒนาเกษตรของไทยและอาเซียนควรจะทำเรื่องอะไร

1. ศึกษาดูงานในกลุ่มอาเซียน

2. พัฒนาเกษตร

3. ตั้งศูนย์วิจัยในประเทศไทย

4. ตั้งไทยเป็นศูนย์กลางในการขนส่งสินค้า


5. หากจะร่วมมือกับอาเซียน( ตามข้อ 4 ) กศน.มีหน้าที่ต้องทำอะไรบ้าง ?

1.ประสานระหว่างเกษตรกรกับอาเซียน

2. ทำ MOU ระหว่างชาติ

3. จดลิขสิทธิ์ของกลุ่มอาเซียน

วันนี้ได้เรียนรู้ภาษาอาเซียนและลักษณะภูมิศาสตร์ของประเทศอาเซียน ขอบคุณคณะวิทยากรแลคณะผู้จัดเป็นอย่างสูง

-"ข้าวคุณธรรม "ไม่ใช้สารเคมีเพื่อกำจัดศัตรูพืช เมื่อปูมาท่ีนาข้าวก็เก็บขายเพิ่มรายได้อีกทาง. ส่วนPackaging นั้นมีส่วนดึงดูดลูกค้าในการควักเงินซื้อจริง เพราะพฤติกรรมของตัวเองเวลาซื้อของจะพิจารณาการบรรจุหีบห่อของสินค้าว่าบรรจุอย่างไร. สิ่งปนเปื้อนจะเข้าไปได้หรือไม่ ของชนิดเดียวกัน วางอยู่ท่ีชั้นสินค้าใกล้กันจะเลือกของท่ีการบรรจุหีบห่อดีกว่า แม้นราคาจะสูงขึ้น

Net working ภาษา วัฒนธรรม. กฏหมายในกลุ่มอาเชียนต้องเรียนรู้ร่วมกัน

วันนี้ได้รับความรู้มากมาย สามารถนำไปใช้ได้อย่างดีเยี่ยม เช่น

1.ภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาเวียดนาม ภาษาลาว ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการสื่อสาร

2.สภาพพื้นที่ของแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียน รู้เขา รู้เรา

3.ได้รู้ถึงการนำเข้า การส่งออกสินค้าทางการเกษตรของแต่ละประเทศ

4.ได้รู้ถึงกระบวนการคิด v1 , v2 ,v3 ของแต่ละประเทศ

5.ได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ในประเทศไทย

6.ได้แนวคิดในการพัฒนาคนของ กศน. ซึ่งไม่เคยคิดว่าจะต้องก้าวไปขนาดนั้น

7.ได้เปลี่ยนทัศนคติที่จะจัดการศึกษาแบบเดิมสู่แนวคิดแบบใหม่

นายบุญโชค พลดาหาญ กลุ่ม ที่ ๕

ค่ายผู้นำต้นแบบของ กศน.เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยสู่อาเซียน รุ่นที่ ๒ ที่จัดขึ้นมาได้ในครั้งนี้

ก็แสดงว่า ค่ายนี้ รุ่นที่ ๑ ที่จัดขึ้นมาแล้ว มีความเป็นไปได้ในการนำไปสู่การปฏิบัติตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ถึงเป็นงานใหญ่ งานช้าง เครือข่ายทั้งหลายที่มีหน้าที่โดยตรงยังไม่ได้คุยกัน บูรณาการทำข้อตกลงทำงานร่วมกัน ทั้งท่านเกษตร พานิชย์ อุตสาหกรรม หอการค้า สภาอุตสาหกรรม

เป็นการทำกันเองระหว่างวิทยากรทีมงานศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และกศน.

ก็ขอให้พวกเราอย่าสงใส ในความเป็นไปได้ของโครงการ คิดว่าท่านวิทยากรคงจะเฉลยให้เห็นในเร็ววันนี้

พวกเราใจเย็น ๆ ให้ความร่วมมือทำตามวิทยากรค่อไป

หากวิทยากรจะตอบให้หายข้องใจก็ได้ครับผม

ขอบคุณท่านที่ให้โอกาสมาร่วมเรียนรู้ด้วยครับ

สรุปการบรรยาย กลุ่มที่ 7

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ วันที่ 20 เมษายน 2557

กล่าวต้อนรับ

โดย นายประเสริฐ บุญเรือง

เลขาธิการสำนักงาน กศน.

โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีและสามารถเป็นต้นแบบในการพัฒนาสู่เกษตรกรอาเซียน โครงการในครั้งนี้จะเป็นโครงการต่อเนื่องคือคัดเลือกคน 40 คนจากในวันนี้ไปศึกษาดูงานที่ประเทศเวียดนาม และอินโดนีเซีย ใน 100 คน โครงการนี้ได้รับนโยบายจากเลขาธิการรัฐมนตรีชาญยุทธ ได้กำหนดให้ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิฯ มารับผิดชอบ 2 สำนักงานคือ กศน. กับอาชีวศึกษา เพราะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งนี้ เพื่อสร้างวิสัยทัศน์และทัศนคติในความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการในระดับสากล และทำกิจกรรมต่าง ๆ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในการช่วยทำให้ประเทศชาติมีรายได้สูงขึ้น เป็นไปได้หรือไม่ในการเพิ่มค่าเฉลี่ยรายได้ประชากรต่อปีต้องสร้างความพร้อมของประเทศไทยให้มีความพร้อมมาก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

การทำโครงการต่อเนื่องจะยึดจากคนที่ได้รับการเรียนรู้ใน 2 รุ่นก่อน รุ่นละ 40 คน

การเสนอ กศน. กับอาชีวะ เนื่องจากเส้นทางคนที่อยู่นอกระบบการศึกษามีจำนวนมาก และมีหลายคนที่ออกไปทำงานมีทั้งเกษตร อุตสาหกรรม บริการ แต่ที่เลือกการเกษตรเพราะภาคการเกษตรของไทยมีความเข้มแข็ง

ข้อดีของกศน.คือ อยู่ในพื้นที่ และรู้จักคนอยู่แล้วแต่การบริหารจัดการการเกษตรยุคใหม่ต้องรู้เรื่องการเงิน การสร้างแบรนด์ทางการตลาด ทำอย่างไรที่มีคนเท่าเดิมแต่ให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ภาคการเกษตรมีเจ้าภาพหลายฝ่ายทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ กศน.การบริหารจัดการต้องเน้น คน เงิน เทคโนโลยี และทรัพยากรธรรมชาติ

Phase 2 จะทำ 3 เรื่อง

1. ฝึกคนเป็นพี่เลี้ยง ถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาสู่อาเซียน

2. คัดเลือกโปรเจคซึ่งเป็นโครงการเกษตรที่ต้องให้เกษตรกรเข้มแข็ง

3. โอกาสในการปะทะความจริงกับประเทศในอาเซียนเช่น ปะทะการเกษตรที่เวียดนามและอินโดนีเซียเป็นต้น

หลักสูตรนี้เน้นแนวคิดอยู่ 2 เรื่อง

1. Respect ในฐานะเป็นผู้นำของ กศน.

2. Dignity เราทำงานด้วยศักดิ์ศรีของกศน.

ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้ในยุคโลกที่เปลี่ยนแปลง

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จุดประสงค์ในวันนี้มี 3 เรื่องคือ

1. Value Added การเตรียมตัวเป็น Training for Trainer ต้องขยายความรู้ต่อ

2. Value Creation คือจะเลือก Project ที่เกี่ยวกับการเกษตรที่

3. Value Diversity หมายถึงโปรเจคไหนก็ตามที่ปรับปรุงในภาคเกษตร

การเรียนรู้ต้องมี1. Basic 2. Foundation

หลักการและเหตุผล

- เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม คนต้องจัดการการเปลี่ยนแปลงให้ได้

- คนส่วนใหญ่ในภาคเกษตร ตัวเลข 45 % เกษตรเพิ่มมูลค่า

- สัดส่วนของ GDP มี 8-10% ถ้าเพิ่มสัดส่วนของมูลค่าเพิ่มทางการเกษตร การแปรรูปสามารถสร้างคุณค่าให้เกษตรมหาศาล

วัตถุประสงค์หลัก

1.อยากให้ตัวท่านเป็นผู้นำทางการศึกษาของ กศน.เพิ่มขึ้น แต่หลัก ๆ คือ ผู้นำกศน.ในยุคต่อไปต้องเป็นผู้นำแห่งการเรียนรู้ต้องเป็น Learning Leadership

2.เราต้อง Serious เรื่องคุณธรรม จริยธรรม

3.บทบาทของ กศน. คือต้องไป Train คน ไปสร้างโปรเจคใหม่ และนำโปรเจคไปเชื่อมโยงกับอาเซียน ดังนั้นการเตรียมคู่มือจึงต้องทำให้ดี

การมุ่งสู่ภาคเกษตรใน ASEAN 2015 ตามทฤษฎี 4 H

1. High Standard มีมาตรฐาน ปลอดสารพิษ

2. High Productivity ใช้ศักยภาพเพิ่มมูลค่าในการทำงาน ใช้ปัจจัยการผลิตเท่าเดิมแต่มูลค่าสูงขึ้น

3. High Income เมื่อมี Productivity สูงขึ้นรายได้สูงขึ้นแน่นอน ตัวอย่างเช่นทำไมสิงคโปร์หรือนิวซีแลนด์รวย เนื่องจากเน้นการวิจัย เรียกว่า Post Harvest ดังนั้นวิทยาศาสตร์กับการเกษตรต้องไปด้วยกัน เช่น Biotech

4. Higher Income Distribution คือการกระจายรายได้ ปัจจุบันคนรวย ๆ ล้นฟ้า จน ๆ มาก ทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคม

4L’s

1.Learning Methodology วิธีการเรียนรู้ เช่น ถามคำถามที่ไม่มีคำตอบชัดเจน

2. Learning Environment การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

3. Learning Opportunity โอกาสที่เกิดจากการเรียนรู้ เช่น การมีโอกาสในการปะทะกันทางปัญญา

4. Learning Community เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

2 R’s

Reality – ทำอะไรก็แล้วแต่ต้องไปปะทะกับความจริง

Relevance – ตรงประเด็น เมื่อได้ช่องว่างแล้วอย่าทำตัวรู้ทุกเรื่อง เลือกประเด็นที่ Relevance ต่ออาเซียนในประเด็น

2I’s

Inspiration – จุดประกาย

Imagination – จินตนาการ

หัวข้อ บทบาทของ กศน. และสร้างคุณค่าให้แก่ภาคการเกษตรด้วยแนวคิดแบบ 3 V

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

บทบาทของ กศน.และสร้างคุณค่าให้แก่ภาคการเกษตรด้วยแนวคิดแบบ 3 V

1.ทฤษฎี 3 V ต้องสามารถ Apply กับสิ่งที่เกิดขึ้นในภาคเกษตร

- Value Added - การนำการเรียนรู้ที่เรียนมาสู่การต่อยอด Training the Trainer 1: 100

- Value Creation – การคิดโครงการใหม่ ๆ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ เน้นทฤษฎี Blue Ocean มีลูกค้าใหม่ ความสร้างสรรค์ใหม่ นวัตกรรมใหม่ กศน.คิดสร้างสรรค์เพื่อไปสู่เกษตร

-Value Diversity – โครงการที่คิดสามารถสร้างความร่วมมือในอาเซียนได้

2.ปลูก คือ การพัฒนาทุนมนุษย์ ตามทฤษฎี 8K’s 5K’s

ทุนมนุษย์คือตัวแม่ ที่เหลือคือตัวลูก เช่น ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความสุข ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น

3.เก็บเกี่ยว อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้เป็นเลิศ อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้มีมาตรฐานสูงขึ้น การเปลี่ยนพฤติกรรม ต้องเปลี่ยนวิธีการคิด

4.Execution เมื่อเราเข้าไปช่วยการเกษตรใน Real Sector ช่วยจริงหรือไม่ และถ้าจะสนับสนุน Project ในอาเซียนต้องมีใครบ้าง ต้องบริหาร Real Sector เพราะ Private Sector (ภาคเอกชนเท่านั้น) เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต

การพัฒนาทุนมนุษย์ด้วย 8K’s + 5K’s และการบริหารทุนมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพจะนำไปสู่สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของการปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงในอนาคต คือ

1. Standard มีมาตรฐาน

2. Quality มีคุณภาพ

3. Excellence มีความเป็นเลิศ

4. Benchmarking เทียบเคียงกับคู่แข่งได้

5. Best Practice เป็นแบบอย่างการปฏิบัติที่ดีที่สุด

ในด้านเกษตร...การรวมตัวกันของอาเซียน 10 ประเทศมีความหลากหลาย (Diversity) มากมาย ยกตัวอย่างเช่น

หัวข้อ ภาวะผู้นำ และการพัฒนาทัศนคติ (Mindset) สู่ความเป็นเลิศ

โดย รศ.ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

มุมมองในสิ่งต่างๆ ที่ต่างกันจะทำให้จะทำให้แนวคิดในสิ่งนั้นๆต่างกัน ผู้บริหารและครูกศน. ต้องมีภาวะเป็นผู้นำในการดำเนินงาน ต้องจินตนาการให้เห็นรายละเอียดให้ได้ว่า

เป้าหมายเราเป็นอย่างไร

จะไปสู่จุดหมายอย่างไร

เน้นบทบาทหลักของ กศน.และหลักการทำงาน คือรักในสิ่งที่ทำ คิดให้ใหญ่แต่เริ่มให้เล็ก ( จะโตขึ้นเรื่อย ๆ) การขยายผลให้ขยายผลกับผู้ที่มีความรู้หรือมีบทบาทในชุมชน การตัดสินใจให้คำนึงถึง ง่าย ไว ใหม่ ใหญ่ ยั่งยืน และมีความสุข

ได้รับความรู้มากมาย ขอบคุณครับ

การเข้าร่วมอบรมวันแรก สมาชิกหลายคนคงไม่ต่างจากผม นั้นคือกังวลว่าเราจะนำพาเกษตรกรไปสู่เป้าประสงค์ของโครงการนี้ได้อย่างไร แต่คน กศน.ทุกคน ไม่มีใครว่าทำไม่ได้ หลังจากฟังท่านเลขาธิการ กศน. ท่านประเสริฐ บุญเรือง เราก็ยิ่งกงวลใจมากขึ้น เนื่องจากความคาดหวังของผู้นำของเรา ที่คาดหวังสูงยิ่ง พร้อมกับขอร้องให้ทีมวิทยากรเข้าใจคน กศน. เราเริ่มสบายใจขึ้น เมื่อได้ทราบ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ และแนวทางการเรียนรู้ จากท่าน ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เรายิ่งเห็นความตั้งในในการพัฒนาองค์ความรู้ให้กับพวกเรา ได้ทราบหลักคิด ทฤษฎี ต่างๆ ทั้ง 4L's 2R's 2I;s 3L's และที่สำคัญคือ 3V's ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาเกษตรกรไทยสู่อาเซียน ซึ่งได้แก่ V1 Value Added การสร้างมูลค่าเพิ่ม V2 Value Creation สร้างคุณค่าใหม่ และ V3 Value Disversity สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย สมาชิกเราทั้ง 8 กลุ่ม ต่างร่วมกิจกรรม นำเสนอ Projec อย่างหลากหลาย โดยความคิดเห็นส่วนตัวคิดว่า สิ่งที่ได้รับคือการฝึกกระบวนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม บรรยากาศการเรียนรู้ที่ทำให้สมาชิกทุกคนได้แสดงความคิดเห็น และนำเสนอ Projec ของกลุ่มด้วยความตั้งใจ สำหรับผมเริ่มมองเห็นแนวทางการพัฒนากิจกรรม การแสวงหาความร่วมมือ ในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาเกษตรกรไทยให้ตรงประเด็นมากยิ่งขึ้น ขอขอบพระคุณทีมวิทยากรทุกท่านครับ

วันที่สองเพิ่มความรู้เพื่อนบ้าน ช่วงเช้าภาษาเวียดนาม น่าสนใจมากครับ หลายคนคงอยากที่จะเรียนต่อน่าจะมีหลายคำที่คล้ายกับภาษาไทย โดยเฉพาะวิทยากร Mr.Nguyen Duy Duc กับอาจารย์จีระเดช ดิสกะประกาย ถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์เป็นที่สนุกสนานทำให้การเรียนภาษาเป็นสิ่งที่น่าสนใจหลายคนคงอยากเรียนเช่นกันนะครับ

รู้เขารู้เรา AEC จะเกิดขึ้นได้ และมีความเข้มแข็งต่อไปได้ ประเทศใน ASEAN ต้องร่วมมือกัน เสริมจุดเด่น พัฒนาจุดด้อยของสมาชิกใน Asean เลิกการแข่งขันปรับเปลี่ยนเป็นการพัฒนาร่วมกัน โดยเฉพาะการนำเสนอความคิดขอล MrใDarwin Yang จากประเทศสิงคโปร์ "มุมมองในฐานะคนไม่มีอะไรเลย" การเปลียบเทียบ นำ้เปล่ากับกาแฟ ทำให้ทราบแนวคิดของคนสิงคโปร์ ที่เป็นเลิศด้านความคิดด้านการค้า หากสามารถนำแนวคิดมาประยุกต์ใช้กับเกษตรกรไทยได้จะสามารถสร้างศักนภาพเกษตรกรได้อย่างแน่นอน เป็นหน้าที่ของชาว กศน.ต้องคิดหาแนวทางการพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาอบรมประชาชนต่อไปครับ "รู้เรื่อง เข้าใจ ทำได้ ถ่ายทอดได้ จึงจะถือว่าเป็นความรู้ที่สมบูรณ์"

ความรู้ที่ได้จากวันที่สองทำให้ทราบว่าประเทศในอาเซียนมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเพื่อรองรับการเข้าสู่ AEC แต่ช่วงสุดท้ายของรายการไม่เข้าใจว่าทางคณะผู้จัดต้องการสื่อสารเรื่องอะไร เพราะให้วิทยากรสองท่านที่อยู่คนละขั้วมาอยู่ด้วยกัน คนหนึ่งพูดถึงแก่นแท้ของชีวิต อีกคนพูดถึงเปลือกของชีวิต น่าจะแยกสองสิ่งนี้คนละช่วงเวลา เพราะอีกคนถูกฆ่าบนเวที

กลุ่ม 7

ความรู้ที่ได้รับจากอาเซียนครั้งนี้

1.โอกาสของไทยจากการเปิดเสรีอาเซียนมีอะไรบ้าง

1. ด้านการผลิต

1. สร้างมาตรฐานการผลิต 4 h โดยการแปรรูปสินค้าทางการเกษตร

เหตุผลเพราะ ความต้องการสินค้าเกษตรชุมชนที่มีคุณภาพ เพิ่มมากขึ้น

2. การรวมกลุ่มเกษตรกรที่ผลิต

เหตุผลเพราะ เพิ่มอำนาจการต่อรอง และควบคุมคุณภาพ

2. การตลาด

1. ประเทศไทยมีสินค้าเกษตรชุมชนที่หลากหลายตลอดทั้งปี

เหตุผลเพราะ ภูมิประเทศ เหมาะสม

2. ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอาเซียน มีระบบขนส่งสินค้าที่สะดวก รวดเร็ว

เหตุผลเพราะ มีระบบขนส่งสินค้าที่ทันสมัย

2.ความรู้ที่จำเป็น คือ อะไร

1.ความรู้ด้านการผลิต / การตลาด

2.ด้านการบริหารจัดการ

3.ด้านภาษาและ เทคโนโลยี

3.ในฐานะที่ท่านเป็น กศน.ท่านจะต้องทำอะไรบ้าง ( สิ่งที่ควรทำ)

1.ปรับเปลี่ยนทัศนคติ

2.กำหนด / สร้างเป้าหมาย / ขยาย

3.สร้างระบบนิเวศติดตามอย่างต่อเนื่อง

4. ความร่วมมือ ระหว่าง กศน.- อาเซียน เพื่อพัฒนาการเกษตรของไทยและอาเซียนควรจะทำเรื่องอะไร

1.จัดแสดง สินค้าชุมชน

2.ศึกษาดูงาน

3.โครงการแลกเปลี่ยน นักศึกษา / เกษตรชุมชน

5.หากจะร่วมมือกับอาเซียน ( ตามข้อ 4 ) กศน. มีหน้าที่ต้องทำอะไรบ้าง

1.ให้ความรู้ด้านภาษา และเทคโนโลยี

2.ให้ความรู้เรื่องวัฒนธรรม และกฎหมายต่างๆ

3.ให้ความรู้เรื่องการตลาด การแลกเปลี่ยน ภาษี

สรุปการบรรยายโดย กลุ่มที่ 7

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๗

กล่าวต้อนรับ

โดย นายประเสริฐ บุญเรือง

เลขาธิการสำนักงาน กศน.

โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีและสามารถเป็นต้นแบบในการพัฒนาสู่เกษตรกรอาเซียน โครงการในครั้งนี้จะเป็นโครงการต่อเนื่องคือคัดเลือกคน 40 คนจากในวันนี้ไปศึกษาดูงานที่ประเทศเวียดนาม และอินโดนีเซีย ใน 100 คน โครงการนี้ได้รับนโยบายจากเลขาธิการรัฐมนตรีชาญยุทธ ได้กำหนดให้ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิฯ มารับผิดชอบ 2 สำนักงานคือ กศน. กับอาชีวศึกษา เพราะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งนี้ เพื่อสร้างวิสัยทัศน์และทัศนคติในความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการในระดับสากล และทำกิจกรรมต่าง ๆ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในการช่วยทำให้ประเทศชาติมีรายได้สูงขึ้น เป็นไปได้หรือไม่ในการเพิ่มค่าเฉลี่ยรายได้ประชากรต่อปีต้องสร้างความพร้อมของประเทศไทยให้มีความพร้อมมาก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

การทำโครงการต่อเนื่องจะยึดจากคนที่ได้รับการเรียนรู้ใน 2 รุ่นก่อน รุ่นละ 40 คน

การเสนอ กศน. กับอาชีวะ เนื่องจากเส้นทางคนที่อยู่นอกระบบการศึกษามีจำนวนมาก และมีหลายคนที่ออกไปทำงานมีทั้งเกษตร อุตสาหกรรม บริการ แต่ที่เลือกการเกษตรเพราะภาคการเกษตรของไทยมีความเข้มแข็ง

ข้อดีของกศน.คือ อยู่ในพื้นที่ และรู้จักคนอยู่แล้วแต่การบริหารจัดการการเกษตรยุคใหม่ต้องรู้เรื่องการเงิน การสร้างแบรนด์ทางการตลาด ทำอย่างไรที่มีคนเท่าเดิมแต่ให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ภาคการเกษตรมีเจ้าภาพหลายฝ่ายทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ กศน.การบริหารจัดการต้องเน้น คน เงิน เทคโนโลยี และทรัพยากรธรรมชาติ

Phase 2 จะทำ 3 เรื่อง

1. ฝึกคนเป็นพี่เลี้ยง ถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาสู่อาเซียน

2. คัดเลือกโปรเจคซึ่งเป็นโครงการเกษตรที่ต้องให้เกษตรกรเข้มแข็ง

3. โอกาสในการปะทะความจริงกับประเทศในอาเซียนเช่น ปะทะการเกษตรที่เวียดนามและอินโดนีเซียเป็นต้น

หลักสูตรนี้เน้นแนวคิดอยู่ 2 เรื่อง

1. Respect ในฐานะเป็นผู้นำของ กศน.

2. Dignity เราทำงานด้วยศักดิ์ศรีของกศน.

ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้ในยุคโลกที่เปลี่ยนแปลง

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จุดประสงค์ในวันนี้มี 3 เรื่องคือ

1. Value Added การเตรียมตัวเป็น Training for Trainer ต้องขยายความรู้ต่อ

2. Value Creation คือจะเลือก Project ที่เกี่ยวกับการเกษตรที่

3. Value Diversity หมายถึงโปรเจคไหนก็ตามที่ปรับปรุงในภาคเกษตร

การเรียนรู้ต้องมี1. Basic 2. Foundation

หลักการและเหตุผล

- เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม คนต้องจัดการการเปลี่ยนแปลงให้ได้

- คนส่วนใหญ่ในภาคเกษตร ตัวเลข 45 % เกษตรเพิ่มมูลค่า

- สัดส่วนของ GDP มี 8-10% ถ้าเพิ่มสัดส่วนของมูลค่าเพิ่มทางการเกษตร การแปรรูปสามารถสร้างคุณค่าให้เกษตรมหาศาล

วัตถุประสงค์หลัก

1.อยากให้ตัวท่านเป็นผู้นำทางการศึกษาของ กศน.เพิ่มขึ้น แต่หลัก ๆ คือ ผู้นำกศน.ในยุคต่อไปต้องเป็นผู้นำแห่งการเรียนรู้ต้องเป็น Learning Leadership

2.เราต้อง Serious เรื่องคุณธรรม จริยธรรม

3.บทบาทของ กศน. คือต้องไป Train คน ไปสร้างโปรเจคใหม่ และนำโปรเจคไปเชื่อมโยงกับอาเซียน ดังนั้นการเตรียมคู่มือจึงต้องทำให้ดี

การมุ่งสู่ภาคเกษตรใน ASEAN 2015 ตามทฤษฎี 4 H

1. High Standard มีมาตรฐาน ปลอดสารพิษ

2. High Productivity ใช้ศักยภาพเพิ่มมูลค่าในการทำงาน ใช้ปัจจัยการผลิตเท่าเดิมแต่มูลค่าสูงขึ้น

3. High Income เมื่อมี Productivity สูงขึ้นรายได้สูงขึ้นแน่นอน ตัวอย่างเช่นทำไมสิงคโปร์หรือนิวซีแลนด์รวย เนื่องจากเน้นการวิจัย เรียกว่า Post Harvest ดังนั้นวิทยาศาสตร์กับการเกษตรต้องไปด้วยกัน เช่น Biotech

4. Higher Income Distribution คือการกระจายรายได้ ปัจจุบันคนรวย ๆ ล้นฟ้า จน ๆ มาก ทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคม

4L’s

1.Learning Methodology วิธีการเรียนรู้ เช่น ถามคำถามที่ไม่มีคำตอบชัดเจน

2. Learning Environment การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

3. Learning Opportunity โอกาสที่เกิดจากการเรียนรู้ เช่น การมีโอกาสในการปะทะกันทางปัญญา

4. Learning Community เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

2 R’s

Reality – ทำอะไรก็แล้วแต่ต้องไปปะทะกับความจริง

Relevance – ตรงประเด็น เมื่อได้ช่องว่างแล้วอย่าทำตัวรู้ทุกเรื่อง เลือกประเด็นที่ Relevance ต่ออาเซียนในประเด็น

2I’s

Inspiration – จุดประกาย

Imagination – จินตนาการ

หัวข้อ บทบาทของ กศน. และสร้างคุณค่าให้แก่ภาคการเกษตรด้วยแนวคิดแบบ 3 V

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

บทบาทของ กศน.และสร้างคุณค่าให้แก่ภาคการเกษตรด้วยแนวคิดแบบ 3 V

1.ทฤษฎี 3 V ต้องสามารถ Apply กับสิ่งที่เกิดขึ้นในภาคเกษตร

- Value Added - การนำการเรียนรู้ที่เรียนมาสู่การต่อยอด Training the Trainer 1: 100

- Value Creation – การคิดโครงการใหม่ ๆ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ เน้นทฤษฎี Blue Ocean มีลูกค้าใหม่ ความสร้างสรรค์ใหม่ นวัตกรรมใหม่ กศน.คิดสร้างสรรค์เพื่อไปสู่เกษตร

-Value Diversity – โครงการที่คิดสามารถสร้างความร่วมมือในอาเซียนได้

2.ปลูก คือ การพัฒนาทุนมนุษย์ ตามทฤษฎี 8K’s 5K’s

ทุนมนุษย์คือตัวแม่ ที่เหลือคือตัวลูก เช่น ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความสุข ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น

3.เก็บเกี่ยว อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้เป็นเลิศ อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้มีมาตรฐานสูงขึ้น การเปลี่ยนพฤติกรรม ต้องเปลี่ยนวิธีการคิด

4.Execution เมื่อเราเข้าไปช่วยการเกษตรใน Real Sector ช่วยจริงหรือไม่ และถ้าจะสนับสนุน Project ในอาเซียนต้องมีใครบ้าง ต้องบริหาร Real Sector เพราะ Private Sector (ภาคเอกชนเท่านั้น) เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต

การพัฒนาทุนมนุษย์ด้วย 8K’s + 5K’s และการบริหารทุนมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพจะนำไปสู่สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของการปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงในอนาคต คือ

1. Standard มีมาตรฐาน

2. Quality มีคุณภาพ

3. Excellence มีความเป็นเลิศ

4. Benchmarking เทียบเคียงกับคู่แข่งได้

5. Best Practice เป็นแบบอย่างการปฏิบัติที่ดีที่สุด

ในด้านเกษตร...การรวมตัวกันของอาเซียน 10 ประเทศมีความหลากหลาย (Diversity) มากมาย ยกตัวอย่างเช่น

หัวข้อ ภาวะผู้นำ และการพัฒนาทัศนคติ (Mindset) สู่ความเป็นเลิศ

โดย รศ.ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

มุมมองในสิ่งต่างๆ ที่ต่างกันจะทำให้จะทำให้แนวคิดในสิ่งนั้นๆต่างกัน ผู้บริหารและครูกศน. ต้องมีภาวะเป็นผู้นำในการดำเนินงาน ต้องจินตนาการให้เห็นรายละเอียดให้ได้ว่า

เป้าหมายเราเป็นอย่างไร

จะไปสู่จุดหมายอย่างไร

เน้นบทบาทหลักของ กศน.และหลักการทำงาน คือรักในสิ่งที่ทำ คิดให้ใหญ่แต่เริ่มให้เล็ก ( จะโตขึ้นเรื่อย ๆ) การขยายผลให้ขยายผลกับผู้ที่มีความรู้หรือมีบทบาทในชุมชน การตัดสินใจให้คำนึงถึง ง่าย ไว ใหม่ ใหญ่ ยั่งยืน และมีความสุข

เทคนิคการเพิ่มผลผลิตและมูลค่าด้วย New Technology &Packaging และภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นเรื่องที่ตรงใจของสมาชิกผู้เข้ารับการอบรมมาก เพราะเราชาว กศน.ส่วนใหญ่อยู่กับการส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีทักษะในการประกอบอาชีพ สิ่งที่สำคัญคือการค้าขายสร้างรายได้ แต่ส่วนใหญ่มาติดกับการตลาด การขนส่งสินค้าถึงมือผู้ซื้อ จากการนำเสนอของวิทยากรทำให้มองเห็นทางออกของการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรมายิ่งขึ้น

วันนี้ที่22เมษายน 2557เดินทางศึกษาดูงานสปปลาว

ใบงานวิชาที่4-5กลุ่มที่7

ความรู้ที่ได้รับจากอาเซียนครั้งนี้

1.โอกาสของไทยจากการเปิดเสรีอาเซียนมีอะไรบ้าง

1. ด้านการผลิต

1. สร้างมาตรฐานการผลิต 4 h โดยการแปรรูปสินค้าทางการเกษตร

เหตุผลเพราะ ความต้องการสินค้าเกษตรชุมชนที่มีคุณภาพ เพิ่มมากขึ้น

2. การรวมกลุ่มเกษตรกรที่ผลิต

เหตุผลเพราะ เพิ่มอำนาจการต่อรอง และควบคุมคุณภาพ

2. การตลาด

1. ประเทศไทยมีสินค้าเกษตรชุมชนที่หลากหลายตลอดทั้งปี

เหตุผลเพราะ ภูมิประเทศ เหมาะสม

2. ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอาเซียน มีระบบขนส่งสินค้าที่สะดวก รวดเร็ว

เหตุผลเพราะ มีระบบขนส่งสินค้าที่ทันสมัย

2.ความรู้ที่จำเป็น คือ อะไร

1. ความรู้ด้านการผลิต / การตลาด

2. ด้านการบริหารจัดการ

3. ด้านภาษาและ เทคโนโลยี

3.ในฐานะที่ท่านเป็น กศน.ท่านจะต้องทำอะไรบ้าง ( สิ่งที่ควรทำ)

1. ปรับเปลี่ยนทัศนคติ

2. กำหนด / สร้างเป้าหมาย / ขยาย

3. สร้างระบบนิเวศติดตามอย่างต่อเนื่อง

4. ความร่วมมือ ระหว่าง กศน.- อาเซียน เพื่อพัฒนาการเกษตรของไทยและอาเซียนควรจะทำเรื่องอะไร

1. จัดแสดง สินค้าชุมชน

2. ศึกษาดูงาน

3. โครงการแลกเปลี่ยน นักศึกษา / เกษตรชุมชน

5.หากจะร่วมมือกับอาเซียน ( ตามข้อ 4 ) กศน. มีหน้าที่ต้องทำอะไรบ้าง

1. ให้ความรู้ด้านภาษา และเทคโนโลยี

2. ให้ความรู้เรื่องวัฒนธรรม และกฎหมายต่างๆ

3. ให้ความรู้เรื่องการตลาด การแลกเปลี่ยน ภาษี

ใบงานวิชาที่4-5 กลุ่มที่7

ความรู้ที่ได้รับจากอาเซียนครั้งนี้

1.โอกาสของไทยจากการเปิดเสรีอาเซียนมีอะไรบ้าง

1. ด้านการผลิต

1.สร้างมาตรฐานการผลิต 4 h โดยการแปรรูปสินค้าทางการเกษตร

เหตุผลเพราะ ความต้องการสินค้าเกษตรชุมชนที่มีคุณภาพ เพิ่มมากขึ้น

2. การรวมกลุ่มเกษตรกรที่ผลิต

เหตุผลเพราะเพิ่มอำนาจการต่อรอง และควบคุมคุณภาพ

2. การตลาด

1. ประเทศไทยมีสินค้าเกษตรชุมชนที่หลากหลายตลอดทั้งปี

เหตุผลเพราะภูมิประเทศ เหมาะสม

2. ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอาเซียน มีระบบขนส่งสินค้าที่สะดวก รวดเร็ว

เหตุผลเพราะมีระบบขนส่งสินค้าที่ทันสมัย

2.ความรู้ที่จำเป็น คือ อะไร

1.

ความรู้ด้านการผลิต / การตลาด

2.

ด้านการบริหารจัดการ

3.

ด้านภาษาและ เทคโนโลยี

3.ในฐานะที่ท่านเป็น กศน.ท่านจะต้องทำอะไรบ้าง ( สิ่งที่ควรทำ)

1.

ปรับเปลี่ยนทัศนคติ

2.

กำหนด / สร้างเป้าหมาย / ขยาย

3.

สร้างระบบนิเวศติดตามอย่างต่อเนื่อง

4. ความร่วมมือ ระหว่าง กศน.- อาเซียน เพื่อพัฒนาการเกษตรของไทยและอาเซียนควรจะทำเรื่องอะไร

1.

จัดแสดง สินค้าชุมชน

2.

ศึกษาดูงาน

3.

โครงการแลกเปลี่ยน นักศึกษา /เกษตรชุมชน

5.หากจะร่วมมือกับอาเซียน ( ตามข้อ 4 )กศน. มีหน้าที่ต้องทำอะไรบ้าง

1.

ให้ความรู้ด้านภาษา และเทคโนโลยี

2.

ให้ความรู้เรื่องวัฒนธรรม และกฎหมายต่างๆ

3.

ให้ความรู้เรื่องการตลาด การแลกเปลี่ยน ภาษี

สรุปการบรรยายโดย กลุ่มที่ 7

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๗

กล่าวต้อนรับ

โดย นายประเสริฐ บุญเรือง

เลขาธิการสำนักงาน กศน.

โครงการนี้เป็นโครงการที่ดีและสามารถเป็นต้นแบบในการพัฒนาสู่เกษตรกรอาเซียน โครงการในครั้งนี้จะเป็นโครงการต่อเนื่องคือคัดเลือกคน 40 คนจากในวันนี้ไปศึกษาดูงานที่ประเทศเวียดนาม และอินโดนีเซีย ใน 100 คน โครงการนี้ได้รับนโยบายจากเลขาธิการรัฐมนตรีชาญยุทธ ได้กำหนดให้ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิฯ มารับผิดชอบ 2 สำนักงานคือ กศน. กับอาชีวศึกษา เพราะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งนี้ เพื่อสร้างวิสัยทัศน์และทัศนคติในความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการในระดับสากล และทำกิจกรรมต่าง ๆ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในการช่วยทำให้ประเทศชาติมีรายได้สูงขึ้น เป็นไปได้หรือไม่ในการเพิ่มค่าเฉลี่ยรายได้ประชากรต่อปีต้องสร้างความพร้อมของประเทศไทยให้มีความพร้อมมาก

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

การทำโครงการต่อเนื่องจะยึดจากคนที่ได้รับการเรียนรู้ใน 2 รุ่นก่อน รุ่นละ 40 คน

การเสนอ กศน. กับอาชีวะ เนื่องจากเส้นทางคนที่อยู่นอกระบบการศึกษามีจำนวนมาก และมีหลายคนที่ออกไปทำงานมีทั้งเกษตร อุตสาหกรรม บริการ แต่ที่เลือกการเกษตรเพราะภาคการเกษตรของไทยมีความเข้มแข็ง

ข้อดีของกศน.คือ อยู่ในพื้นที่ และรู้จักคนอยู่แล้วแต่การบริหารจัดการการเกษตรยุคใหม่ต้องรู้เรื่องการเงิน การสร้างแบรนด์ทางการตลาด ทำอย่างไรที่มีคนเท่าเดิมแต่ให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ภาคการเกษตรมีเจ้าภาพหลายฝ่ายทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ กศน.การบริหารจัดการต้องเน้น คน เงิน เทคโนโลยี และทรัพยากรธรรมชาติ

Phase 2 จะทำ 3 เรื่อง

1. ฝึกคนเป็นพี่เลี้ยง ถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาสู่อาเซียน

2. คัดเลือกโปรเจคซึ่งเป็นโครงการเกษตรที่ต้องให้เกษตรกรเข้มแข็ง

3. โอกาสในการปะทะความจริงกับประเทศในอาเซียนเช่น ปะทะการเกษตรที่เวียดนามและอินโดนีเซียเป็นต้น

หลักสูตรนี้เน้นแนวคิดอยู่ 2 เรื่อง

1. Respect ในฐานะเป็นผู้นำของ กศน.

2. Dignity เราทำงานด้วยศักดิ์ศรีของกศน.

ปฐมนิเทศแนะนำทฤษฎีสำคัญของการเรียนรู้ในยุคโลกที่เปลี่ยนแปลง

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

จุดประสงค์ในวันนี้มี 3 เรื่องคือ

1. Value Added การเตรียมตัวเป็น Training for Trainer ต้องขยายความรู้ต่อ

2. Value Creation คือจะเลือก Project ที่เกี่ยวกับการเกษตรที่

3. Value Diversity หมายถึงโปรเจคไหนก็ตามที่ปรับปรุงในภาคเกษตร

การเรียนรู้ต้องมี 1. Basic 2. Foundation

หลักการและเหตุผล

- เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม คนต้องจัดการการเปลี่ยนแปลงให้ได้

- คนส่วนใหญ่ในภาคเกษตร ตัวเลข 45 % เกษตรเพิ่มมูลค่า

- สัดส่วนของ GDP มี 8-10% ถ้าเพิ่มสัดส่วนของมูลค่าเพิ่มทางการเกษตร การแปรรูปสามารถสร้างคุณค่าให้เกษตรมหาศาล

วัตถุประสงค์หลัก

1.อยากให้ตัวท่านเป็นผู้นำทางการศึกษาของ กศน.เพิ่มขึ้น แต่หลัก ๆ คือ ผู้นำกศน.ในยุคต่อไปต้องเป็นผู้นำแห่งการเรียนรู้ต้องเป็น Learning Leadership

2.เราต้อง Serious เรื่องคุณธรรม จริยธรรม

3.บทบาทของ กศน. คือต้องไป Train คน ไปสร้างโปรเจคใหม่ และนำโปรเจคไปเชื่อมโยงกับอาเซียน ดังนั้นการเตรียมคู่มือจึงต้องทำให้ดี

การมุ่งสู่ภาคเกษตรใน ASEAN 2015 ตามทฤษฎี 4 H

1. High Standard มีมาตรฐาน ปลอดสารพิษ

2. High Productivity ใช้ศักยภาพเพิ่มมูลค่าในการทำงาน ใช้ปัจจัยการผลิตเท่าเดิมแต่มูลค่าสูงขึ้น

3. High Income เมื่อมี Productivity สูงขึ้นรายได้สูงขึ้นแน่นอน ตัวอย่างเช่นทำไมสิงคโปร์หรือนิวซีแลนด์รวย เนื่องจากเน้นการวิจัย เรียกว่า Post Harvest ดังนั้นวิทยาศาสตร์กับการเกษตรต้องไปด้วยกัน เช่น Biotech

4. Higher Income Distribution คือการกระจายรายได้ ปัจจุบันคนรวย ๆ ล้นฟ้า จน ๆ มาก ทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคม

4L’s

1.Learning Methodology วิธีการเรียนรู้ เช่น ถามคำถามที่ไม่มีคำตอบชัดเจน

2. Learning Environment การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

3. Learning Opportunity โอกาสที่เกิดจากการเรียนรู้ เช่น การมีโอกาสในการปะทะกันทางปัญญา

4. Learning Community เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

2 R’s

Reality – ทำอะไรก็แล้วแต่ต้องไปปะทะกับความจริง

Relevance – ตรงประเด็น เมื่อได้ช่องว่างแล้วอย่าทำตัวรู้ทุกเรื่อง เลือกประเด็นที่ Relevance ต่ออาเซียนในประเด็น

2I’s

Inspiration – จุดประกาย

Imagination – จินตนาการ

หัวข้อ บทบาทของ กศน. และสร้างคุณค่าให้แก่ภาคการเกษตรด้วยแนวคิดแบบ 3 V

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

บทบาทของ กศน.และสร้างคุณค่าให้แก่ภาคการเกษตรด้วยแนวคิดแบบ 3 V

1.ทฤษฎี 3 V ต้องสามารถ Apply กับสิ่งที่เกิดขึ้นในภาคเกษตร

- Value Added - การนำการเรียนรู้ที่เรียนมาสู่การต่อยอด Training the Trainer 1: 100

- Value Creation – การคิดโครงการใหม่ ๆ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ เน้นทฤษฎี Blue Ocean มีลูกค้าใหม่ ความสร้างสรรค์ใหม่ นวัตกรรมใหม่ กศน.คิดสร้างสรรค์เพื่อไปสู่เกษตร

-Value Diversity – โครงการที่คิดสามารถสร้างความร่วมมือในอาเซียนได้

2.ปลูก คือ การพัฒนาทุนมนุษย์ ตามทฤษฎี 8K’s 5K’s

ทุนมนุษย์คือตัวแม่ ที่เหลือคือตัวลูก เช่น ทุนทางปัญญา ทุนทางจริยธรรม ทุนแห่งความสุข ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น

3.เก็บเกี่ยว อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้เป็นเลิศ อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้มีมาตรฐานสูงขึ้น การเปลี่ยนพฤติกรรม ต้องเปลี่ยนวิธีการคิด

4.Execution เมื่อเราเข้าไปช่วยการเกษตรใน Real Sector ช่วยจริงหรือไม่ และถ้าจะสนับสนุน Project ในอาเซียนต้องมีใครบ้าง ต้องบริหาร Real Sector เพราะ Private Sector (ภาคเอกชนเท่านั้น) เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต

การพัฒนาทุนมนุษย์ด้วย 8K’s + 5K’s และการบริหารทุนมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพจะนำไปสู่สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของการปรับตัวสู่การเปลี่ยนแปลงในอนาคต คือ

1. Standard มีมาตรฐาน

2. Quality มีคุณภาพ

3. Excellence มีความเป็นเลิศ

4. Benchmarking เทียบเคียงกับคู่แข่งได้

5. Best Practice เป็นแบบอย่างการปฏิบัติที่ดีที่สุด

ในด้านเกษตร...การรวมตัวกันของอาเซียน 10 ประเทศมีความหลากหลาย (Diversity) มากมาย ยกตัวอย่างเช่น

หัวข้อ ภาวะผู้นำ และการพัฒนาทัศนคติ (Mindset) สู่ความเป็นเลิศ

โดย รศ.ดร.เฉลิมพล เกิดมณี

มุมมองในสิ่งต่างๆ ที่ต่างกันจะทำให้จะทำให้แนวคิดในสิ่งนั้นๆต่างกัน ผู้บริหารและครูกศน. ต้องมีภาวะเป็นผู้นำในการดำเนินงาน ต้องจินตนาการให้เห็นรายละเอียดให้ได้ว่า

เป้าหมายเราเป็นอย่างไร

จะไปสู่จุดหมายอย่างไร

เน้นบทบาทหลักของ กศน.และหลักการทำงาน คือรักในสิ่งที่ทำ คิดให้ใหญ่แต่เริ่มให้เล็ก ( จะโตขึ้นเรื่อย ๆ) การขยายผลให้ขยายผลกับผู้ที่มีความรู้หรือมีบทบาทในชุมชน การตัดสินใจให้คำนึงถึง ง่าย ไว ใหม่ ใหญ่ ยั่งยืน และมีความสุข

สุทธิ วรรณนุช กลุ่ม 1

เข้าวันที 3ของค่ายผู้นำเกษตรอาเซียน กศนได้มีโอาสเดินทางไปศึกษาดูงาน สปป.ลาวซี่งจะไปหลายครั้งแล้วแต่ยังไมได้ไปสักที่ ต้องขอขอบคุณท่านจจีระ ที่ทำให้ได้รับโอกาสนี้คาดว่าจะได้รับะไรใหม่ๆกับชีวิตแล้วจะได้สะท้อนประสบการณ์ต่อไป

ผ่านชายแดนไทยแล้ว

ค่ายผู้นำฯ วันที่ 3 ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการศึกษานอกโรงเรียนกับกระทรวงศึกษาธิการ สปป.ลาว 

สปป ลาวนำเสนอได้เยี่ยม

แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการศึกษาระหว่าง กศน.กับกรมการศึกนอกโรงเรียน สปป.ลาว

ประเทศลสวจัดการศึกษานาาสนใจมาก  การเน้นเรื่องคุณธรรม คงวัฒนธรรมประเพณีน่าชื่นชมเป็นอย่างมาก

ไปศึกษาดูงานท่ี. สปป.ลาว วันนี้ีก่อนกลับแวะ duty free ซื้อผลไม้อบแห้งเผือก มันเทศ  ฟักทอง. ราคาถุงละ 70  ปริมาณ100กรัม เมื่อไรกลุ่มผู้ผลิตในหมู่บ้านจะทำขายได้อย่างนี้.  มีเคร่ืองหมายฮาลาลด้วยนะ   

เรียนรู้วิธีเรียน

การศึกษาเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต

นายเมทนี ผลจันทร์ G 2

เหนื่อยมากๆๆๆคับ  เที่ยวเวียงจันทร์   แต่ตอนเช้าก็ได้ความรู้เกี่ยวกับ  กศน. ของ สปป  ลาวครับๆๆๆๆๆๆๆ

ศึกษาดูงาน สปป.ลาววันนี้ แตกต่างจากทุกครั้ง ได้ประสบการณ์ด้านการศึกษาที่มีค่า ได้เยี่ยมเยียนสถานที่ที่เคยผ่าน ความเจริญก้าวหน้า การพร้อมเข้าสู่อาเฃียนของเพื่อนบ้าน ทำให้มีแรงใจที่จะกลับมาพัฒนาประเทศไทยของเรา

หากพวกเรา กศน.เป็นผู้นำให้เกษตรกรสร้าง v1 ให้ได้จะเยี่ยมมาก

การจัดการศึกษาของสปป. ลาวจากการได้ไปศึกษาดูงานครั้งนี้ จะเห็นว่าถึงแม้จะมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณแต่ความมุ่งมั่น ความตั้งใจจริงในการจัดการศึกษาไม่แพ้ชาติอื่นๆ 

นายเมทนี ผลจันทร์ G 2

วันนี้สนุกมากคับ  เที่ยว  สปป  ลาว

ภูมิใจมากเลยที่  สปปลาว  ได้ให้การตอบรับคณะผู้มาศึกษาดูงานทำให้เราได้ทราบถึงระบบแผนงานการพัฒนาภาพรวมของกระทรวงศึกษาธิการและกีฬาและการจัดการศึกษานอกระบบของสปปลาว

นายเมทนี ผลจันทร์ G 2

วันแห่งละลายทรัพยวันนี้ที่เวียงจันทร์

ถ้าประเทศไทยเรามีกฎหมายเข้มแข็งเหมือนประเทศ  สปป ลาวคิดว่าประเทศไทยคงพัฒนาไปไกลกว่านี้แน่

นายเจียม ขันเงิน G 2

การศึกษาดูงานที่  สปป  ลาว  ขอชมการบริหารเวลาได้ดีมากๆๆๆๆ  เยี่ยมจริงๆๆๆ

นายเจียม ขันเงิน G 2

ได้ความรู้มากมายจาก  กศน.  สปปป  ลาวครับ

นางชญาน์ทิพย์ ไกรลาศ

การศึกษาดูงานในวันนี้เป็นการเปิดโอกาศให้คนกศน. ได้รับความรู้ความก้าวเข้าสู่อาเซียนและได้รับทราบแลกเปลี่ยนการนำเสนอการศึกษานอกโรงเรียนของลาวทำให้ทราบถึงการปฏิรูปการศึกษาในสปป.ลาว  เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในเรื่องของการตลาดที่จะเกิดขึ้น

วันนี้สนใจเกี่ยวกับเรื่อง การศึกษาของ สปป.ลาว ทำไมเขาปิดภาคเรียนหน้าฝน บ้านเราปิดภาคเรียนหน้าร้อน?

นางชญาน์ทิพย์ ไกรลาศ

วันนี้เป็นการศึกษา  ภาษา  วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตของประเทศลาวซึ่งมีส่วนที่แตกต่างจากประเทศไทยหลายอย่างด้วยกัน และได้เห็นวัฒนธรรมการแต่งกายของประเทศลาวซึ่งเขาเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่คนไทยสามารถทำได้แต่ไม่ค่อยทำกัน 

วันนี้ได้เรียนรู้วัฒนธรรมของประเทศ  ส.ส.ป,ลาว  ทำให้รู้ว่าประเทศในอาเซี่ยนต่างตื่นตัวในการพัฒนาคนเพื่อเข้าสู่อาเซี่ยน

การศึกษาของ สปป.ลาว ก็ให้ความสำคัญกับการขยายโอกาส  คุณภาพ และมาตรฐาน เหมือนกับไทยของเรา

ศึกษาดูงาน สปป.ลาว ได้ความรู้และบรรยากาศแห่งการแลกเปลี่ยนที่สุดยอดมาก

ข้อคิดสำหรับคืนนี้

ถ้าโลกนี้ไม่มีคำว่า  "อุปสรรค  " มนุษย์ก็จะไม่รู้จักคำว่า "ความพยายาม"

้การศึกษาดูงานในวันนี้ (22 เมษายน 2557) ณ สปป.ลาว ได้รับความรู้ที่ชัดเจนในการจัดการศึกษาของลาว และมีรูปแบบที่จะดำเนินการในเรื่องการจัดการศึกษาให้กับประชาชนคนลาว ซึ่งในวันนี้ไม่ต่างกับไทยเมื่อ 20 ปีที่แล้ว แต่ลาวพร้อมรับความรู้ ความช่วยเหลือจากต่างประเทศแต่อยู่บนข้อกำหนดและกฎหมายของลาว ไม่ได้เปิดรับความช่วยเหลือตลอด ขอชื่นชม และในอนาคตเราจะเห็นลาวไม่ต่างกับไทยในวันนี้ พร้อมที่จะทำงานร่วมและให้ความช่วยเหลือในฐานะที่เป็นคน กศน.

เป็นอีกวันหนึ่งที่ได้เดินทางไป สปป.ลาว ได้รับฟังข้อมูลการศึกษาของลาว ที่เหมือนหรือคล้ายไทยเมื่อ 20 ปีที่แล้ว แต่ลาวในวันนี้รับความช่วยเหลือ ความคิดเห็นจากนานาประเทศแต่อยู่บนข้อกำหนดและกฎหมายของลาว ไม่ได้หมายความว่าจะเปิดรับทุกความช่วยเหลือ ขอชื่นชมและจะทำงานร่วในฐานะที่เป็นคน กศน.วันที่ 22 เมษายน 2557.doc

การศึกษาของลาว เป็นการศึกษาที่ต้องมีการสำรวจการรู้หนังสือ เหมือนของไทยเมื่อ 20 ปีที่แล้วเช่นกันท่ีจะทำให้คนลาวปลอดผู้ไม่รู้หนังสือและมีการศึกษาต่อที่สูงขึ้นไม่ลาออกหรือไม่เรียนหนังสือออกไปทำงานในสถานประกอบการและส่วนใหญ่ของในโรงงานหรือภาคการเกษตร ทำให้เกษตรกรของลาวไม่มีความรู้ ไม่สามารถที่จะทำการเกษตรได้ดีและมีความรู้สามารถที่จะถ่ายทอดหรือทำภาคเกษตรได้ดีมีกินมีใช้ฐานะดีขึ้น ดังนั้น การศึกษาจึงมีความสำคัญมาก เกษตรกรต้องมีความรู้

นายเบญจพล พาลี ผอ.กศน.อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ กลุ่ม 5

วันนี้ไปศึกษาดูงานที่ สปป ลาว เป็นครั้งแรกที่มีสาระที่สุด ตั้งแต่ผมเคยไปเยี่ยม สปป ลาว ถ้าจำไม่ผิดผมน่าจะไปเยี่นม สปป ลาวประมาณ ไม่น้อยกว่า 10 ครั้ง ส่วนมากไปสนุกสนาน ไม่ได้เรียนรู้ข้อมูลอย่างลึก แต่ครั้งนี้ไปรับทราบข้อมูลด้านการศึกษาของ สปป ลาว ซึ่งพอสรุปประเด็นสาระได้ ดังนี้

           1. รศ.ดร.ศรีสมร  สิทธิราชวงศา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการและการกีฬา สปป ลาว กล่าวต้อนรับ มีความยินดีมากที่คณะ มาเยี่ยมเพื่อจะได้แลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็นเพื่อพัฒนาการศึกษาของประเทศในกลุ่มอาเซี่ยนครั้งนี้ หวังว่าการจัดกิจกรรมในครั้งนี้น่าจะเป็นประโยชน์เพื่อการพัฒนาการศึกษาอาเซี่ยนในอนาคตโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อประเทศ สปป ลาว ขอให้การดำเนินการจงประสบผลสำเร็จ และขอให้ทุกท่านมีความสุข ความเจริญในชีวิตตลอดปีและตลอดกาล

           2. ท้าวมีชัยกร  วรรณจิตร รองอธิบดีกรมแผนงาน ได้สรุปแผนพัฒนาการศึกษา สปป ลาว สรุปพอสังเขป ดังนี้

                  1) แผนพัฒนาการศึกษา สปป ลาว มีทั้งหมด 3 แผนงาน 19 นโยบาย  96  ยุทธศาสตร์ คือ

                          1. แผนขยายโอกาสทางการศึกษา มี 7 นโบาย 27 ยุทธศาสตร์

                          2. แผนปรับปรุงคุณภาพและความสอดคล้อง มี 5 นโยบาย  35  ยุทธศาสตร์

                          3. แผนการสร้างความเข้มแข็งด้านการวางแผน  มี 7 นโยบาย  34  ยุทธศาสตร์

                  2) ระบบการศึกษา สปป ลาว

                          1. ระดับอนุบาล     3    ปี

                          2. ระดับประถม      5   ปี

                          3. ระดับมัธยมต้น    4  ปี

                          4. ระดับมัธยมปลาย 3  ปี

                          5. ระดับปริญญาตรี   5  ปี 

                          6. ระดับปริญญาโท   2  ปี

                          7. ระดับปริญญาเอก  3  ปี

           3. ท้าวบุญเพ็ง (ไม่ทราบนามสกุล) รองอธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน ได้กล่าวถึง โครงสร้างการบริหารจัดการการศึกษานอกโรงเรียน สปป ลาว แบ่งเป็นส่วนกลาง/ภาค/แขวง/เมืองและศูนย์การเรียนชุมชน มีบทบาทหน้าที่จัดการศึกษาเทียบเท่า สำหรับผู้ที่พลาดโอกาสไม่ได้เรียนในระบบ ส่งเสริมผู้ไม่รู้หนีงสือ การฝึกอบรมวิชาชีพขั้นพื้นฐาน โดยมีรูปแบบการจัดการศึกษาที่หลากหลาย แต่ก็มีปัญหาด้านงบประมาณเพราะได้รับงบประมาณจากรัฐน้อยมาก การส่งเสริมการศึกษาตามอัธนาศัยยังไม่ชัดเจน และได้กล่าวขอบคุณ กศน.จากประเทศไทยที่ช่วยสนับสนุนสร้างอาคารศูนย์การเรียนชุมชน จำนวน 7 แห่ง

            นอกจากนั้น ได้มีการแลกเปลียนแสดงความคิดเห็นอยากหลากหลายจากผู้ร่วมสัมมนา เริ่มต้นจาก ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ เลขามูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ได้ให้ข้อคิดเตือนให้กรมการศึกษานอกโรงเรียน สปป ลาว ตระหนักและให้ความสำคัญเกี่ยวกับกิจกรรมการจัดการศึกษา ไม่ใช่เน้นแต่อาคารสถานที่แต่ขาดกิจกรรม และผู้ร่วมสัมมนาได้เสนอแนะและสอบถามว่า สปป ลาว มีกฎหมายและนโบายเอื้อให้องค์กรเอกชน เช่นมูลนิธิ NGO เข้ามาร่วมจัดการศึกษาด้วยจะได้หรือไม่ ตลอดจน สปป ลาวควรให้การสนับสนุน ส่งเสริมการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย ส่งเสริมการจัดการศึกษาตลอดชีวิต และควรนำเทคโนโลยีมาช่วยส่งเสริมสนับการจัดการศึกษาให้ทันยุคสมัย และสมาชิกกลุ่ม 6 ได้เสนอโครงการหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์เพื่อความยั่งยืนสู่การท่องเที่ยวอาเซี่ยน

             

วันนี้ ได้รับโอกาสดี ๆ ไปศึกษาดูงาน พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการศึกษาของไทย ลาว การมองอนาคตที่จะประสานงาน และร่วมกันจัดการศึกษาใน สปป.ลาวต่อไป ซึ่งทั้งสองประเทศพี่น้อง เราต้องร่วมมือกันที่จะผลักดัน แก้ไข สนันสนุน ร่วมมือการทุก ๆ ด้าน รวมถึง ประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน .....ดังคำที่ว่า รวมกันเราอยู่ 

ทีมงานวิชาการ Chira Academy

สรุปการบรรยายโดย ทีมงาน Chira Academy

หัวข้อ ศึกษาดูงาน ณ กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

โดย Prof.Dr.Sisamone Sithirajvongsa

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป.ลาว

Mr.Ounpheng KHAMMANG

Deputy Director-General

Ministry of Education and Sports Department of Non-Formal EDUCATION

วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน 2557

Prof.Dr.Sisamone Sithirajvongsa

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป.ลาว

ขอแสดงความภาคภูมิใจที่ได้ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากกศน. กับการให้ความสำคัญเรื่องการเชื่อมโยงทางการศึกษาในเรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ กศน. สู่การเป็นหนึ่งเดียวของ AEC ซึ่งหลายประเทศได้มีการเคลื่อนไหวอย่างจริงจัง และเอาใจใส่ต่อปัญหาทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป.ลาวได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อนำสู่การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ที่เน้นการสร้างความร่วมมือของทั้งประเทศไทยและสปป.ลาวและอาเซียนเพื่อนำสู่การพัฒนาและขยายผลต่อยอดเชื่อมโยงในอาเซียน

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

มีความภาคภูมิใจที่ได้นำลูกศิษย์ 100 กว่าคนในประเทศไทยมาเรียนที่ จ.หนองคายและได้พามาทัศนศึกษาและดูงานที่ สปป.ลาว

การทำงานร่วมกับ สปป.ลาว ไม่ใช่มองแค่ GDP โดยเปรียบเทียบแค่เรื่องความร่ำรวยที่ประเทศลาวอาจมีไม่มากเท่าประเทศไทย แต่สิ่งที่อยากให้ศึกษาคือการมองในเรื่อง GHP (Gross Happiness Product) ที่เน้นเรื่องวัฒนธรรม การเรียนรู้ การสร้างความสุขในแบบที่เป็น

สิ่งสำคัญในการสร้างความร่วมมือในอาเซียนคือการให้ความยกย่อง (Respect) ซึ่งกันและกัน เป็นการคิดแบบ Win-Win ให้ศึกษาว่าเขาอยากได้อะไร ไม่ใช่มองแต่ว่าเราได้อะไร ตัวอย่างเช่นการที่ กศน. ไทยได้มาช่วยลาวในการสร้างตัวอย่างศูนย์การเรียนรู้ กศน.ลาว 7 แห่ง

ถ้าพูดถึงเรื่องทุนในการผลิตประกอบด้วย เงิน เทคโนโลยี ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งถ้าไม่มีทุนทางทรัพยากรมนุษย์ก็จะไปไม่รอด อยากให้ประเทศไทยดูตัวอย่างการพัฒนาการศึกษาของลาวที่ไปเร็วมาก สังเกตได้ว่าปัจจุบันการศึกษาของลาวเปรียบเทียบในกลุ่มอาเซียนได้นำหน้าไทยไปแล้ว

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งนี้ ครู 100 กว่าคน

- ฝึกอบรมครู กศน. ให้สามารถเป็น Trainer 1 : 100

- พูดเรื่องการต่อยอดโครงการเกษตรในอาเซียน

- การสร้างความร่วมมือกับอาเซียน ให้เข้าใจว่า อาเซียน + เกษตรเป็นความร่วมมือกันตัวอย่างเช่นในอนาคต ลาว + ไทย อาจเป็น Supply Chain ร่วมกัน การส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตให้ สปป.ลาว และเป็นกระบวนการแปรรูปร่วมกัน เป็นต้น

การสร้าง Value Creation

- เลือก Project อนาคตของความร่วมมือที่จะ Network กับ สปป.ลาว

- การให้มี Competition + Collaboration ให้ไปด้วยกัน

- การให้เกียรติ และสร้างความศรัทธา

- การแบ่งปันความรู้

เป็นตัวอย่างการทูตภาคประชาชน กศน. คือกำลังสำคัญของไทยที่จะร่วมกับประชาชนลาว อาจมีการทำ MOU ร่วมกับ รัฐบาล

Prof.Dr.Sisamone Sithirajvongsa

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป.ลาว

ระบบการบริหารจัดการ แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ

1. จากส่วนกลาง อาทิ ศูนย์ดูแลด้านมาตรฐานการศึกษา ศูนย์ข่าวสาร ศูนย์ IT

2. จากส่วนท้องถิ่น อาทิ การให้ความคุ้มครองเรื่องการศึกษา การเมือง แขวง

ระบบการศึกษา

1. อนุบาล มี 3 ชั้น

2. ประถมศึกษา มี 5 ชั้น

3. มัธยมศึกษา มีระดับม.ต้น 4 ชั้น ม.ปลาย 3 ชั้น

4. อนุปริญญา

5. ปริญญาตรี มี 4 ปี

6. ปริญญาโท มี 2 ปี

7. ปริญญาเอกมี 3 ปี

- ทิศทางสู่การปรับให้เป็นมัธยมศึกษา ต่ออาชีวศึกษา 50 : 50

- มีระบบการเชื่อมต่อทางวิศวกรรมในสถาบันต่าง ๆ

- มีนโยบายการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

แผนงานการปรับปรุงคุณภาพ อาทิ

- การปฏิรูปหลักสูตร

- การพัฒนาองค์กร

- การพัฒนาศักยภาพ

- ค่าตอบแทน

นโยบายการสร้างความเข้มแข็ง

- การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

- การใช้เทคโนโลยี

- การคุ้มครองข้อมูลข่าวสาร

- การคุ้มครองการพัฒนาชุมชน

- การพัฒนาการศึกษา

- การปฏิบัติเพื่อปรับปรุงด้านต่าง ๆ

- การติดตามนโยบายปฏิบัติงานต่าง ๆ

ปัญหาการศึกษา

- การเข้าง่าย ออกยาก ไม่มีความชัดเจน

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

- นโยบายการศึกษาเป็น 60% ในภาคการเกษตร ในชนบท และท้องถิ่นสำคัญมาก

- Non formal Education ลาวสำคัญมาก

- สำหรับประเทศไทย คนส่วนมากมุ่งเรียน Secondary School มากกว่าด้านอาชีวศึกษา แต่คุณภาพไม่ค่อยดีเมื่อเทียบกับประเทศต่าง ๆ มหาวิทยาลัยไทยแม้ว่าใหญ่ แต่คุณภาพต่ำกว่าเวียดนาม

- กศน. ไทยมีบทบาทอย่างสูงในการปรับวุฒิคนที่ออกนอกจากระบบการศึกษา เป็นการสร้าง Human Capital ให้คนไม่มีวุฒิการศึกษาแต่อยากทำงาน

- กศน.ลาว ต้องปรับวุฒิก่อน และให้ Incentive ดี จึงทำให้ได้ครูที่มีความสามารถเป็นมันสมอง

- การให้การศึกษาของลาวอาจเปลี่ยนจากภาคเกษตร ไปสู่ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการมากขึ้น

- กศน.ต้องปรับให้เป็นลักษณะของ Life Long Learning ใฝ่รู้หรือสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้

- ตั้งเป้าหมายของประเทศให้ประสบความสำเร็จ

Mr.Ounpheng KHAMMANG

Deputy Director-General

Ministry of Education and Sports Department of Non-Formal EDUCATION

นโยบายหลัก ๆ ของกศน.ลาว

- การศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ทำควบคู่กับการศึกษาในโรงเรียน

- เน้นให้คนลาวได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

- นโยบายคือ ให้โอกาสเด็ก ให้ยกระดับประชาชนลาว ให้โอกาสทุกคนได้เรียนรู้ตลอดชีวิต แต่อย่างไรก็ตาม มีปัญหาที่ไม่อาจเข้าถึงประชากรได้ทั้งหมด

- กศน. แบ่งเป็นระดับกลาง / ท้องถิ่น / แขวง / อำเภอ มีศูนย์ กศน. ตั้งในระดับต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน

- ข้อจำกัดที่เกิดขึ้น ได้แก่ สถาบัน / การศึกษา / งบประมาณ

- เป้าหมาย คนอายุ 15 ปีขึ้นไปต้องรู้หนังสือ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในอัตราส่วน 80%

- เปิดโอกาสให้ครูอาสาสมัครไปสอนหนังสือ

- การปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกศน. อาจเป็นแขวง เมือง ชุมชน

- การศึกษาเทียบเท่า ใบประกาศเทียบเท่า เพื่อการพัฒนาอาชีพทุกระดับในชุมชน

- ฝึกอบรมบุคลากร กศน. พัฒนาหลักสูตรเทียบเท่า

- การหางบประมาณในการสนับสนุนไม่ได้รอจากภาครัฐอย่างเดียว แต่เน้นการหาจากเครือข่าย เช่น อบจ. อบต.

- การพัฒนาสถาบันทุกระดับให้มีคุณภาพดีขึ้น ดูบทเรียนจากประเทศไทยแล้วนำไปปรับปรุง

- การปรับปรุงระดับมาตรฐาน

- การติดตามและประเมินผล เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาทางการศึกษา

- การจัดตั้งและการยกระดับพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพ

- การจัดเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เพียงพอ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

- การหางบประมาณจากเครือข่ายอบจ. อบต. และกระจายไปตามจังหวัดต่าง ๆ

- นอกจากการปรับวุฒิ กศน.ลาวยังเน้นในเรื่องการพัฒนาการเกษตร การช่าง และการท่องเที่ยว

- กศน.อาจใช้ความร่วมมือโดยใช้ Facility ใน 7 จังหวัดที่ตั้งไว้

ถามคำถามจาก กศน.

1. แนวทางการจัดการศึกษานอกโรงเรียนโดย สปป.ลาว ดำเนินการโดยรัฐที่ดำเนินฝ่ายเดียว Education for all หรือ All Education สปป.ลาว มีกฎหมายอนุญาตให้นิติบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เช่นมูลนิธิต่าง ๆ เข้ามาจัดการศึกษาใน สปป.ลาวได้หรือไม่ ประเทศไทยจะได้ช่วยเหลือตรงนี้

คำตอบ ก่อนอื่นต้องมองว่าอาเซียนเป็นหนึ่งเดียว ไม่ได้แยกว่าไทยหรือสปป.ลาว ที่ผ่านมาคะแนนด้านการศึกษาของ สปป.ลาวที่ขึ้นมาได้ ก็เนื่องจากความร่วมมือของหน่วยงานต่าง ๆ ของ NGOs สามารถช่วยเหลือประชาชนได้ อีกทั้งยังช่วยฝึกอบรมอาสาสมัครคนในหมู่บ้านชุมชน ดังนั้นถ้าถามว่าเปิดโอกาสและอนุญาตหรือไม่นั้น ทางสปป.ลาวยินดีเพราะได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือมาโดยตลอด

นโยบายของไทยและลาวก็มีความสอดคล้องกัน

2. แผนงานการศึกษานอกโรงเรียนยังไม่เห็นภาพการศึกษาตามอัธยาศัย เช่น ห้องสมุด กศน. มีแผนการอย่างไร

คำตอบ มีแผนการศึกษาตลอดชีวิต แต่ยังไม่มีนโยบายที่เป็นนิติกรรมที่ชัดเจน แต่ในกฎหมายและนโยบายมีแล้ว และในอนาคตจะปฏิบัติแน่นอน

การขยายการพัฒนาการศึกษา กศน.ของลาวยังคงต้องการความช่วยเหลือจากต่างประเทศ เพราะปัจจุบันนี้เรายังมีงบประมาณที่ไม่เพียงพอ แต่การช่วยเหลือต่าง ๆที่เข้ามาต้องพิจารณาอย่างเป็นระบบ และมีนโยบายที่ชัดเจน

คนกลางยังไม่ได้เข้าไป กศน. อย่างชัดเจนนัก เป็นปัญหาที่กำลังหาทางแก้ไข

3. การจัดกิจกรรมเคลื่อนที่ของกศน. เช่นที่ประเทศไทยมี TV Digital 36 ช่อง และการเรียนรู้ผ่านดาวเทียว สำหรับชุมชนที่อยู่ห่างไกล ขอถามว่าลาวได้จัดสื่อการเรียนการสอนผ่านทางสื่อต่าง ๆ และจัดการกับสื่อพวกนี้ได้อย่างไร

คำตอบ มีศูนย์วิทยาศาสตร์ และในอนาคตจะมีศูนย์ ICT แห่งชาติค่อย ๆ เอาการศึกษาเข้าไป การมีศูนย์กศน. ตัวอย่าง 7 แห่ง ไม่ใช่สร้างให้งามอย่างเดียวแต่ต้องมีกิจกรรมเคลื่อนไหวที่เกิดประโยชน์แท้จริงด้วย เน้นการสร้างให้ประชาชนเรียนรู้ตลอดชีวิต และมีวิชาชีพที่มั่นคง

ภูมิประเทศของ สปป.ลาวมีที่ตั้งของประเทศที่ยากต่อการเข้าถึงประชาชนเนื่องจากประชาชนอาศัยอยู่ในที่ห่างไกล ยากต่อการตนอบสนองด้านสื่อ

ความพยายามที่จะทำในปัจจุบันต้องผ่านการกู้ยืม และต้องอาศัยความร่วมมือจากที่ต่าง ๆ ในการตั้งศูนย์แต่ละแห่ง

4. ทำโครงการหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์ยั่งยืนเพื่อการท่องเที่ยวในอาเซียน ในแผนงานจะมีการแลกเปลี่ยนหมู่บ้านเกษตรอินทรีย์ระหว่างไทยกับลาวขอสอบถามถึงหมู่บ้านตัวอย่างที่สามารถแลกเปลี่ยนกับไทยได้เป็นอย่างไร

คำตอบ เกษตรอินทรีย์เป็นแนวคิดที่ สปป.ลาวจะทำแน่นอน มีความยินดีที่จะแลกเปลี่ยนและเห็นด้วยกับการทำในประเทศอาเซียนทั้งหมด

เป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็นเรื่องกระบวนการผลิต และการทำการเกษตรปลอดสารพิษ เห็นด้วยในการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ

เป็นอีกเฟรมที่ได้รับความรู้ ในการจัดการศึกษาของ สปป.ลาว เห็นแล้ว 

ชื่นชมในความตั้งใจจริงในการจัดการศึกษาของลาว ในอนาคตก็คงจะ

เป็นน้องๆประเทศไทยที่จะมีความก้าวหน้าในการจัดการศึกษา

ลาวเป็นอีกประเทศที่กำลังจะแซงไทย ในทุกด้าน อย่าประมาท

ศึกษาดูงาน สปป.ลาว วันนี้ ฟังการบรรยายของท่านปลัดกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา และรองอธิบดี กศน.ลาว แล้ว จะเห็นถึงความแตกต่างในด้านสื่อ อุปกรณ์เทคโนโลยี ในการนำเสนอ ความพร้อมของอาคารสถานที่ เขาต่างจากเรามาก แต่สิ่งหนึ่งที่เขามีเต็มร้อยคือความมุ่งมั่นตั้งใจในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของเขา มีหลายอย่างที่เราในฐานะเมืองพี่ควรให้การส่งเสริมสนุบสนุน ซึ่ง กศน.ทำมาตลอด  ณ เวลานี้ กศน.ประเทศไทย ได้ร่วมกันสร้างศูนย์เรียนรู้ชุมชนให้แก่ สปป.ลาว เห็นภาพความร่วมมือที่นำเสนอบนจอภาพแล้วผมมีความสุขครับ และคิดว่าทุกคนคงมีความสุขเช่นกัน ไทย-ลาว และสมาชิกประเทศอาเซียน ควรร่วมมือกันสร้างจุดแข็งขจัดจุดอ่อนของประเทศสมาชิก ในสังคมการศึกษาอาจจะมองว่า กศน.มีคุณภาพต่ำ แต่ผมมองว่าในบทบาทหน้าที่ของ กศน.ไทยแล้วเราไม่เป็นรองใคร 

โชติชัชวาล ศรีลาชัย จาก กศน.อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่ม 5

สำหรับวันนี้ผมได้มีโอกาสไปศึกษาดูงาน สปป.ลาว นับเป็นครั้งที่ 3 แต่ครั้งนี้ทำให้มีความรู้สึกว่าได้อะไรหลายอย่าง คือ 

 1.ได้รู้จักบุคคลสำคัญ ของ สปป.ลาว 

-คนแรก รศ.ดร.ศรีสมร  สิทธิราชวงศา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป.ลาว

-คนที่สอง ท้าวมีชัยกร  วรรณจิตร รองอธิบดีกรมแผนงาน สปป.ลาว

-คนที่สาม ท้าวบุญเพ็ง  (ไม่ทราบนามสกุล) รองอธิบดีกรมการศึกนอกโรงเรียน สปป.ลาว

2. ได้อ่าน เขียนตัวหนังสือ อักษรลาว อย่างเช่น อักษร ก ไทย จะไม่มีหัว แต่อักษร ก ลาว จะมีหัว และตัวอักษรอื่น ๆ ก็พยามสะกดอ่านตามป้ายต่าง ๆ เผื่อฮู้กับเขาบ้าง

3. ได้ศึกษาแหล่งเรียนรู้ตามสถานที่ต่าง ๆ 

คือ วัดพระแก้ว,ประตูชัยชนะ สปป.ลาว,ปฐมเจดีนครหลวงเวียงจันทร์ 

4.ได้แลกเปลี่ยนสนทนาพูดคุยกับสาวลาวและบ่าวลาว อีกด้วย

ในการศึกษาดูงานวันนี้ ต้องขอขอบคุณ ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ และประธาน chira academy พร้อมด้วยคณะทีมงานของท่าน ที่ได้เปิดโอกาสและเป็นการเพิ่ม 3v ให้กับคณะนักเรียนผู้นำต้นแบบ กศน.รุ่นที่ 2 ได้อย่างดีเยี่ยม

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ บอกว่า "จินตนาการสำคัญกว่าความรู้"

โทมัส อัลวา เอดิสัน กล่าวว่า "อัจฉริยะเกิดจากพรสวรรค์แค่ 1% อีก 99% เกิดจากการทำงานหนัก

ทั้งสองสื่อให้เห็นว่า แค่มีจินตนาการและทุ่มเทในการทำงานให้หนัก คุณก็จะพบกับเป้าหมาย

งานหนักไม่เคยทำให้คนตาย แต่ความจนต่างหากที่ทำให้คนตายได้

สุทธิ วรรณนุช กลุ่ม ๑ บ้านาสาร สุราษฏร์ฯ

เมื่อได้โอกาสเรียนรู้ สปป.ลาวจากการร่วมเรียนรู้กับผู้นำต้นแบบ กศน.เกษตรสู่อาเซียน ได้มุมคิดสู่การนำไปใช้ด้งนี้ สภาพแวดล้อมบ้านเมือง หน้วยงาน กำลังพัฒนาสิ่งปลูกสสร้าง การเริ่มขยายตัวของธุรกิจต่างๆ คงรกษาไว้ซึ่งเอกลักษาณ์ อัตลลักษณ์ที่ดีของคนคือ การแต่งกาย การสือด้วยภาษา เข้าใจเอาเองว่าคงเป็นนโยบายของรัฐและเมื่อได้เข้าสู่กระทรวง ศธ ได้รับการต้อนรับจากปลัดกระทรวง อธิบดี รู้สึกดีใจที่ผู้หลักผู้ใหญ่เห็นความสำคัญให้การต้อนรับ นำเสนอข้อมูลการดำเนินการ รู้บ้างไม่รู้บ้างจากการสื่แสารภาษาลาว

เยี่ยมจริงๆครับ

เตรียมตัวเข้ารับการอบรมเช้าวันที่ 4 ครับ

นางสุวาลี บุญปัญญา รอง สำนักงาน กสน.จังหวัด ยโสธร G 2

วันที่  22 เมษายน  57  คณะอาจารย์ได้พาคณะผู้ได้รับการพัฒนา ฯ ไปศศึกษาดูงานที่  สปป  ลาว  ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การศึกษานอกโรงเรียนของที่นั้น  มองเห็นแนวทางที่จะประชาสัมพันธ์ในการจัดการศึกษานอกโรงเรียนได้เป็นอย่างดี  ทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาประเทศเข้าสู่อาเชียนในหลาย ๆ  ช่องทาง ขอขอบคุณคณะอาจารย์ที่จัดกิจกรรมที่ดี ๆ อย่างนี้ให้

สิ่งได้จากการศึกษาดูงานกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป.ลาว

๑.วัฒนธรรมการแต่งกายของหญิงลาว ซึ่งจะใส่ผ้าซิ่นมาทำงานเป็นยูนิฟอร์ม

๒.ด้านภาษาประจำชาติที่คล้ายกับภาษาอีสานของประเทศไทยสื่อสารง่าย

๓.ด้านเศรษฐกิจและสังคม  ยังไม่มีการพัฒนา  ซึ่งยังล้าหลังประเทศไทย 

สิ่งที่ต้อง

....คิด......คือ......เพื่อนอาเซียนเรา...

มีคนที่กำลังอยากพัฒนา

มีทรัพยากรที่ยังไม่ได้ใช้

รัฐมีความสามัคคี

นุชรี ใจมูล ศฝช.อุตรดิตถ์ G 2 รุ่น 2

Laos......Look Deep into Nature, and then you will understand everything better

จากนายวัฒนา  ไทยเกิด

เห็นได้ว่าการศึกษานอกโรงเรียนของสปป.ลาว  ต้องมีการพัฒนาด้านบุคลากร  ด้านงบประมาณ  สถานที่  รวมทั้งด้านเทคโนโลยี  และภาครัฐบาลของสปป.ลาว  ควรให้ความสำคัญด้วย

ชญาน์ทิพย์ ไกรลาศ ศฝช. อต

การเรียนภาษานั้นเราต้องมีการฝึกและกล้าพูดกล้าคุยในด้านภาษาแล้วเราจะเก่งและสามารถโต้ตอบในภาษาที่เราเรียนรู้ได้โดยไม่เขินกับการสนทนา

จากนายถาวร  คงปราบ

การศึกษานอกโรงเรียนของสปป.ลาว ยังต้องมีการพัฒนาในหลายๆ ด้าน  สาเหตุเนื่องจากประชากรของสปป.ลาว ที่ไม่ได้เพราะฉะนั้น การศึกษานอกโรงเรียนของสปป.ลาว ต้องวางนโยบายและรัฐบาลต้องให้ความสำคัญในเรื่องเหล่านี้

จากนางสาวกนกอร  ปะตะเน

- วัฒนธรรมการแต่งกายของผู้หญิงสปป.ลาว  ที่แต่งกายมาทำงานด้วยการนุ่งผ้าซิ่นเป็นวัฒนธรรมที่ดีงาม  ควรอนุรักษ์ไว้

- เวียงจันทร์เป็นเมืองหลวง  ซึ่งเปรียบเทียบกับจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทยแล้วยังด้อยการพัฒนา  จังหวัดต่างๆในประเทศไทยเจริญกว่า  แต่ก็คิดว่าการเจริญด้านวัตถุยังไม่จำเป็นเท่ากับการพัฒนาบุคคล

ชญาน์ทิพย์ ไกรลาศ ศฝช. อต

ประเทศไทยมีการพูดภาษาที่ใช้ในอาเซียนได้เป็นอันดับสุดท้ายในประเทศอาเซียนน่าเสียดายเราต้องรีบพัฒนาตนเองกันค่ะโดยใช้คนกศน.เชื่อมโยงเพราะเรามีนักศึกษาเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก

เราต้องรักษาความเป็นไทยโดยการแต่งกายแบบไทยกินอาหารไทย

จากนางสาวสุพิชญา  ชื่่นอก

การศึกษาดูงาน ณ สปป.ลาว ในวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๗  ได้เดินทางร่วมไปกับคณะศึกษาดูงานที่ สปป.ลาว ที่กระทรวงศึกษาธิการลาว และได้รับการต้อนรับจากปลัดกระทรวงศึกษาธิการลาว และคณะได้เป็นอย่างดีและได้รู้จักเกี่ยวกับวัฒนธรรมการเป็นอยู่ เศรษฐกิจสังคมของประเทศลาวได้เป็นอย่างดี  และยังรู้จักระบบบริหารที่แบ่งออกเป็น ๒ สถาบัน  คือ๑. ส่วนกลาง  ๒. ส่วนท้องถิ่นและยังทราบเกี่ยวกับระบบการศึกษาของลาวก็คล้ายกับประเทศไทยเรามีตั้งแตะระดับ อนุบาล ถึง ระบบ ปริญญาเอก เหมือนกัน มีการศึกษาของ กศน.ด้วยแต่จะเรียกว่า การศึกษานอกโฮงเฮียน 

08.30 น. เช้าที่สดใสพุธที่ 23 เมษายน 2557 ณ ห้องประชุมโรงแรมบุศยรินทร์ จังหวัดหนองคาย
ค่ายผู้นำต้นแบบของ กศน.เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยสู่อาเซียน NFE Leader Camp for Agricultural Development in Thailand to ASEAN (TRAINING THE TRAINERS) เรียนรู้ภาษาอังกฤษและภาษากัมพูชา วัฒนธรรมและมารยาทที่สำคัญของประเทศกัมพูชา โดย อาจารย์ธีระเดช ดิสกะประกาย และ รศ.สงบ บุญคล้อย 
วันนี้เรียนสัก 5 คำน่ะค่ะ
1.สวัสดี = จุมเรียบ ซัว             6. เขา = เกือด เก
2.ขอโทษ = โซม โตะฮ์            7. ชื่อ = ฌมัวะฮ์
3.ผม = เปราะ                         8. นามสกุล = เนียม ดรอ โกล         
4. ดิฉัน = แซร็ย                      9. อะไร = อะเว็อย
5. คุณ = โลก                         10. ครับ = บาท     11. คะ = จาสฮ์   12.  ค่ะ  = จาสฮ์

ต่อพรุ่งนี้น่ะคะ  

จากนายเจริญ   แสนวิเศษ

สิ่งที่ได้จากการไปศึกษาดูงาน ที่ประเทศลาว

๑. ได้เห็นและเรียนรู้รูปแบบการต้อนรับแขกมาเยือนที่กระทรวงศึกษาธิการ  การนำเสนอ

๒. ได้ทราบ ระบบการบริหารงาน  การจักกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนของประเทศลาว ซึ่งมีรูปแบบที่คล้ายกับประเทศไทย

๓.ได้เห็นศิปวัฒนธรรมของ สปป.ลาวและส่วนหนึ่งได้รับความรู้จาก ไกด์นำเที่ยวที่ให้ความรู้เป็นอย่างดี

จาก นายเรืองยศ   โนราช

การศึกษาดูงาน ณ สปป.ลาว ในวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๗ ได้เดินทางร่วมไปกับคณะศึกษาดูงานที่ สปป.ลาว ที่กระทรวงศึกษาธิการลาว และได้รับการต้อนรับจากปลัดกระทรวงศึกษาธิการลาว และคณะได้เป็นอย่างดีและได้รู้จักเกี่ยวกับวัฒนธรรมการเป็นอยู่ เศรษฐกิจสังคมของประเทศลาวได้เป็นอย่างดี และยังรู้จักระบบบริหารที่แบ่งออกเป็น ๒ สถาบัน คือ๑. ส่วนกลาง ๒. ส่วนท้องถิ่นและยังทราบเกี่ยวกับระบบการศึกษาของลาวก็คล้ายกับประเทศไทยเรามีตั้งแตะระดับ อนุบาล ถึง ระบบ ปริญญาเอก เหมือนกัน มีการศึกษาของ กศน.ด้วยแต่จะเรียกว่า การศึกษานอกโฮงเฮียนและประทับใจ ไกด์นำเที่ยวดูแลเป็นอย่างดี  และประทับใจศูนย์วัฒนธรรมสมุนไพรจีน-ลาว ได้ความรู้เป็นอย่างดีเยี่ยม

จากการดูงานที่ประเทศลาวเราชาวกลุ่มที่ 3 ขอนำเสนอ สิ่งที่เขาต้องการด้านอาชีพคือ ด้านการเกษตรอินทรีย์ ด้านการปศุสัตว์ สิ่งสำคัญคือการใช้ V 3 ขยาย

ชญาน์ทิพย์ ไกรลาศ

สรุปงานกลุ่ม 2    การศึกษาดูงานที่ประเทศลาว 22 เม.ย. 57

    การศึกษาดูงานการที่ได้ไปเรียนรู้ในประเทศลาวนั้นเราได้เรียนรู้ถึงศึกษาของประชาชนของลาวโดยกศน.ลาวนั้นได้เป็นผู้สอนโดยประชาชนลาวสามารถอ่านออกเขียนได้ขึ้นมาในระดับหนึ่ง  และได้ศึกษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม มีความคล้ายคลึงกันบ้างซึ่งมีความแตกต่างโดยที่ไทยในอนาคตอาจจะแพ้ลาวก็ได้ถ้ายังไม่ยอมพัฒนาตนเอง

    การพัฒนาของลาวได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและได้มีการประสานงานร่วมกับเครือข่ายโดยที่เขาสามารถทำได้ดีซึ่งเราต้องเอาเป็นแบบอย่าง และการพัฒนาในรูปแบบของการตลาดเขาสามารถทำได้ดีสินค้าก็มีคุณภาพในบางอย่างซึ่งเราสามารถนำมาปรับใช้ในการพัฒนาสินค้นของเราได้

นายสังข์  กาญจนเพิ่มพูน ผอ. ศฝส.กาญจนบุรี

จากการศึกษาดูงานกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป.ลาว เมื่่อวันที่ ๒๒ เม.ย.๕๗  มิติที่ได้สัมผัสคือการพัฒนาการศึกษาของสปป.ลาว  โครงสร้างพื้นฐานระบบการศึกษาคล้ายกับประเทศไทย  ในส่วนกลางมีการจัดตั้งกระทรวง กรม กอง ต่างๆ โดยเฉพาะมีการจัดตั้งกรมการศึกษานอกโรงเรียน เพื่อยกระดับการศึกษาภาคประชาชนของประเทศ มีการส่งเสริมให้ประชาชนศึกษาเรียนรู้การอาชีวศึกษาให้ได้ร้อยละ ๕๐  โดยเน้นการพัฒนาเกษตรปลอดภัย  ช่างต่างๆและการเที่ยวเชิงนิเวศน์  สภาพทั่วไปของบริบททางสังคมมีการเร่งการพัฒนาประเทศทุกด้าน โดยเฉพาะทางวัตถุ  ส่วนใหญ่จะขอความร่วมมือกับประเทศจีน  ซึ่งเป็นประเทศที่มีทุนมหาศาล ส่วนการพัฒนาการศึกษาโดยเฉพาะการศึกษานอกโรงเรียน ได้รับการร่วมมือจาก  ซึ่งเป็น สำนักงาน กศน.และมูลนิธิการศึกษาไทย  โดยสำนักงาน กศน.จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชน  มูลนิธิการศึกษาไทยกับสนง.กศน.ในการพัฒนาบุคลากร ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามรูปแบบ IPM  และกิจกรรมอื่นๆ อาทิ การส่งเสริมอาชีพในชุมชน

จากการเรียนรู้ดังกล่าว  สามารถประยุกต์ใช้ในการปรับใช้คือทางประเทศ สปป.ลาวมีการแบ่งระดับการศึกษาเป็น ๒ ระดับ คือ ส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่น  และมีนโยบายในการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นชัดเจน  โดยส่วนกลางจะมีสำนักงานมาตรฐานการศึกษาในการวบคุมมาตรฐาน  ระดับชาติ และการปฏิทินตามนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ซึ่งประเทศไทย  ควรคำนึงถึงด้านนี้เพราะปัจจุบัน  การกระจายอำนาจของไทยยังขาดความชัดเจน  ในเรื่่องของการจัดการศึกษาทุกมิติ

ชญาน์ทิพย์ ไกรลาศ

การเรียนรู้เรื่องยุทธศาสตร์เกษตรไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน  ดร. รังษิต   ภู่ศิริภิญโญ เป็นการเรียนรู้ด้านการเกษตรและสหกรณ์ถึงงานด้านการเกษตรเน้นการทำงานร่วมกันโดยใช้เครือข่ายหลายหน่วยงาน  ความต้องการของasean  ต้องมีคุณภาพในการผลิตและต้องมีการแข่งขันเพื่อต้อนรับสู่ asean

นายวิรัตน์  สุขอ่อน 

จากการศึกษาดูงาน ณ สปป.ลาว   

-บรรยากาศการเดินทางไปศึกษาดูงาน  เต็มไปด้วยความสุข สนุก  ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจาก สปป.ลาว โดยผ่านทางไกด์ นามว่าก่ำ ที่สวยน่ารัก  แถมทะลึ่งนิดๆ เพื่อสร้างบรรยกาศท่ามกลางอากาศที่ร้อนอบอ้าวจนถึงกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป.ลาว

-จากการต้อนรับของเจ้าหน้าที่กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป.ลาว เป็นไปอย่างอบอุ่น  เป็นกันเอง  ด้วยการต้อนรับจากบุคคลสำคัญของสปป.ลาวในระดับปลัดกระทรวง อธิบดีกรมฯ และท่านอัครราชฑูตจากการรับฟังบรรยายสรุปและการนำเสนอของคณะวิทยากรของสปป.ลาว  พอเข้าใจและมองเห็นภาพการศึกษาของสปป.ลาวได้พอสมควร ตลอดถึงภาษาลาวก็พออ่านออกได้บ้าง

-ออกจากกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป.ลาว ไปศึกษาดูงานวิถีชีวิตในเมืองหลวงของสปป.ลาวในหลายๆ จุดเช่น วัดหลวง  ศูนย์หัตถกรรม  และอื่นๆ ท่ามกลางอากาศที่ร้อนอบอ้าวในตลอดช่วงบ่าย

สรุป  : สปป.ลาวเป็นประเทศในกลุ่มอาเซียนที่มีความมุ่งมั่นในการเข้าสู่ AEC ในปี ๒๐๑๕

บรรยากาศของการร่วมมือาลาวงไทย+สปป.ลาว เป็นบรรยากาศที่น่าจะสดใส และบรรลุเป้าหมายในอนาคต

สุทธิ วรรณนุช กลุ่ม 1 บ้านนาสาร สุราษฏร์ธานี

มุมคิดมุมมอง สปป.ลาวสะท้อนจากการร่วมโครงการค่ายผู้นำต้นแบบสู่อาเซียน เมื่อมองลาวแล้วดูไทยเรา การพัฒนาของไทยเดินไปในทิศทางที่ใช่หรือไม่ เราพัฒนาความก้าวหน้าในทุกด้านที่เป็นภาพภายนอกมองแบบนักการค้าคิดถึงตัวเงินเศรษฐกิจสิ่งอำนวยความสะดวกแต่ที่เราหมายถึงตัวเองต้องคิดคือทำอย่างไรให้การพัฒนาผามผสานกับเอกลักษณ์อัตลักษณ์ความเป็นวิถีไทย คุณธรรมจริยธรรม หลักหนึ่งที่คิด ต้องนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการนำทุกภารรในการขับเคลื่อนไทยไปข้างหน้าร่วมกับมวลสมาชิกอาเซียน สิ่งหนึ่งที่เห็นจากลาวคือต้องร่วมมือกันเพื่อเดินไปพร้อมกันอย่างเข้าใจและยอมรับในความเป็นจริงของประเทศมวลสมาชิด้วย ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อย่ามองเพียงเป็นโอกาสของการเข้าเปรียบ เราเป็นประเทศผลิตอาหาร ต้องผลิตอาหารที่มีคุณภาพแบบ่งปันกันในกลุ่มประเทศให้มากขึ้นจะเป็นสายสัมพันธ์ที่ดีไปสู่สายสัมสัมพันธ์กับโลกต่อไป อย่ามองเป็นการแข่งขัน ใครดีใครเหนือกว่า นำเอาของดีแต่ละประเทศแบ่งบันโดยวิธีการที่สร้างคววามสุขซึ่งกันและกัน ของดีลาว เช่นวิถีวัฒนธรรม ความมีน้ำใจของลาวและอีีกหลายๆอย่างที่จะร่วมกันต่ไป

นุชรี ใจมูล ศฝช.อุตรดิตถ์ G 2 รุ่น2

การปฎิรูปภาคเกษตรไทย

- เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน  High activity

- การผลักดันให้ภาคเกษตรไทยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม Green  Growth

ชญาน์ทิพย์ ไกรลาศ

AEC 2015

ไทย 2555 - 2559 สร้างสังคมแห่งสุขที่มีความเท่าเทียม ความยุติธรรม ความยืดหยุ่นภายใต้ปรัชญา

นุชรี ใจมูล ศฝช.อุตรดิตถ์ G2 รุ่น 2

cluster  ไม่ใช่  cuter.......

นายประมวล  ไชยศรี

จากการศึกษาดูงาน ณ สปป.ลาว ในวันที่ ๒๒ เม.ย.๕๗  

เรื่่องระบบการศึกษา ปี คศ.๒๐๑๑ ได้รวมเอากระทรวงกีฬากับกระทรวงศึกษาธิการผนวกเข้าด้วยกันจึงเรียกว่ากระทรวงศึกษาธิการและกีฬา ประกอบด้วย ๑๘ กรม ๓ ศูนย์เอกราช และ ๒ สถาบัน

ระบบการจัดการศึกษา

๑.ระดับอนุบาล

๒.ระดับประถมศึกษา

๓.ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

๔.ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

๕.ระดับวิทยาลัยขั้นสูง

- ป.ตรี

- ป.โทร

- ป.เอก

กรอบวุฒิการศึกษามี ๘ ขั้น  การศึกษาของสปป.ลาว มี ๓ แผนงาน คือ

๑.แผนงานการขยายโอกาสทางการศึกษา

๒.แผนงานปรับปรุงคุณภาพการศึกษา

๓.แผนงานการสร้างความแข็งแกร่งในการวางแผนและคุ้มครอง

แผน EFA ได้ระบุการจัดการศึกษาในระดับต่างๆ ดังนี้

-อัตราการเข้าเรียนสุทธิระดับประถมศึกษา  ๙๘ %

-อัตราการซ้ำชั้น ๒ % 

-อัตราการจบ ๙๕ %

-อัตราการเรียนต่อมัธยมต้น ๖๖ %

-อัตราการเรียนต่อมัธยมปลาย ๔๓ %

-การศึกษาต่อในระดับวิทยาลัยขั้นสูง คนนิยมเรียน (ป.ตรี)

๑.คณะบริหารธุรกิจ

๒.คณะมนุษยศาสตร์

- การศึกษาต่อในระดับวิทยาลัยขั้นสูง คนนิยมเรียน (ป.โท)

๑.ด้านเศรษฐศาสตร์

๒.ด้านรัฐศาสาตร์

-ระบบการศึกษานอกโรงเรียน เริ่มปี พ.ศ. ๑๙๗๖ มีกฎหมายรองรับ ในปี๒๐๐๘

สรุป การบริหารจัดการด้านการศึกษาใกล้เคียงและคล้ายคลึงกันกับประเทศไทยมาก อาจจะเเพื่อนบ้านที่สามารถถ่ายเทแนวความคิดและภาษาที่ใกล้เคียงกัน

ชญาน์ทิพย์ ไกรลาศ กลุ่ม2

ส่งงาน กลุ่ม 2

โครงการปลูกยางพารากศน.

ความรู้ที่ได้รับจากประเด็น

  • 1.การให้ความรู้ที่ถูกต้อง
  • -ภูมิปัญญา การปลูก การกรีดยาง การคัดพันธ์ การแปรรูป ปลูกพืชแซม(ระหว่างรอรายได้จากผลผลิตยาง)
  • -เพิ่มรายได้ การปลูก
  • -สร้างคนรุ่นใหม่ ให้ความรู้ คู่คุณธรรมยุวเกษตรกร การโซนนิ่งพื้นที่การปลูกยาง
  • 2.การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าสู่สากล
  • -กรีดยางเมื่อถึงอายุการกรีดของน้ำยางได้
  • -การดูแลบำรุงรักษา
นุชรี ใจมูล ศฝช.อุตรดิตถ์ G2 รุ่น 2

กลุ่ม 2

วันที่ 23 เมษายน 2557

โครงการศูนย์เรียนรู้ยางพารา กศน.

ความรู้ที่ได้รับ

1 การให้คามรู้ที่ถูกต้อง เพื่อสร้าง Smart farmer

  • -ภูมิปัญญา การปลูก การกรีดยาง การคัดเลือกพันธุ์ การแปรรูป ปลูกพืชแซม
  • -เพิ่มรายได้
  • -สร้างคนรุ่นใหม่ โดยการให้ความรู้ คู่คุณธรรม /ยุวเกษตรกร/โซนนิ่งพื้นที่การปลูกยาง

2 การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าสู่สากล

  • -กรีดยางเมื่อถึงหรือครบระยะการกรีด
  • -การดูแล บำรุงรักษา
  • -พัฒนาแปรรูปผลลิตยาง
  • -ความร่วมมือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงานการจัดการศึกษาจาก สปป.ลาว วันที่ 22 เมษายน 2557 กลุ่มที่ 8

1.การจัดการศึกษาในระบบมีความคล้ายคลึงกัน การเรียนต่อมุ่งเป้าหมายให้จัดการศึกษาได้ 100%

ระบบการจัดการศึกษา

18 กรม 3 ศูนย์ 2 สถาบัน

ระดับอนุบาล ระยะเวลา 3 ปี

ประถมศึกษา ระยะเวลา 5 ปี

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระยะเวลา 4 ปี

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระยะเวลา 3 ปี

อุดมศึกษาระยะเวลา 5ปี

ป.โท ระยะเวลา 3 ปี

ป.เอก ระยะเวลา 2 ปี

การศึกษานอกระบบ

1.แม้จะจัดทีหลัง แต่เรื่องของการจัดการผู้ไม่รู้หนังสือทำได้ดีกว่า มีการสำรวจการไม่รู้หนังสือได้มากกว่า

โอกาสในการจัดการศึกษาของลาว

ความต้องการในเรื่องต่างๆ เช่นการ ปศุสัตว์

การจัดการศึกษาต่อเนื่อง และการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย

ความตั้งใจในการทำ ที่จะยกระดับการศึกษา

อุปสรรคของการจัดการศึกษา

ยังไม่มีการจัดการจัดการศึกษาที่หลากหลาย หลักสูตรขาดความทันสมัย

ได้เรียนรู้ในเรื่องของวิถีชีวิต สภาพจริง ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษา กฎหมายที่ชัดเจนและเข้มแข็ง

ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย อย่างเคร่งครัด การก่ออาชญากรรม มีน้อย

กลยุทธ์ในการจัดการศึกษา

1.การจัดการศึกษานอกระบบอย่างง่าย

2.การจัดการศึกษา ไม่มีทุน หาเจ้าภาพ และหาเครือข่าย มาจัดการศึกษา

3.มีระบบการจัดการกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้ามารับบริการการศึกษา

สิ่งที่ได้รับจากการศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่

1.ได้มิตรภาพระหว่างประเทศ

2.แลกเปลี่ยนเรียนรู้ วัฒนธรรมที่แตกต่าง แต่สอดคล้องกัน

3.ระบบเศรษฐกิจ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า สร้างแบรนด์สินค้า

4.แสวงหากลุ่มเครือข่ายใหม่

5.รวมสิ่งหลากหลายมาเป็นของตนเอง

ธุรกิจการท่องเที่ยว ส่วนใหญ่เป็นประเทศจีน

ความร่วมมือกันทางด้านการท่องเที่ยว ระหว่างไทยกับลาว

แนวทางในการนำไปปรับใช้

การจัดการศึกษาทางไกล ที่สามารถจัดการศึกษาไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้

กลุ่มที่ ๑  WORPKSHOP  วิชาที่  ๘

ความรู้เรื่องที่ได้รับเรื่องประเด็นท้าทายและยุทธศาสตร์ของภาคการเกษตรไทย-อาเซียน - กศน. เชื่อมโยงกับโครงการ

กลุ่มของท่าน เรื่อง  การแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพาราใช้ในชีวิตประจำวันสู่อาเซียน

โปรดวิเคราะห์ว่า ",มีประเด็นอะไรบ้างที่จะนำมาใช้ในโครงการ"  เพราะเหตุอะไร มองแบบยุทธศาสตร์จะปรับใช้อย่างไร

(เสนอ  ๒ ประเด็น)ดังนี้

ประเด็นที่ ๑. ยกระดับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นให้เข้าสู่อาเซียน

เหตุผลเพราะ  เน้นกลุ่มชาวบ้าน/ประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ

จะนำมาปรับใช้กับโครงการเป็นยุทธศาสตร์ได้

๑.  จัดกระบวนการเรียนรู้ ให้มีความรู้ความเข้าใจ ทักษะอาชีพ ทักษะภาษา และ ทักษะ  ict

๒. รู้ช่องทางการประกอบอาชีพ

๓.มีทักษะการประกอบอาชีพ

๔.มีการพัฒนาอาชีพอย่างต่อเนื่องเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ผ่านทางเจ้าหน้าที่ / สาระสนเทศต่างๆ เช่น อินเตอร์เน็ต โทรศัพท์มืออื่นๆ

๕. ให้มีการ

ประเด็นที่  ๒. การสร่้างความสามารถในการแข่งขัน

เหตุผลเพราะ  พัฒนาศักยภาพประชาชนให้มีความสามารถในการประกอบอาชีพ

จะนำมาปรับใช้กับโครงการเป็นยุทธศาสตร์ได้

๑. ต้องมีความรู้ในเรื่องที่ทำอยู่ - ถ่ายทอดได้ - เป็นต้นแบบได้ - ที่ปรึกษาได้

๒. ให้ข้อมูลในการตัดสินใจ - เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา - พัฒนาอาชีพของตนเอง

๓. มีกระบวนการจัดการผลิต - การตลาด

๔. มีความตระหนักถึงคุณภาพสินค้า - ความปลอดภัยของผู้บริโภค

๕. มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ก่อให้เกิดมลภาวะและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

Work shop วิชาที่ 8 group 8

ความรู้ที่ได้รับเรื่องประเด็นท้าทายและยุทธศาสตร์ของภาคการเกษตรไทย – อาเซียน – กศน. เชื่อมโยงกับโครงการของกลุ่ม เรื่อง ประเทศไทยจะเป็นผู้นำผลไม้เมืองร้อนสู่อาเซียน

ประเด็นอะไรบ้างที่จะนำมาใช้ในโครงการ เหตุผลเพราะอะไร มองแบบยุทธศาสตร์จะปรับใช้อย่างไร (เสนอ 2 ประเด็นที่สำคัญที่สุดและทำได้จริง)

ประเด็นที่ 1 สินค้าสุขภาพและคุณภาพ สินค้าปลอดสารพิษเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เหตุผลเพราะ สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค

จะนำมาปรับใช้กับโครงการเป็นยุทธศาสตร์ได้อย่างไร

เพิ่มความสามารถเกษตรกรในกระบวนการผลิตสินค้าปลอดสารพิษเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ประเด็นที่ 2 การลดต้นทุนในการผลิต

เหตุผลเพราะ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร รายย่อย

จะนำมาปรับใช้กับโครงการเป็นยุทธศาสตร์ได้อย่างไร

เพิ่มความรู้ด้านเทคนิค การจัดจำหน่าย การแปรรูป

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงานการจัดการศึกษาจาก สปป.ลาว วันที่ 22 เมษายน 2557 กลุ่มที่ 8

1.การจัดการศึกษาในระบบมีความคล้ายคลึงกัน การเรียนต่อมุ่งเป้าหมายให้จัดการศึกษาได้ 100%

ระบบการจัดการศึกษา

18 กรม 3 ศูนย์ 2 สถาบัน

ระดับอนุบาล ระยะเวลา 3 ปี

ประถมศึกษา ระยะเวลา 5 ปี

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ระยะเวลา 4 ปี

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระยะเวลา 3 ปี

อุดมศึกษาระยะเวลา 5ปี

ป.โท ระยะเวลา 3 ปี

ป.เอก ระยะเวลา 2 ปี

การศึกษานอกระบบ

1.แม้จะจัดทีหลัง แต่เรื่องของการจัดการผู้ไม่รู้หนังสือทำได้ดีกว่า มีการสำรวจการไม่รู้หนังสือได้มากกว่า

โอกาสในการจัดการศึกษาของลาว

ความต้องการในเรื่องต่างๆ เช่นการ ปศุสัตว์

การจัดการศึกษาต่อเนื่อง และการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย

ความตั้งใจในการทำ ที่จะยกระดับการศึกษา

อุปสรรคของการจัดการศึกษา

ยังไม่มีการจัดการจัดการศึกษาที่หลากหลาย หลักสูตรขาดความทันสมัย

ได้เรียนรู้ในเรื่องของวิถีชีวิต สภาพจริง ขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษา กฎหมายที่ชัดเจนและเข้มแข็ง

ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย อย่างเคร่งครัด การก่ออาชญากรรม มีน้อย

กลยุทธ์ในการจัดการศึกษา

1.การจัดการศึกษานอกระบบอย่างง่าย

2.การจัดการศึกษา ไม่มีทุน หาเจ้าภาพ และหาเครือข่าย มาจัดการศึกษา

3.มีระบบการจัดการกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้ามารับบริการการศึกษา

สิ่งที่ได้รับจากการศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่

1.ได้มิตรภาพระหว่างประเทศ

2.แลกเปลี่ยนเรียนรู้ วัฒนธรรมที่แตกต่าง แต่สอดคล้องกัน

3.ระบบเศรษฐกิจ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า สร้างแบรนด์สินค้า

4.แสวงหากลุ่มเครือข่ายใหม่

5.รวมสิ่งหลากหลายมาเป็นของตนเอง

ธุรกิจการท่องเที่ยว ส่วนใหญ่เป็นประเทศจีน

ความร่วมมือกันทางด้านการท่องเที่ยว ระหว่างไทยกับลาว

แนวทางในการนำไปปรับใช้

การจัดการศึกษาทางไกล ที่สามารถจัดการศึกษาไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้

กลุ่มที่ 4 WORKHOP วิชาที่ 4 และ 5 วันที่ 23 เมษายน 2557

โครงการพัฒนาการเกษตรเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่ม

ความรู้ที่ได้รับเรื่องประเด็นท้าทาย/ยุทธศาสตร์ของภาคเกษตรไทย-อาเซียน-กศน.โครงการพัฒนาการเกษตรเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่ม

ประเด็นที่ 1.- Smart Farmer เกษตรกรมีความรู้ ความสามารถที่ทันสมัย

เหตุผลเพราะ - จะทำให้เกษตรกรมีความรู้ความสามารถไปพัฒนาเกษตรของตนเองได้

จะนำมาปรับใช้กับโครงการเป็นยุทธศาสตร์โดย

- ส่งเสริมและสนับสนุน ความรู้ที่ทันสมัย

- ปรับปรุงด้านการอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว

- การช่วยเหลือเป็นภูมิคุ้มกันแก่เกษตรกร

ประเด็นที่ 2. - เมืองเกษตรสีเขียว

เหตุผลเพราะ- สามารถสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค

จะนำมาปรับใช้กับโครงการเป็นยุทธศาสตร์โดย

- ส่งเสริมคนรุ่นใหม่ สนใจด้านเกษตร

- สนับสนุนด้านงบประมาณ ในการฝึกอบรม

- พัฒนาชุมชนและพื้นที่การเกษตรทั้งชุมชน

- การเพิ่มรายได้ของเกษตรกร ในช่วงที่มีผลผลิต

นายพรศิริ   สงเคราะห์สุข

ได้ไปศึกษาดูงานที่กระทรวงศึกษาธิการที่ สปป.ลาว เพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและทางการศึกษา  กศน. ไทย - ลาวและได้รู้แผนงานการทำงานของ สปป.ลาว และระบบการปกครองของ สปป.ลาว

ได้ไปเรียนรู้เรื่องสมุนไพรจีน และได้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร  จีน เพื่อไปรักษาในชีวิตประจำวัน

นโยบายการศึกษาของกศน.สปป.ลาว  มีลักษณะคล้ายของประเทศไทย  แต่ยังต้องการพัฒนาอีก

สรุป กลุ่มที่ 7 วันที่ 21 เมษายน 2557

การเข้าสู่อาเซียน

1 ประเทศลาว ข้าว / ปศุสัตว์

2 อินโดนีเซีย นำเข้าเนื้อสัตว์

3 เวียดนาม มีนโยบายเข็มแข็ง มีระบบชลประชากร

4 สิงคโปร์ เน้นการแปรรูป เพิ่มมูลค่า

5 กัมพูชา สินค้าเกษตร ส่งเข้าไทย ไฟฟ้าจากจังหวัดตาก

6 ฟิลิปินส์ ในการทำธุรกิจภาคเกษตร

- ความรู้เพื่อกว้าสู่อาเซียนโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามเกษตรกับประเทศสมาชิกทำให้รู้เขารู้เรา มากขึ้น

- ประเทศอาเซียนเป็นประโยชน์มาและรู้สึกว่าเขารู้เรื่องเราเป็นอย่างดีแต่เขายังหลงตัวเองเขาไม่รู้เรื่องของเราเลย เขาสู่อาเซียนเมื่อไร

- การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรชุมชนให้ปลอดภัยสู่ AEC ใช้หลัก Leam Seare Care

- สิงคโปรบอกว่าเย่าถอดปลั้กต้องพัฒนาตนเองแล้วไม่นั้นไปรวมกับขับเคลื่อนชาวประชาชนให้รู้เข้าใจและทำกิจกรรมกับอาเซียนและสังคมโลกได้อย่างไร

- เรื่องราวของประเทศเวียดนามภาพรวมโดยสรุปและคำทักทาย การนับตัวเลข

- เกษตรไทยจะขายอะไรเพื่อนบ้าน เราชอบกินอาหารเวียดนามแล้วเวียดนามชอบกินอาหารไทยชนิดใด

- การผลิตการเกษตรของอาเซียนเป็นทั้งคู่ค้าและคู่แข่ง

- ชาวอาเซียนเปิดประตูความคิดความรู้นำไปสู่การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ กศน. และแนวคิดของตัวเองโดยเฉพาะทางการเกษตรต้องขับเคลื่อน

- การทำนาข้าว การทำนา ต้นเดี่ยว ต่อหนี่งก้อ แต่ละก้อแตก สามสิบต้น

นางยุวดี  แจ้งกร

สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้จากการศึกษาดูงาน ณ สปป.ลาว สู่การนำไปปรับใช้เพื่อสร้าง ๓ V กับงานกศน.

V๑ สร้างมูลค่าเพิ่ม

V๒ สร้างนวัตกรรมใหม่

V๓ สร้างความหลากหลาย

- ในการศึกษาดูงานของกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป.ลาว พบว่าในการทำงานของสปป.ลาว ด้านการจัดศึกษาพยายามที่จะจัดการศึกษา  โดยการนำเทคโนโลยีด้านต่างๆ เข้ามาจัดการศึกษา พร้อมทั้งให้หน่วยงาน องค์กรต่างๆ ในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

- การจัดการศึกษาที่หลากหลายรูปแบบ ทั้งในโรงเรียนและการจัดตั้งศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนของสปป.ลาว ระดับประเทศ /ภาค/แขวง/เมือง/ตำบล/หมู่บ้าน

-การนำระบบการศึกษาของสปป.ลาว เข้าสู่ประชาคมอาเซียนและขอความร่วมมือกับกลุ่มอาเซียนในการจัดการศึกษาร่วมกัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านดารพัฒนาบุคลากรร่วมกัน -สู่ครู-ผู้บริหาร-ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนผู้เรียนกัน เป็นต้น

-การสร้างมูลค่าเพิ่มของการศึกษา  โดยการสอดแทรกให้ประชาชนของสปป.ลาวมีความรักในวัฒนธรรมของประเทศและพยายามเผยแพร่ให้กลุ่มอาเซียนได้รับรู้อย่างต่อเนื่อง  ในเชิงการท่องเที่ยวด้วย

เห็นด้วยครับ สังคมไทยที่แตกแยกอยู่นี้ล้วนมาจากพื้นฐานการขาดคุณธรรมทั้งนั้น 

ภาคบ่ายวันนี้เร่ิ่ม 13.30 น. การบริหารการเงิน/ทุนของผู้ประกอบการภาคเกษตร และการเข้าถึงแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำ  โดย รศ.ดร.ประเสริฐ จรรยาสุเทพ คณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ 
แหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำ
ผู้ประกอบการภาคเกษตร
๑.เกษตรกรรายย่อย
๒.กลุ่มอาชีพเกษตรกร
๓.สหกรณ์การเกษตร

แนวคิดในการพัฒนาภาคเกษตร
- ความเหลื่อมล้ำและการกระจายรายได้เพ่ือความเป็นธรรม
- ปรัชญาของการส่งเสริมการเกษตร
- รูปแบบและวิธีการ

องค์ประกอบการพัฒนาเกษตรกร
- ปัจจัยการผลิต ได้แก่ ทุน ที่ดิน แรงงาน ฯลฯ
- ความรู้ เทคโนโลยี
- นโยบายภาครัฐ
แหล่งทุนของเกษตรกร
- พ่อค้่าท้องถ่ิน
- สถาบันเกษตร/สถาบันการเงิน
- โครงการต่างๆของหน่วยงานรัฐ
- องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน

ค่าใช้จ่ายการทำการเกษตร
- ค่าปรับปรุงท่ี่ดิน
-ค่าเมล็ดพันธุ์
-ปุ๋ย
-ยาฆ่าแมลง
-ค่าปลูก
-ค่าเก็บเกี่ยว
การบริหารเงินทุนของเกษตรกรท่ีดี
- การทำบัญชีต้นทุนการผลิตอย่างง่าย
-การรวมกลุ่มกันในรูปกลุ่มเกษตรกร/สหกรณ์การเกษตร เพื่อลดต้นทุนปัจจัยการผลิตและรวมกลุ่มขาย
- ลดปัจจัยการผลิตท่ีเกินความจำเป็น
-การปลูกพืชเชิงเดี่ยวมีความเสี่ยงสูง ควรกระจายพืชผลหลากชนิด เช่น พืชสวนครัว เลี้ยงสัตว์ ฯลฯ
ภาคต่อไปพบกับ อาจารย์โชติวิชช์  โวหารเดชวรนันท์

ชญาน์ทิพย์ ไกรลาศ

รศ. ดร. ประเสริฐ จรรยาสุภาพ ได้ให้ประชาชนลองทำบัญชีต้นทุนในเรื่องของการจดบัญชีรายรับ รายจ่าย และการลดต้นทุนเพื่อที่จะได้มีข้อมูลในการทำการผลิต

25 เม.ย นัด อ.โชติวิทย์ว่าจะไปแลกเปลียนเรียนรู้กาปลูกข้าวต้นเดียว ซึ่ง ศูนย์ฝึกฯอุตรดิตถ์ ก็จัดเป็นฐานการเรียนรู้ การปลูกข้าวต้นเดียวแบบนาวาง ครับ คือเหมือนกันในหลักการแต่ต่างกันในรูปแบบ

นุชรี ใจมูล ศฝช.อุตรดิตถ์ G 2 รุ่น 2

ปัญหาของเกษตรกรไทย - ค่านิยมเกษตรกรยังเอาวัตถุมาเกี่ยวข้องในการดำรงชีวิตประจำวัน  - เกษตรกรขาดการพัฒนาความรู้  - เกษตรกรไม่รู้ค่าใช้จ่ายของตนเอง(การทำบัญชีครัวเรือน)  โดยท่าน โชติวิชช์ 

Workshop วิชาที่ 8

ความรู้ที่ได้รับเรื่องประเด็นท้าทายยุทธศาสตร์ของภาคการเกษตรไทย-อาเซียน-กศน. เชื่อมโยงกับโครงการของกลุ่มท่านเรื่อง ศูนย์เรียนรู้ยางพารา กศน.

วิเคราะห์หัวข้อ “มีประเด็นอะไรบ้างที่จะนำมาใช้ในโครงการ ? ”เหตุผลเพราะอะไร มองแบบยุทธศาสตร์จะปรับใช้อย่างไร ? (เสนอ 2 ประเด็นที่สำคัญที่สุด และทำได้จริง)

ประเด็นที่ 1 การให้ความรู้ที่ถูกต้องสู่การ Smart Farmer

1. เหตุผลเพราะ

- เป็นการเตรียมความพร้อมในการสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพสู่ความปราดเปรื่อง (ปราชญ์) พัฒนาคนรุ่นใหม่อย่างมีคุณภาพ

2. จะนำมาปรับใช้กับโครงการเป็นยุทธศาสตร์ได้อย่างไร

- ภูมิปัญญา (การปลูก คัดพันธุ์ยาง แปรรูป ปลูกพืชเสริม แซมยางเพื่อการสร้างรายได้เสริม) เน้นการลดต้นทุน

- เพิ่มรายได้แก่เกษตรกร

- สร้างคนรุ่นใหม่ เป็นยุวเกษตรกร ให้ความรู้คู่คุณธรรม การโซนนิ่งพื้นที่การปลูกยาง

ประเด็นที่ 2 การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าสู่สากล

1. เหตุผลเพราะ

- เพิ่มมูลค่า คุณค่าให้เป็นมาตรฐานสากลสู่อาเซียน

2. จะนำมาปรับใช้กับโครงการเป็นยุทธศาสตร์ได้อย่างไร

- กรีดยาง เมื่อครบกำหนดตามเกณฑ์ ขนาดต้นยางพารา

- การพัฒนา แปรรูป ผลผลิตยาง

- ความร่วมมือแลกเปลี่ยนเรียนรู้

- การใช้เทคโนโลยี มาช่วยในการผลิต แปรรูปรา

- การสร้างภาพลักษณ์ที่โดดเด่น ของผลิตภัณฑ์ยางพารา

กลับจากอบรมงานเข้าแล้ว อาจารย์จิระ จะให้จัด V Added นำร่องที่อุตรดิตถ์ 1:100 เริ่มประมาณ ก.ค.นี้

ห่วงโซ่ การให้มูลค่าด้านการเกษตร

ในส่วนของอาจารย์โชติวิชช์ โวหารเดชวรนันท์ กล่างถึงการทำเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง มีกินมีใช้ไม่กู้หนี้ยืมสิน ปลูกข้าว สีข้าวเอง แบบผสมผสานอย่างยั่งยืน ขอชื่นชมในการทำเกษตรแบบยั่งยืน

การบริหารเงินและแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงิน
(ค่ายผู้นำต้นแบบของ กศน.เพื่อพัฒนาการเกษตรไทยสู่อาเซียน)
จังหวัดหนองคาย
ให้การสนับสนุนแหล่งเงินทุนเต็มที่ ธกส.ก็เป็นแหล่งที่ให้การสนับสนุนเกษตรกรอย่างเต็มที่ในปัจจุบันนี้
นายกังวาล เนียมสุวรรณ 

ธนาคารกสิกรไทย "บริการทุกระดับประทับใจ"

ธกส.ให้มีการกู้ยืมธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรด้วย  แต่จิงแล้ว ธกส.น่าจะมีเงินทุนปลอดดอกเบี้ยด้วยคงจะดี

แหล่งทุนในการดำเนินธุรกิจชีวิตที่สำคัญและมีมูลค่ามากที่สุด คือ ตัวเราเอง ที่อาจารย์เรียกว่า ทฤษฎีทุน 8 ประเภท(8K's)ใช่มั๊ยครับ

คิดก่อนเป็นหนี้ เหลือใช้ อดออม ใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง 

จากคุณสายทิพย์ คงเกียรติณรงค์
ธนาคารกสิกรไทย

ชญาน์ทิพย์ ไกรลาศ

การให้เราใช้บริการสินเชื่อนั้นเป็นการสนับสนุนให้เราไม่เกิดความพอเพียงในชีวิตประจำวัน ถ้าเราหลงเดินเข้าไปเราก็กายเป็นหนี้โดดยที่ความอยากของเรา ถ้าเราไม่คิดถึงรู้จักออมก็จะดีกว่าแล้วเราจะอยู่อย่างมีความสุข ตามพระราชดำรัสของในนหลวงเรา

การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ครัวเรือน เห็นด้วยครับ แต่การกู้เงิน มาลงทุนเลยไม่เห็นด้วย ผมเคยให้เกษตรกรรายหนึ่งมาเรียนรู้การเพาะเห็ดครบวงจรโดยให้หลักการว่า นกน้อยทำรังแต่พอตัว และให้ความรู้เรื่อง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะเรื่อง คุณธรรม รู้จักแบ่งปัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ที่สำคัญ อย่าโลภ ซื่อสัตย์ ขยัน อดทน กตัญญูรู้คุณ อย่ากู้หรือสร้างหนี้ แต่ให้รีบหาทางใช้หนี้ให้หมดเร็วๆแต่อย่าให้ตัวเองเดียดร้อน ปัจจุบันเป็นเกษตรกรตัวอย่างของชุมชน แล้วครับท่าน....

หลักเกษตรอีนทรีย์  ปลูกไว้บริโภค  แจก แลกเปลี่ยน ไม่เน้นการขาย

สรุปสิ่งที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน วันที่ 22 เมษายน 2557 ณ สปป.ลาว

- การจัดการศึกษา กศน.ตำบล ใน สปป.ลาว

- การสื่อสาร การรักษา กฎระเบียบ อย่างเคร่งครัด รักษาขนบธรรมเนียม มีวินัย

- แลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านนโยบายการศึกษา

- การทำการเกษตร ป่าไม้ ปศุสัตว์ การแต่งกาย สติอารมณ์ สังคม

- การสร้างมูลค่าเพิ่มกับตัวเอง การรวบรวมความหลากหลาย มาใช้ในการแก้ปัญหา การรู้จักฟังเพื่อนบ้าน แล้วนำมาปรับใช้

- การหาเครือข่าย แสวงหา network

เราจะนำความรู้จากการดูงานมาปรับใช้ในการทำงานอย่างไร

- สานสัมพันธ์การให้ความร่วมมือกัน ลาวมีความจริงจังในการทำงาน

- การนำสิ่งที่มีอยู่มาเพิ่มมูลค่าสินค้าของตนเอง เช่น การทำธุรกิจโดยซื้อเสื้อผ้า ไทย มาแล้วปักสัญลักษณ์ ข้อความลาว ลงไปแล้วนำมาขายให้นักท่องเที่ยว คนไทย ราคาสูงขึ้น 

นุชรี ใจมูล ศฝช.อุตรดิตถ์

เดินทีละก้าว กินข้าวทีละทำ ทำทีละอย่าง

ต้้องทำนาอย่างมืออาชีพ ไม่ใช่แค่ประกอบอาชีพทำนา 

วิธีการไม่เป็นหนี้ วิธีที่ดีที่สุด คือ การไม่สร้างหนี้ รู้จักใช้ รู้จักเก็บ ต้องมีวินัยของตนเอง

ถ้าเลื่ยงไม่ได้ในการกู้ยืม วิธีที่ดี คือ ควรกู้ให้ถูกวัตถุประสงค์ 

นุชรี ใจมูล ศฝช.อุตรดิตถ์ G2 รุ่น 2

เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง

ปัญหาของความยากจนส่วนใหญ่เกิดจากความไม่พอเพียง ค่านิยม วัตถุนิยม ใช้เงินเกินตัว ขาดความรู้ในการพัฒนาตนเอง ไม่รู้จริงเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายตนเอง ไม่มีการจดบัญชีครัวเรือน กศน.ควรจัดการเรียนการสอนการทำบัญชีชาวบ้านอย่างง่ายให้กับนักศึกษาด้วย

ไม่ว่าเกษตรกรจะมีหนี้เท่าไร จะสามารถจะเครียร์หนี้ได้ หากมีีความขยัน และพยายามทำธุรกิจโดยไม่ควรพึงพาแหล่งเงินทุนมากนัก ควรทำงานของตัวเองโดยการทำการเกษตรแบบลดต้นทุน สร้างมูลค่าเพิ่ม อดออม ทำบัญชีครัวเรือน จะเป็นการช่วยภาระหนี้ให้น้อย และหมดไปได้

Learn Share Care ตรงกับการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างยั่งยืน ในหลักสตร Ipm

นุชรี ใจมูล ศฝช.อุตรดิตถ์

เราเป็นหนี้ไปแล้ว ต้องรู้จักการบริการหนี้ เพื่อปลดหนี้ โดยการไม่ไปกู้ยืมเงินนอกระบบ   ทำบัญชีรายรับ รายจ่าย....

เวลา 16.30 น. โครงการค่ายผู้นำต้นแบบ กศน. How to be effective trainer and your next step : Innovative Projects for Sustainable Development (การเป็นผู้ฝึกที่ดีสำหรับโครงการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน)
โดย.........ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ 

ยุทธศาสตร์การตลาดและการสร้างแบรนด์สำหรับสินค้าเกษตร โดย..ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ
ก.สินค้าเกษตรมีบุคลิกพิเศษ กล่าวคือ สินค้านี้มักเป็นวัตถุดิบของสินค้าแปรรูปต่าง ๆ มีสมบัติคือเน่าเสียง่่ายและราคาแปรผันตามตลาดอยู่โดยตลอด
ข.การสร้างแบรนด์ เป็นกระบวนวิธีทางการตลาดท่ีมีวัตถุประสงค์ทำให้ผู้บริโภคเจาะจงเลือกซื้อสินค้า(เกษตร) เพ่ือทำให้ผู้ประกอการได้กำหรที่ดี ในการนี้ใช้หลักโซ่แห่งคุณค่า (Value chain)
ค.ยุทธศาสตร์การตลาดเพื่อการสร้างแบรนด์  คำว่า ยุทธศาสตร์หมายถึง แนวความคิดแยบคายท่ีกิจกรรมทางการตลาดทั้งหมดต้อง "เกาะติด"
ง.สรุปยุทธศาสตร์การตลาดและการสร้างแบรนด์
การเป็นผู้ฝึกที่ดี
ก.การบริหารลูกน้องด้วยหัวใจ
ข.การสอนงานแบบสร้างความเข้าใจตามสภาพจริงคืออะไร?
ค.เทคนิคการสร้างการยอมรับจากลูกทีมอย่างจริงใจ
ง.การบริหาร มีตั้งแต่งานประจำวัน(Routine) ซึ่งเป็นกระบวนการประจำวัน
จ.หน้าท่ีทางธุรกิจที่ผู้บริหารต้องจัดการด้วยการใช้ทรัพยากร ใช้เวลาและใช้คน
ฉ.ผู้บริหารกับการบริหารคนด้วยใจ
ทำไมจึงเน้นเรื่องการมีสติหรือการสร้างความเข้าใจตามสภาพจริง เพราะการทำงานเป็นทีม ผู้บริหารมักจะขาดสติ ลืมหลักการต่าง ๆ เนื่องจาก
๑.ขาดBasic และภาคทฤษฎีที่มั่นใจ
๒.ใช้อารมณ์และความรู้สึก และาดการใช้ข้อเท็จจริง
๓.ขาดประสบการณ์และการส่ือสารที่จำเป็น
๔.ขาดการสอนงาน เพราะเชื่ออย่างผิด ๆ ว่าลูกน้องน่าจะทำได้เอง หรืออาจไม่รู้วิธีสอนงาน

การนำเสนองานกลุ่ม : วิชาที่ 11

ข้อ ก : เพื่อสร้าง Value Added : ในฐานะเป็น Trainer : โปรดเสนอแนวทางการขยายผลความรู้สู่เกษตรกรแบบ 1 : 100 ที่มียุทธศาสตร์และสามารถปฏิบัติได้จริง

  • 1)
  • 2)

ข้อ ข : เพื่อให้เกิด Value Creation + Value Diversity

1.จากการเรียนรู้ค่ายผู้นำฯ 5 วัน ในครั้งนี้ โครงการที่ขอนำเสนอเพื่อพิจารณาเชิงนโยบายสู่การปฏิบัติงาน

ของ กศน.เพื่อการพัฒนาภาคการเกษตรไทย – อาเซียน – กศน.ของกลุ่มท่าน คือ

  • 2.เหตุผลที่เลือกทำโครงการนี้เพราะอะไร
  • 3.เป้าหมายของโครงการ
  • 3.1.ผลผลิต
  • 3.2.ผลลัพธ์
  • 4.เพื่อให้เกิดความสำเร็จเป็นรูปธรรมต้องมียุทธศาสตร์ดังต่อไปนี้
  • 4.1.การสร้างเครือข่าย
  • 5.กิจกรรมหลักของโครงการฯ มีอะไรบ้าง เช่น ระยะเวลา, สถานที่, งบประมาณโดยสังเขป ฯลฯ
  • 5.1.
  • 6.ปัจจัยสำคัญของความสำเร็จ
  • 6.1.

จุมเรียบ ฃัว  ผู้นำกศน  ต้องยึดหลัก คิดให้สุดฃอย   คิดให้ทะลุ  คิดข้ามปี  ร่วมด้วยช่วยกัน เลือกปฎิบัติคือคัดสรรกลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มที่ 8 วิชาที่ 11

การนำเสนอผลงานกลุ่มวิชาที่ 11 โครงการประเทศไทยจะเป็นผู้นำผลไม้เมืองร้อนสู่อาเซียน

ข้อ ข. เพื่อให้เกิด value creation + value diversity

1 จากการเรียนรู้ค่ายผู้นำ 5 วันในครั้งนี้โครงการที่ขอนำเสนอเพื่อพิจารณาเชิงนโยบายสู่การปฏิบัติงานของ กศน. เพื่อพัฒนาการเกษตรไทย – อาเซียน – กศน. ของกลุ่มท่านคือ

2. เหตุผลที่เลือกทำโครงการนี้เพราะอะไร

2.1 กระแสเรื่องการดูแลสุขภาพของผู้บริโภค โดยเฉพาะผลไม้ปลอดสารพิษ กำลังเป็นที่นิยมในสังคม

2.2 ส่งเสริมคุณภาพของผลไม้ไทยซึ่งเป็นที่นิยมในตลาดอาเซียน ให้มีอัตลักษณ์ที่ชัดเจนและมีความยั่งยืน สร้างความเชื่อมั่นเรื่องคุณภาพสินค้าในตลาดอาเซียนและตลาดโลก

2.3เพิ่มมูลค่าของผลไม้ไทย ให้เป็นผู้นำหนึ่งเดียวด้านผลไม้เมืองร้อนของตลาดของอาเซียน

3. เป้าหมายของโครงการ

3.1 ผลผลิต

3.1.1 ผลไม้หลักเพื่อการส่งออกแบบสด จำนวน 5 ชนิด คือ มะพร้าว เงาะ ทุเรียน มะขาม มังคุด

3.1.2 ผลไม้หลักเพื่อการส่งออกแบบแปรรูป จำนวน 5 ชนิด คือ มะพร้าว กล้วย ทุเรียน ลำไย มะม่วง

3.2 ผลลัพธ์

3.2.1 เกษตรรายย่อยมีโอกาสในการเพิ่มผลผลิต เพื่อการส่งออกในตลาดที่มีความมั่นคงด้านราคา เพราะเราเป็นผู้นำทางการตลาด ดังนั้นจึงสามารถกำหนดราคากลางได้

3.2.2 เกษตรกร มีสุขภาพกายแข็งแรง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

4. เพื่อให้เกิดความสำเร็จเป็นรูปธรรมต้องมียุทธศาสตร์ดังต่อไปนี้

4.1 ผลิตสินค้า คุณภาพ ปลอดสารพิษเป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม เพราะสอดคล้องกับกระแสความต้องการของผู้บริโภค

4.1 ลดต้นทุนการผลิต เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย ซึ่งมีจำนวนมากในประเทศไทย

ลดปัญหาหนี้สินของเกษตรกร ในกรณีกู้ยืมเพื่อการลงทุน

5. กิจกรรมหลักของโครงการ มีอะไรบ้าง เช่นระยะเวลา สถานที่ งบประมาณ โดยสังเขป

5.1 คัดเลือกเกษตรกรแกนนำมาอบรม โดยกระบวนการเปิดรับสมัครเกษตรกรผู้ที่มีความสนใจและเต็มใจที่จะเข้าร่วมโครงการ

5.2 ให้ความรู้โดยการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้ระยะเวลาดำเนินงาน 3 วัน

5.3 สถานที่ดำเนินงาน คือ สำนักงาน กศน.จังหวัด หรือ กศน.อำเภอ

5.4 งบประมาณ จาก กศน.และเครือข่าย

6. ปัจจัยสำคัญของความสำเร็จ

6.1 แหล่งวัตถุดิบที่ดี หากมีการจัดโซนนิ่งและจัดประเมินมาตรฐานของสวนผลไม้

6.2 Smart Farmer (เกษตรกรเป็นผู้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง)

6.3 กระบวนการผลิตที่สามารถลดต้นทุนของเกษตรกรได้

ข้อ ก.เพื่อสร้าง value Added : ในฐานะเป็น trainer : โปรดเสนอแนวทางการขยายผลความรู้สู่เกษตรกร แบบ 1: 100 ที่มียุทธศาสตร์และสามารถปฏิบัติได้จริง

1.คัดเลือกเกษตรกรแกนนำมาอบรม

2.ให้ความรู้โดยการจัดกระบวนการเรียนรู้

3.ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม

4.สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในกระบวนผลิตและจำหน่าย

5.สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า

6.ให้ความรู้เกี่ยวกับกฏหมาย

ได้นำความรู้เรื่องของทฤษฎี 3 v มาให้ความรู้กับเกษตรกรสามารถทำให้เกษตรกรมีแนวคิดที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าที่มีความหลากหลาย เป็นที่ต้องการของการตลาด มีการคิดนอกกรอบ โดยมีการตั้งเป้าหมายและชนะอุปสรรคให้ได้จึงจะนำไปสู่ 3v

ต้องบริหารการศึกษาภาคเกษตรไปสู่อาเซียน

- ต้องมีการจัดการการพัฒนามาตรสินค้าร่วมกับ 3v ไปยกระดับสินค้าเกษตร

- แนวทางการดำเนินงานข้อคิดเห็นยุททธศาสตร์ของภาคเกษตรสู่อาเซี่ยน

การทำงานให้ประสบความสำเร็จต้องประกอบด้วย

คิดเป็น

ทำเป็น

ต้องมีการติดตามงานนั้นอย่างต่อเนื่อง

ศาสตราภิชาน เป็นประเภทของตำแหน่งศาสตราจารย์ เป็นตำแหน่งศาสตราจารย์ที่แต่งตั้งโดยวิธีอื่น

1. ตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำ
1.1 ศาสตราจารย์ที่ต้องทำผลงานวิจัยและ/หรือแต่งตำรา
1.2 ศาสตราจารย์คลินิก
1.3 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ หรือ ศาสตราจารย์กิตติคุณ
2. ตำแหน่งศาสตราจารย์ ที่ไม่ประจำ หรือแต่งตั้งโดยวิธีอื่น
2.1 ศาสตราจารย์พิเศษ
2.2 ศาสตราภิชาน
2.3 ศาสตราจารย์อาคันตุกะ
2.4 ศาสตราจารย์กิตติเมธี
2.5 ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์

ศาสตราภิชาน เป็นตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มีชื่อผู้อุปถัมภ์ประจำอยู่ ภาษาอังกฤษใช้ว่า chair professor หมายถึง เก้าอี้หรือตำแหน่งเฉพาะที่ตั้งไว้สำหรับศาสตราจารย์เฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่งที่มีผู้มาตั้งไว้พร้อมทั้งเงินตอบแทนหรือเงินเดือน เป็นตำแหน่งที่ตั้งไว้สำหรับผู้มีความรู้ความชำนาญสูงสุดเป็นที่ยอมรับในหมู่ปราชญ์สาขาเดียวกันที่มหาวิทยาลัยเชิญมา ในต่างประเทศ ตำแหน่งศาสตราจารย์ในกลุ่มนี้ เช่น Lucasian professor of mathematics ซึ่งเป็นตำแหน่งศาสตราภิชานที่เรียกเต็มว่า "Lucasian Chair of Mathematics" เป็นตำแหน่งที่ เฮนรี ลูคัส ตั้งไว้ที่ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมื่อ พ.ศ. 2206 และได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระเจ้าชาร์ล ที่ 2 ในปีถัดมา(ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) นับถึงปัจจุบันมีผู้ได้รับตำแหน่งนี้เพียง 17 คน ในจำนวนนี้ ไอแซก นิวตันอยู่ในลำดับที่ 2 และสตีเฟน ฮอว์คิงซึ่งได้รับตำแหน่งตั้งแต่ พ.ศ. 2523 จนถึงปัจจุบัน ตำแหน่งศาสตราภิชานที่มีเกียรติสูงเป็นตำแหน่งเฉพาะสาขาวิชา มีตำแหน่งเดียวและมักเป็นตำแหน่งตลอดชีพ จะว่างเมื่อผู้ครองตำแหน่งถึงแก่กรรม ไร้ความสามารถ หรือลาออก

การเป็นผู้ฝึกที่ดี (Effective Trainer) ติดตามต่อวันพรุ่งนี้

ยุทศาสตร์การตลาดและการสร้างแบรนด์ เป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะสินค้าเกษตร จากการบรรยายของ ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์  บุณยเกียรติ ทำให้ทราบถึงสิ่งที่เราต้องเร่งพัฒนาความรู้ผู้จัดการศึกษาอาชีพ เพื่อพัฒนาเกษตรกรในด้านการตลาด การบริหารจัดการ การจำหน่าย การขยายตลาด การสร้างคุณภาพ สร้างความน่าเชื่อถือของสินค้า สร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าที่เกษตรกรผลิต เทคนิคการสร้างแบรนด์เป็นสิ่งที่ท้าทาย

ทีมงานวิชาการ Chira Academy

สรุปการบรรยายโดย ทีมงาน Chira Academy

หัวข้อ ยุทธศาสตร์การตลาดและการสร้างแบรนด์สำหรับสินค้าเกษตร

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

วันพุธที่ 23 เมษายน 2557

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

การปรับตัวทางการตลาด

- เทคนิคสื่อการขายเปลี่ยนไป

ยี่ห้อ

1. ยี่ห้อตราสินค้าและบริการ – การสร้างตราสินค้าบริการ

2. ยี่ห้อองค์กร - ยี่ห้อหรือบริษัทที่องค์กรสังกัด สามารถเปลี่ยนแปลงได้ บางครั้งสถาบันที่สังกัดอุ้มสินค้าด้วย

3. ยี่ห้อของคน - ปัจจุบันคนเป็นยี่ห้อได้ ยี่ห้อของคนคือนามสกุล มีทั้งข้อดีและข้อเสีย

สินค้าเกษตร

สมมุติว่าเราเป็นเจ้าของสินค้าเกษตร มีเรื่องทำให้ถูกกฎด้านราคา 3 เรื่อง

  • -ที่เก็บสำคัญ ของเล็กไม่มีสินค้าเกษตร
  • -ยิ่งเก็บยิ่งซวย แปลว่าเน่าเสียได้ สิ้นตามกาลเวลาได้
  • -คนผลิตไม่ได้เป็นคนตั้ง ตลาดเป็นตัวกำหนดราคา
  • เทคโนโลยีประกอบด้วย 3 อย่าง
  • - ทำเครื่องมือ คิดเครื่องมือหรือใช้เครื่องมือเป็น Hardware เป็นการจับต้องได้
  • - Software / Application
  • - การใช้อย่างพลิกแพลง เช่น มือถือสามารถทำอะไรได้บ้าง
  • การสร้างคุณค่าเพิ่ม
  • - สินค้าเกษตรมีธรรมชาติที่เป็นจุดอ่อน / เน่าเสียได้ / แล้วแต่ตลาดสั่ง
  • - ยี่ห้อคือการทำตามสัญญา
  • การคิดแบบยุทธศาสตร์ /กลยุทธ์
  • 1. คิดแบบองค์รวมให้สุดซอย แต่ทำทีละขั้น
  • 2. คิดข้ามปี มองระยะยาว จะสัญญากับใครต้องเก็บข้ามปี
  • 3. พึ่งพากัน ร่วมด้วยช่วยกัน ถ้าไปช่วยข้ามฝ่ายอย่าเรียกว่าก้าวก่ายให้เรียกว่าร่วมมือ
  • 4. เลือกปฏิบัติเพราะคนไม่เท่ากัน
  • - ความยุติธรรมแบบพ่อแม่คือ การคิดแบบ Oriental Fairness คนจนช่วยมากหน่อย คนรวยช่วยอะไรนักหนา
  • - เราจะทำให้สำเร็จเราต้อง Threat ของไม่เหมือนกัน
  • - บางเรื่องต้องเปลี่ยนความคิดใหม่เช่นอเมริกา ไหว้เงินลูกเดียว
  • - ฝรั่งมองว่าคนไทยชอบติกันเองเพราะกลัวคนอื่นด่า ไม่ชอบเป็นขี้ปากของคนชาติอื่นเลยว่ากันเอง ซึ่งฝรั่งไม่มี หรืออยากให้ชาวบ้านว่าเรา
  • - ฝรั่งมองว่าไทยอุดมทุกอย่าง แต่ก่อนยอมทุกอย่างแต่ตอนนี้กำลังหืออือ คือการเถียงแล้วจะเป็นผู้ใหญ่ที่ดี แสดงถึงอาการเจริญเติบโต
  • - คนที่มีกลยุทธิ์จะเลือกปฏิบัติ ส่วนใหญ่จะเก่งเสมอ พึ่งพาตนเองได้
  • - คนในโลกนี้ถามคำถามเดียวกันหมด ว่าทำไมบุคคลส่วนมากเป็นเจ้าของคนส่วนน้อย คนไทยขายข้าวไม่หมด คนแอฟฟริกาไม่มีข้าวกิน
  • 5. ถ้าสงสัยหรือนึกอะไรไม่ออกให้เปลี่ยนไว้ก่อน อย่าดักดาน ถึงเวลาต้องเปลี่ยนแบบก้าวกระโดด ไม่ใช่แค่ปรับตัว ต้องเปลี่ยนตัวเองก่อน
  • ปัญหาของไทยคือเราไม่ไว้ใจคนใกล้ชิดแต่กระดี้กระด้าคนไม่รู้จัก
  • สินค้าทุกชนิดมี 4 มิติ
  • 1. ความแตกต่าง ถ้าทำอะไรไม่แตกต่างอย่าขายสินค้า เขาเรียกว่า สร้างนวัตกรรม สามารถแตกต่างกันได้จาก Packaging ตัวอย่างเช่นที่ญี่ปุ่น
  • 2. มีประโยชน์หรือไม่ คุ้มราคาหรือไม่
  • 3. สถานที่ขาย ทำเลขาย บริการสะดวก รวดเร็ว
  • 4. การโปรโมท
  • ทั้ง 4 ข้อคือส่วนผสมทางการตลาด
  • กระบวนการ 3 ขั้นตอน
  • 1. ลุยเก่ง
  • 2. คิดเก่ง
  • 3. ประเมิน / ติดตาม
  • คิดเป็น ทำเป็น ประเมินเป็น สู่การทำงานเป็นเรื่องเป็นราว
  • Effective Trainer
  • โค้ชเป็นผู้ปิดทองหลังพระ ทำให้องค์กรเจริญ
  • การสร้างคนอื่นเป็นใหญ่ คุณค่าคือปลื้มที่เห็นคนเจริญ
  • สินค้าต้องใช้ Creative เพื่อสร้างนวัตกรรมให้ได้
  • เราจะฝึกลูกศิษย์ ลูกน้องให้เก่งอย่างเราได้อย่างไร
  • คำถาม
  • ส่วนใหญ่เกษตรกรเน้นการผลิตทุกด้าน แต่ปัญหาเรื่องการตลาด แนวทางการนำผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ไปขายตามศูนย์การค้า 7-Eleven หรือที่ต่าง ๆ วิธีการทำอย่างไร
  • คำตอบ
  • สินค้าเกษตรเกะกะ ราคาขึ้นอยู่กับตลาด ทิ้งไว้เน่าเหม็น ให้พิจารณา 3 ตะกร้า
  • 1. Input ขาเข้า ให้ทำ 5 อย่าง
  • 1. คิดอะไรต้องออกแบบก่อน เช่นจะทำยางที่หนองบัวลำภู ทำอย่างไรให้ยางต่างจากที่อุดร ฯ ถ้าคิดต่างไม่ได้เรียกว่าออกแบบไม่เป็น สินค้าไม่เหมือนใครเพราะอะไร ต่างอย่างไร รักเรื่องอะไร ให้นึกเหมือนว่าสินค้าที่ขายเป็นแฟน
  • 2. ต้องดูตัวอย่างที่ชนะว่าขายยางแล้วรวยทำอย่างไร ให้ลองไปดูตลาดยางที่มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ต้องไปดูตลาดสุดท้ายว่าขายอย่างไร ใครจะซื้อ ด่าดีกว่าชม เพราะชมไม่รู้ปรับปรุงอะไร
  • 3. ต้องรู้นิสัยคนกินคนใช้สินค้า ว่าพฤติกรรมการซื้อการใช้เป็นอย่างไร ต้องดูว่าสระผมอย่างไร
  • 4. จับเกรดสินค้ามี ABCD อย่ามีเกรดเดียว
  • 5. ทำอะไรต้องอิงวิชาการ อ่านทฤษฎีบ้าง
  • 2. การเตรียมการ
  • 1. ห่อนอก (Packing)
  • 2. ภาชนะบรรจุ (Packaging)
  • 3. สีสันสวยงาม
  • 4. ป้าย
  • 5. สัญญาอะไรต้องทำไว้ตามนั้น คุณภาพดีจริง
  • 3. ทางออกให้ QC 5 ประการ
  • 1. สินค้าเก็บได้นาน คุณภาพยังดีอยู่
  • 2. อยู่ได้นาน (ทันสมัยอยู่)
  • 3. ตั้งเรียง ตั้งโชว์ต้องเท่ห์
  • 4. ชื่อเสียงเป็นตัว Back up
  • 5. มี Story มีการอ้างอิงได้ มีที่มาที่ไป

สอนเกษตรกรให้ คิดเป็น ทำเป็น ติดตามประเมินผลเป็น เป็นหัวใจของการพัฒนาบุคลิกเกษตรกรไทย

วันที่ ๒๒ เม.ย. ๕๗ wด้มีโอกาสไปศึกษาดูงาน ณ สปป.ลาว เป็นครั้งที่ ๒ มีความรู้สึกว่าบ้านเมืองเขาไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไร แต่ครั้งที่ ๒ ได้ไปศึกษา ณ กระทรวงศึกษาธิการและกีฬา ได้รู้จักบุคคลสำคัญ ของ สปป.ลาว ดังนี้

-คนแรก รศ.ดร.ศรีสมร สิทธิราชวงศา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการและกีฬา สปป.ลาว

-คนที่สอง ท้าวมีชัยกร วรรณจิตร รองอธิบดีกรมแผนงาน สปป.ลาว

-คนที่สาม ท้าวบุญเพ็ง (ไม่ทราบนามสกุล) รองอธิบดีกรมการศึกนอกโรงเรียน สปป.ลาว

ได้ศึกษาแหล่งเรียนรู้ตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น วัดพระแก้ว ประตูชัย ปฐมเจดีนครหลวงเวียงจันทร์

กลุ่มที่ 4 การนำเสนอผลงานกลุ่มวิชาที่ 11

ก: เพื่อสร้าง Value Added : ในฐานะเป็น Trainer : โปรดเสนอแนวทางการขยายผลความรู้สู่เกษตรกร

แบบ 1:100 ที่มียุทธศาสตร์และสามารถปฏิบัติได้จริง

โครงการพัฒนาการเกษตรเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่ม

  • 1.ส่งเสริมเพิ่มศักยภาพของปราชญ์ชาวบ้าน เจ้าของกิจการ
  • 2.ขยายผลตามหัวหน้ากลุ่มเกษตรกรแต่ละสาขา
  • 3.ขยายผลสู่สมาชิกและครอบครัวของกลุ่มเกษตรกร
  • 4.ขยายผลให้กับหน่วยงานเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่
  • 5.ส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจภาคการเกษตร เช่น การแปรรูป การนำเที่ยว มัคคุเทศก์

ข: เพื่อให้เกิด Value Creation + Value Diversity

1: จากการเรียนรู้ค่ายผู้นำ 5 วัน ในครั้งนี้โครงการที่ขอนำเสนอเพื่อพิจารณาเชิงนโยบายสู่การปฏิบัติ งานของ กศน.เพื่อการพัฒนาภาคการเกษตรไทย-อาเซียน-กศน. คือ

- โครงการพัฒนาการเกษตรเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่ม

2: เหตุผลที่เลือกโครงการนี้

- โครงการพัฒนาการเกษตรเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่ม

3. เป้าหมายโครงการ

ผลผลิต เกษตรกรสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ตามหลักสูตร

ผลลัพธ์ เกษตรกรนำความรู้ไปปรับใช้ในการประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว

4. เพื่อให้เกิดความสำเร็จเป็นรูปธรรมต้องมียุทธศาสตร์ดังต่อไปนี้

- วางแผนอย่างรัดกุม

- ประสานงานกับเจ้าของกิจกรรม

- ทำงานร่วมกับเครือข่าย

- คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย ที่เป็นหัวใจคิดใหม่ คิดใหม่ และยั่งยืน

5.กิจกรรมของโครงการ

- ฝึกอบรม ประชุม สัมมนา ศึกษาดูงาน

- ส่งเสริมสนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกร

- ส่งเสริมการพัฒนาการเกษตรให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเกษตรสีเขียว

6. ปัจจัยหลักของความสำเร็จ

- ความร่วมมือจากเจ้าของกิจการการเกษตร

- การบริการที่มีมาตรฐาน ครบถ้วน ถูกต้อง สมบูรณ์

- สร้างความตระหนักจากการบริการ

- จำนวนของผู้ใช้บริการอย่างสม่ำเสมอ 

กลุ่มที่ ๑

การนำเสนอผลงานกลุ่ม: วิชาที่ ๑๑

ข้อ ก. เพื่อให้เกิดValue Creation+Value Diversity

  • ๑)จากการเรียนรู้ค่ายผู้นำฯ ๕ วันในครั้งนี้ โครงการที่ขอนำเสนอเพื่อพิจารณาเชิงนโยบายสู่การปฏิบัติงานของ กศน.เพื่อการพัฒนาภาคการเกษตรไทย-อาเซียน-กศน.-กลุ่มของท่าน คือ การแปร รูปผลิตภัณฑ์จากยางพาราสู่อาเซียน
  • ๒)เหตุผลที่เลือกทำโครงการนี้เพราะอะไร
  • เพื่อต้องการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพาราให้มีมูลค่าเพิ่มสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้
  • ๓)เป้าหมายของโครงการฯ
  • ๓.๑ ผลผลิต ขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้เป็นอันดับแรก
  • ๓.๒ ผลลัพธ์ สามารถเกิดศูนย์ผลิตภัณฑ์ขึ้นได้ ในแต่ละปีทั่วภูมิภาค
  • ๔)เพื่อให้เกิดความสำเร็จเป็นรูปธรรมต้องมียุทธศาสตร์ดังต่อไปนี้
  • ๑.ต้องยกระดับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นให้เข้าสู่อาเซียน
  • ๒.ต้องสร้างความสามารถในการแข่งขัน
  • ๕)กิจกรรมหลักของโครงการมีอะไรบ้าง
  • ๑. จัดกระบวนการเรียนรู้ ให้มีความรู้ความเข้าใจ ทักษะอาชีพ ทักษะภาษา และ ทักษะ ict สู่
  • เกษตรกร
  • ๒. ชี้ช่องทางการประกอบอาชีพสู่เกษตรกร
  • ๓. มีทักษะการประกอบอาชีพสู่เกษตรกร
  • ๖)ปัจจัยสำคัญของความสำเร็จ
  • ๑. ต้องมีความรู้ในเรื่องที่ทำอยู่ - ถ่ายทอดได้ - เป็นต้นแบบได้ – ที่ปรึกษาได้
  • ๒. ให้ข้อมูลในการตัดสินใจ - เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหา – พัฒนาอาชีพของตนเอง
  • ๓. มีกระบวนการจัดการผลิต – การตลาด
  • ๔. มีความตระหนักถึงคุณภาพสินค้า – ความปลอดภัยของผู้บริโภค
  • ๕. มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ก่อให้เกิดมลภาวะและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

วันนี้ได้ความรู้มากมายมหาศาล

นายเมทนี ผลจันทร์ ครู กศน.ตำบล G 2

วันนี้ได้เรียนรู้จุดยืนทางการตลาด   ชึ่งเป็นการปรุงแต่งส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 4 ตัว  ได้แก่

1. เน้นคุณภาพ

2. เน้นราคาสะท้อนคุณภาพ

3. เน้นสถานที่ขายและการจัดจำหน่าย

4. เน้นการโฆษณา  และ ประชาสัมพันธ์

นายเมทนี ผลจันทร์ ครู กศน.ตำบล G 2

วิชา  ยุทธศาสตร์การตลาดและการสร้างแบรนด์สำหรับสินค้า  สนุกมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆคับ  ไม่งวงเลย

นายเมทนี ผลจันทร์ ครู กศน.ตำบล G 2

ภาษกัมพูชา  เรียนยากมากคับ  แต่ก็จะพยายามค่อยๆๆเรียนรู้ไป

นายเจียม ขันเงิน ผอ อำเภอป่าติ้ว G 2

แหล่งเงินทุนดอกเบิ้ยต่ำจะช่วยเหลือเกษตรได้อย่างมาก

นายเจียม ขันเงิน ผอ อำเภอป่าติ้ว G 2

เราจะต้องนำหลักวิชาการ  สู่การปฏิบัติให้ได้

การศึกษาดูงานที่ สปป. ลาว พอสรุปประเด็นสาระได้ ดังนี้

รศ.ดร.ศรีสมร สิทธิราชวงศา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการและการกีฬา สปป ลาว กล่าวต้อนรับ

ท้าวมีชัยกร วรรณจิตร รองอธิบดีกรมแผนงาน ได้สรุปแผนพัฒนาการศึกษา สปป ลาว สรุปพอสังเขป ดังนี้

1) แผนพัฒนาการศึกษา สปป ลาว มีทั้งหมด 3 แผนงาน 19 นโยบาย 96 ยุทธศาสตร์ คือ

1. แผนขยายโอกาสทางการศึกษา มี 7 นโบาย 27 ยุทธศาสตร์

2. แผนปรับปรุงคุณภาพและความสอดคล้อง มี 5 นโยบาย 35 ยุทธศาสตร์

3. แผนการสร้างความเข้มแข็งด้านการวางแผน มี 7 นโยบาย 34 ยุทธศาสตร์

2) ระบบการศึกษา สปป ลาว

1. ระดับอนุบาล 3 ปี

2. ระดับประถม 5 ปี

3. ระดับมัธยมต้น 4 ปี

4. ระดับมัธยมปลาย 3 ปี

5. ระดับปริญญาตรี 5 ปี

6. ระดับปริญญาโท 2 ปี

7. ระดับปริญญาเอก 3 ปี

ท้าวบุญเพ็ง ไม่ทราบนามสกุล) รองอธิบดีกรมการศึกนอกโรงเรียน สปป.ลาวได้กล่าวถึง โครงสร้างการบริหารจัดการการศึกษานอกโรงเรียน สปป ลาว แบ่งเป็นส่วนกลาง/ภาค/แขวง/เมืองและศูนย์การเรียนชุมชน มีบทบาทหน้าที่จัดการศึกษาเทียบเท่า สำหรับผู้ที่พลาดโอกาสไม่ได้เรียนในระบบ ส่งเสริมผู้ไม่รู้ การฝึกอบรมวิชาชีพขั้นพื้นฐาน โดยมีรูปแบบการจัดการศึกษาที่หลากหลาย แต่ก็มีปัญหาด้านงบประมาณเพราะได้รับงบประมาณจากรัฐน้อยมาก การส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัยยังไม่ชัดเจน และได้กล่าวขอบคุณ กศน.จากประเทศไทยที่ช่วยสนับสนุนสร้างอาคารศูนย์การเรียนชุมชน จำนวน 7 แห่ง

นอกจากนั้น ได้มีการแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นอยากหลากหลายจากผู้ร่วมสัมมนา เริ่มต้นจาก ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เลขามูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ ได้ให้ข้อคิดเตือนให้กรมการศึกษานอกโรงเรียน สปป ลาว 

การนำเสนอผลงานกลุ่ม:วิชิที่ 11 กลุ่มที่ 3

ข้อ ก: เพื่อสร้าง Value Added : ในฐานะเป็น Trainer : โปรดเสนอแนวทางการขยายผลความรู้สู่เกษตรกรแบบ 1:100 ที่มียุทศาสตร์และสามารถปฏิบัติได้จริง

(1) ร่วมกลุ่มผู้นำเกษตรกร เน้น ครอบครัว หมู่บ้า ตำบล อำเภอ จังหวัด

(2) อบรมให้ความรู้ สร้างแรงจูงใจ ผลที่ได้รับ

(3) ปฏิบัติจริง

(4) วิจัยเพื่อพัฒนา

(5) ขยายการผลิต

ข้อ ข : เพื่อให้เกิด Value Creation+Value Diversity

(1) จากการเรียนรู้ค่ายผู้นำ ฯ 5 วันในครั้งนี้โครงการที่ขอนำเสนอเพื่อพิจารณาเชิงนโยบายสู่การปฏิบัติงานของ กศน. เพื่อการพัฒนาภาคการเกษตรไทย-อาเซียน- กศน. ของกลุ่มท่าน คือ

- โครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องงอกปลอดสารเคมี

(2) เหตุผลที่เลือกทำโครงการนี้เพราะอะไร?

- ข้าวเป็นอาหารหลักของประเทศไทย ขณะนี้ข้าวกำลังมีปัญหาเรื่องการจัดเก็บและราคาตกต่ำจึงเป็นเหตุผลที่จะต้องแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องงอกที่สามารถขายได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เก็บไว้ได้นาน ราคาสูงขึ้น


(3) เป้าหมายของโครงการ ฯ

- 3.1) ผลผลิต ผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องงอกที่สามารถบริโภคได้ทั้งประเทศ และส่งออกสู่อาเซียน

3.2) ผลลัพธ์ ได้ผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องงอกที่สามารถขายได้ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เก็บไว้ได้นาน ราคาสูงขึ้น

(4) เพื่อให้เกิดความสำเร็จเป็นรูปธรรมต้องมียุทธศาสตร์ดังต่อไปนี้

 (1) คิดใหญ่ โครงการระดับประเทศ อาเซียน เวทีโลก

(2) เริ่มเล็ก เริ่มจากครอบครัว หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ประเทศ

(3) ลงลึก ศึกษา ทดลอง วิจัย และพัฒนา

(5) กิจกรรมหลักของโครงการฯ มีอะไรบ้าง เช่น ระยะเวลา, สถานที่, งบประมาณโดนสังเขป ฯลฯ

 (1) คัดพันธุ์ข้าวที่ปลอดสารเคมี

(2) แปรรูปผลิตภัณฑ์ ข้าวกล้องงอก โครงการอบรม/ปฏิบัติจริง

(3) ออกแบบบรรจุภัณฑ์

(4) ประชาสัมพันธ์

(5) วิจัยเพื่อพัฒนา

(6) ปัจจัยสำคัญของความสำเร็จ

-ใช้กระบวนการบริหารแบบ 4M

(1) Man- คน

(2) Money-เงิน

(3) Material-วัตถุดิบ

(4) Management-การจัดการ

ได้รับความรู้ ประสบการณ์ ที่หลากหลายมาก ได้เรียนภาษาขแมร์ การบริการจัดการการเงินและหนี้ ที่สำคัญช่วงสุดท้ายของว้นนี้ได้รับความรู้สุดยอดของนักการตลาดท่านศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุญยเกียรติ

นุชรี ใจมูล ศฝช.อุตรดิตถ์ G2

Workshop Group 2

วันที่ 24 เมษายน 2557

ก).ยุทธศาสตร์ การขยายผล 1 : 100 ( V 1 ) แนวทางมีอะไรบ้าง

1. การประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง

2. กำหนดการจัดตั้งศูนย์ประสานงาน

3. กำหนดพื้นที่เป้าหมาย

4. การสร้างเครือข่ายในพื้นที่โดยใช้เทคโนโลยี

5. คัดเลือกนักศึกษา ประชาชนที่สนใจ

ข). 1 โครงการ ศูนย์เรียนรู้ยางพารา กศน.

2. เหตุผล

2.1 การผลิต

  • -ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ
  • เหตุผลเพราะ ยางพารา อยู่ในภูมิภาคที่ยางเจริญเติบโตได้ดี
  • -มีสถาบันวิจัยยางพารา กองทุนสวนยาง หน่วยงานสนับสนุน
  • เหตุผลเพราะ มีหน่วยงานที่สนับสนุนร่วมกันด้านการปลูก จำหน่าย ฯลฯ
  • -แสวงหาวามร่วมมือด้านการผลิตกับประเทศที่มีทุน เช่น สิงคโปร์
  • -เหตุผลเพราะ พัฒนาแหล่งเงินทุนเพิ่ม
  • 2.2ด้านการตลาด
  • -รวมกลุ่มเกษตรไทยเพื่อเชื่อมโยงสู่อาเซียน
  • เหตุผลเพราะ 1. แสวงหาความร่วมมือด้านการค้า/ผลิต
  • 2. พัฒนาการแปรรูป
  • 3.เป้าหมาย
  • 3.1 ผลผลิต
  • - ปี 57 ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ 1 แห่ง (ศฝช.อุตรดิตถ์)
  • - ปี 58 ขยายทุก ศฝช. 8 แห่ง ,ขยายไปจังหวัดละ 1 แห่ง (จังหวัดที่มีการปลูกยางพารา)
  • - ปี 59 ขยายทุกอำเภอ (อำเภอที่มีการปลูกยางพารา)
  • 3.2 ผลลัพธ์
  • - การเพิ่มคุณค่า, คุณค่า
  • - การเกิด Green Growth
  • - การท่องเที่ยวเชิงเกษตรนิเวศ

4. เพื่อเกิดรูปธรรม ใช้ยุทธศาสตร์ใดบ้าง

- การสร้างกลุ่มโดยเทคโนโลยี เช่น Line Facebook

- แสวงหาแนวร่วมด้านต่างๆ เช่น งบประมาณ องค์ความรู้ วัตถุดิบ ภูมิปัญญา ทั้งในประเทศไทย และอาเซียน

5. กิจกรรมหลัก มีอะไรบ้าง

- ระยะเวลา ปี 57 - 59

- สถานที่

- งบประมาณ

6. ปัจจัยสู่ความสำเร็จ

- ภาคีเครือข่ายให้ความร่วมมือ

- การติดต่อประสานงานอย่างต่อเนื่อง

- มีการนิเทศ ติดตาม แก้ไข พัฒนา

- ใช้หลัก PCA / PDCA

- การวิจัยพัฒนา R&D

- กระบวนการ 6 จ / 4 ย

6 จ คือ - แจก (การจัดสรรงบประมาณ)

- จัด (การจัดกระบวนการเรียนรู้)

- แจว (การนิเทศติดตาม)

- จ้อง (ผลงาน)

- เจิม (การขยายผล/ต่อยอด)

- จำ (การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์)

4 ย คือ - แยบยล ( การวางแผน P )

- เยอะแยะ (การปฏิบัติตามแผน D )

- ยืดหยุ่น ( การติดตาม/ตรวจสอบ C )

- แยกแยะ ( การปรับปรุง พัฒนา A ) 

นางปิยะเนตร ฮะนิง

สรุปงาน กลุ่ม  V7

เรียนรู้ภาษาอังกฤษและภาษากัมพูชา

วัฒนธรรมและมารยาทที่สำคัญของประเทศกัมพูชา

โดยอาจารย์จีระเดช ดิสกะประกาย ร่วมกับ รศ.สงบ บุญคล้อย

วิชาที่๘  Panel Discussion  &workshop

วิเคราะห์ประเด็นท้าทายและภาพยุทธศาสตร์ของภาคการเกษตรไทยและอาเซียน กับบทบาทของ กศน.

โดย  ดร.รังษิต  ภู่ศิริภิญโญ   คุณชูศักดิ์ ชื่นประโยชน์และศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

คณะวิทยากร  แสดงความคิดเห็น ปัจจัยท้าทาย

ประเด็นที่ ๑  มีความชัดเจนของ ทฤษฎี v 3

ประเด็นที่ ๒  ครู ๑ คน ถ่ายทอดความรู้ให้กับครู กศน. อีก  ๑๐๐ คน

ประเด็นที่  ๓  V1+V2  เพื่อเข้าสู่อาเซียน

ปัจจัยท้าทาย อุปสรรค ที่ผ่านมา  วางแผน - ทำ - เจ้ง

ให้ทำแบบค่อยๆ  ทำตามขั้นตอน  ห้ามเดินหากยังไม่พร้อม

อุปสรรค  V  ๑  กศน.ต้องดูแลคนจนในภาคเกษตร  โดยมีวิธีการ คือ

๑  เน้นการให้เกิดปัญหา

๒. เน้นวิธีการแบบใหม่

๓. เน้นความรู้พื้นฐาน

๔.  ต้องรู้โครงสร้างการเกษตร

การท้าทาย อุปสรรค V 2,V3

๑.  ความต่อเนื่อง

๒.  ๑๐๐คน เข้าอบรม มีแรงบันดาลใจ ว่าทำแล้ว เราต้องได้อะไร

๓.  ต้องทำงานอย่างมีความสุข

๔.  วัฒนธรรมองค์กร การทำงานในองค์กรต้องมีเป้าหมาย

๕.  จับมือกัน ร่วมมือกันในห้องที่อบรม

๖.  ทำตัวเป็นที่ศรัทธาของประชาชน

๗.  ต้องทำให้มีแบรนด์

คุณชูศักดิ์  ได้สรุปความท้าทายและบทบาทของภาครัฐและเอกชน  ขณะนี้ทางภาคเอกชนเป็นมหาอำนาจทางการเกษตรโดยไม่ต้งพึ่งพากระทรวงเกษตร

สรุปวิชาที่ ๙

การบริหารการเงิน/ทุนของผู้ประกอบการเกษตรและการเข้าถึงแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำ

โดย รศ.ดร.ประเสริฐ จรรยาสุภาพ ได้ข้อคิดเห็นในเรื่องผลิตผลราคาไม่ตก คือผลิตผลเกษตรอินทรีย์  เก๋ตรกรในประเทศที่พัฒนาแล้ว  นะไม่พึ่งรัฐบาล  ซึ่งรัฐบาลจะมีการรวมกลุ่มอย่างเข้มแข็ง  ซึ่งเป็นเรื่องที่จะทำให้ เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้

เกษตรกรไทย ประสบปัญหา เนื่องจากนโยบายรัฐบาลเป็นหลัก

สรุปวิชาที่  ๑๐  ยุทธศาสตร์การตลาดและการสร้างแบรนด์สำหรับสินค้าเกษตร  โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์  บุญเกียรติ

ก.  สินค้าเกษตรมีบุคลิกพิเศษ  สินค้านี้มักเป็นวัตถุดิบของสินค้าแปรรูปต่างๆ มีสมบัติคือเน่าเสียง่าย  และราคาแปรผันตามตลาดอยู่ตลอดเวลา

ข.  การสร้างแบรนด์  เป็นกระบวนวิธีการทางการตลาดที่มีวัตถุประสงค์ทำให้ผู้บริโภคเจาะจงเลือกซื้อสินค้า  เพื่อทำให้ผู้ประกอบการได้กำไรที่ดี ในการนี้ใช้หลักโซ่แห่งคุณธรรม

ค.  ยุทธศาสตรการตลาดเพื่อการสร้างแบรนด์  แนสความคิดแยบคายที่กิจกรรมทาวการตลาดทั้งหมดต้องเกาะติด แนวความคิดนี้

นายเมทนี ผลจันทร์ G 2

สวัสดีต้อนเช้าครับ  กลุ่มที่  2  ขอให้ทุกคนที่ได้รับความรู้ ทั้ง5 วัน ที่ได้รับการอบรมนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้กับเกษตรในพื้นที่ของเราอย่างเต็มความสามารถนะครับ   ขอให้ทุกคนเดินทางกลับอย่างปลอดภัย

Suphitchaya Sakaew (NFE : Kathu District, Phuket) : group 2

Workshop วิชาที่ 9 เรื่อง การบริหารการเงิน/ทุนของผู้ประกอบการภาคเกษตร และการเข้าถึงแหล่งทุนดอกเบี้ยต่ำ โดยครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ รศ.ดร ประเสริฐ จรรยาสุภาพ นายกังวาน เนียมสุวรรณ คุณสายทิพย์ คงเกียรติณรงค์ ดำเนินการอภิปรายโดยอาจารย์ทำนอง ดาศรี

สรุปสิ่งที่ได้รับจากการอบรมในเรื่องนี้

- องค์ประกอบการพัฒนาเกษตรกร ได้แก่ ปัจจัยการผลิต (ทุน ที่ดิน แรงงาน ฯลฯ) ความรู้ เทคโนโลยี นโยบายภาครัฐ

- ผู้ประกอบการภาคเกษตร รายย่อย/ กลุ่มอาชีพเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร

- แนวคิดในการพัฒนาภาคเกษตร (ความเหลื่อมล้ำและการกระจายรายได้เพื่อความเป็นธรรม ปรัชญาของการส่งเสริมการเกษตร รูปแบบ และวิธีการ)

- ค่าใช้จ่ายในการเกษตร (ค่าปรับปรุงที่ดิน ค่าเมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ค่าปลูก ค่าเก็บเกี่ยว)

- แหล่งเงินทุนของเกษตรกร

- ธุรกรรมการเงินภาคเกษตรของสถาบันเกษตรกร

- การบริหารเงินทุนของเกษตรกรที่ดี

- ปัญหาการแข่งขันการค้ากับต่างประเทศ

- การบริหารเงินและแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงิน (ตรวจสอบการเงินของตนเอง)

- การบริหาร/วางแผนทางการเงิน + การมีวินัยทางการเงิน

- ตรวจสอบสุขภาพทางการเงิน จดบันทึกรายรับ-รายจ่าย ประเมินรายจ่ายในอนาคต แหล่งเงินกู้แต่ละแห่ง มีเงื่อนไขต่างกัน

เราจะนำความรู้จากการดูงานมาปรับใช้ในการทำงานอย่างไร

- การทำอะไรต้องทำแบบมืออาชีพ ไม่ใช่แค่ทำเป็นอาชีพ

- ต้องเกิดการเรียนรู้ที่ตัวเองก่อน เพราะเราต้องเป็นผู้นำ เพื่อที่จะได้นำผู้อื่น

- ทำอะไรต้องทำทีละเรื่อง “เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง”

- ก่อนจะเป็นหนี้ให้คิดก่อนว่าเรามีความจำเป็นที่จะต้องเป็นหนี้เพื่ออะไร รู้จักออม ใช้จ่ายอย่างมีสติ ชีวิตจะได้มีความสุข

- สามารถนำไปใช้ในการวางแผนชีวิต วางแผนการเงิน การใช้จ่าย

Suphitchaya Sakaew (NFE : Kathu District, Phuket) : group 2

Workshop วิชาที่ 10 ยุทธศาสตร์การตลาดและการสร้างแบรนด์สำหรับสินค้าการเกษตร

โดย ศาตราจารย์ภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมในครั้งนี้

1. สินค้าเกษตรมีบุคลิกพิเศษ คือ สินค้านี้มักเป็นวัตถุดิบของสินค้าแปรรูปต่างๆ มีสมบัติคือ เน่าเสียง่ายและราคาแปรผันตามตลาดอยู่โดยตลอด

2. การสร้างแบรนด์ เป็น กระบวนวิธีทางการตลาดที่มีวัตถุประสงค์ทำให้ผู้บริโภคเจาะจงเลือกซื้อสินค้าการเกษตร เพื่อทำให้ผู้ประกอบการได้กำไรที่ดี ในการนี้ใช้หลักโซ่แห่งคุณค่า (Value chain)

3. ยุทธศาสตร์การตลาดเพื่อการสร้างแบรนด์ คำว่ายุทธศาสตร์ คือ แนวความคิดแยบคายที่กิจกรรมทางการตลาดทั้งหมดต้อง “เกาะติด”

4. จุดยืนทางการตลาด (Product Positioning) ซึ่งเป็นการปรุงแต่งส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 4 ตัว หลัก 4P ได้แก่

- เน้นคุณภาพสินค้า (Product)

- เน้นตั้งราคาสะท้อนคุณภาพ (Pricing)

- เน้นสถานที่ขายและการจัดจำหน่าย (Place)

- เน้นการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ (Promotion)

5. การทำการตลาดอย่างมียุทธศาสตร์ คือ มีกระบวนการ 3 ขั้นตอน

- คิดเป็น (วางแผนอย่างมีหลักการ) - Plan

- ทำเป็น (การดำเนินการตามแผน) - Action

- ประเมินติดตามงานเป็น (การกำกับดูแลการดำเนินการนั้น ๆ) – control

6. สรุปยุทธศาสตร์การตลาดและการสร้างแบรนด์ สำหรับสินค้าเกษตร คือ เทคนิคการตลาดเพื่อยกฐานะคุณค่าสินค้าเกษตร (ของเรา) ให้หนีการแข่งขันด้านราคาโดยใช้ยุทธศาสตร์ทางการตลาด ดังกล่าวมาแล้ว ให้ผลสุดท้ายคือการสร้างแบรนด์ (ตราสินค้า) ให้เป็นที่ติดใจลูกค้าโดยมีการเติบโตที่ยั่งยืน เช่น ตัวอย่างระดับชาติ สินค้าการเกษตรไทย ได้แก่

- สินค้าอาหารของฝากตรา ส.ขอนแก่น

- สินค้าเครื่องชงดื่ม เช่น กาแฟเขาช่อง ชาระมิงค์

- สินค้าอาหาร ภัตตาคาร แบบลูกโซ่ เช่น MK สุกี้

นอกจากนั้นมีสินค้าจากสวนและไร่ต่างๆ เช่น เหล้าองุ่น น้ำปลา ของฝากและเครื่องประดับที่ทำจากพืชในโครงการศิลปชีพ และโอทอป เป็นต้น

เราจะนำความรู้จากการดูงานมาปรับใช้ในการทำงานอย่างไร

- การทำงานให้ทำเป็นทีม มีการแบ่งหน้าที่กันทำเพื่อช่วยทำให้ยุทธศาสตร์สำเร็จตามวัตถุประสงค์

- รู้จักเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการและการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการและเพิ่มราคาสินค้าให้สูงขึ้น เป็นที่ติดใจของลูกค้า อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

กลุ่มที่ 5 วิชาที่ 11

ก.เพื่อให้เกิด Value Creation + Value Diversity

๑)จากการเรียนรู้ค่ายผู้นำฯ 5 วัน ในครั้งนี้ โครงการที่ขอนำเสนอเพื่อพิจารณาเชิงนโยบายสู่การ

ปฏิบัติงานของ กศน. เพื่อการพัฒนาภาคการเกษตรไทย – อาเซียน – กศน. ของกลุ่ม คือ

โครงการแปรรูปผลผลิตการเกษตรเชิงสร้างสรรค์ (ผลไม้)

๒)เหตุผลที่เลือกทำโครงการนี้

        ประเทศไทยมีผลไม้มากมายหลายชนิด ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามพื้นที่ บางประเภทมีปลูกกันทั่วทุกภาค เช่น กล้วยมะม่วง เป็นต้น ผลไม้ส่วนใหญ่จะให้ผลผลิตตามฤดูกาล ซึ่งจะทำให้ราคาตกต่ำ อีกทั้งไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน นอกจากนี้การขนส่งยังทำได้ยากโดยเฉพาะผลไม้ที่มีเปลือกอ่อนอย่างเช่น กล้วย นอกจากนี้ปัญหาด้านสภาพแวดล้อม ฤดูกาลยังส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วย ปัญหาเหล่านี้มีผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรอย่างแน่นอน จึงได้เสนอโครงการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าให้ผลผลิต ให้สามารถเก็บรักษาผลผลิตไว้ได้นานๆ นำออกจำหน่ายในพื้นที่ หรือชุมชนอื่นได้ สะดวกในการขนส่ง เพิ่มทางเหลือแก่ผู้บริโภค และเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน

๓) เป้าหมายของโครงการ

๓.๑) ผลผลิต

มีผลิตภัณฑ์แปรรูปจาก กล้วย มะม่วง ผลไม้อื่น ๆในรูปแบบต่าง ๆ ออกจำหน่าย

๓.๒ ผลลัพธ์

ผลไม้จำพวกกล้วย มะม่วง ได้รับการแปรรูป เพิ่มมูลค่า ช่วยสร้างรายได้ให้แก่กลุ่ม

เกษตรได้มากขึ้น

๔ ) เพื่อให้เกิดความสำเร็จเป็นรูปธรรมต้องมียุทธศาสตร์ ดังนี้

๔.๑ ) ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลไม้ มีคุณภาพ ปลอดสารพิษ สอดคล้องกับกระแสความต้องการ

ของผู้บริโภค

     ๔.๒) ลดต้นทุนการผลิต เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย ซึ่งมีจำนวนมากในประเทศไทย

๕) กิจกรรมหลักของโครงการฯ

กิจกรรม

๕.๑) ประชุมชี้แจงสร้างความเข้าใจแก่บุคลากรของ กศน. ทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล

๕.๒) คัดเลือกเกษตรกรแกนนำมาอบรม โดยกระบวนการเปิดรับสมัครเกษตรกรผู้ที่มีความ

สนใจและเต็มใจที่จะเข้าร่วมโครงการ

๕.๓) ให้ความรู้โดยการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยใช้ระยะเวลาดำเนินงาน ๓ วัน

๕.๔) แสวงหาเครือข่ายจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

เช่น การถ่ายทอดความรู้ ด้านต่าง ๆ การสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ และ การสนับสนุนเงินทุน

๕.๕) ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ โดยใช้กระบวนการกลุ่ม

๕.๖) ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลต่อเนื่องจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

สถานที่ดำเนินงาน สำนักงาน กศน.จังหวัด หรือ กศน.อำเภอ

งบประมาณ จากสำนักงาน กศน. และเครือข่าย

. ปัจจัยสำคัญของความสำเร็จ

๖.๑) ผลไม้ที่เป็นวัตถุดิบดี มีคุณภาพ ปลอดสารพิษ

๖.๒) Smart Farmer (เกษตรกรเป็นผู้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง)

๖.๓) กระบวนการผลิตมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล

ข. เพื่อสร้าง value Added : ในฐานะเป็น trainer : โปรดเสนอแนวทางการขยายผลความรู้สู่เกษตรกร แบบ 1: 100 ที่มียุทธศาสตร์และสามารถปฏิบัติได้จริง

๑. คัดเลือกเกษตรกรแกนนำมาอบรม

๒. ให้ความรู้แก่เกษตรโดยการจัดกระบวนการเรียนรู้

๓. สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในกระบวนผลิตและจำหน่าย

๔. สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้า

๕. ให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย และส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรม

แหล่งท่องเที่ยวในกัมพูชาน่าสนใจมาก

ชญาน์ทิพย์ ไกรลาศ

สรุปงานโครงการศูนย์การเรียนรู้ยางพารา กศน.   กลุ่ม 2

     ก.เพื่อสร้าง valup added ในฐานะเป็น trainer โปรดเสนอแนวทางการขยายผลความรู้สู่เกษตรกรแบบ 1: 100 ที่มียุทธศาสตร์และสามารถปฏิบัติได้จริง

1. ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง

2.กำหนดการจัดตั้งศูนย์ประสานงาน

3.กำหนดพื้นที่เป้าหมาย

4.การสร้างเครือข่าย (Net wore) ในพื้นที่ โดยใช้เทคโนโลยี

5.คัดเลือกผู้สนใจ สู่ smart farmer

       ข.เพื่อให้เกิด value Creation value Diversilty

1. จากการเรียนรู้ค่ายผู้นำ 5 วันในครั้งนี้ขอนำเสนอเพื่อพิจารณาเชิงนโยบายสู่การปฎิบัติงานของกศน.เพื่อการพัฒนาภาคเกษตรไทย – อาเซียน – กศน. ของกลุ่มท่าน คือ” โครงการ ศูนย์เรียนรู้ยางพารา กศน.

2. เหตุผลที่เลือกทำโครงการนี้เพราะอะไร

เหตุผล 

 1.ด้านการผลิต คือ อยู่ในภูมิภาคภูมิอากาศภูมิประเทศ ที่เหมาะสม

 2.ด้านการตลาด เป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถแปรรูปออกมาเป็นสินค้าได้หลายหลายเป็นที่ต้องการของตลาด

3. เป้าหมายของโครงการฯ

3.1 ผลผลิต

      - ปี 57 ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ 1 แห่ง (ศฝช. อต)

       -ปี 58 ขยายผลทุกศูนย์ฝึก 8 แห่ง ขยายไปจังหวัดละ 1 แห่ง (จังหวัดที่มีการปลูกยางพารา)

       -ปี 59 ขยายทุกอำเภอ (อำเภอที่มีการปลูกยางพารา)

3.2 ผลลัพธ์

- การเพิ่มมูลค่าเพิ่ม คุณค่า

- การเกิด Green Growth

- การท่องเที่ยวเชิงเกษตรนิเวศ

4. เพื่อให้เกิดความสำเร็จเป็นรูปธรรมต้องมียุทธศาสตร์ดังต่อไปนี้

1.การสร้างกลุ่มโดยใช้เทคโนโลยี เช่น Line Facebook เสียงตามสาย

2.แสวงหาแนวร่วมด้านต่างๆ งบ ความรู้ วัตถุดิบ ภูมิปัญญา ทั้งในประเทศและกลุ่มอาเซียน

5. กิจกรรมหลักของโครงการฯ มีอะไรบ้าง เช่น ระยะเวลา สถานที่ งบประมาณโดยสังเขป ฯลฯ

1.ระยะเวลา 57, 58 ,59

2.สถานที่

3.งบประมาณ

6. ปัจจัยสำคัญของความสำเร็จ

1. ภาคีเครือข่ายให้ความรู้ร่วมมือใหม่

2.การติดต่อประสานงานอย่างต่อเนื่อง

3.มีการนิเทศ ติดตาม แก้ไข พัฒนา

4.การใช้หลักก   P C A / P D C A

5. การใช้หลักพัฒนา R & D

6. กระบวนการ 6จ และ 4 ย

7. น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้

ชญาน์ทิพย์ ไกรลาศ

สรุปงานโครงการศูนย์การเรียนรู้ยางพารา กศน.กลุ่ม 2

  • ก.เพื่อสร้าง valup added ในฐานะเป็น trainer โปรดเสนอแนวทางการขยายผลความรู้สู่เกษตรกรแบบ 1: 100 ที่มียุทธศาสตร์และสามารถปฏิบัติได้จริง

1. ประชุมชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง

2.กำหนดการจัดตั้งศูนย์ประสานงาน

3.กำหนดพื้นที่เป้าหมาย

4.การสร้างเครือข่าย (Net wore) ในพื้นที่ โดยใช้เทคโนโลยี

5.คัดเลือกผู้สนใจ สู่ smart farmer

ข.เพื่อให้เกิด value Creation value Diversilty

1. จากการเรียนรู้ค่ายผู้นำ 5 วันในครั้งนี้ขอนำเสนอเพื่อพิจารณาเชิงนโยบายสู่การปฎิบัติงานของกศน.เพื่อการพัฒนาภาคเกษตรไทย – อาเซียน – กศน. ของกลุ่มท่าน คือ” โครงการ ศูนย์เรียนรู้ยางพารา กศน.

2. เหตุผลที่เลือกทำโครงการนี้เพราะอะไร

เหตุผล

  • 1.ด้านการผลิต คือ อยู่ในภูมิภาคภูมิอากาศภูมิประเทศ ที่เหมาะสม
  • 2.ด้านการตลาด เป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถแปรรูปออกมาเป็นสินค้าได้หลายหลายเป็นที่ต้องการของตลาด

3. เป้าหมายของโครงการฯ

3.1 ผลผลิต

- ปี 57 ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ 1 แห่ง (ศฝช. อต)

-ปี 58 ขยายผลทุกศูนย์ฝึก 8 แห่ง ขยายไปจังหวัดละ 1 แห่ง (จังหวัดที่มีการปลูกยางพารา)

-ปี 59 ขยายทุกอำเภอ (อำเภอที่มีการปลูกยางพารา)

3.2 ผลลัพธ์

- การเพิ่มมูลค่าเพิ่ม คุณค่า การแปรรูปของผลผลิตหลากหลาย

- การเกิด Green Growth

- การท่องเที่ยวเชิงเกษตรนิเวศ

4. เพื่อให้เกิดความสำเร็จเป็นรูปธรรมต้องมียุทธศาสตร์ดังต่อไปนี้

1.การสร้างกลุ่มโดยใช้เทคโนโลยี เช่น Line Facebook เสียงตามสาย

2.แสวงหาแนวร่วมด้านต่างๆ งบ ความรู้ วัตถุดิบ ภูมิปัญญา ทั้งในประเทศและกลุ่มอาเซียน

5. กิจกรรมหลักของโครงการฯ มีอะไรบ้าง เช่น ระยะเวลา สถานที่ งบประมาณโดยสังเขป ฯลฯ

1.ระยะเวลา 57 - 59

2.สถานที่ - ปี 57 ศฝช. ทุกแห่ง

- ปี 58 ทุกจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูก

- ปี 59ทุกอำเภอที่มีพันธ์ปลูก

3.งบประมาณ

- งบประมาณจากภาครัฐ / ท้องถิ่น

- งบประมาณภาคีเครือข่าย

- งบประมาณจากความร่วมมือกับต่างประเทศ

6. ปัจจัยสำคัญของความสำเร็จ

1. ภาคีเครือข่ายให้ความรู้ร่วมมือใหม่และผนึกกำลังทุกภาคส่วน

2.การติดต่อประสานงานอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ระบบ ICT ในรูปแบบต่างๆ

3.การใช้หลักกP C A / P D C A

4.กระบวนการ 6จและ 4 ย

5. การใช้หลักพัฒนา R & D

6. มีการนิเทศ ติดตาม แก้ไข พัฒนา

7. จัดเวทีเสวนา เพื่อทบทวน และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ต่อไป

ชญาน์ทิพย์ ไกรลาศ

สมาชิกกลุ่ม 2 เราจะยังคงติดต่อ และประสานงานกันโดยใช้เทคโนโลยี เพื่อที่จะได้ก้าวเดินต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งค่ะ เพื่อโครงการยางพารา กศน. จะได้ไปสู้อาเซียนและประชาชนทั่วไปอย่างแท้จริง

นายถาวร คงปราบ

วิชาที่ ๙

-มีการบริหาร/วางแผนทางการเงินการมีวินัยทางการเงิน โดยเริ่มจากการรู้สถานะทางการเงินของตัวเอง จดบันทึกรายรับรายจ่ายและประเมินรายรับรายจ่ายในอนาคต กำหนดเป้าหมายทางการเงิน จัดทำแผนไปสู่เป้าหมายและปฏิบัติตามแผนและปรับนิสัยการใช้เงิน

วิชาที่ ๑๐

-Package ความรู้ด้านการตลาดและแบรนด์สำหรับเกษตรกร การสร้างแบรนด์เป็นกระบวนการวิธีการทางการตลาดที่มีวัตถุประสงค์ ทำให้ผู้บริโภคเจาะจงเลือกซื้อสินค้าเกษตร เพื่อให้ผู้ประกอบการได้กำไร

-แผนการตลาดสำหรับการพัฒนาการตลาดและแบรนด์ของเกษตรกรในพื้นที่ โดยให้เน้นสถานที่ขายแลการจัดจำหน่าย เน้นการโฆษณาประชาสัมพันธ์

วิชายุทธศาสตร์การตลาด

สินค้าจะขายได้ต้องมี4มิติ

1.คุณภาพของสินค้า ต้องแตกต่าง

2.ราคาสะท้อนคุณภาพ ต้องคุ้มค่า

3.สถานที่ขาย ต้องสะอาด สวยงาม มีคนผ่าน

4.โฆษณา ประชาสัมพันธ์ ต้องให้คนได้เห็น ได้ยิน

Product-Pricing-Place-Promotion

กลุ่ม 2 ผอ.อาส พ้นเหตุ กำลังนำเสนอผลงาน โครงการศูนย์เรียนรู้ยางพารา กศน.

ทีมงานวิชาการ chiraacademy

สรุปการบรรยายโดย ทีมงาน Chira Academy

หัวข้อ ยุทธศาสตร์การตลาดและการสร้างแบรนด์สำหรับสินค้าเกษตร (2)

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

วันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน 2557

สาเหตุที่คนชอบประเทศไทย

  • 1. ทำเลที่ตั้ง
  • 2. ความมีอัธยาศัยไมตรี
  • 3. ความคุ้มค่า
  • 4. ความไม่ขาดแคลน
  • 5. กฎหมายหรือกฎเกณฑ์ยืดหยุ่นต่อเราได้
  • 6. ความเมตตากรุณาค่อนข้างสูง
  • ประเทศไทยมีคนจำนวนมากทำความดีโดยไม่อยากดัง
  • มี 5 ประเทศที่รวยที่สุดในโลก อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี มีพลเมืองและพื้นที่ขนาดเท่ากับไทย เชื่อว่าความพอดีกับพื้นที่ทำกิน ถ้าได้ผู้นำที่มององค์รวม มีความยุติธรรม ซื่อสัตย์ธุรกิจจะทำให้การบริหารงานได้ดี
  • เป็นลักษณะ Active Citizen
  • แหล่งคิดสร้างสรรค์ และแหล่งนวัตกรรม
  • ทำให้คนไทยยุคหลังไม่กล้าสร้างนวัตกรรม เพราะนวัตกรรมเป็นสิ่งที่ดี ถ้าเจอสิ่งเหล่านี้อย่าเขินตัวเอง
  • 1. การทำผิด ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมหาศาล เคล็ดลัพธ์ในการทำผิดจะทำผิดแต่เยาว์วัย การขี่จักรยาน ว่ายน้ำ ขับรถ แต่เด็ก มนุษย์สร้างนวัตกรรมโดยความคิดสร้างสรรค์ มีแหล่งลองผิดลองถูก
  • สมัยพุทธกาลมีพระหนุ่มมาบวชเป็นพระ มีพระผู้ใหญ่เยอะ พระผู้ใหญ่บอกว่ามี Route หมดแล้ว ให้ไปทางอื่น พระองค์นั้นก็ไปที่สลัมปรากฏว่าได้รับบิณฑบาตเยอะเนื่องจากไม่ได้
  • 2. การ Copy และต่อยอด
  • 3. R to R จะมีการสอนในเรื่องการถอดบทเรียน KM หมายถึงเวลาทำงานเสร็จเขาจะทำAAR เราได้บทเรียนอะไรจากครั้งนั้นและเราจะไปทำอะไรต่อ
  • การเป็นผู้ฝึกที่ดี
  • การสอนงานคน (Effective Trainer)
  • - Effective Training เริ่มมีความสำคัญขึ้นเป็น Topic เป็นการทำให้เกิดผลสำเร็จ
  • - Coach บางครั้งเราไม่ทำเองทั้งหมด เราไม่ได้ปลื้มทั้งหมด
  • - กระบวนการสะสมความรู้และประสบการณ์
  • - การทำอะไรต้องมีการว่า และดุว่าบ้าง
  • 1. การบริหารลูกน้องด้วยใจ การโค้ชอย่างมีสติ คือโค้ชด้วยหัวใจ จะมีคนในสังกัด ปกครอง ที่เป็นแฟนคลับ มีต้นแบบที่เราเอาเป็น Role Model อย่าโค้ชแบบเอาใจหรือทำในสิ่งที่ทำไม่ได้
  • 2. การสอนงานแบบสร้างความเข้าใจตามสภาพจริงคืออะไร
  • การศึกษา ไข่แดงคือการศึกษา ไข่ขาวคือสังคมไทย กระทะคือสังคมโลก
  • KPI (Key Performance Indicator) ทำอะไรต้องมีการวัดได้ ไม่เช่นนั้นจะรู้ได้อย่างไรว่าสำเร็จ
  • การสอนงาน มี 5 พลัง เด็กทำอะไรเรียกพลังศรัทธา
  • - ทำให้เกิดความอยาก มีศรัทธา
  • - ต้องทำให้เกิดความพากเพียร มีความพยายาม
  • - มีสติ เป็นตัวกลาง หมายถึงรู้ตัวอยู่เสมอ
  • สติคือจิตวิญญาณ เรียก In spiritual เขาเรียกว่ามีกายทิพย์
  • เกิดสมาขิก คือ การรู้ตัวนานๆ
  • เวลาจิตว่าง ๆ จะเกิดปัญญาเฉพาะสมองส่วนหน้า 10% ปัญญาสมองส่วนหลังเรียกว่า อนุสติ 90%
  • - ต้องมีทักษะ (Skills)
  • - ความรู้เพื่อพัฒนาทัศนคติ (Attitudes)
  • 3. เทคนิคการสร้างการยอมรับจากลูกทีมอย่างจริงใจ
  • ต้องมีการสอนงานเป็นรายคนเสียก่อน เพื่อให้ลูกน้องทำงานเดี่ยวและทำงานเป็นทีมด้วยสมรรถภาพและสัมฤทธิ์ผลเสริมกันพอเพียงต่อความยากง่ายของงาน
  • มีฉันทะ จิตตะ วิริยะ วิมังสา
  • 4. การบริหารงานมีตั้งแต่การบริหารงานประจำวัน ซึ่งเป็นกระบวนการประจำวัน
  • 5. หน้าที่ทางธุรกิจที่ผู้บริหารต้องจัดการด้วยการใช้ทรัพยากร ใช้เวลา และใช้คน โดยมีความสามารถพิเศษ 5 อย่างคือ
  • - กิจกรรมการตลาด
  • - กิจกรรมการผลิต
  • - กิจกรรมการบัญชีและการเงิน
  • - กิจกรรมด้านบุคลากร
  • - กิจกรรมบริหารข้อมูลและเครื่องมือทำงาน
  • 6. ผู้บริหารกับการบริหารคนด้วยใจ
  • จะต้องฝึกบริหารความรู้เหล่านั้นจนเป็นความชำนาญหรือทักษะ ซึ่งมีหลายเทคนิคด้วยกัน
  • การฝึกการเป็นเถ้าแก่
  • 1. หาคนที่ขายของเป็น
  • วิธีการฝึกที่ดีคือการขายตรง การฝึกเป็นเถ้าแก่โดยไม่เสี่ยงตัวเอง มี 8% เท่านั้นที่ทำสำเร็จ จะทำให้เริ่มการทำการตลาดเป็น
  • 2. การผลิต การต่อสัญญา อะไรที่แพง ไม่กลับมาซื้ออีก เป็นพลังในการฉุดเศรษฐกิจไทย
  • 3. ต้องวัดสกอร์บอร์ดเป็น เรียกว่าการเงิน หรือ KPI เป็น Key Performance Indicator
  • 4. มีการจัดการคน ผู้นำที่เก่งจะใช้คนอื่นทำเสมือนเราทำเองได้ มอบได้แต่หน้าที่ แต่ความรับผิดชอบยังเป็นเราที่ต้องรับผิดชอบอยู่
  • 5. เครื่องมือทำงาน มี Infrastructure และ Information เอาไว้วางแผนล่วงหน้า
  • หน้าที่คือปั้นคน
  • การคิดนอกกรอบ คิดต่าง คิดเพี้ยน คิดต่อยอด
  • เมื่อคนทำผิด คนที่รับผิด ได้บทเรียน สร้างบรรยากาศใหม่ อย่าทำซ้ำ แล้วคราวหน้าจะไม่ผิด
  • สรุป ต่อไปนี้ทำดีต้องปรากฏ สร้างพลังแห่งความดีเข้าด้วยกัน

เราต้องปรับปรุงตัวเองอยู่เสมอ

การที่จะทำให้หลักการหรือทฤษฏีต่างๆบรรลุผลสำเร็จได้นั้นเราต้องลงมือปฏิบัติจริง

ธีรพล อาจไพรินทร์

ต้องขอบพระคุณท่านอาจารย์จีระเป็ยอย่างสูง ที่ได้ให้ความรู้ และกระตุ้นให้สมองของผมได้เสียบปลั๊กอยู่ตลอดเวลา ทำให้ได้รู้ว่าผมเองก็สามารถเก่งและฉลาดได้ เพียงแค่จัดการกับความคิดให้้เป็นระบบ และต้องรู้จักที่จะแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา                

ผมจะนำความรู้ที่ได้รับและกระบวนการต่างๆมาใช้ต่อยอดให้ประสบความสำเร็จต่อไปครับ

นายเมทนี ผลจันทร์

กลับถึงบ้านอย่างปลอดภัยครับผม

step by step one goes far

กลับจากการอบรม ค่ายผู้นำต้นแบบของ กศน.เพื่อพัฒนาเกษตรไทยสู่อาเซียน ยังไม่ทันถึงภูเก็ตก็ต้องใช้ทฤษฎี 2I's เสียแล้ว ทีมงานสภาเกษตรภูเก็ตส่งภาพรังผึ้งมาใช้ชมทาง FB บอกว่ามีสมาชิกต้องการเรียนรู้ เลยจุดประกายความคิดทันที Inspration ว่าถ้ามีผู้สนใจจริงทาง กศน. เรามีวิทยากร สอนให้ได้ การเลี้ยงผึ้งในสวนยางสามารถเพิ่มรายได้ และที่สำคัญคือการลดการใช้สารเคมี การรักษาธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ทีมงานตกลงจะประสานเกษตรกรชาวสวนเข้าร่วม ต่อไปก็ต้องให้ความรู้วิทยาการ ซึ่งเป็นงานวิจัยที่เคยทำมาแล้วที่ อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา ทีมวิทยากร ผู้มีประสบการณ์ ขนาดผึ้งย้ายรังหนียังสามารถตามกลับมาได้ และสามารถฟื้นฟูกลุ่มออมทรัพย์กลับมาเข็มแข็งได้  Imagition วิทยาการที่จะให้ต่อไป

   ทฤษฎี 3V คงได้นำมาใช้กับเกษตรกรในอำเภอถลางเร็วๆ นี้ 

ได้นำแนวคิดเรื่องการทำงานมาสู่วาระการประชุมกัยทีมคณะครู กศน.รัตนวาปี ค่ะ ต้องเป็นคนมีไฟตลอด และนำความผิดพลาดม่ปรับปรุงการทำงาน

ทีมงานวิชาการ Chira Academy

สรุปการบรรยายโดย ทีมงาน Chira Academy

หัวข้อ How to be the effective Trainer and your next step : Innovative Projects for Sustainable Development

โดยศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ดำเนินรายการโดย อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

วันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน 2557

กลุ่มที่ 1 การแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพาราในชีวิตประจำวันสู่อาเซียน

กลุ่มที่ 2 ศูนย์เรียนรู้ยางพาราของ กศน.

กลุ่มที่ 3 โครงการการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องงอกปลอดสารเคมี

กลุ่มที่ 4 โครงการพัฒนาการเกษตรเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่ม

กลุ่มที่ 5 การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเน้นผลไม้เชิงสร้างสรรค์

กลุ่มที่ 6 หมู่บ้านเกษตรอินทรีย์เพื่อความยั่งยืนสู่การท่องเที่ยวอาเซียน

กลุ่มที่ 7 การสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตรชุมชนแบบปลอดสารสู่ AEC

กลุ่มที่ 8 โครงการประเทศไทยจะเป็นผู้นำผลไม้เมืองร้อนสู่อาเซียน

กลุ่มที่ 1 การแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพาราในชีวิตประจำวันสู่อาเซียน

หลักการและเหตุผล

เหตุผลเนื่องจากขณะนี้ถ้าดูจากสภาพอาชีพของผู้ที่ทำยางพารา ภาคใต้มีพื้นที่ใกล้ชิดมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ใกล้ชิดเพื่อนบ้านอย่าง กัมพูชา เวียดนาม ลาว ประเทศไทยมีจุดเด่นคือมีเทคโนโลยีล้ำหน้า ทำให้

ประกอบวัตถุดิบในอนาคตจะมากคือน้ำยาง ดังนั้นการขายน้ำยางตลอดราคาจะไม่สูง จึงคิดผลิตภัณฑ์จากยางพาราแปรรูป โดยจะนำเข้าสู่กลุ่มของเกษตรกร กลุ่มของสหกรณ์ต่าง ๆ

ผลิตภัณฑ์แปรรูปอาจเริ่มจากอุตสาหกรรมที่ใช้ในชีวิตประจำวันก่อน เช่น ถุงมือ รองเท้าบู้ท สายยางแผ่นยางที่สามารถนำไปทำสระเก็บน้ำในหน้าแล้ง หรือการเกษตร จะเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับเกษตรกรทำสวนยางในการร่วมมือทำตรงนี้ได้

เป้าหมายของโครงการ

วิธีการกระบวนการเพื่อขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้คือ 3 V โดยเฉพาะ 1:100 ลงไปสู่เกษตรกร

ผลลัพธ์ คิดว่าจะเปิดศูนย์ผลิตภัณฑ์ได้ในพื้นที่จำนวนมากและทั่วทุกภูมิภาค

ยุทธศาสตร์ที่จะเกิดความสำเร็จ

  • -ยกระดับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเข้าสู่อาเซียน
  • -สร้างความสามารถในการแข่งขัน
  • -เป็นอาชีพที่สร้างความร่ำรวยได้มากที่สุดน่าจะเป็นเรื่องการท้าทาย
  • -ให้ผู้บริโภคเป็นผู้จัดการผลิตสินค้าแข่งขันได้

กิจกรรม

  • -จัดกระบวนการเรียนรู้
  • -สร้างความรู้ความเข้าใจให้สอดคล้อง
  • -ต่อสู้กับเพื่อนบ้านใกล้เคียง โดยเฉพาะอาเซียนด้วยกัน
  • -ชี้ช่องทางการประกอบอาชีพเกษตรกร

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ

-มีความรู้ที่จะทำงานในเรื่องนี้ สามารถรับรู้และเรียนรู้เรื่องการถ่ายทอดเป็นต้นแบบ สู่ให้ความรู้แก่บุคลากร

-ใช้ข้อมูลตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาอาชีพ

-ปรัชญา กศน.

-ถ้าคนเราคิดเป็นทำให้เห็นงาน ถ้าทำเป็นทำให้เห็นเงิน แก้ปัญหาเป็นทำให้เห็นความสุข

กลุ่มที่ 2 ศูนย์เรียนรู้ยางพาราของ กศน.

ยุทธศาสตร์ที่กลับไปจะไปขยายผล 1:100 ได้อย่างไร ให้นำ 4 วันมาปรับให้เกิดผลให้ได้ ไปชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและกำหนดการจัดตั้งศูนย์ประสานงานขับเคลื่อนในกลุ่มต่อ ไปกำหนดพื้นที่เป้าหมายการสร้างเครือข่ายหรือ Networkโดยจะคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ต่ำสุดเพื่อพัฒนาเตรียมตัวเป็น Smart Farmer

จะนำสู่ Value Creation ได้อย่างไร

คือจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ยางพารา กศน. ใกล้เคียงกับศูนย์ฝึกอาชีพ กศน. แต่ยังไม่สามารถบอกขนาดและระบุเฉพาะที่ชัดเจนได้

เป็นการจัดการเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งกศน. ทำได้หลากหลาย

หลักการและเหตุผล

เนื่องจากการผลิตยางพารา ประเทศไทยนำในอาเซียน มีรองแค่มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

ด้านการตลาด ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดโครงสร้างหลากหลาย

เป้าหมาย

- การขยายพื้นที่ปลูกยางพารา และกรีดยางพาราต่อไป

- ตั้งศูนย์ประสานงาน และตั้งศูนย์เรียนรู้ยางพาราต้นแบบให้ได้

- ภาคเหนือมีพื้นที่ปลูกยางพารามาก จะนำวิกฤตเป็นโอกาส

- มีศูนย์ฝึก 9 แห่งทั่วประเทศจะตั้งเป็นศูนย์สาธิต

- ปี 2558 มีเป้าหมายทำทุกจังหวัด ปี 2559 ทำเต็มทุกอำเภอที่ปลูกยางพารา เป้าหมาย 3 ปี ที่ทำให้เกิดเป็นผลสัมฤทธิ์

- เป็นศูนย์กลางของการเพิ่มมูลค่า สร้างผลผลิตที่หลากหลาย และสามารถนำไปเชื่อมโยงเครือข่ายด้วย

- คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

- สร้างให้เกิดพลังทางบวกที่ทุกคนเข้ามาและมีความสุข

- การสร้างระบบนิเวศน์ที่ดี

- การสร้างกลุ่มโดยใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร จะประสาน หาแหล่งแนวร่วมต่าง ๆ ในอาเซียน

ระยะเวลาปี 2557-2559

งบประมาณจะดึงจากภาครัฐทุกภาคส่วน

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ ให้การดำเนินการทุกภาคส่วน

ใช้การประเมินแบบ PDCA

การทำวิจัยแบบ C+D

กลุ่มที่ 3 โครงการการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องงอกปลอดสารเคมี

สิ่งสำคัญคือการนำไปต่อยอด 1:100 โดยจะนำคนที่เก่งที่สุดดีที่สุดในหมู่บ้าน ๆ ละ 1 คนก่อน จากแนวคิดที่ว่าตัวอย่างที่ดีมีค่ามากกว่าคำสอน และให้ปฏิบัติจริง

ต้นแบบที่ดีนำไปสู่การทำตามกัน และทำอย่างไรให้ก้าวสู่อาเซียนและเวทีโลก

หลักการและเหตุผล

ข้าวเป็นอาหารหลักของประชาชนทั่วประเทศที่ทำเรื่องนี้เพราะเรื่องผลจากการจำนำข้าวที่เก็บข้าวไว้นานเกินปีทำให้ข้าวราขึ้น จึงอยากทำข้าวที่สุกแล้ว และให้เก็บได้นานหลายปี

เป้าหมาย คือเวทีโลก สิ่งสำคัญคือต้องประชาสัมพันธ์และถึงเวทีโลกให้ได้ ผลผลิตต้องผลิตให้ได้ผลลัพธ์เป็นเงิน เกษตรกรต้องรวยในเวลานี้

ยุทธศาสตร์

- คิดใหญ่ เริ่มเล็ก และลงลึก

- เมื่อคิดเรียบร้อยไปเริ่มต้นที่ 1 ครอบครัว แล้วขยายสู่หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ประเทศและโลก สิ่งสำคัญคือต้องลงลึกและต้องเป็นต้นแบบให้ได้ ไม่อย่างนั้นใครจะเชื่อ

ระยะเวลาโครงการ

ในฐานะผู้บริหารอำเภอเชื่ออยู่แล้ว

ปัจจัยให้สู่ความสำเร็จ มีคน เงิน การบริหารทรัพยากร สู่การจัดการที่ดีจะก้าวสู่อาเซียนแน่นอน

กลุ่มที่ 4 โครงการพัฒนาการเกษตรเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่ม

สิ่งที่จะทำ

  • -ส่งเสริมเพิ่มศักยภาพปราชญ์ชาวบ้านหรือเจ้าของกิจการ
  • -ขยายผลในกลุ่มเกษตรกร ครอบครัวเกษตรกร
  • -ขยายเครือข่ายสู่ภาครัฐ เอกชน มีหลักสูตร
  • -ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมภาคการเกษตรอื่น ๆเช่น การท่องเที่ยว

หลักการและเหตุผล

เปลี่ยนแนวความคิดเกษตรกรไม่ใช่แค่ผู้ผลิตอย่างเดียว เปลี่ยนเป็นผู้จัด ผู้ดำเนินการจัดการเรียนรู้เป็นแหล่งท่องเที่ยว

การเผยแพร่เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันซึ่งจะได้ความรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้น

ผลผลิตหรือเป้าหมาย ถ้าคิดในเชิงปริมาณ ทำได้ทุกจังหวัดจะเยอะ ในเชิงคุณภาพเกษตรกรจะนำหลักสูตรที่อบรมไปปรับใช้ในเชิงธุรกิจ เพื่อให้เกิดเป็นความสำเร็จ

ยุทธศาสตร์

คิดวางแผนรัดกุม ประสานกับเจ้าของกิจกรรม ทำงานร่วมกับเครือข่าย

กิจกรรม

ฝึกอบรม พัฒนาเกษตรเพื่อคนมาเยี่ยมชมจะได้รู้สึกปลอดภัย

ปัจจัยความสำเร็จ

การร่วมมือกับคนทั้งหลาย

การสร้างความประทับใจ

กลุ่มที่ 5 การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเน้นผลไม้เชิงสร้างสรรค์

หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยมีผลไม้มากมาย อย่างญี่ปุ่นมีแค่บ๊วยสามารถแปรรูปสร้างรายได้ให้ประเทศมากมาย แต่ไทยมีผลไม้ทุกภาค และมีหลายอย่าง ดังนั้น ถ้านำผลไม้ที่มีมาแปรรูปน่าจะเป็นประโยชน์

ผลลัพธ์เพิ่มมูลค่ารายได้เกษตรกร

ยุทธศาสตร์ เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ บอกถึงการรักษาโรค ลดต้นทุนการผลิตให้มากและทำกิจกรรมให้ทั่วถึง

กิจกรรม วางแผนการดำเนินงาน มีเครือข่ายเน้นเรื่องการปลอดสารเคมี

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ เน้นเกษตรกรเป็น Smart Farmer ทำสู่มาตรฐานสากล

การไป Training กับเกษตรกร 1:100

ใช้ครูของกศน.ร่วมกับเกษตรกร นำทั้งคนที่มีความรู้ ความเข้าใจมาผนวกกัน เปลี่ยน Paradigm และแนวคิด รวมทั้งให้ความรู้ต่าง ๆ เรื่องกฎหมายคุณธรรม และจริยธรรม

กลุ่มที่ 6 หมู่บ้านเกษตรอินทรีย์สู่การท่องเที่ยวอาเซียนอย่างยั่งยืน

สู่การดำเนินการตามแนวคิด 3V

V1 ทำเรื่อง Smart Farmer

V2 ทำเรื่อง Smart Village

V3 ทำเรื่อง Smart Network และจะนำสู่ Smart Global

ยุทธศาสตร์ 1. การพัฒนาบุคลากรแบบDeep & Dive

2. ใช้แนวคิดบัว 4 เหล่า โดยจะเลือกบัวที่พ้นน้ำจะทำให้ง่ายต่อการพัฒนา

3. คัดเลือก Speaker ที่ทรงพลัง สามารถสร้างภาพชัดเจนในเนื้อหา

วิเคราะห์ SWOT

-วิเคราะห์ SWOT หมู่บ้านว่ามีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไรบ้าง โดยใช้ทฤษฎี 5H’s โดย

ตะกร้าที่ 1 ได้ Output คือ Farmerที่มีความเข้าใจ สู่การทำร่าง Smart Village

ตะกร้าที่ 2Input จะคืนข้อมูลไปที่หมู่บ้านว่า ร่าง Smart Village ดีหรือไม่และถ้าดีแล้วก็จะได้ Doing Innovation นำสู่ตะกร้าที่ 3

ตะกร้าที่ 3 ใช้ยุทธศาสตร์ Smart Give and Take เชื่อมกับหมู่บ้านในอาเซียน เชิญอาเซียนมาเที่ยวบ้านเรา แล้วทำการประเมิน

Outcome คือ SmartGlobal

สรุป ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม เราต้องใช้แนวคิดตามหลักพุทธศาสนาคือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา

กลุ่มที่ 7 การสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตรชุมชนแบบปลอดสารสู่ AEC

หลักการและเหตุผล

สินค้าเกษตรชุมชน สินค้าเกษตรในธรรมชาติ เป็นสินค้าที่ล้นตลาดและไม่ค่อยมีคุณภาพ มีสารตกค้างเยอะ มีสินค้าล้นตลาด จึงควรสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตรชุมชนแบบปลอดสารเพื่อสามารถกำหนดราคาได้อีกทั้งยังเป็นการตอบรับกระแสสังคมที่ต้องการอาหารปลอดภัย

เป้าหมาย คือ 1. เราต้องการผลผลิต ต้องการนำร่องในทุก ๆ จังหวัด

2. จัดตั้งกลุ่มที่มีความสนใจ และคัดเลือกผู้ที่สนใจเป็นตัวอย่างในการจัดตั้งโครงการ โดยจะจัดจังหวัดนำร่องละ 1 กลุ่ม เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพปลอดภัย เกษตรสามารถผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐาน

3. จัดตั้งฐานข้อมูลสินค้าเกษตรชุมชน สร้าง Networking โดยจะกำหนดหรือส่งเสริมตัวไหนให้รวมตัวกันเป็นผลผลิต

กิจกรรมหลัก คือ กลุ่มเป้าหมายของเกษตรกรที่คัดเลือกมาแต่ละจังหวัดเอาแค่จังหวัดละ 10 คน ตั้งงบประมาณเพื่อบริหารจัดการโครงการนี้กลุ่มละ 100,000 บาท

ปัจจัยสำเร็จ คือสร้างแรงบันใจ Learn Share Care 4L’s 8K’s 5K’s

การขยายผล 1:100 มียุทธศาสตร์ทำงาน

จัดทำหลักสูตรคู่มือ

กำหนดกลุ่มเป้าหมาย คัดเลือกครู กศน.ตำบลเป็นหลัก ให้รับทราบกิจกรรมข้อมูลต่าง ๆ

การเสนอโครงการเพื่อของบประมาณในการดำเนินการ

การขยายผล 1:100

กิจกรรมทุกกิจกรรมจะมีการวัดผลประเมินผลว่าได้ผลอย่างไร

กลุ่มที่ 8 โครงการประเทศไทยจะเป็นผู้นำผลไม้เมืองร้อนสู่อาเซียน

หลักการและเหตุผล

1. การดูแลสุขภาพ ผู้บริโภค ประเทศไทย อาเซียน ทุกคนต้องดูแลเรื่องสุขภาพการกินอยู่ให้ปลอดสารพิษ ให้มีชีวิตที่ดี

2. เพื่อส่งเสริมคุณภาพผลไม้เมืองไทยให้เป็นที่นิยมในอาเซียน และให้มีอัตลักษณ์ เพิ่มมูลค่าให้ผลไม้เมืองไทยสามารถกำหนดราคาในตลาดอาเซียนได้

กำหนดผลไม้ที่เป็นหลักเพื่อการส่งออก

มีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิด ได้แก่ มะพร้าว เงาะ ทุเรียน มะขาม มังคุด เป็นผลไม้พื้นเมืองที่มีเกือบทุกภาคจะกำหนดเป็นส่วนน้อย

ผลไม้หลักเพื่อการส่งออกแบบแปรรูป 5 ชนิด

ผลลัพธ์ คือเกษตรกรรายย่อยมีโอกาสเพิ่มผลผลิตที่มีความมั่นคงในการกำหนดราคา สามารถกำหนดราคากลางได้ เพื่อให้เกิดความสำเร็จที่เป็นรูปธรรม

1.ต้องมียุทธศาสตร์ทำให้เกิดความสำเร็จได้ สินค้าต้องมีคุณภาพ ปลอดสารพิษ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

2. เกษตรกรต้องมีสุขภาพที่แข็งแรง

3. ลดต้นทุนการผลิตเพื่อลดปัญหาหนี้สินของเกษตรกรรายย่อยในการกู้เงิน

1. การคัดเลือกเกษตรกรแกนนำ ถ้ามองไม่เห็นประโยชน์หรือความสำคัญต้องคัดเลือกผู้นำมาก่อน ให้ครูเป็นแกนนำ เพราะครูจะเป็นผู้เชื่อมโยงให้เกษตรกรรับรู้ถึงความสำคัญและเป็นไปได้ของโครงการ

2. จัดกระบวนการเรียนรู้ต่าง ๆ

3. สถานที่ดำเนินงาน สถานที่อบรมคงปฏิเสธไม่ได้ตามเห็นสมควร

4.งบประมาณจากส่วนกลาง จังหวัดเครือข่าย

ปัจจัยสำคัญ

1. มีแหล่งวัตถุดิบที่ดี มีสวน มีการจัดประเมินที่ดี

2. มี Smart Farm จัดให้เกษตรกรเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

3. มีระบบการจัดการอย่างต่อเนื่อง ได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องต่อไป และกระบวนการผลิตที่จะลดปัญหาต่อเกษตรกรรายย่อย

4. มีสวนผลไม้ที่ได้มาตรฐานปลอดสารพิษเป็นแบรนด์ของประเทศไทย

สรุปเราต้องคิดดี ทำดี และจะมีความสุข

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ บุณยเกียรติ

ให้ A หมดเลย

1. Out put คือการเสนอขาย เสนองาน

2.Outcome คือสิ่งที่เป็นผลผลิต ให้คิดว่าทุกสิ่งมีประโยชน์หรือไม่

3. Impact โปรเจคนี้ขยายไปสู่สังคมได้อย่างไร

ที่ชอบมาก ๆ คือ ผู้อบรมได้ตื่นตัวตลอดเวลา ได้นำเนื้อหาตั้งแต่วันแรกมาใช้งานจริง ขอชมเชย บางข้อเป็นคำใหญ่ที่จะต้องตีความเช่น Smart Farm , Smart Village ต้องตีความ คำใหญ่ วิจัยพัฒนา ต้องมีข้อเสนอแนะ

กิจกรรม ทำอะไรก็ได้ R to R ขออย่าทำอะไรเป็น Routine ทั้งหมด แล้วกัน 20 % ไว้เป็นงานนวัตกรรมทั้งหมด

แบ่งปันในอาเซียน

ตัว Operation หรือ Cluster ต้องทำให้เข้มข้น ต้องรวมพลัง

1. พลังราชการ มีพลังนโยบาย พลังผลักดัน เป็น Policy

2. พลังชุมชน เป็นส่วนร่วม ความยั่งยืน Sustainable

3. พลังปัญญา จะเป็นการเคลื่อนสู่ความสำเร็จ ใช้ปัญญาและทฤษฎี

4. พลังความคิดสร้างสรรค์ เป็นการต่อยอดกระบวนการแตกความรู้เป็นลักษณะ Inclusivityสุดท้ายคือการต่อยอด

โครงการในวันนี้เป็นการเริ่มต้น และการแสดงตัวดีมาก ทำอะไรที่ให้เกิดการพัฒนามีชีวิตชีวา ให้พร้อม พัฒนาตนเอง ต้องพร้อมทั้งกาย ใจ และจิตวิญญาณเสียก่อน

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

มีพลังส่งเสริม และเอาชนะอุปสรรค ถ้าวางแผนและมีโปรเจคแล้วต้องทำและทำให้สำเร็จ มีวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดกว้าง สนับสนุน และให้กำลังใจ

ใน 100 คน ถ้าจับกลุ่มได้ และสร้างวัฒนธรรมใหม่ เราต้องพยายามสร้าง New Culture และ Culture อันใหม่เกิดที่หนองคายได้

เราจะต่อเนื่อง Project นี้อย่างไร

รุ่น 2 เข้าใจลึกซึ้งสามารถลากสู่ V3 โดยมีช่องทางมาก

V1 จะสอน กศน.ที่เป็นครูหรือเกษตรกรที่เป็นครู สามารถทำได้ทั้งสองอย่าง

การ Deep Dive คือ การให้เกียรติซึ่งกันและกันไม่เห็นว่าเป็นประเทศด้อยพัฒนา

สิ่งที่ได้คือ คุณได้อะไร เราได้อะไร เราต้องคิดแบบ Mutual Benefit

ต่อไปเราต้องเก็บทรัพย์สินทางปัญญาก่อน

คุณพิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ

ทุกโครงการยอดเยี่ยม

คำว่า Smart Farmer คือเกษตรกรที่ฉลาดปราชญ์ เปรื่อง

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านข่าวโครงการ

http://www.naewna.com/politic/columnist/23279

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม 2559 หน้า 5

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท