ความงามของศิลปะตามทัศนะของเพลโต


ความงามของศิลปะตามทัศนะของเพลโต

บทคัดย่อ[1]

การวิเคราะห์ความคิดของเพลโตทางปรัชญาแห่งความงาม  โดยการพิจารณาทัศนะศิลปะในฐานะที่เป็นระบบของการเลียนแบบสามารถสร้างความเข้าใจความหมายของงานทัศนะศิลปะได้ นั่นคือ ผลงานทัศนะความงามของศิลปะสามารถให้คุณค่าทางความคิดความเข้าใจ  การเข้าใจผลงานทางศิลปะจะช่วยให้เข้าถึงคุณค่าทางความงามทางสุนทรียะได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น  เพลโตเห็นว่า  คุณค่าทางความงามในสุนทรียะเป็นผลงานทางศิลปะที่มีแง่มุมที่ควรคุณค่าแก่การชื่นชม  การเข้าใจความหมายของผลงานทัศนะของศิลปะที่สอดคล้องกับแง่มุมต่าง ๆ  จะช่วยให้เข้าถึงคุณค่าทางความงามทางสุนทรียะจากบทบาทของการตีความกล่าวถึงเรื่องเกี่ยวกับทฤษฎีความงามของเพลโตทั้ง  ๓  ทัศนะ  คือ   ๑.  เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องความงามของศิลปะตามทัศนะของเพลโต  ๒.  การให้เหตุผลเชิงคัดค้านแนวคิดความงามของเพลโตและอริสโตเติล   ๓.  วิเคราะห์ทฤษฎีการเลียนแบบทางศิลปะตามทัศนะของเพลโตและอริสโตเติล

         เพลโตมีทัศนะความเห็นทางด้านงานศิลปะ  คือ  การเลียนแบบสิ่งเฉพาะบนโลกแห่งผัสสะและการเลียนแบบของศิลปิน เป็นเพียงความคล้ายคลึง หรือ เป็นเพียงบางส่วนของต้นแบบ  ส่วยทัศนะของอริสโตเติล  กล่าวว่า ศิลปะ คือ การเลียนแบบอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นกระจกเงาสะท้อนธรรมชาติ ศิลปะไม่ใช่การถ่ายแบบรูปร่างภายนอกวัตถุ แต่เป็นการถ่ายแบบเนื้อแท้ภายใน   ความเห็นของเพลโตและอริสโตเติล  ทั้งสองเชื่อเหมือนกันว่า ธรรมชาติหรือความจริงของศิลปะคือการเลียนแบบโลกภายนอกและการเลียนแบบคือตัวประเมินค่าของศิลปะ แต่โลกภายนอกที่เลียนแบบนั้นแตกต่างกัน  เพลโตจึงคิดว่า  โลกภายนอกที่ศิลปะเลียนแบบนั้นคือสิ่งที่ปรากฏต่อผัสสะ คือสิ่งที่เป็นรูปธรรม ศิลปะเป็นสิ่งด้อยค่าเพราะสร้างภาพลวงตาและเข้าไม่ถึงความจริง แต่โลกภายนอกที่ศิลปะเลียนแบบสำหรับอริสโตเติลเป็นสิ่งที่เข้าถึงด้วยความคิดเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรมศิลปะมีคุณค่าสูงเพราะเข้าถึงความจริง

                         ศิลปะเป็นคำที่มีความหมายกว้างขวางมากมาย  และมีคุณค่าอย่างมหาศาลของมนุษย์ ซึ่งศิลปินนำมาประยุกต์เอาศิลป์เป็นผลงานที่มนุษย์พบเห็นในชีวิตประจำวันล้วน ๆ  ทำให้มีคุณค่าขึ้นมาและประโยชน์แก่มนุษย์  ที่แสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกภายในของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับความงามความพอใจของแต่ละคน  ศิลปะ คือ การเลียนแบบศิลปะ  ดังนั้นทฤษฎีโลกแห่งแบบ ในปรัชญาความคิดของเพลโตนั้นเอง  

บทนำ

                         ความสำคัญของปัญหาทางพฤติกรรมทางการใฝ่รู้ของมนุษย์ในเรื่องศิลปะนับวันจะกว้างขวางขึ้นจนมีขอบเขต    และให้ประโยชน์แก่มนุษย์ตลอกเวลาที่มีชีวิตอยู่  แม้ว่ามนุษย์ ได้เปรียบความรู้ทางด้านศิลปะซึ่งให้ประโยชน์ทางด้านจิตใจแก่มนุษย์อย่างมากมายจะนับเป็นปัจจัยที่ห้าก็ต่อเมื่อมนุษย์ได้ปัจจัยสี่พร้อมแล้ว  แต่ก็มีหลายท่านได้ตระหนักดีว่า  หากจะใฝ่รู้ทั้งเรื่องที่สร้างประโยชน์ให้ทั้งทางกายและทางด้านจิตให้แก่ตนเอง  ชีวิตก็จะสมบูรณ์ยิ่งขึ้น   ความใฝ่รู้เรื่องศิลปะสามารถทำได้หลายวิธี  ตั้งแต่วิธีเข้าไปฝึกหัดทำหรือไม่ศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะเพื่อรู้และเข้าใจวิวัฒนาการ  หรือไม่ก็เป็นนักวิจารณ์ศิลปะตามที่กล่าวข้างต้น  และเหมาะสมสำหรับเราท่านที่ชอบใฝ่รู้  คือเป็นผู้บริโภคที่ดี  วิธีนี้สามารถทำให้ได้ประโยชน์ทางจิตจากศิลปะได้เต็มที่เช่นเดียวกัน  โดยที่ท่านใฝ่รู้ในเรื่องทฤษฎีของความงามหรือที่เรียกว่าสุนทรียศาสตร์ตามที่ท่านคุ้นหู  ได้เปรียบบุคคลกลุ่มแรกก็ตรงที่ว่า  สามารถบริโภครสสุนทรีย์จากผลงานที่ผู้อื่นได้สร้างสรรค์เอาไว้  เช่น  ทัศนะของเพลโต้  (Plato) ซึ่งเป็นนักปรัชญากรีกยุคคลาสสิก ผู้คิดทฤษฎีที่ว่าศิลปะคือการเลียนแบบโลกธรรมชาติ (Art as Representation) หรือ ทฤษฎีการเลียนแบบ (Theory of Representation)   

                         ความเป็นมาสุนทรียศาสตร์[2] เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยค่านิยมทางความงามหรือปรัชญาแห่งความงาม  เป็นชื่อที่ถูกบัญญัติมาประมาณ ๒๐๐ ปีมานี่เอง  เป็นเรื่องรู้จักดีกว่า  ๓,๐๐๐ ปี   ตั้งแต่สมัยของปรัชญาเมธีกรีก  ๒ ท่าน คือ  เพลโต  และอริสโตเติล  แต่รู้จักกันในนามของคุณค่าของความงามที่เกิดจากศิลปะต่อมนุษย์  ได้กล่าวว่า  สุนทรียศาสตร์เป็นทฤษฎีว่าด้วยค่านิยมซึ่งเดินเราเคยใช้คำว่าคุณค่า  ค่านิยมนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสังคมของมนุษย์  ซึ่งมีความเชื่อและทัศนคติไม่คงที่  ยิ่งเป็นค่านิยมทางความงามด้วยแล้ว  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  บางครั้งก็เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบหมุนวนเวียนเป็นวัฎจักร  งานศิลปะบางชิ้นมีค่านิยมสูงมากสำหรับกาลสมัยหนึ่ง  และอาจเสื่อมลงในกาลต่อมาและแล้วก็กลับมีค่านิยมสูงขึ้นอีกครั้ง  ดังนี้เป็นต้น  

                         วัตถุประสงค์การวิจัยความงามของศิลปะในสุนทรียศาสตร์  ดังนี้  ๑)  เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องความงามของศิลปะตามทัศนะของเพลโต  ๒)  เพื่อศึกษาการให้เหตุผลสนับสนุนและคัดค้านทางความงามของศิลปะตามทัศนะของเพลโต  ๓)  เพื่อศึกษาวิเคราะห์ทฤษฎีการเลียนแบบทางศิลปะตามทัศนะของเพลโต   ปัญหาการงานวิจัยความงามของศิลปะในสุนทรียศาสตร์  ดังนี้    ๑)  ปัญหาที่สำคัญของสุนทรียศาสตร์ได้รับผลจากการแบ่งแยกโลกแห่งการรับรู้ของมนุษย์คือปัญหาเกี่ยวกับความงามและศิลปะได้ถูกนิยามในกรอบของประสบการณ์ทางสุนทรียะซึ่งแยกออกไปจากประสบการณ์อย่างอื่น คุณสมบัติของความงาม และคุณสมบัติที่ทำให้วัตถุใด เป็นหรือไม่เป็นศิลปะจึงขึ้นอยู่กับการรับรู้ของมนุษย์ และไม่ใช่คุณสมบัติเชิงวัตถุวิสัยในตัววัตถุเองตามทฤษฎีหลาย ๆ ทฤษฎี  ได้แบ่งแยกประเภทของการรับรู้ของมนุษย์  ๒)  ปัญหาทางสุนทรียศาสตร์มีท่าทีต่างออกไปอีกด้วย แนวโน้มของปัญหาจึงมีลักษณะมุ่งวิเคราะห์มโนทัศน์และการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างพิจารณาวัตถุทางสุนทรียะโดยไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับปัญหาอื่นอย่างศีลธรรม   ๓)  ปัญหาของสุนทรียศาสตร์   จึงมีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับมโนทัศน์กับประสบการณ์ทางสุนทรียะ  และวัตถุทางสุนทรียะเป็นประเด็นสำคัญ  ที่เรียกว่าสุนทรียศาสตร์ หรือ เรียกชื่อที่ใช้การศึกษาเชิงปรัชญา   การสืบค้นหรือวิทยาศาสตร์ของศิลปะและความงามตามธรรมชาติ

๑.  เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องความงามของศิลปะตามทัศนะของเพลโต

                         ๑.๑.  ความหมายของคำว่าสุนทรียศาสตร์

                         สุนทรีศาสตร์เป็นปรัชญาสาขาหนึ่ง ที่ว่าด้วยความงามและสิ่งที่งามทั้งในงานศิลปะและในธรรมชาติ โดยศึกษาประสบการณ์  คุณค่าความงามและมาตรฐานในการวินิจฉัยว่าอะไรงาม   อะไรไม่งาม[3] ตามทัศนะของสุนทรียธาตุ  (Aesthetics Elements)   ซึ่งมีอยู่ ๓ อย่างคือ[4]   ความงาม (Beauty)    ความแปลกหูแปลกตา (Picturesqueness)  ความน่าทึ่ง  (Sublimity)

                         สุนทรียศาสตร์เป็นศัพท์คำใหม่ที่บัญญัติขึ้นโดย โบมการ์เด็น (Alexander Gottieb Baumgarte. ๒๕๕ – ๒๓๐๕) ซึ่งก่อนหน้าที่เป็นเวลา ๒๐๐๐ กว่าปี นักปราชญ์สมัยกรีก เช่น เพลโต อริสโตเติล กล่าวถึงแต่เรื่องความงาม ความสะเทือนใจ ซึ่งเป็นความรู้สึกทางการรับรู้ (Sense Perception) ของมนุษย์ ปัญหาที่พวกเขาโต้เถียงกันได้แก่ ความงามคืออะไร ค่าของความงามนั้นเป็นจริงมีอยู่โดยตัวของมันเองหรือไม่  หรือว่าค่าของความงามเป็นเพียงความข้อความที่เราใช้กับสิ่งที่เราชอบ ความงามกับสิ่งที่งามสัมพันธ์กันอย่างไร มีมาตรการตายตัวอะไรหรือไม่ที่ทำให้เราตัดสินใจได้ว่าสิ่งนั้นงามหรือไม่งาม   โบมการ์เด็น จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งสุนทรียศาสตร์สมัยใหม่ฐานะที่เติมเชื้อไฟแห่งสุนทรียศาสตร์ที่กำลังจะมอดดับให้กลับลุกโชติช่วยขึ้นมาอีกวาระหนึ่ง (ทวีเกียรติ ไชยยงยศ. 2538 ; 1)

                         นอกจากนี้ขอบเขตของความหมายยังได้ครอบคลุมไปถึงศิลปะกับชีวิตและสังคมร่วมทั้งความงามและปรากฏการณ์ที่งดงามของธรรมชาติทางด้านวัตถุของสุนทรียะ[5]  

                         วัตถุทางสุนทรียะนั้นมีขอบข่ายที่กว้าง แต่ก็สามารถแบ่งได้ ๒ ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

                         ๑. วัตถุทางธรรมชาติ  คือ  สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ภูเขา ต้นไม้ แม่น้ำ เป็นต้น

                         ๒. ผลงานศิลปะ  คือ  สิ่งที่มนุษย์สร้างทุกอย่าง เช่น บ้าน ภาพเขียน รูปปั้น เป็นต้น 

                        ๑.๒.  ความงามของศิลปะตามทัศนะของเพลโต

                         เพลโต  กล่าวถึงเรื่องเกี่ยวกับทฤษฎีความงาม  ซึ่งนำเสนอโดย  เพลโต  (Plato 428-348)  ก่อน คริสตศักราชในเรื่อง Symposium สำหรับแนวเรื่องโดยทั่วไปของ Symposium เป็นเรื่องของความรัก   มีการพูดถึงเรื่องขอความรักและเกี่ยวกับความงาม และความงามทางด้านวัตถุธรรมของความรัก (beauty is the object of love) Socrates ได้แสดงทัศนะของตน  ในลักษณะกาสนทนากับผู้หญิงคนหนึ่งที่มีชื่อว่า Diotima แห่ง Mantineia ซึ่งการสนทนากันนั้น Diotima ได้ให้เค้าโครงเกี่ยวกับการเรียนรู้ที่จะรักในความงาม  ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมที่จะนำไปสู่พื้นฐานสำหรับความรักในเรือนร่างที่งดงามทั้งหมด  เพียงแต่ความรักในเรือนร่างของตนแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น  จัดเป็นความงามในระดับวัตถุ  ผู้ที่เรียนรู้จะต้องตระหนักว่า ความงามของวิญญาณต่างๆ (beauty of soul) เป็นสิ่งที่สูงส่งกว่าความงามในระดับของเรือนร่าง     ที่ เรียกว่าเป็นระดับของจิตวิญญาณ  (spiritual stage) จัดเป็นความงามในระดับสติปัญญา ซึ่งไม่ได้เป็นตัวตนหรือรูปร่าง มันมีลักษณะที่เป็นนามธรรม จัดเป็นความงามในระดับนามธรรมสมบูรณ์   แบบของความงาม  วิธีการของเพลโตเกี่ยวกับเรื่องของความงาม  ในทฤษฎีของ    เพลโตเองในเรื่องเกี่ยวกับแบบ(forms) ในคำต่างๆอย่าง เช่น  ความงาม, ความดี, ความยุติธรรม, และความเป็นสามเหลี่ยมคำต่างๆเหล่านี้จะมีความหมายโดยธาตุแท้ที่เป็นนามธรรม คือขั้นที่ต่ำลงมาจากโลกของแบบ

                         ในทฤษฎีของเพลโตหมายถึง วัตถุหรือสิ่งของทางกายภาพ หรือการกระทำต่างๆที่มองเห็นได้ในธรรมชาติ  เช่น  ความงาม, ความดี, ความยุติธรรม, ที่เป็นปรากฏการณ์บนโลก โลกที่เป็นวัตถุ สิ่งของ การกระทำต่าง ๆ ล้วนมีส่วนร่วมในแบบของความเป็นนามธรรม เพราะว่าเพลโตได้วาดเส้นแบ่งที่ชัดเจนขึ้นมา คือ 

                         ๑. สิ่งสวยงามต่างๆซึ่งถูกรวมอยู่ในระดับของวัตถุที่เราเห็นได้  และได้ยินเสียง เช่น ความไพเราะหรือที่เราสัมผัสได้ในโลกของความรู้สึกเป็นสิ่งเฉพาะ

                         ๒. ความงามในตัวของมันเอง ซึ่งดำรงอยู่พ้นไปจากโลกของการเห็นและการได้ยินเสียงหรือเหนือโลกแห่งกายสัมผัสต่าง ๆ  

                          เพลโต[6]  เชื่อว่ามีความงาม  ความงามเป็นความคิดที่สมบูรณ์  ความงามเป็นชนิด  เป็นเนื้อแท้เป็นแบบที่เป็นนิรันดร  มีอยู่ในโลกแห่งความคิด  ซึ่งอยู่เหนือโลกนี้  ท่านถือเอาความงามที่อาศัยความสัมพันธ์เป็นเพียงปรากฎการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไม่แน่นอน  ความงามทางอุดมคติไม่เปลี่ยนแปลง  สมบูรณ์ในตัว  สิ่งที่ปรากฎการณ์ยิ่งงามเพียงใด  ก็ยิ่งใกล้อุดมคติแห่งความงาม  ซึ่งเป็นเนื้อแท้แห่งวัตถุที่งามทั้งหมอที่เป็นนิรันดร์  โพลตินุส  ผู้ยกย่องแนวความคิดของ  เพลโต  ว่าความงามแจ่มแจ้งแห่งเหตุผล  อันเป็นทิพย์บริสุทธิ์  ความงามเป็นการแสดงออกของสิ่งสมบูรณ์อย่างเต็มที่  ศิลปินเมื่อดูย่อมเห็นความงามอันเป็นทิพย์  เป็นทฤษฎีว่าด้วยความงามทางวิญญาณ   เพลโตได้เน้นในเรื่องของการวัดมาตรส่วน และเรื่องของสัดส่วน ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก่อนนักปรัชญาคนอื่นๆ นักปรัชญาบางคนได้ดำเนินรอยตามความคิดของเขาอันนี้ และได้นำเอาผลงานบางส่วนของเขาที่เกี่ยวกับเรื่องทฤษฎีแบบมาใช้ รวมไปถึงเรื่องความคิดเกี่ยวกับความงาม ซึ่งโดยธาตุแท้แล้ว เป็นเรื่องที่อยู่เหนือโลก  ในขณะที่ปรัชญาเมธีบางคนก็พยายามที่จะพิสูจน์เรื่องของความงามกับจังหวะสัดส่วน   จากประสบการณ์ทางด้านผัสสะของเรา  ความงามสามารถแบ่งได้เป็น  ๒  แหล่ง ใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ  ความงามที่ประจักษ์ชัดอยู่ในธรรมชาติ  และความงามที่มนุษย์สร้างสรรค์หรือปรุงแต่งขึ้นรูปแบบของสุนทรียะที่เกิดขึ้นจากปัจจัย ที่มีผู้ควบคุมรูปแบบทางความงาม มักปรากฏให้เห็นได้ในผลงานสร้างสรรค์ของศิลปิน

                         ความงามแห่งปรัชญาของแต่ละคนล้วนมีความแตกต่างกัน ที่เกิดจากรากฐานที่เป็นหนึ่งเดียว เฉกเดียวกับสาวงามนางหนึ่ง ด้วยวัยเพียงยี่สิบสี่ปีเธอก็ตระหนักรู้ถึงความงามที่เทวดาบรรจงประดิษฐ์ปฏิมากรรมบนใบหน้าและเรือนกาย เธอแสดงความอหังการณ์ต่อสิ่งที่เทพมอบให้ด้วยการอวดโฉมให้แก่ชายหนุ่มหลากหลายได้ลิ้มรส ดื่มด่ำน้ำทิพย์วิมานแห่งสวรรคาลัย เปรมปรีดิ์ปราโมทย์กับการโจนขึ้นสู่ปุยเมฆขาวแล้วดำดิ่งสู่หุบเหวนรก พล่านกามโลกีย์อยู่บนเรือนกายอันสมบูรณ์แบบ เธอไม่เคยคิดว่าชายเหล่านั้นจะมีอำนาจเทียบเคียงเธอ สิ่งที่เธอทำคือทานแห่งพระเจ้าผู้เอื้อเฟื้อแก่มนุษย์ผู้อัปลักษณ์และบกพร่อง และชายเหล่านั้นก็พร้อมพักตร์สิโรราบลงแทบเท้าเธอ   ทฤษฎีโลกแห่งแบบของเพลโต เริ่มมาจากความต้องการของมนุษย์ที่จะไปให้ถึงสัจจะที่แท้จริงในปรัชญาความคิดอันซับซ้อนของเพลโต  คือ  ความไม่สมบูรณ์ และมันถูกลอกแบบมาจากโลกอีกแห่งหนึ่ง หากเปรียบเทียบกันแล้วโลกที่ว่าก็ไม่ผิดอะไรกับสวรรค์ ที่ทุกสิ่งทุกอย่างเต็มพร้อมไปด้วยความงามอย่างสมบูรณ์ทั้งปวง

                         ๑.๓.  ศิลปะกับทฤษฎีการเลียนแบบของเพลโต

                         การเลียนแบบ[7]หรือทฤษฎีการเลียนแบบเกิดขึ้นจากศิลปะตามธรรมชาติที่มีอยู่เช่นเมื่อเรายุ่งเกี่ยวกับศิลปะ อุดมคติที่จะคิดว่า ศิลปะนั้นคงต้องเลียนแบบบางอย่างของโลกนี้เช่น เมื่อเราเห็นภาพทิวทัศน์ เราต้องนึกว่า จิตรกรคงต้องตั้งใจจะเลียนแบบทัศนียภาพที่ไหนสักแห่งเมื่อเราเห็นปฏิมากรรม เราต้องนึกว่า ผู้ปั้นคงต้องปั้นเลียบแบบใครสักคนเป็นต้นสิ่งเหล่านี้คือต้นตอที่ทำให้นักปรัชญาบางคนคิดว่าสารัตถะของศิลปะคือการเลียนแบบศิลปะโลกภายนอกที่อยู่แวดล้อมตัวมนุษย์เช่น ธรรมชาติ มีต้นไม้ คน สัตว์ สิ่งของ หรือสิ่งที่ถูกสร้าง และการกระทำต่างๆของมนุษย์

                ทฤษฎีศิลปะของเพลโต  เกี่ยวข้องกับความคิดทางอภิปรัชญาเมื่อกล่าวถึงแก่นสารของศิลปะ  โดยท่านกล่าวว่าศิลปะคือการเลียนแบบสิ่งเฉพาะบนโลกแห่งผัสสะ และการเลียนแบบของศิลปินเป็นได้แต่เพียงความคล้ายคลึงหรือบางส่วนของส่วนของต้นแบบ  เหตุผลในการเชื่อเช่นนี้เพราะเพลโตคิดว่าศิลปินเลียนแบบด้วยผัสสะ และธรรมชาติของสิ่งเฉพาะก็ไม่อาจทำให้ศิลปินรับรู้ทุกส่วนของมันได้ สิ่งเฉพาะหนึ่งสิ่งสามารถมองได้หลายด้านแตกต่างกัน จิตรกรขณะเขียนภาพจะมองได้เพียงด้านหนึ่งด้านใดของต้นแบบและไม่ว่าเขาจะมีความชำนาญมากเพียงใดก็ตาม ผลที่เกิดขึ้นย่อมเป็นได้แค่เพียงแค่ความคล้ายคลึงหรือเพียงมุมใดมุมหนึ่งของต้นแบบ เขาไม่  สามารถเลียนแบบออกมาได้ทั้งหมด  เพลโตถือว่าผลงานที่เกิดขึ้นเป็นเพียงจินตภาพ (Image) หรือภาพลวงตา(Illustion) เหมือนภาพสะท้อนในกระจกซึ่งจะหลอกให้เราคิดว่าผลงานที่เกิดขึ้นนั้นเป็นต้นแบบจริงๆของกุหลาบขาวที่เป็นสิ่งเฉพาะดอกหนึ่งสามารถมองได้หลายด้านแตกต่างกัน จิตรกรขณะเขียนภาพกุหลาบขาวที่มา  เขาจะมองไปยังด้านใดด้านหนึ่งของกุหลาบขาว และไม่ว่าเขาจะมีความชำนาญอย่างไรก็ตาม ภาพกุหลาบขาวที่เกิดขึ้นจะเป็นได้เพียงแค่ความคล้ายคลึงหรืเป็นเพียงมุมเดียวของจิตรกรไม่สามารถเลียนแบบมาได้ทั้งหมด ภาพกุหลาบขาวที่เกิดขึ้นนับได้ว่าเป็นจินตภาพหรือภาพลวงตาของกุหลาบขาวเป็นเหมือนภาพสะท้อนในกระจกและลวงให้เราคิดว่าเป็นกุหลาบขาวจริงและเมื่อจิตรกรเขียนภาพสิ่งใดก็แล้วแต่  ผลลัพธ์ ก็ย่อมออก มาในทำนองเดียวกันนี้ทั้งสิ้นเพลโตเห็นความจริงของศิลปะว่า ศิลปะคือการเลียนแบบ และการเลียนแบบเป็นความสัมพันธ์แบบง่ายๆและตรงไปตรงมาระหว่างศิลปะกับโลกภายนอกที่ปรากฏต่อสายตา ศิลปินเมื่อรับรู้สิ่งใดเขาจะถ่ายทอดสิ่งที่รับรู้ออกมาอย่างนั้นโดยไม่บิดเบือนหรือตัดทอนแต่อย่างใด

                         จากความคิดด้านอภิปรัชญาและความจริงด้านศิลปะนำไปสู่ความคิดสำคัญในเรื่องการประเมินค่าทางศิลปะของเพลโต  จะเห็นได้ว่าท่านเพลโตได้ให้นิยามคำว่าสิ่งเฉพาะ คือสิ่งที่มีค่าต่ำกว่าเพราะห่างไกลจากสิ่งสากลซึ่งเป็นความจริงสูงสุดศิลปะซึ่งเลียนแบบได้คล้ายคลึงหรือเพียงบางส่วนของสิ่งเฉพาะ ผลงานศิลปะจึงเป็นสิ่งที่มีค่าต่ำสุดเพราะห่างไกลความจริงมากที่สุด มันห่างไกลจากความจริงถึง ๓ ขั้นตอนผลงานจิตรกรรมเป็นสิ่งที่มีค่าต่ำเนื่องจากสิ่งเฉพาะที่มันเลียนแบบนั้นห่างไกลความจริงอยู่แล้วเมื่อจิตรกรรมเลียนแบบได้คล้ายคลึงกับสิ่งเฉพาะซึ่งเป็นต้นแบบ ผลลัพธ์ออกมาก็ยิ่งห่างงไกลจากความจริงจิตรกรรมห่างไกลจากความจริงถึง ๓ ขั้นตอน  คือ  ๑)  แบบของกุหลาบขาวเป็นความจริงสูงสุดหรือมีค่าสูงสุด  ๒)  กุหลาบขาวที่เป็นสิ่งเฉพาะห่างไกลจากกุหลาบขาวสากลหรือมีค่ารองลงมา  ๓)  ภาพกุหลาบ

                         ในทำนองเดียวกันกวีผู้ซึ่งเลียนแบบเรื่องราวของชีวิตทั้งการกระทำดีชั่วด้วยภาษาหรือถ้อยคำ กวีนิพนธ์ซึ่งเป็นผลงานของเขาย่อมอยู่ห่างไกลจากความจริงถึง ๓ ขั้นตอนเช่นเดียวกันกับผลงานของจิตรกรรม เพราะเลียบนแบบได้เพียงจินตภาพหรือภาพลวงตาของเรื่องราวของชีวิตของโลกแห่งผัสสะ อันเป็นโลกซึ่งห่างไกลจากโลกแห่งความจริงอีกทอดหนึ่ง ดังนั้น กวีนิพนธ์จึงเป็นสิ่งที่มีค่าต่ำเช่นเดียวกันกับผลงานจิตรกรรม และกวีก็มิได้เข้าถึงความจริงเช่นเดียวกับจิตรกร  ความงามเป็นประสบการณ์ที่สร้างความพอใจให้แก่ผู้ได้พบเห็น  แม้ความงามที่ปรากฎอยู่ในธรรมชาติซึ่งไม่มีใครสร้างขึ้นมา  ก็สามารถสร้างพึงพอใจให้แก่ผู้ได้พบเห็นได้เช่นกัน  เช่น  เมื่อมองที่ต้นไม่ที่มีดอกสวยงาม  เราก็พอใจและอยากได้เป็นของเรา  อีกมากมาย  นักปราชญ์ทางศิลปะกล่าวว่า  ความงามเป็นหน่วยความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ทางความรู้สึกกับการสื่อความหมาย[8] 

                         มโนคติการเรื่องแบบของเพลโต  การเข้าใจทฤษฎีการเลียนแบบทางศิลปะของเพลโตมีความจำเป็นต้องเข้าความคิดทางอภิปรัชญาของเพลโตเสียก่อนเพราะการเลียนแบบศิลปะสัมพันธ์กับความคิดทางอภิปรัชญาอย่างลึกซึ้งอภิปรัชญาเป็นเรื่องอธิบายความจริงเกี่ยวกับโลก  เพลโตอธิบายเรื่องนี้ไว้ว่าโลกมีอยู่ ๒ ประเภท คือ

                         ๑. โลกแห่งแบบ ( world of  form ) หมายถึงโลกแห่งความเป็นจริงมีความเป็นอมตะและเป็นนิรันดร์เป็นโลกที่สมบูรณ์แบบและมีค่ามากที่สุด มีลักษณะเป็นนามธรรมสามารถเข้าถึงได้โดยการคิดด้วยเหตุผล ทุกๆสิ่งในโลกแห่งแบบเรียกว่าสิ่งสากล หรือแบบสากล  (Universal thing)

                         ๒. โลกแห่งผัสสะ (world of  sensable)  หมายถึงโลกที่มนุษย์อาศัยอยู่เป็นเพียงโลกแห่งมายา หรือ โลกแห่งสภาพที่ปรากฏ เป็นโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงและขาดความสมบูรณ์ เป็นโลกที่สามารถเข้าถึงโดยการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ทุกๆสิ่งในโลกแห่งผัสสะเรียกว่าสิ่งเฉพาะ  (paticular thing )  โลกทั้ง ๒ มิได้อยู่รวมกัน

                         สิ่งเฉพาะบนโลกแห่งผัสสะมีหลายประเภท ทั้งที่เป็นธรรมชาติเช่นต้นไม้ คน สัตว์ สิ่งของ และวัตถุ เป็นต้นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นรวมทั้งการกระทำต่างๆของมนุษย์ สิ่งเฉพาะแต่ประเภทบนโลกแห่งผัสสะจำนวนหลายหน่วยนับไม่ถ้วนสิ่งเฉพาะแต่ละประเภทถึงจะมีหลายหน่วย แต่จะเกิดจากการเลียนแบบต้นแบบของมัน ซึ่งมีเพียงแบบเดียวในโลกของแบบอันเป็นแบบที่สมบูรณ์และเป็นจริงที่สุด แต่การกระทำที่มีความกล้าหาญ ของแต่ละคนเกิดจากการเลียนแบบ แบบของความกล้าหาญ สากลซึ่งมีเพียงแบบเดียวในโลกแห่งแบบโดยพระเจ้า  แบบของความกล้าหาญ สากลจะเป็นแบบที่สมบูรณ์และเป็นจริงมากที่สุด แต่ความกล้าหาญ ที่เป็นสิ่งเฉพาะเป็นได้แค่เพียงความคล้ายคลึงของแบบแห่งความกล้าหายสากลเท่านั้นและไม่มีแบบแห่งความกล้าหาญใดเลยที่สมบูรณ์เหมือนกับต้นแบบแห่งความกล้าหาญสากล

                         กล่าวโดยสรุปทัศนะของเพลโตว่า  สิ่งเฉพาะมีค่าต่ำกว่ากว่าสิ่งสากลเพราะคล้ายคลึงและห่างไกลจากความเป็นจริง กุหลาบขาวเป็นสิ่งเฉพาะมีค่าต่ำกว่ากุหลาบขาวสากลเพราะมีแค่ความคล้ายคลึงหรือห่างไกลจากความจริงของกุหลาบขาวที่เป็นสากลเช่นเดียวกันการกระทำความกล้าหาญบนโลกแห่งผัสสะจะมีค่าน้อยกว่าแบบของความกล้าหาญสากลเพราะคล้ายคลึงหรือห่างไกลจากความกล้าหาญที่เป็นความจริงสิ่งอื่น ๆ บนโลกแห่งผัสสะก็เช่นกัน

๒.  การให้เหตุผลเชิงคัดค้านแนวคิดความงามของเพลโตและอริสโตเติล

                           ๒.๑.  เหตุผลเชิงคัดค้านแนวคิดความงามของของเพลโต

                       ทฤษฎีเพลโตมีทัศนะไม่เข้าข้างศิลปะ  เพลโตมีความคิดว่าศิลปะเป็นการบิดเบือนความจริง เพราะเชื่อว่าความจริงนั้นมนุษย์จะต้องรู้หรือเข้าใจด้วยการใช้เหตุผลอันบริสุทธ์หรือการเพ่งพินิจทางจิตวิญญาณ ส่วนศิลปะจะแสดงให้เห็นก็เฉพาะสิ่งที่เกี่ยวกับผัสสละ[9] ทัศนะของเพลโตว่าความจริงเป็นอันติมะ[10]  เกิดจากการมีความรู้ในเรื่องแบบ (Idea)  อันเป็นสิ่งนิรันดร์ไม่เปลี่ยนแปลงและเหนือโลกว่าวัตถุเหล่านั้น ลงในศิลปะของเขาอีกต่อหนึ่ง เพราะฉะนั้น  ศิลปวัตถุเหล่านั้นจึงเป็นการเลียบแบบแล้วนั้นเอง[11]  ดังนั้น  ศิลปะ เป็นการกระทำหรือขั้นตอนของการสร้างผลงานศิลปะ  ที่ศิลปะเป็นความหมายกว้าง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีความหมายเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ สุนทรียภาพ หรือการสร้างอารมณ์ต่างๆงานศิลปะจะรวมถึงชิ้นงานหลายๆ ชนิดโดยผู้สร้างตั้งใจสร้างชิ้นงานเพื่อสื่อสารและ สื่ออารมณ์หรือใช้สัญลักษณ์เพื่อให้ผู้ชมผลงานที่ตีความ   ศิลปินเป็นผู้สร้างงานศิลปะ    ศิลปะอาจรวมไปถึงงานในรูปแบบต่างๆ เช่น งานเขียน บทกวี การเต้นรำ การแสดง ดนตรี งานประติมากรรม ภาพวาดภาพเขียน หรืออื่นๆ [12]

                         ดังนั้นมัวแต่คำนึงถึงแต่รูปแบบและเนื้อหามากเกินไป จะส่งผลให้เด็กขาดอิสระทางความคิดไม่กล้าแสดงออก และเกิดความ ไม่มั่นใจว่างานที่ทำออกไปจะเป็นที่ยอมรับของสังคมหรือเปล่า เช่นเดียวกัน การฝึกให้เด็กวาดภาพลอกเลียนแบบตามแนวคิดของ “เพลโต”นั้น อย่าเพิ่งสรุปว่าเป็นสิ่งดีสมควรทำไปเสียทั้งหมด อาจมีแง่ดีและประโยชน์ในแง่ของการชี้แนะหนทางการแก้ปัญหาให้แก่เด็ก แต่การลอกเลียนแบบนั้นไม่สามารถถ่ายทอดโลกแห่งความจริงได้ทั้งหมด ทั้งนี้ยังไม่นับโลกแห่งจินตนาการซึ่งแตกต่างหลากหลายออกไปอีก (Gardner,1980 อ้างใน มะลิฉัตร เอื้ออานันท์,2532 ) ดังนั้นการนำแนวปรัชญาสามแนวนี้มาใช้ควรคำนึงถึงพัฒนาการของเด็กในแต่ละวัย และในการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมประสบการณ์ทางสุนทรียะนี้ ควรใช้หลักทาง   ซึ่งแต่ละคนมีแนวคิดแตกต่างกันไป แนวความคิดของ “เพลโต” ศิลปะคือ การเลียนแบบธรรมชาติที่มุ่งเน้นความงามภายในจิตใจ เมื่อเด็กมีจิตใจบริสุทธิ์สวยงามก็จะสร้างสรรค์ผลงานที่ดีออกสู่สังคม

                         ๒.๒.  เหตุผลเชิงคัดค้านแนวคิดความงามของของอริสโตเติล

                         อริสโตเติล[13]  มีทัศนะแตกต่างไปจากเพลโตผู้เป็นอาจารย์  อริสโตเติลอธิบายว่า  ความจริงสากลบางอย่างนั้นสามารถอธิบายและถ่ายทอดได้อย่างดีที่สุดด้วยสื่อทางศิลปะ  เพราะศิลปะจะช่วยสรรหาสิ่งที่เป็นรูปธรรมหรือรูปร่างที่เหมาะเจาะมาอธิบายความจริงได้  นอกจากนี้ยังถือว่าความจริงที่ถ่ายทอดมาทางศิลปะจากจิตสำนึกอันเป็นตัวให้ความสนใจสามารถรับรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เพราะความจริงเหล่านั้นถ่ายทอดมายังจิตสำนึกโดยอาศัยสื่อ  หรือเครื่องมือ  ทางผัสสะและกระตุ้นให้จิตสำนึกสนใจ  แต่อย่างไรก็ตาม  อริสโตเติลยังคงรักษาแนวความคิดเกี่ยวกับแบบเอาไว้   และยังยืนยันว่าพวกมันได้ถูกทำให้ปรากฏเป็นรูปเป็นร่างอยู่ในธรรมชาติ โดยประสบการณ์เกี่ยวกับแบบมิได้ดำรงอยู่อย่างอิสระ   สำหรับอริสโตเติลแล้ว ไม่มีโลกสองโลกอย่างที่เพลโตเชื่อว่าเป็นเช่นนั้น มันมีเพียงโลกเดียว และเป็นโลกซึ่งสามารถเข้าใจได้อย่างสมบูรณ์   อริสโตเติลเชื่อว่าโลกแห่งผัสสะหรือที่เรามีประสบการณ์สัมผัส   โดยพื้นฐานแล้ว มันไม่ได้เป็นเรื่องของมายาการแต่อย่างใด และปรัชญาของเขาได้เตรียมรากฐานอันหนึ่งขึ้นมา  สำหรับการที่จะให้ความสนใจ  ทางปรากฎการณ์เกี่ยวกับธรรมชาติและศิลปะภายในแวดวง เทววิทยาของคริสเตียน   ปรัชญาของอริสโตเติลได้แสดงออกอย่างเต็มที่ และเต็มไปด้วยพลังซึ่งส่อให้เห็นถึงอิทธิพลที่มีอยู่อย่างมากมายในงานเขียนของ เซนต์.โธมัส อไควนัส  (ค.ศ.1225-1274)  

                         ดังนั้นอริสโตเติลมีความคิดที่ไปไกลว่าเพลโต  ศิลปะของเพลโตเลียนแบบโลกภายนอกที่ปรากฏต่อผัสสะ  ศิลปะของอริสโตเติลเสียนแบบสิ่งที่แฝงเร้นในโลกภายนอกที่ปรากฏต่อผัสสะ  หรือที่เรียกว่าแก่นแท้ของสิ่งต่าง ๆ  อริสโตเติลยังเชื่อเหมือนเพลโตว่าการเลียนแบบ  หรือการเข้าถึงความจริง  คือสิ่งประเมินค่าศิลปะดังความจริงได้  มีปัญหาที่เกิดขึ้นแก่อริสโตเติลเหมือนกับเพลโตอันหนึ่งคือ  การเลียนแบบไม่ใช่สิ่งเดียวในการประเมินค่าทางศิลปะ  ศิลปะที่มีคุณค่าหรือไม่  ไม่ใช่ดูเพียงว่ามันเข้าถึงความจริงหรือไม่  แต่เราต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติทางรูปทรงและอารมณ์ที่แสดงออกมาด้วย[14] อริสโตเติล   ถือว่าศิลปะคือ การเลียนแบบความแท้จริง   ซึ่งเป็นกระจกสะท้อนให้เห็นธรรมชาติ  ศิลปะไม่ใช่เป็นเพียงการถ่ายแบบรูปร่างภายนอกของวัตถุเท่านั้น  แต่เป็นการถ่ายแบบเนื้อแท้ภายในด้วยการเลียนแบบของศิลปะไม่ใช่เป็นการถ่ายแบบที่เหมือนของจริงทีเดียวเพราะเป็นการแสดงความต้องการทางอารมณ์ของศิลปิน  ความต้องการทางอารมณ์ที่ศิลปินเก็บกดไว้จึงถูกระบายออกมาทางศิลปะซึ่งเป็นวิธีที่ไม่มีอันตราย   ดังนั้น หน้าที่ของศิลปะก็คือการระบายอารมณ์   ซึ่งทำให้เกิดความสมดุลในจิตใจมนุษย์แต่ศิลปะชั้นสูงเป็นการแสดงออกถึงวุฒิปัญญาและความรู้สึกของศิลปิน

                         ๒.๓.  ความแตกต่างตามทัศนะของเพลโตและอริสโตเติล

                         ทฤษฎีศิลปะการแสดงความคิดเห็นต่อผลงานศิลปะอย่างมีหลักการศิลปะเป็นการใช้ทฤษฎีศิลปะเป็นฐาน เพื่อค้นหาคุณค่า ความงามในผลงานศิลปะนั้น ๆ ฉะนั้น การศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีศิลปะในที่นี้ จึงไม่ใช่เพื่อนำไปใช้ในการสร้างงานศิลปะ เพื่อนำความรู้ไปใช้ประกอบการทำศิลปะวิจารณ์  เพราะการเข้าถึงความงามทางศิลปะต้องเข้าใจในหลักการและทฤษฎีซึ่งเปรียบเป็นไวยากรณ์ทางศิลปะ เช่น  เดียวกับการเข้าใจไวยากรณ์ภาษา ก็มีประโยชน์ในการวิจารณ์ศิลปะประเภทวรรณกรรม   ทฤษฎีทางศิลปะประกอบด้วย ค่าความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่าง ๒ ส่วน คือ ส่วนประกอบมูลฐานของศิลปะ และหลักการศิลปะ

         เพลโตมีทัศนะความเห็นทางด้านงานศิลปะ คือ การเลียนแบบสิ่งเฉพาะบนโลกแห่งผัสสะและการเลียนแบบของศิลปิน เป็นเพียงความคล้ายคลึง หรือ เป็นเพียงบางส่วนของต้นแบบ[15]  ส่วยทัศนะของอริสโตเติลทางด้านงานศิลปะ คือ การเลียนแบบอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นกระจกเงาสะท้อนธรรมชาติ   ศิลปะไม่ใช่การถ่ายแบบรูปร่างภายนอกวัตถุ แต่เป็นการถ่ายแบบเนื้อแท้ภายใน [16] 

         ความเห็นของเพลโตและอริสโตเติลทั้งสองท่านเชื่อว่าเหมือนกัน   ธรรมชาติหรือความจริงของศิลปะก็คือการเลียนแบบโลกภายนอกและการเลียนแบบ  โดยประเมินค่าของศิลปะโลกภายนอกที่เลียนแบบ  มีความแตกต่างกันจึงทำให้ผลการประเมินค่าต่างกันไปด้วย เพลโตคิดว่าโลกภายนอกที่ศิลปะเลียนแบบ  คือ สิ่งที่ปรากฏต่อผัสสะเป็นรูปธรรม  ศิลปะเป็นสิ่งด้อยค่าเพราะสร้างภาพลวงตาและเข้าไม่ถึงความจริง แต่โลกภายนอกที่ศิลปะเลียนแบบสำหรับอริสโตเติลเป็นสิ่งที่เข้าถึงด้วยความคิดเป็นสิ่งที่เป็นนามธรรมศิลปะมีคุณค่าสูงเพราะเข้าถึงความจริง   ซึ่งทำให้อริสโตเติลเขียนเรื่องศิลปะขึ้นมาเพราะต้องการต่อต้านความคิดของเพลโต  และเพื่อปกป้องศิลปะว่า มิใช่เป็นสิ่งไร้ค่าดังความเชื่อของเพลโตศิลปะเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและมีประโยชน์กับสังคม อิทธิพลความคิดของอริสโตเติลส่งผลต่อศิลปินในยุคฟื้นฟู (Renaissance)เป็นอย่างมาก เช่น ราฟาเอล( Raphael )ไมเคแองจิโล (Michelangelo)

                         ๒.๔.  ทฤษฎีรูปทรง

                         ทฤษฎีรูปทรง (Formalism Theory) เป็นทฤษฎีการสร้างงานศิลปะที่ใช้ส่วนประกอบมูลฐาน ของศิลปะ เช่น เส้น รูปร่าง รูปทรง มาใช้โดยตรง และอาจจะเป็นลักษณะผสมผสานกันระหว่างรูปแบบธรรมชาติที่ถูกลดสกัดตัดทอน กับรูปแบบนึกคิดจินตนาการของศิลปิน โดยผู้วิจารณ์งานศิลปะตามทฤษฎีนี้   พอจะสามารถระบุได้ว่าเป็นภาพอะไร ดังนั้น รูปแบบกึ่งนามธรรมจึงมีลักษณะแปลกตาต่างไปจากรูปแบบเหมือนจริงในธรรมชาติ   สิ่งสำคัญที่ต้องใช้ในการวิจารณ์ศิลปะรูปแบบต้องใช้จินตนาการเป็นตัวเชื่อมโยงการรับรู้เคลื่อนไหวต่อเนื่องเป็นเรื่องราวได้   เพื่อที่จะให้สอดคล้องกับการถ่ายทอดของศิลปิน ที่ใช้จินตนาการในการสร้างสรรค์รูปแบบให้เป็นภาพแสดงเนื้อหาเรื่องราวและความรู้สึกที่ต้องการ บันทึกถ่ายทอดให้ผู้อื่นรับรู้

                         ศิลปะคือรูปทรง (ArtasPureForm) งานศิลปะไม่สามารถจะสร้างขึ้นมาได้ถ้าปราศจากรูปทรง (form) การที่เราชื่นชมเพราะว่าในศิลปวัตถุมีรูปทรงที่สวยงาม ทั้งนี้เพราะลักษณะที่สำคัญคือมีความกลมกลืนขององค์ประกอบที่ทำให้เป็นเอกภาพ ตัวอย่างเช่นความสัมพันธ์ของดนตรีตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ และรูปทรงของเสียงดนตรี สามารถถ่ายทอดมายังจิตใจได้  นักสุทรียศาสตร์เรียกสิ่งนี้ว่า รูปทรง (form)บางที่ใช้คำว่ารูปแบบ[17]  รูปทรงในศิลปะคือส่วนประกอบหนึ่งในสองที่สำคัญที่ประกอบขึ้นเป็นศิลปะส่วนประกอบอีกส่วนหนึ่ง  คือ  เนื้อหา (content, subject)  รูปทรงในศิลปะ  คือ  องค์ประกอบศิลป์หรือสื่อที่ถูกจัดวางหรือรวบรวมขึ้นให้สัมพันธ์กันอย่างกลมกลืน  และอย่างมีเอกภาพ

                         ดังนั้น  ศิลปะเป็นการแสดงออกทางความงาม  ทางด้านผลงานทางศิลปะช่วยทำหน้าที่ขนส่งจากโลกของกิจกรรมมนุษย์ไปสู่โลกแห่งความสูงส่งทางสุนทรียภาพการแสดงออกทางความงามมักจะเปลี่ยนแปลงไปตามความนิยมของสังคมและวัฒนธรรมประเพณีด้านความงามของศิลปะคลอบคลุมไปถึงความงามในด้านเรื่องราวและเนื้อหาสาระ  เพราะเรื่องราวเนื้อหามักจะก่อให้เกิดความพึงพอใจ  ความบันเทิง  เพราะจุดประสงค์ของความงามอยู่ที่รูปลักษณ์ที่มองเห็นกับคุณสมบัติของสิ่งที่เราเห็น  กฎเกณฑ์ของความงามของศิลปะตามธรรมชาติ  ย่อมทำให้เกิดความเข้าใจเป็นศาสตร์ของความงาม  คือ สิ่งที่พบเห็นแล้วให้ความเพลิดเพลินประกอบด้วยความสมบูรณ์ของสัดส่วนและความเด่นชัดทางด้านทฤษฎีรูปทรงที่มีความแตกต่างจากทฤษฎีการเลียนแบบขณะที่ทฤษฎีการเรียนแบบ  เป็นทฤษฎีที่เก่าแก่  ทฤษฎีรูปทรงคือทฤษฎีสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นเพื่อโตแย้งความเชื่อของทฤษฎีเรียนแบบ  ทฤษฎีเรียนแบบให้ความหมายของศิลปะขึ้นอยู่กับโลกภายนอก  แต่ทฤษฎีรูปทรงคิดว่าศิลปะเป็นสิ่งที่มีค่าในตัวเอง  บางที่นักทฤษฎีรูปทรงเรียกรูปทรงที่เป็นแก่นแท้ของศิลปะว่ารูปทรงบริสุทธิ์นั้นเอง        

                         ๒.๕.  คุณค่าทางสุนทรียะ

                         คุณค่า (Value) มีลักษณะเป็นนามธรรม จับต้องและมองเห็นไม่ได้ จึงถือว่า คุณค่าเป็นอุดมคติ คือ สภาพที่ทุกสิ่งต้องการเข้าถึงหรือให้ถึงจุด ๆ นั้น  โดยคุณค่ามีความแตกต่างจากข้อเท็จจริงอย่างชัดเจน  การตัดสินคุณค่าทางสุนทรียะหรือคุณค่าทางความงามเป็นเรื่องที่เข้าใจและตัดสินยาก ทั้งเป็นที่ถกเถียงกันในแวดวงนักสุนทรียศาสตร์อย่างมากว่า คุณค่าทางสุนทรียะมีความหมายว่าอย่างไร ในการใช้หลักเกณฑ์อะไรในการตัดสิน เป็นต้น คำตอบเหล่านี้ได้มีนักสุนทรียศาสตร์ให้คำตอบไว้อย่างน่าสนใจ ซึ่งสามารถแยกเป็นได้ ๓ ทฤษฎี[18] ดังนี้

                         ๑. ทฤษฎีจิตวิสัย [19] (Subjectivism) หรือเรียกว่า คุณค่าเชิงอัตวิสัย เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่า คุณค่าทางสุนทรียะ ก็คือความรู้สึกหรือรสนิยมที่ตอบสนองทางสุนทรียะของผู้รับรู้ที่มีต่อวัตถุนั้นๆ ความรู้สึกตอบสนองแบ่งได้ คือ ความรู้สึกตอบสนองในลักษณะชอบ เช่น ความชอบ ความพึงพอใจ  ความเพลิดเพลิน และความรู้สึกตอบสนองในลักษณะไม่ชอบ และความไม่ชอบ ความไม่พึงพอใจ  ความไม่เพลิดเพลิน   การตัดสินของทฤษฎีจิตวิสัยจะไม่มีคำว่าถูกหรือผิดแม้จะเป็นการตัดสินที่แตกต่างกัน เพราะถือว่าการตัดสินมีน้ำหนักเท่ากัน   ดังนั้นจึงมีนักสุนทรียศาสตร์ที่สำคัญของทฤษฎีนี้ คือ ซี.เจ.ดูแคส กลุ่มโซฟิสต์ (Sophist) ฮอบส์ (Hobbes) ออร์เตกา (Ortega) เป็นต้น

                         ๒. ทฤษฎีวัตถุวิสัย[20](Objectivism) หรือเรียกว่า คุณค่าเชิงสภาวะวิสัยเป็นทฤษฎีที่มีความเชื่อขัดแย้งกับทฤษฎีจิตวิสัย ที่เชื่อว่า คุณค่าทางสุนทรียะ มีคุณสมบัติของวัตถุทางสุนทรียะ ซึ่งเป็นคุณสมบัติดั้งเดิมที่ติดมาจากวัตถุทางสุนทรียะตั้งแต่แรกเริ่ม มีความเกี่ยวข้องกับวัตถุ  คุณสมบัติหรือคุณค่าทางสุนทรียะเป็นสิ่งสัมบูรณ์ (Absolute) มีค่าอยู่ในตัวของมันเอง มีความคงที่ แน่นอน ไม่มีความเปลี่ยนแปลง  และไม่ขึ้นอยู่กับความรู้สึกตอบสนองของผู้รับรู้ เพราะคุณสมบัติหรือคุณค่าทางสุนทรียะไม่สัมพันธ์กับสิ่งอื่นใด  การตัดสินวัตถุว่าจะมีคุณค่าทางสุนทรียะหรือไม่  ให้ดูคุณสมบัติของวัตถุเป็นสำคัญ   ถ้าวัตถุมีคุณสมบัติก็ตัดสินได้ว่า มีคุณค่าทางสุนทรียะ แต่ถ้าวัตถุไม่มีคุณสมบัติก็ตัดสินว่า ไม่มีคุณค่าทางสุนทรียะด้วย   คุณสมบัติของวัตถุทางสุนทรียะนั้น  เป็นทฤษฎีวัตถุวิสัยอธิบายได้  ๒  กลุ่ม คือ กลุ่มที่ ๑. บอกว่า  นิยามไม่ได้ เพราะต้องรู้ได้โดยตรงด้วยตนเอง (Intuition)  กลุ่มที่  ๒. บอกว่า  นิยามได้ คือสามารถสังเกตเห็นหรือเข้าใจได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เรียกว่า คุณสมบัติรูปทรง (Formal Properties) เช่น  การจัดองค์ประกอบอันสมดุลในภาพเขียน  ความสมส่วน  ในประติมากรรม ความกลมกลืนของเสียงในดนตรี  นักสุนทรียศาสตร์ที่สำคัญของทฤษฎีนี้ คือ ซี.อี.เอ็ม.โจด (C.E.M. Joad) เพลโต (Plato) อาริสโตเติล (Aristotle) เฮเกล (Hegel) เป็นต้น

                         ๓. ทฤษฎีสัมพันธนิยม (Relativism) เป็นทฤษฎีที่เชื่อว่า การตัดสินวัตถุว่ามีคุณค่าทางสุนทรียะจะต้องมีความสัมพันธ์กันระหว่างจิตวิสัยกับวัตถุวิสัย ซึ่งเป็นทฤษฎีที่อยู่กึ่งกลางรวมทฤษฎีทั้งสองเข้าด้วยกัน   คุณสมบัติของวัตถุตามความเชื่อของทฤษฎีวัตถุวิสัย ไม่ใช่สิ่งสัมบูรณ์หรือมีค่าในตัวเอง  เพราะต้องอาศัยหลักฐานการรับรู้หรือความรู้สึกตอบสนองของทฤษฎีจิตวิสัยจึงจะรู้ว่ามีคุณสมบัติได้  ขณะเดียวกันก็เชื่อว่า การรับรู้หรือความรู้สึกตอบสนองของทฤษฎีจิตวิสัย จะเกิดขึ้นอย่างอำเภอใจไม่ได้ ต้องมีหลักฐานคือคุณสมบัติของวัตถุรองรับด้วย นักสุนทรียศาสตร์ที่ทีความสำคัญของทฤษฎีสัมพันธนิยม เช่น ซานตายานา (Santayana) แซมมวล อาเล็กซันเดอร์ (Samuel Alexander)

๓.  วิเคราะห์ทฤษฎีการเลียนแบบทางศิลปะตามทัศนะของเพลโตและอริสโตเติล

                         ๓.๑.  ทัศนะเกี่ยวกับศิลปะของเพลโต

                         เพลโตให้ความเห็นทางศิลปะ ในหนังสือ “อุดมรัฐ ”และกล่าวในเชิงตำหนิศิลปะว่าเป็นสิ่งที่ไร้ค่า  เนื่องจากว่าเพลโตต้องการปฏิเสธความคิดของบรรดาพวกที่ยกย่องกวีเอกโฮมเมอร์ (Homer) และจิตรกรผู้มีชื่อเสียงในสมัยนั้น  ว่าเป็นผู้มีความรอบรู้ในทุกสิ่งและเหมาะแก่การเป็นครูผู้นำทางชีวิตของคนในรัฐให้เดินไปอย่างถูกต้องและเข้าถึงความจริง  สำหรับเพลโตศิลปินมิใช่บุคคลผู้น่าสรรเสริญเช่นนั้น   ศิลปินเข้าถึงสิ่งต่างๆโดยใช้ผัสสะ  ศิลปินคือผู้มีความชำนาญในการหลอกลวงให้ผู้คนเข้าใจว่าสิ่งที่พวกเขาทำขึ้นมานั้นเป็นความจริง บุคคลที่เพลโตยกย่องคือพวกนักปรัชญาผู้ซึ่งเข้าถึงความจริงได้โดยการใช้เหตุผล  ความคิดของเพลโตส่งอิทธิพลต่อความคิดของศิลปินบางคนในปรายส ๖ วรรษที่ ๕ เช่นนักประพันธ์ชื่อยูรีปิเดส (Euripides) และจิตรกรชื่อซีอูซีส (Zeuxis)

                         การเลียนแบบสามารถตีความออกมาได้หลายประการ และมักจะก่อปัญหาขัดแย้งกันเสมอ เมื่อพูดถึงการเลียนแบบในศิลปะ  ดังนั้นทฤษฎีการเลียนแบบ แบ่งออกเป็น  ๔ ทฤษฎี

                         ๑.  การทำเสียงหรือท่าทางของคนหนึ่งให้เหมือนกับคนอื่น

                         ๒.  การทำสิ่งใหม่ขึ้นอีกสิ่งหนึ่งให้เหมือนหรือคล้ายกับต้นแบบ

                         ๓.  การทำศิลปะขึ้นมาอีกชิ้นหนึ่งให้ดูเหมือนหรือคล้ายต้นแบบ

                         ๔.  การทำสิ่งหนึ่งขึ้นมาใหม่ให้เป็นตัวแทนหรือสัญลักษณ์

                         ดังนั้น  จึงมีนักปราชญ์ทางตะวันตกหลายท่านให้คำนิยามไว้ว่า   ความงามคือสิ่งที่สมบูรณ์ในอุดมคติที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่แสดงออกมาในโลกที่เปลี่ยนแปลง[21]  เพลโต[22]เชื่อว่ามีความงาม  ความงามเป็นความคิดที่สมบูรณ์  ความงามเป็นชนิด  เป็นเนื้อแท้เป็นแบบที่เป็นนิรันดร์  มีอยู่ในโลกแห่งความคิด  ซึ่งอยู่เหนือโลก ท่านถือเอาความงามที่อาศัยความสัมพันธ์เป็นเพียงปรากฎการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไม่แน่นอน  ความงามทางอุดมคติไม่เปลี่ยนแปลงสมบูรณ์สิ่งที่ปรากฎการณ์ยิ่งงามเพียงใด  ก็ยิ่งใกล้อุดมคติแห่งความงาม  ซึ่งเป็นเนื้อแท้แห่งวัตถุที่งามทั้งหมอที่เป็นนิรันดร์   โพลตินุส  ผู้ยกย่องแนวความคิดของ  เพลโต  ว่าความงามแจ่มแจ้งแห่งเหตุผล  อันเป็นทิพย์บริสุทธิ์  ความงามเป็นการแสดงออกของสิ่งสมบูรณ์อย่างเต็มที่  ศิลปินเมื่อดูย่อมเห็นความงามอันเป็นทิพย์  ดังกล่าวมานี้เป็นทฤษฎีว่าด้วยความงามทางวิญญาณ  

                         ๓.๒.  ทัศนะเกี่ยวกับศิลปะของอริสโตเติล

                         อริสโตเติล(๓๘๔–๓๒๒ B.C.) เป็นศิษย์เอกของเพลโตเป็นผู้ซึ่งถือได้ว่าเป็นนักทฤษฎีการเลียนแบบคนสำคัญ  และถึงแม้ความคิดของอริสโตเติลจะมีรากฐานมาจากเพลโต แต่ความคิดของอริสโตเติลมีความลึกซึ้งและแตกต่างซับซ้อนกว่าความคิดของเพลโต  นอกจากนี้  อาริสโตเติลยังแสดงถึงทัศนะเรื่องศิลปะในหนังสือเล่มสำคัญที่ชื่อว่า กวีนิพนธ์ (Poetiecs ) ในหนังสือเล่มนี้  อาริสโตเติล กล่าวถึงศิลปะอย่างจงใจและมีระบบของเพลโต มีศิลปะหลายประเภทที่ถูกกล่าวถึง แต่กวีนิพนธ์ประเภทโศกนาฏกรรม (Tragedy) คือศิลปะประเภทที่อริสโตเติลเน้นและกล่าวถึงมากที่สุด   ดังนั้นอริสโตเติล มีรากฐานความเชื่อเรื่องการเลียนแบบของศิลปะที่ชัดเจนและเห็นผลกระทบที่ได้รับจากการเลียนแบบว่าเป็นสิ่งมีคุณค่า ท่านกล่าวว่าการเลียนแบบคือสัญชาตญาณอย่างหนึ่งของมนุษย์ที่ต่างจากสัตว์อื่นตรงที่รู้จักการเลียนแบบบทเรียนบทแรกของมนุษย์เกิดจากการเลียนแบบแม้สิ่งที่เลียนแบบนั้นในในความเป็นจริงจะเป็นสิ่งที่น่าเกลียดน่ากลัวเช่าซากศพหรือสัตว์ก็ตาม ท่านคิดว่าการเรียนรู้ทุกอย่างให้ความเพลิดเพลินแก่เรา และการเลียนแบบคือการเรียนรู้อย่างหนึ่ง ดังนั้นการเลียนแบบจึงไม่เพียงแต่ให้ความรู้แต่มันยังให้ความเพลิดเพลินแก่เราอีกด้วย

                         ทฤษฎีการเลียนแบบของอริสโตเติลยังคงความสัมพันธ์เกี่ยวกับความคิดทางอภิปรัชญาเช่นเดียวกันกับเพลโต แต่อภิปรัชญาของอริสโตเติลมีบางส่วนแตกต่างออกไปจากความคิดของเพลโต และทำให้ความเชื่อทางศิลปะแตกต่างไป  อริสโตเติลยังคงมีความเชื่อเรื่องการมีอยู่ของโลกของแบบและโลกของผัสสะ แต่โลกของแบบและโลกของผัสสะคือโลกเดียวกันไม่ได้แยกกันอยู่ดังความเชื่อของเพลโต แบบสากลอันเป็นสิ่งแท้จริงอย่างสมบูรณ์และมีค่าสูงสุดแบบสากลของสิ่งใดมิได้แยกอยู่ในโลกแห่งความคิด แต่เป็นสิ่งแฝงเร้นอยู่ในสิ่งเฉพาะที่ปรากฏอยู่ในโลกแห่งผัสสะแบบของคนสากลเป็นสิ่งแฝงเร้นอยู่ในคนทุกคนที่เป็นสิ่งเฉพาะ แบบของความกล้าหาญสากลแฝงอยู่   ในการกระทำแห่งความกล้าหาญในแต่ละคน  ของทุกคนในโลกแห่งผัสสะ  

                         อริสโตเติล ยังคงเชื่อว่าแก่นสารของศิลปะคือการเลียนแบบโลกภายนอก แต่โลกภายนอกที่ศิลปะเลียนมิใช่สิ่งเฉพาะ แต่เป็นสิ่งสากลอันแฝงเร้นอยู่ในสิ่งเฉพาะศิลปะมิใช่สิ่งที่เลียนแบบตามที่เลียนแบบมาอีกทอดหนึ่งตามทัศนะของเพลโต แต่ศิลปินมองลึกเข้าไปข้างใน ต้นแบบหรือแก่นสาร” ของสิ่งต่างๆซึ่งผัสสะของเราเข้าไม่ถึงศิลปินไม่ได้มองสิ่งต่างๆในฐานะที่เป็นสิ่งๆหนึ่ง แต่พิจารณาในฐานะที่เป็นสิ่งสากลของสิ่งนั้น ถ้าจิตรกรวาดภาพคนเขาจะไม่สนใจที่จะวาดภาพคนให้เหมือนกับคนที่เป็นต้นแบบ แต่เขาจะวาดภาพ  ที่แฝงอยู่ในคนที่เป็นต้นแบบนั้น จิตรกรไม่เลียนแบบความเป็นสิ่งเฉพาะของคนใดคนหนึ่ง แต่จะเลียนแบบความจริงของทุกคนที่ปรากฎผ่านคนที่เป็นสิ่งเฉพาะในทำนองเดียวกันถ้ากวีเลียนแบบการกระทำดี เขาจะไม่เลียนแบบการกระทำดีของใครคนใดคนหนึ่ง แต่จะเลียนแบบการกระทำความดีสากล อันสมบูรณ์ที่แฝงอยู่   จากความคิดเรื่องแก่นสารของศิลปะในด้านอภิปรัชญาของอริสโตเติล ได้นำไปสู่ประเด็นการดำเนินค่าทางศิลปะเช่นเดียวกันกับเพลโต  แต่มีผลลัพธ์ต่างกันอริสโตเติลเชื่อว่าศิลปะคือการเลียนสิ่งสากลที่แฝงอยู่ในสิ่งเฉพาะ แต่สิ่งสากลคือสิ่งที่เป็นจริงและมีค่าสูงสุด ดังนั้นศิลปะสำหรับอริสโตเติลจึงเป็นสิ่งที่มีค่าสูงเพราะเน้นความจริงให้ปรากฏจาก ภาพเขียนของศิลปะที่มีคุณค่าเพราะเปิดเผยความจริงของศิลปินที่ปรากฏในบทกวีนิพนธ์ที่เลียนแบบการกระทำของมนุษย์ที่มีคุณค่า เพราะทำให้ผู้อ่านมองเห็นการกระทำที่เป็นจริงสำหรับทุกๆคน ศิลปะในความรู้ของอริสโตเติลจึงมิใช่เป็นสิ่งที่ไร้ค่าดังความเชื่อของเพลโ

๔.  สรุปวิเคราะห์ความงามของศิลปะของเพลโต

                         การศึกษาทางสุนทรียศาสตร์ จึงครอบคลุมวัตถุต่างๆทั้งศิลปะและความงามตามธรรมชาติ รวมถึงกระบวนการรับรู้หรือประสบการทางสุนทรียะของมนุษย์ที่มีต่อวัตถุต่างๆเหล่านั้น   สุนทรียศาสตร์และปรัชญาศิลปะ ก็เป็นคำตอบสำเร็จรูปให้แก่มโนทัศน์ทางศิลปกรรมศาสตร์ แต่ทั้งสองก็ไม่เกี่ยวข้องกับปัญหาเชิงกระบวนการสร้างสรรค์ทางศิลปะ เช่น การค้นคว้าหาเทคนิคในการวาด การปั้น การพิมพ์ ที่แปลกใหม่สร้างสรรค์ หรือวิธีการที่สามารถสร้างผลงานศิลปะให้ตอบสนองหรือสื่อสารความคิดความรู้สึกของศิลปินออกมาได้ดีที่สุด ซึ่งเป็นปัญหาหลักของศิลปกรรมศาสตร์ แต่สำหรับสุนทรียศาสตร์กลับสนใจเทคนิควิธีการเหล่านั้นในลักษณะที่ว่ามันทำให้เกิดผลตอบสนองที่เรียกว่า “การมีประสบการณ์ทางสุนทรียะและประสบการณ์ทางสุนทรียะเกิดขึ้นได้ 

                         ศิลปะเป็นคำที่มีความหมายกว้างขวางมาก เป็นศาสตร์ที่รวมผลงานที่มีคุณค่าอย่างมหาศาลของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นทัศนศิลป์ที่ประกอบไปด้วย จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม นาฏศิลป์และศิลปะการแสดง ดนตรี วรรณศิลป์หรือกระทั่ง ประยุกต์ศิลป์ซึ่งเป็นผลงานที่มนุษย์พบเห็นในชีวิตประจำวันล้วน ให้คุณค่าให้ประโยชน์แก่มวลมนุษย์ งานศิลปะแม้จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในทางผลผลิตเพื่ออาหารทางกายแต่คุณสมบัติที่สำคัญยิ่งคือความงามที่ทำให้เกิดความรู้สึก ซาบซึ้งในคุณค่าของความงามหรือความพึงใจที่เรียกว่าคุณค่าทางสุนทรีย์  ซึ่งคุณค่าทางสุนทรีย์นี้เองเป็นปัจจัยที่ทำให้มนุษย์เลือกบริโภคผลงานศิลปะที่มีคุณค่า และ นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิตประจำวันได้

เพราะศิลปะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ การสร้างและการแสดงอารมณ์ความรู้สึกภายใจของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับความงามความพอใจของแต่ละคน บางคนอาจมีความชื่นชมในความงามแตกต่างกันและยังคงเป็นเรื่องที่เข้าใจ ยากสำหรับผู้ที่ไม่ได้ศึกษาศิลปะ

         การเลียนแบบธรรมชาติผลงานศิลปะอาจจะมีทั้งประเภทที่ลอกเลียนแบบ ธรรมชาติ หรือไม่ลอกเลียนแบบ ธรรมชาติก็ได้กล่าวคือถ้าเป็นภาพเขียนสิ่งของธรรมชาติหรือภาพมนุษย์ก็จัดได้ว่าเป็นงานประเภทที่ลอกเลียนแบบธรรมชาติแต่ หากว่าเป็นการ เขียนภาพแสดงความพิศดาร ของการใช้สีสันเพื่อให้เกิดความรู้สึกสนใจหรืออารมณ์ตามต้องการก็เป็นผลงานที่ไม่ลอกเลียนแบบธรรมชาติเช่นเดียวกับดนตรีผลงาน ดนตรีส่วนใหญ่เป็นประเภทที่ไม่ลอกเลียนแบบธรรมชาติ เพราะดนตรีอาจใช้ถ้อยคำหรือไม่ใช้ถ้อยคำใด ๆเลยก็ได้เพราะดนตรีเป็นเรื่องของความสนใจความไพเราะของ เสียงเช่นดนตรีประเภทดนตรีที่สามารถสื่อออกมาเป็นเรื่องราว   ซึ่งอาจนำมาใช้การประกอบการแสดงเราถือว่าเป็นผลงานที่ไม่ลอกเลียนแบบธรรมชาติ ส่วนดนตรีประเภทขับร้อง   นั้นเราถือว่าเป็นผลงานที่ลอกเลียนแบบธรรมชาติ เพราะมีการใช้ถ้อยคำเพื่อบรรยายเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ ทำให้เกิด  จินตภาพเป็นไปตามคำร้อง หรือถ้าหากว่าเป็นการแสดงเลียนแบบการเคลื่อนไหวธรรมชาติ เช่นการเลียนแบบท่าทางต่าง ๆของสัตว์ก็จัดว่าเป็นผลงานที่ลอกเลียนแบบ ธรรมชาติ เช่นเดียวกัน

                         ศิลปะ เป็นการแสดงออกของความเชื่อที่ปรากฏให้เห็นรูปแบบในด้านของศิลปะ ที่เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาว่าด้วยความงาม ดังนั้นว่าด้วยปรัชญาศิลปะจึงนับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสุนทรียศาสตร์ ซึ่งถือเอาผลสรุปของสุนทรียศาสตร์สาขาอื่นๆ  เมื่อเราพูดถึง ศิลปะ เรามักจะหมายถึง ความงาม แต่ความงามในที่นี้เป็นเรื่องของคุณค่า ที่เป็นคุณค่าทางสุนทรียะ แตกต่างจากคุณค่าทางเศรษฐกิจ ที่เป็นราคาของวัตถุ แต่เป็นคุณค่าต่อจิตใจ เกิดขึ้นด้วยอารมณ์ มิใช่ด้วยเหตุผล ความคิด หรือข้อเท็จจริง คนที่เคร่งครัดต่อเหตุผลหรือ เพ่งเล็งไปที่คุณค่าทางวัตถุจะไม่เห็นความงาม คนที่มีอารมณ์ละเอียดอ่อนไหว จะสัมผัสความงามได้ ง่ายและรับได้มาก ความงามให้ความยินดี ให้ความพอใจได้ทันทีโดยไม่ต้องมีเหตุผล

                         ดังนั้น ความงามจึงเป็นอารมณ์ เป็นความสุขอารมณ์หรือเป็นอารมณ์ที่ก่อให้เกิดความสุข กับมนุษย์ ซึ่งได้แก่ ความดี ความงาม และความจริง ผู้ที่ยอมรับและเห็นคุณค่าในการสร้างสรรค์งานศิลปะ ก็เป็นการถ่ายทอดความงามผ่าน สื่อวัสดุต่าง ๆ ออกมา เพื่อให้ผู้อื่นได้สัมผัส ได้รับรู้ สื่อต่าง ๆ จะเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ชม เกิดอารมณ์ทางความงามที่แตกต่างกันตามค่านิยมของแต่ละบุคคล ความงามไม่ใช่ศิลปะ เนื่องจากว่า ความงามไม่จำเป็นต้องเกิดจากสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ในธรรมชาติก็มีความงามเช่นกัน เช่น บรรยากาศ ขณะที่พระอาทิตย์ขึ้น หรือตกดิน ความสวยงามสดชื่นของดอกไม้ ทิวทัศน์ธรรมชาติต่าง ๆ เป็นต้น งานศิลปะที่ดีจะให้ความพึงพอใจในความงามแก่ผู้ชมในขั้นแรก และจะให้ความสะเทือนใจที่คลี่ คลายกว้างขวางยิ่งขึ้นด้วยอารมณ์ทางสุนทรียะของผลงานศิลปะนั้นในขั้นต่อไป ความงามในงาน  การที่จะเข้าใจงานศิลปะได้    จะต้องเข้าใจความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับงานศิลปะ    อันได้แก่   หลักของศิลปะและโครงสร้างของงานศิลปะ     จึงจะช่วยส่งเสริมให้เข้าใจเรื่องความงามอันเกิดจากความประสานกลมกลืนกันของเส้น  คุณค่า  รูปร่าง  รูปลักษณะ การจัดช่องไฟ   วัสดุที่นำมาใช้อย่างสมดุลย์    มีความงามอย่างสมสัดส่วน     การใช้สีให้เป็นไปอย่างประสานกลมกลืน  จนทำให้เกิดเป็นจุดเด่นในงานศิลปะได้   จึงจะเห็นได้ชัดเจนและได้ภาพรวม คือ

                         ๑.  ทางกาย คือ นักศิลปะมีภาวะของฝีมือในการลงมือกระทำแล้วเกิด ความประทับใจของคนที่เห็น เช่น ภาพวาด ภาพแกะสลักรูปร่างต่างๆ หรือ แม้แต่นักศิลปะ ที่ขับเนื้อร้องออกมาให้คนเห็น ได้ยินแล้วเกิดอยากฟังเสียงนั้นอีก เช่น ร้องเพลง หรือนักดนตรีต่างๆ มนุษย์ทำขึ้นอย่างรู้ตัว โดยใช้สื่อที่สัมผัสได้ เพื่อแสดงออกให้เห็นเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง

                         ๒.  ทางจิต คือ นักศิลปะจะมีความรู้สึกภายในที่เกิดจากสัญชาตญาณในตัวเอง เกิดจากความพอใจ  เช่น เขาเชิญไปตัดสินเกี่ยวกับการประกวดร้องเพลง ถ้าคนที่ตัดสินนั้นเป็นนักศิลปินที่มีนักคิดเป็นศิลปะอยู่ในตัวแล้ว เขาจะสามารถบอกได้ทุกส่วน เช่น การร้องด้วยเสียงที่ไพเราะ การกำหนดต้นเสียง การเปล่งเสียง เนื้อหาของเพลง จังหวะการออกเสียง อักขระ พยัญชนะ เสียงสูง เสียงต่ำ ประสบการณ์ในการร้อง ผลที่แสดงออกมาเป็นความงาม ไพเราะ น่าฟัง น่าติดตาม โดยประมวลภาพออกมาจากจิตสำนึกหมายความว่า เขาจะมองทุกส่วนเป็นศิลปะหมด

                         กฎเกณฑ์ตัดสินทางสุนทรียศาสตร์นั้นคือขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อม วัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น หรือขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศ ตลอดจนดิน ฟ้า อากาศของแต่ละพื้นที่ นักศิลปะเขามองเป็นภาพรวมทั้งหมดให้เข้ากับสถานการณ์ มองทุกอย่างเป็นกลาง จึงถือว่างานศิลปะที่งานที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง เป็นความงามในตัวของมันเอง เป็นการกระตุ้นอารมณ์มีที่เพลิดเพลินโดยเฉพาะศิลปะทุกอย่างต้องมีเนื้อหาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เช่น ความงามดอกไม้ในป่า  ความงามของทัศนียภาพ เป็นต้น  ถือว่าเป็นศิลปะที่มีค่าในตัวเองและสามารถเป็นจุดยืนของตัวเอง   แห่งผัสสะมีหลายประเภท ทั้งที่เป็นธรรมชาติเช่นต้นไม้ คน สัตว์ สิ่งของ และวัตถุ เป็นต้นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นรวมทั้งการกระทำต่างๆของมนุษย์ สิ่งเฉพาะแต่ประเภทบนโลกแห่งผัสสะจำนวนหลายหน่วยนับไม่ถ้วนสิ่งเฉพาะแต่ละประเภทถึงจะมีหลายหน่วย แต่จะเกิดจากการเลียนแบบต้นแบบของมัน ซึ่งมีเพียงแบบเดียวในโลกของแบบอันเป็นแบบที่สมบูรณ์และเป็นจริงที่สุด ในการเลียนแบบของสิ่งเฉพาะบนโลกแห่งผัสสะนี้จะเป็นได้แค่เพียงความคล้ายคลึงกับต้นแบบ   เกิดจากการเลียนแบบงานช่างเลียนแบบโดยช่าง  การกระทำดีและชั่วเลียนแบบโดยมนุษย์บนโลกแห่งผัสสะคือสิ่งเฉพาะประเภทหนึ่ง  ซึ่งที่เป็นสิ่งเฉพาะเกิดจากการเลียนแบบ แบบของสากลซึ่งมีเพียงแบบเดียวในโลกแห่งแบบของสากลจะเป็นแบบที่สมบูรณ์และเป็นจริงที่สุด   เฉพาะมีความคล้ายคลึงสมบูรณ์เหมือนกับต้นแบบของนั้นเอง 

                         ดังนั้น  กุหลาบขาว บนโลกแห่งผัสสะคือ   สิ่งเฉพาะประเภทหนึ่ง กุหลาบขาวเป็นสิ่งเฉพาะจะมีหลายดอกนับไม่ถ้วน กุหลาบขาวแต่ละดอกเกิดจากการเลียนแบบ แบบของกุหลาบขาวสากลซึ่งมีเพียงแบบเดียวในโลกแห่งแบบ    แบบของกุหลาบขาวสากลจะเป็นแบบที่สมบูรณ์และเป็นจริงมากที่สุด แต่กุหลาบขาวที่เป็นสิ่งเฉพาะเป็นได้แค่เพียงความคล้ายคลึงและไม่มีดอกใดเลยที่สมบูรณ์เหมือนกับต้นแบบของมัน   บนโลกแห่งการจินตนาการคือสิ่งเฉพาะประเภทหนึ่ง  เป็นสิ่งเฉพาะที่เกิดขึ้นกับคนหลายคน ในโลกแห่งผัสสะ   โดยเกิดจากการเลียนแบบ แบบของการเป็นสากลซึ่งมีเพียงแบบเดียวในโลกแห่งแบบที่สมบูรณ์และเป็นจริงมากที่สุด  โลกแห่งความจริงที่มีคุณค่าแบบทุกแบบในโลกแห่งแบบจึงเป็นสิ่งที่เป็นความจริงและมีคุณค่าสูงสุด  การเลียนแบบบนโลกแห่งผัสสะได้เพียงแค่ความคล้ายคลึงกับต้นแบบเท่านั้น  และนำไปสู่ข้อสรุปของเพลโต   ที่ว่าสิ่งเฉพาะมีค่าต่ำกว่ากว่าสิ่งสากลเพราะคล้ายคลึงและห่างไกลจากความเป็นจริง แม้แต้การเลียนแบบของกุหลาบขาว  เป็นสิ่งเฉพาะมีค่าต่ำกว่าความเป็นสากลเพราะมีแค่ความคล้ายคลึงหรือห่างไกลจากความจริงของดอกกุหลาบขาวที่เป็นสากลเช่นเดียวกันการกระทำความกล้าหาญบนโลกแห่งผัสสะ   จะมีค่าน้อยกว่าแบบของความกล้าหาญสากลเพราะคล้ายคลึงหรือห่างไกลจากความกล้าหาญที่เป็นความจริง สิ่งอื่นๆบนโลกแห่งผัสสะ

                         ดังนั้น  ทฤษฎีศิลปะของเพลโต เกี่ยวข้องกับความคิดทางปรัชญา  เมื่อกล่าวถึงศิลปะโดยท่านกล่าวว่า   ศิลปะ  คือ  การเลียนแบบสิ่งเฉพาะบนโลกแห่งผัสสะ โดยการเลียนแบบของศิลปินได้แค่เพียงความคล้ายคลึง  หรือ  เป็นบางส่วนของต้นแบบ  เหตุผลในการเชื่อเช่นนี้   เพราะว่าเพลโตคิดว่าศิลปินเลียนแบบตามธรรมชาติของสิ่งเฉพาะ   ดังนั้นสิ่งเฉพาะสามารถมองได้หลายด้านมีความแตกต่างกัน    ในขณะที่จิตรกรเขียนภาพจะมองได้เพียงด้านหนึ่งด้านใดของต้นแบบและไม่ว่าเขาจะมีความชำนาญมากเพียงใดก็ตาม ผลที่เกิดขึ้นย่อมเป็นได้แค่เพียงแค่ความคล้ายคลึงหรือเพียงมุมใดมุมหนึ่งของต้นแบบ   เขาไม่สามารถเลียนแบบออกมาได้ทั้งหมด เพลโตถือว่าผลงานที่เกิดขึ้นเป็นเพียง  จินตภาพ   เป็นเหมือนภาพสะท้อนในกระจกซึ่งจะหลอกให้เราคิดว่าผลงานที่เกิดขึ้นนั้นเป็นต้นแบบ 

                         จริง ๆ แล้วกุหลาบขาวที่เป็นสิ่งเฉพาะดอกหนึ่งสามารถมองได้หลายด้านแตกต่างกัน จิตรกรขณะเขียนภาพกุหลาบขาวเขาจะมองไปยังด้านใดด้านหนึ่งของกุหลาบขาว และไม่ว่าเขาจะมีความชำนาญอย่างไรก็ตาม ภาพกุหลาบขาวที่เกิดขึ้นจะเป็นได้เพียงแค่ความคล้ายคลึงหรือเป็นเพียงมุมเดียวของจิตรกรไม่สามารถเลียนแบบมาได้ทั้งหมด ภาพกุหลาบขาวที่เกิดขึ้นนับได้ว่าเป็น       จินตภาพของกุหลาบขาวเป็นเหมือนภาพสะท้อนในกระจกและลวงให้เราคิดว่าเป็นกุหลาบขาวจริง  เมื่อจิตรกรเขียนภาพสิ่งใดก็แล้วแต่  ก็มาทำนองเดียวกันกับเพลโต   เพลโตเห็นความจริงของศิลปะว่า ศิลปะคือการเลียนแบบ และการเลียนแบบเป็นความสัมพันธ์แบบง่าย ๆ  และตรงไปตรงมาระหว่างศิลปะกับโลกภายนอกที่ปรากฏต่อสายตาศิลปินเมื่อรับรู้สิ่งใดเขาจะถ่ายทอดสิ่งที่รับรู้ออกมาอย่างนั้นโดยไม่บิดเบือนแต่อย่างใด  ศิลปะเป็นคำที่มีความหมายกว้างขวางมากมาย  และมีคุณค่าอย่างมหาศาลของมนุษย์ ซึ่งศิลปินนำมาประยุกต์เอาศิลป์เป็นผลงานที่มนุษย์พบเห็นในชีวิตประจำวันล้วน ๆ  ทำให้มีคุณค่าขึ้นมาและประโยชน์แก่มนุษย์   ถึงแม้จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ในทางผลผลิต  แต่เพื่อเป็นอาหารด้านจิตในทางกายและอารมณ์  แต่คุณสมบัติที่สำคัญยิ่งคือความสวยงามที่ทำให้เกิดความรู้สึก ซาบซึ้งมีคุณค่าของความงาม   และมีคุณค่าทางสุนทรียะ   โดยนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางการดำรงชีวิตประจำวันได้  เพราะศิลปะเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ การสร้างและ การ แสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกภายในของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับความงามความพอใจของแต่ละคน บางคนอาจมีความชื่นชมในความงามแตกต่างกัน

 

[1] สรวิชญ์ วงษ์สอาส  

[2] เอกชัย  สุนทรพงศ์  และ  เสานิตย์  แสงวิเชียร.  ความงามสุนทรียศาสตร์สำหรับผู้ใฝ่รู้ .  พิมพ์ครั้งที่ ๑ สำนักพิมพ์โอเดียนสสโตร์,    กรุงเทพ ฯ :   ๒๕๒๙ .หน้า ๑ – ๒

[3]ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์ปรัชญาอังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ ๔. (กรุงเทพมหานคร : ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๔๘), หน้า ๔.

[4]  กีรติ   บุญเจือ,  ชุดปัญหาปรัชญา  ปรัชญาศิลปะ.  พิมพ์ครั้งที่  ๑. สำนักพิมพ์  ไทยวัฒนาพานิช. กรุงเทพ :   ๒๕๒๒ ,  หน้า   ๒๖๓ .

[5] จรูญ  โกมุทรัตนานนท์. สุนทรียศาสตร์ : ปัญหาเบื้องต้นในปรัชญาศิลปะและความงาม. (กรุงเทพมหานคร : โครงการส่งเสริมเอกสารวิชาการ มหาวิทยาลัยรังสิต, ๒๕๓๙), หน้า ๑๓-๑๖.

[6]   พระทักษิณคณาธฺกร.  ปรัชญา,  พิมพ์ครั้งที่ ๑ .   พิมพ์ที่  โรงพิมพ์  บริษัท   สหธรรมมิก  จำกัด    กรุงเทพ ฯ :  ๒๕๔๔.  หน้า  ๒๒๘.

[7]   เรื่องเดียวกัน  หน้า  ๒๒ – ๓๐.

 

[8]  อารี  สุทธีพันธ์.  ศิลปะนิยม.  (กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์กระดาษสา,  ๒๕๒๘),  หน้า  ๑๙.

[9]  ผัสสละ  คือ  ความรู้ที่ได้รับจากประสาทสัมผัส  มีตา หู จมูก กาย ใจ  เป็นต้น,  สิ่งที่รับรู้ได้ด้วยปรสารทสัมผัส.

[10]  ความจริงอันติมะคือความจริงสูงสุด

[11]  สุเชาวน์  พลอยชุม.  สุนทรียศษศตร์  ปัญหาและทฤษฎีเกี่ยวกับความงามละศิลปะ,  พิมครั้งที่  ๒  พิมพ์ที่  โรงพิมพ์มหามงกฏราชวิทยาลัย .  พ.ศ.  ๒๕๔๕ .  หน้า  ๑๓๒.

[12] เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๑.

[13]  เรื่องเดียวกัน,  หน้า  ๑๓๒.

[14]   เรื่องเดียวกัน, หน้า  ๓๓.

[15] จรูญ โกมุทรัตนานนท์, สุนทรียศาสตร์, ( นนทบุรี : เอส อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์, ๒๕๓๙ ) , หน้า ๒๕.

[16] รศ.ดร. สุจิตรา  อ่อนค้อม, ปรัชญาเบื้องต้น, ( กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักษราพิพัฒน์,๒๕๔๕),           หน้า ๑๔๑.

[17] เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๕.

[18] เรื่องเดียวกัน . หน้า ๘๒-๙๕.

[19] พ่วง  มีนอก. สุนทรียศาสตร์. (กรุงเทพมหานคร : ฝ่ายตำราและอุปกรณ์การศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง , ๒๕๓๐),  หน้า ๒๕๑.

[20]  เรื่องเดียวกัน. หน้า ๒๕๒.

[21]   ผศ.  บุญมี  แท่นแก้ว .  พุทธปรัชญาเถรวาท .  พิมพ์ครั้งที่ ๑ . กรุงเทพ ฯ : โอเดียนสโตร์ .  ๒๕๔๕ . หน้า  ๘๐ – ๘๑ .

[22]   พระทักษิณคณาธฺกร.  ปรัชญา,  พิมพ์ครั้งที่ ๑ .   พิมพ์ที่  โรงพิมพ์  บริษัท   สหธรรมมิก  จำกัด    กรุงเทพ ฯ :  ๒๕๔๔.  หน้า  ๒๒๘.

คำสำคัญ (Tags): #ความงาม
หมายเลขบันทึก: 566038เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2014 08:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2014 08:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท