ฉันก็เป็นเกษตรกรคนหนึ่ง ที่มีส่วนสังหารพวกเธอทางอ้อม


ผึ้งเหล่านี้ ถ้ากลับรังไม่ได้ มันก็ต้องตายนอกรัง และมันก็จะไม่สามารถนำน้ำหวานที่หาได้ กลับมารัง เพื่อเลี้ยงผึ้งตัวอ่อน รวมไปถึงเลี้ยงนางพญาผึ้งได้ แล้วที่สุดมันก็ตายหมู่ยกรังอยู่ดี...โหดกว่าเดิมอีก

ลำไย : ชุมชนคนสนใจเรื่องลำไย ถามตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

https://www.facebook.com/groups/www.longankipqew/

หรือ

http://www.gotoknow.org/dashboard/home/#/posts/545415/edit

สาวน้อยใจดี นู๋ยุ้ยแก้มตุ่ย

https://www.facebook.com/profile.php?id=100000397078840

  

สวัสดี..ค่ะ 

เนื้อหาดีๆ น่าสนใจ จาก กลุ่ม ลำไย กิ๊บ..กิ้วว... กับสาวน้อยใจดี

              วันนี้ตอบคำถาม คำถามหนึ่ง  ใช้เวลาในการอ่านค้นคว้า เรื่องสารเคมีกำจัดแมลง (ยา) ที่ไม่เป็นอันตรายต่อผึ้ง  หาเท่าไรก็ไม่พบ แต่กลับไปอ่านพบประเด็นสำคัญ ประเด็นหนึ่ง ที่เกษตรกรบ้านเรา ได้ปฏิบัติอยู่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชากรของ "ผึ้ง" โดยตรง

               อ่านจบแล้ว สงสารครอบครัวของ "ผึ้ง"..ค่ะ

 

คำถาม

รบกวน สอบถามผูรู้ เมื่อวานเย็นไปตรวจดูดอกลำไยที่แต่ละช่อบานแล้ว 70% พบเพลี้ยไฟ กำลังคิดอยู่ว่าจะพ่นยากำจัดดีไหม เพราะพายุฤดูร้อนอาจจะมาช่วงนี้
ถ้าหากตัดสินใจกำจัดใช้ยาตัวไหนไม่เป็นอันตรายต่อดอกลำไยและผึ้งบ้างคร้บ

 

  •  

    Chayan Narunchonลอง ตรวจดูหรือยังอย่าเดาเอากระดาษขาวไปรองใต้ดอกแล้วเขย่าถ้ามีเพลี้ยไฟจะร่วง บนกระดาษมีช่อเป็นสิบตัวค่อยคิดพ่นยาไม่อะไรรอดอกโรยก่อนค่อยพ่นเคมี

    6 เมษายน เวลา 14:21 น. · ถูกใจ · 2

     

  •  

    Phoenix Manขอบคุณครับ ตอนนี้ฝนตกหลายครั้งลองเอกระดาษขาวรองแล้ว พบมีเพลี้ยไฟช่อไม่ถึงสิบตัวครับ

    8 เมษายน เวลา 8:54 น. · ถูกใจ

     

     

     

    คำตอบ

     

  •  

    สาวน้อยใจดี นู๋ยุ้ยแก้มตุ่ย ยังไม่เคยเห็นรายงานวิจัย ว่ายากำกัดแมลงประเภทใด ที่ไม่เป็นพิษต่อผึ้งเลย..ค่ะ // ปัจจุบันสารเคมีกำจัดแมลงที่เกษตรกรไทย ถูกฝังความเชื่อให้นิยมใช้ป้องกันกำจัดแมลง จะเป็นยาที่อยู่ในกลุ่ม "นีโอนิโคตินอยด์" (Neonicotinoid) ซึ่ง ประกอบด้วย

         1. อะเซ็บทามิพริด (Acetamiprid)

         2. โคลไทอะนิดิน (clothianidin)

         3. ไดโนทีฟูราน (dinotefuran)

         4. อิมิดาคลอพริด (imidacloprid) และ

         5. ไธอะมีโทแซม (thiamethoxam)

     

              ผลจากรายงานการวิจัยตามรายงานของ สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศประจำสหภาพยุโรป, www.thaieurope.net, กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร, www.chemtrack.org, ESFA Journal 2013, Insititute of Food and Agricultural Science-University of Florida

     

    ThaiEurope.net - กรองยุโรปเพื่อไทย - หน้าหลัก

    www.thaieurope.net

    ข่าวและข้อมูลยุโรปสำหรับคนไทย

    21 นาที · ที่ถูกแก้ไข · ถูกใจ · เอาภาพตัวอย่างออก

     

  •  

    สาวน้อยใจดี นู๋ยุ้ยแก้มตุ่ย พบว่าสารในกลุ่มนี้มีเพียง อะเซ็บทามิพริด (Acetamiprid) ที่มีพิษต่อผึ้งในระดับปานกลางเท่านั้น นอกนั้นถือว่ามีพิษต่อผึ้งสูง //ซึ่งปัจจุบันนี้กำลังเป็นที่ถกเถียงกันในวงวิชาการในสหภาพยุโรป และอยู่ในระหว่างการฟ้องร้องให้บริษัทผู้ผลิตยายักษใหญ่ของโลก คือบริษัท............... ให้ยกเลิกการผลิต หรือใช้ยาในกลุ่ม "นีโอนิโคตินอยด์" (Neonicotinoid) เป็นส่วนผสมในการผลิต เนื่องจากทำให้ปริมาณของผึ้งในโลกลดลง..ค่ะ //

    13 นาที · ที่ถูกแก้ไข · ถูกใจ

     

  •  

    สาวน้อยใจดี นู๋ยุ้ยแก้มตุ่ย รายงานเขาบอกว่ายาดังกล่าวมันไม่ทำให้ผึ้งตาย เพียงแต่จะทำลายประสาท ทำให้มันบินกลับรังไม่ถูก (สรุปผึ้งเหล่านี้ ถ้ากลับรังไม่ได้ มันก็ต้องตายนอกรัง และมันก็จะไม่สามารถนำน้ำหวานที่หาได้ กลับมารัง เพื่อเลี้ยงผึ้งตัวอ่อนรวมไปถึงเลี้ยงนางพญาผึ้งได้ แล้วที่สุดมันก็ตายหมู่ยกรังอยู่ดี...โหดกว่าเดิมอีก) //แหล่งอ้างอิง : http://it.doa.go.th/pibai/pibai/n16/v_3-apr/ceaksong.html
    ฉีกซอง it.doa.go.th

                        เริ่มต้นเดือนเมษายนพร้อมกับอากาศร้อนอบอ้าวต่อเนื่องยาวนาน แล...ดูเพิ่มเติม

    20 นาที · ที่ถูกแก้ไข · ถูกใจ · เอาภาพตัวอย่างออก

     

  •  

    สาวน้อยใจดี นู๋ยุ้ยแก้มตุ่ย ลอง Copy ชื่อเคมีสามัญ ไปค้นหาชื่อทางการค้าของยากำจัดศัตรูพืชในบ้านเราดู โดยค้นหาใน Google ...ดูสิคะ // โอ้โห..! ยาที่เราๆ ท่านๆ ใช้กันอยู่ทั้งนั้นเลย (ไม่สามารถพิมพ์ชื่อยาได้..ค่ะ เดี๋ยวโดนฟ้อง) .....อ่านแล้ว สงสารผึ้ง

    15 นาที · ที่ถูกแก้ไข · ถูกใจ

     

     

              แล้วเกษตรกรอย่างฉัน จะทำอะไรๆ ให้ดีขึ้นได้บ้าง..ล่ะ

     

     

    สงสาร.....อ่ะ

หมายเลขบันทึก: 565887เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2014 00:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2014 16:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท