โรงเรียนในรพ.อำเภอ จะทำอย่างไรกันดี ให้ไม่เป็นภาระ


      โรงเรียนพ่อแม่เราเริ่มกันมาเมื่อปี 2547 ก็ครบ 10 ปีแล้ว แต่ในปีแรกเราเลือกทดลองทำในรพ.สต. 1 แห่ง/1 จังหวัด โดยทางศูนย์อนามัยที่ 8 มีงบประมาณติดกระเป๋านิดหน่อย  ก็เกิดผลลัพธ์ที่ดีในทุกแห่งเลย..แต่พอเหตุการณ์ผ่านไป มันก็แผ่วลงเรื่อยๆ ขาดความยั่งยืน เพราะงานถูกสร้างขึ้นมาใหม่แล้วไม่กลมกลืนไปกับงานประจำ  แถมอีกบทเรียนที่ได้คือ..น้องคนทำ ไม่มีทีมงานที่ช่วยทำงาน เมื่อมีการโยกย้าย งานก็สลายตามไปด้วย

      แต่จากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เราจัดขึ้นก็สร้างกระแสได้ระดับหนึ่ง ให้โรงพยายาลชุมชน นำไปเผยแพร่และทดลอง  แต่ทุกอย่างก็ไม่ง่าย..เพราะกลับกลายเป็นการเพิ่มภาระงาน งานโรงเรียนพ่อแม่น่หนึ่ง งานสอนสุขศึกษาอย่างหนึ่ง  การนิเทศงานเลยตามชี้แจงกันใหม่  แถมยังเข้าใจกันว่าโรงเยนพ่อแม่ต้องมีทั้งพ่อทั้งแม่เข้า บางแห่งเข้าใจว่าพ่อแม่ต้องเข้าร่วมกิจกรรมได้ยาวตั้งแต่เมื่อตั้งครรภ์ หลังคลอด จนถึงเมื่อลูกอายุ 5 ปี ก็หาผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่ได้

พอดีมีโครงการสายใยรัก ทำให้ปรับรูปแบบการนิเทศ เข้าไปในทีมเดียวกัน มีการนำเกณฑ์โรงเรียนพ่อแม่ใส่เข้าไปในเกณฑ์การประเมินโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว  

       เกณฑ์เขียนมาอย่างไร ก็ต้องบอกว่าทุกโรงพยาบาลทำได้ แต่ทำไปเพื่อให้ผ่านเท่านั้นเอง  ไม่ได้เอาไปพัฒนาการสอน  แล้วสิ่งที่เราต้องการเป้าหมายสูงสุด คือ เด็กมีพัฒนาการที่ดี ก็คงไม่ได้แล้วล่ะ 

      ในฐานะพี่เลี้ยง ก็เลยพยายามมองหาว่าจะช่วยอะไรได้บ้าง

- สื่อ  เพราะหลายรพ.มีสื่อ แต่ไม่ไม่น่าสนใจ ผู้รับบรการไม่อ่าน

สื่อสำหรับเจ้าหน้าที่ 

สื่อสำหรับแจกผู้รับบริการ

- ปรับความเข้าใจเรื่องเกณฑ์ว่า จะนำมาพัฒนางานอย่างไร ไม่ใช่ทำเพื่อประเทินให้ผ่าน แล้วเป็นเศษกระดาษ จบ

- หลังการนิเทศแต่ละครั้งจะสรุปผลส่งไปให้เพื่อพัฒนาเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ผู้บริหารรับทราบ

- มีข่องทางให้น้องๆ ติดต่อผ่านทางfacebook  ทางe-mail และมีโทรศัพท์ให้ติดต่อได้

- ในส่วนของการประเมินผลการสอน ให้ใช้การสุ่มประเมินการปฏิบัติตัวผู้รับบริการเดือนล่ะ ปี 10 คนก็เยอะแล้ว แต่หลังคลอดก็ใช้ D/C plan ประเมินผลแล้วส่งข้อมูลต่องานเยี่ยมบ้านได้ จะได้ไม่ต้องเยี่ยมมากนัก เลือกเยี่ยมในรายที่เสี่ยงก่อนได้

  ก็คงเป็นประโยชน์กับคนทำงาน ให้มีคุณภาพ กส่าการทำงานแล้วตอบว่ามีผู้รับบริการกี่คนต่อเดือน

หมายเลขบันทึก: 565441เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2014 17:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2014 19:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ยังแก้ไขคำผิดไม่ได้ค่ะ ถ้าเจอคำเพี๊ยนๆ ก็ขออภัยด้วยค่ะ

สุดยอดแล้วทุกมิติครับ

ทำห้องเรียน ก่อนคลอด หลังคลอด คลินิกเด็กสุขภาพดี

สร้างมาตรฐาน อบรม สนับสนุนวิชาการ สื่อ นิเทศติดตาม ให้กำลังใจ ตรวจประเมิน มอบประกาศนียบัตร

ยาวนานเป็นทศวรรษ

ไม่มีใครทำตามได้ทันครับ

.

แต่ที่ผู้เขียนยังไม่พอใจคือ ความยั่งยืน การเป็นภาระให้น้องๆ การตอบรับของผู้รับผลงาน

รวมทั้งไม่มั่นใจในผลลัพธ์ ผลกระทบ ที่อยากให้เกิด

ขาดอะไร?

เป็นเรื่องท้าทายให้ช่วยกันหาคำตอบ

สู้ สู้ เป็นกำลังใจให้นะครับ

ในแต่ละรพ.ที่พบคือสอน แต่ยังไม่ค่อยได้ประเมินผลว่า สิ่งที่สอนนั้น ผู้รับเอาไปทำแค่ไหน แล้วเอามาพัฒนาการสอนให้ผู้เรียนรับรู้ได้มากขึ้นอย่างไร แต่ก็ผ่านเกณฑ์สายใยรักได้ แล้วเรื่องนี้เลยเป็นแค่แง่คิดต่อผู้ปฏิบัติงานเท่านั้นเองค่ะ

มาให้กำลังใจคนหน้างานเหมือนกันค่ะ เมื่อสองปีที่แล้วได้ทำกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่วัยทีน โดยปรับกิจกรรมตามบริบทผู้เรียน หลังจากนั้นก็ตามจนหลังคลอด แล้วนำมาถอดบทเรียนการเรียนรู้รายคนค่ะ ได้ผลชัดเจนมากเพราะแม่วัยรุ่นมีข้อสงสัยมากแต่ไม่กล้าถามเงลามาฝากครรภ์ การได้เจอกลุ่มคล้ายคลึงกันก็ช่วยให้ได้เพื่อนร่วมเรียนรู้ นำต่อยอดเป็นงานวิจัยได้อีกชิ้นนึงค่ะ

ผมจดหมายเรียนเชิญ ศ.คลินิกพญ.วินัดดา ปิยศิลป์

รองประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

อุปนายกสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

และประธานชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย

เพื่อเข้ามาอ่านบทความนี้ อาจารย์กรุณาให้ความเห็นไว้ดังนี้

.

"โรงเรียนพ่อแม่ ถ้าจะเกิดขึ้นแบบยั่งยืนในระบบสาธารณสุข

จะต้องเข้าไปเป็นตัวชี้วัดคุณภาพตามนโยบายและแผน ในทุกระดับ

แรกเริ่มกรมสุขภาพจิตทำก่อน แล้วหยุดไป

กรมอนามัยเอากลับขึ้นมาทำ แต่ตอนหลังแต่ละกรมก็ทำหลายเรื่อง เรื่องนี้เลยสาปสูญไปในที่สุด"

.

ขอบพระคุณอาจารย์วินัดดา เป็นอย่างสูงครับ

ล่าสุดเครือข่ายบริการสุขภาพที่ 3 ได้ประชุมเมื่อ 7-9 เมษายน ที่ผ่านมา ได้พูดถึงงานโรงเรียนพ่อแม่เพื่อนำไปสู่การส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ตั้งแต่ในครรภ์ ที่อยากให้เข้มข้นใน ANC และในเด็ก 0-5 ปี ก็เน้น กิน กอด เล่น เล่า ซึ่งก็คงเป็นเรื่องดีที่ทำให้ทุกคนหันมาให้ความสำคัญกับการให้ความรู้กับผู้รับบริการค่ะ ...อนาคตเด็กไทยเราคงเก่ง ดี และมีความสุข

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท