ปัญหาสิทธิมนุษยชนของผู้ลี้ภัย/คนหนีภัยความตาย


  สถานการณ์สงครามในประเทศซีเรียนั้น แต่เดิมเกิดจากการประท้วงเพียงเพื่อให้รัฐบาลปฏิรูปทางการเมืองเท่านั้น แต่รัฐบาลภายใต้การนำของ บัชชาร อะสัด กลับใช้กำลังทางทหารและการปรามปรามด้วยวิธีรุนแรง แต่แทนที่ประชาชนจะกลัวกลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม ประชาชนกลับออกมาประท้วงรัฐบาลมากยิ่งขึ้น รัฐบาลจึงเพิ่มความรุนแรงในการปราบปรามเข้าไปอีก โดยถึงขั้นลงมือฆ่าผู้ประท้วง จนทำให้ทหารที่ม่เห็นด้วยกลับข้างมาอยู่กับประชาชน และติดอาวุธให้กับประชาชนในการต่อสู้กับทหารของฝ่ายรัฐบาล

  แต่จากการศึกษาได้พบว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นมิใช่เกิดแต่เหตุผลทางการเมืองเท่านั้น เพราะจากข้อมูลที่ศึกษาทำให้พบว่าประเทศซีเรียนั้นเป็นประเทศที่คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามซึ่งแบ่งออกเป็นสองนิกาย คือ นิกายชีอะ และ นิกายสุหนี ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศจะนับถือนิกายสุหนี แต่ฝ่ายรัฐบาลนั้นนับถือนิกายชีอะ ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบันนอกจากกองกำลังฝ่ายรัฐบาลจะเป็นทหารที่สนับสนุนน นายบัชชาร อะสัดแล้ว ยังพบว่าได้มีการจ้างชาวบ้านในหม่บ้านที่นับถือนิกายซีอะ ให้มาร่วมปรามปราบประชาชน โดยมีการมอบอาวุธให้และให้พวกเขามีอำนาจเหนือกฎหมาย(ใช้ความรุนแรงได้อย่างเต็มรูปแบบ) ซึ่งรู้จักกันในชื่อ ชับบีฮะฮฺ อันกลายเป็นกองกำลังหลักในการปรามปราบประชาชนควบคู่กับพวกทหาร

  ซึ่งแต่เดิมนั้นสงครามที่เกิดขึ้นเป็นแต่เพียงสงครามกลางเมืองในประเทศซีเรียเท่านั้น(สงครามกลางเมือง คือ สงครามที่เกิดขึ้นภายในประเทศโดยไม่มีประเทศอื่นเข้ามาข้องเกี่ยว)แต่ทว่าต่อมา เมื่อ สหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น ต้องการที่จะเข้าไปกู้วิกฤติที่เกิดขึ้นภายในประเทศซีเรีย ประเทศรัสเซียและประเทศจีนกลับทำการโต้แย้ง(veto) ทุกครั้งที่มีการเสนอมาตรการดังกล่าวต่อที่ประชุม เพราะเบื้องหลังแล้ว สองประเทศดังกล่าวได้ให้ความสนับสนุนทางด้านอาวุธให้กับทางฝ่ายรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง และยังมีการพบว่า กลุ่มชีอะในประเทศเลบานอน อิรัก และพวกชีอะในดินแดนตะวันออกกลาง ได้ส่งกองกำลังเข้ามาทำการรบ และสับสนุนทางด้านอาวุธ ให้กับฝ่ายของรัฐบาล เพื่อให้นายบัชชาร อะสัด ผู้รักษาประโยช์นของนิกายชีอะในประเทศซีเรียอยู่ในอำนาจต่อไป ดังนั้นสงครามที่เกิดขึ้นในประเทศซีเรียจึ่งมิใช่สงครามกลางเหมือนเหมือนเดิมอีกต่อไป

  จากสงครามที่เกิดขึ้นในประเทศซีเรียทำให้สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนในซีเรียเป็นไปด้วยความลำบากมีการใช้ความรุนแรงทุกประเภทกับผู้ประท้วง ทั้งการฆ่า ทำร้าย ทรมาน รวมไปทั้งการข่มขืนผู้หญิง ซึ่งเห็นได้ชัดว่าการกระทำดังกล่าวเหล่านั้นล้วนแล้วแต่เป็นการละเมิดสิทธิและศักดิ์ศรีในความประมนุษย์ของประชาชนชาวซีเรียทั้งสิ้น เพราะโดยหลักแล้วการเห็นต่างทางการเมือง ซึ่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนข้อ 20 หลักว่า

(1) ทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งการชุมนุมและการสมาคมโดยสันติ เนื่องจากประชาชนซีเรียไม่พอใจกับการปกครองประเทศของรัฐบาลทหารซึ่งเป็นการปกครองแบบเผด็จการ อำนาจในการปกครองประเทศอยู่ในมือของตระกูลเดียวเป็นเวลายาวนาน เมื่อชาวซีเรียมีความคิดที่แตกต่างจากรัฐบาลซึ่งพวกเขาก็มีอิสระในการสมาคมตาม

(2) บุคคลใดไม่อาจถูกบังคับให้สังกัดสมาคมหนึ่งได้ ดังนั้นชาวซีเรียจึงมีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะแสดงออกว่าไม่เห็นด้วยกับการปกครองในรูปแบบนี้ ผ่านการชุมนุมโดยสงบ ซึ่งการกระทำของประชาชนในการเห็นต่างทางการเมืองนั้นหาเป็นเหตุผลให้รัฐบาลสามารถใช้ความรุนแรงกลับประชาชนของตนได้ อีกทั้งเรื่องของศักดิ์ความเป็นมนุษย์ซึ่งมนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์การกระทำต่างๆที่เป็นการล่วงละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ย่อมเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้นการกระทำของฝ่ายรัฐบาล นายบัชชาร อะสัด จึงถือเป็นการกระทำอันละเมิดต่อหลักสิทธิมนุษยชน

ผู้ลี้ภัย และ ผู้หนีภัยความตาย

  ผู้ลี้ภัย อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย พ.ศ. 2494 ให้คำนิยาม และความหมายของสถานภาพผู้ลี้ภัยว่า “ผู้ลี้ภัย หมายถึง  บุคคลที่จำเป็นต้องทิ้งประเทศบ้านเกิดของตนเอง เนื่องจากความหวาดกลัวการถูกประหัตประหารหรือได้รับการคุกคามต่อชีวิตเนื่องจากสาเหตุข้อหนึ่งข้อใด เช่น เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติสมาชิกภาพในกลุ่มทางสังคม สมาชิกภาพในกลุ่มความคิดทางการเมือง(ที่มา: https://www.unhcr.or.th/th/refugee/about_refugee)

  ซึ่งประเทศไทยไม่ได้เข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย พ.ศ. 2494 ดังนั้นประเทศไทยจึงเรียกบุคคลที่หลบหนีภัยเหล่านั้นมายังประเทศไทยว่า “ผู้ลี้ภัยสงคราม”

  แม้ไทยจะไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญาฉบับนี้ก็ตาม แต่ไทยจะผลักดันให้ผู้หนีภัยจากการสู้รบออกจากประเทศในทันทีไม่ได้ ตามหลักสิทธิมนุษยชน มนุษย์ย่อมมี "สิทธิการมีชีวิต" การลี้ภัยเป็นไปตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หรือ UDHR ข้อ 3 ที่ระบุว่า "บุคคลมีสิทธิในการดำรงชีวิต ในเสรีธรรมและในความมั่นคงแห่งร่างกาย อีกทั้งรัฐบาลไทยยอมรับที่จะผูกพันตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ.1966 หรือ ICCPR ซึ่งข้อ 6 (1) แห่งกติกาฯนี้ก็กำหนดในลักษณะเดียวกันว่า "มนุษย์ทุกคนย่อมมีสิทธิโดยธรรมชาติในการดำรงชีวิต สิทธินี้ย่อมได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ไม่มีบุคคลใดสามารถล่วงชีวิตของใครได้ ดังนั้นการผลักดันคนหนีภัยความตายออกไปสู่ความตายจึงมิอาจทำได้ เนื่องจากจะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และนำไปสู่การละเมิดสนธิสัญญาทั้ง 2 ฉบับข้างต้น ซึ่งจะทำให้ความน่าเชื่อถือในด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยนั้นลดลงไปอย่างมาก 

  ซึ่งสำหรับข้าพเจ้าแล้วประเทศไทยนั้นควรที่จะให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาดังกล่าว เพื่อเปิดให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่สาม หรือ ประเทศที่สามารถรับผู้ลี้ภัยเป็นคนสัญชาติของตนได้ อย่างที่เหล่าประเทศที่สามที่มีอยู่ในปัจจุบันทำกัน เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส แคนนาดา สวีเดน เป็นต้น เพื่อที่จะมีโอกาสในการคัดผู้ที่มีความสามารถทางด้านต่างๆ เข้ามาเพิ่มจำนวนผู้เชี่ยวชาญทางด้านนั้นๆให้แก่ประเทศไทย แทนที่จะปล่อยให้พวกเขาเหล่านั้นเป็นเพียงผู้หนีภัยความตายที่ไม่สามารถที่จะทำงาน หรือประกอบกิจการ ใดๆได้ตามความรู้ความสามารถที่เขามีอยู่ อันจะกลายเป็นการปล่อยความสามารถของบุคคลเหล่านั้นให้สูญเปล่าไปเสีย

1)ความเป็นมาของสถานการณ์สงครามในซีเรียโดยสรุป,สืบค้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2557, http://www.thai4syria.com/content/257

 2)ผู้ลี้ภัยคือใคร,สืบค้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2557, https://www.unhcr.or.th/th/refugee/about_refugee

3)อนุสัญญาว่าด้วยสถานะภาพของผู้ลี้ภัย,สืบค้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2557, https://www.unhcr.or.th/th/refugee/convention

 

 

หมายเลขบันทึก: 565440เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2014 16:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2014 13:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท