นักศึกษาระดับบัณฑิตวิทยาลัยกับ"กำไร"จากการเขียนบทความวิชาการ


            การเรียนระดับบัณฑิตวิทยาลัยคงไม่พ้นที่จะต้องได้รับการมอบหมายงานให้เขียนบทความ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาการค้นคว้า  การคิดเชิงมโนทัศน์ การคิดเชิงวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์  การเขียนและการนำเสนอ แม้ว่าหลายคนที่เรียนอาจจะรู้สึกว่างานดังกล่าวเป็นสิ่งที่ยากและลำบาก เหมือนดั่งข้าพเจ้า แต่เมื่อพิจารณาให้ดีเราจะพบว่า มีกำไรจากการได้เขียนบทความ กำไรในที่นี้มิได้หมายถึงเพียงมีชื่อติดในบทความและลงตีพิมพ์ในวารสารเพื่อให้ตนเองเป็นที่รู้จักเท่านั้น แต่ยังหมายถึง....

           1. การพัฒนาทักษะ

               ทักษะเที่ได้รับการพัฒนาเริ่มตั้งแต่การค้นคว้า ซึ่งได้มีนัยยะแฝงในการพัฒนาทักษะทางการอ่านอย่างรวดเร็วและการสกัดประเด็นสำคัญ รวมทั้งได้พัฒนาทักษะในการอ่านภาษาอังกฤษ ไม่เพียงการอ่านเท่านั้น แต่ได้พัฒนาทักษะในการคิดเชิงมโนทัศน์เชื่อมโยงแนวคิดว่าแนวคิดดังกล่าวเกี่ยวโยงกับสิ่งใด การคิดเชิงวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ตัวแปรต่าง ๆ และนำไปสู่การคิดเชิงสังเคระห์ที่ทำให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ นวัตกรรมทางความคิดใหม่ ดังนั้น ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับอาจรย์หลายท่านที่กล่าวว่าการศึกษาในระดับบัณฑิต "มันคือกระบวนการ" เป็นกระบวนการศึกษาที่ทำให้เกิดทักษะต่าง ๆ เพื่อผลิตนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญต่อไปในอนาคต

           2. การกล้าที่จะท้าทายนำเสนอความคิด

               การเขียนบทความสุดท้ายจะมีการนำเสนอสิ่งที่ผู้เขียนได้เสนอความคิด ถือเป็นสิ่งที่ท้าทาย เป็นความกล้าหาญที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้องต่อการสร้างองค์ความรู้ทางวิชาการ ที่จะกล้าในการเสนอแนวทางใหม่ หรือการวิพากษ์ หรือสิ่งที่ควรจะเป็น ควรจะเกิดขึ้นกับสังคม นั่นคือสิ่งที่นักวิชาการควรกระทำ ดังนั้น การเขียนบทความจึงเสมือนว่าดุษฎีบัณฑิตกำลังคืนสิ่งที่ได้ไปศึกษาหาความรู้กลับคืนสู่สังคม ดุษฎีบัณฑิตหลายท่านได้ไปหาข้อมูลไม่ว่าจะเป็นสัมภาษณ์ หรือเก็บแบบสอบถาม ซึ่งหลายครั้งข้อมูลดังกล่าวอาจจะได้มาฟรี ๆ ดังนั้นการเขียนบทความเผยแพร่จึงเป็นหนทางหนึ่งในการคืนองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นให้กับสังคม

           3. การได้รับการวิพากษ์

               การเขียนบทความและส่งตีพิมพ์อย่างน้อยที่สุดจะมีผู้ทรงคุณวุฒิที่เรียกกันว่า peer review ช่วยเราในการแนะนำ วิพากษ์ ปรับปรุงบทความถือว่านั่นเป็นกำไรอีกต่อที่กำลังฝึกฝนเราให้พัฒนา เปรียบเสมือนมีพี่เลี้ยงที่ดีคอยแนะนำสั่งสอน ทำให้ครั้งต่อไปเราจะพัฒนาทักษะได้ดีขึ้น

            ดังนั้น จึงเป็นกำไรอย่างมากที่จะเขียนบทความวิชาการเพื่อนำเสนอ ทำให้ทักษะต่าง ๆ จะเพิ่มพูนขึ้น ฝึกฝนเราให้เป็นนักวิชาการที่ดีในอนาคต  และเกิดผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม  ข้าพเจ้าเองก็เป็นมือใหม่หัดเขียนบทความวิชาการ  แต่ก็ตั้งใจที่จะพัฒนาทักษะนี้ เพื่อจะได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดแม้จะเป็นความคิดเล็ก ๆ ในสังคมนี้บ้าง

หมายเลขบันทึก: 565312เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2014 15:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2014 15:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณที่ชี้ให้เห็นถึงกำไรที่แฝงไว้ในความพยายามครับ

ตามมาอ่านงานเขียน

การเขียนบ่อยๆ

ได้ฝึกทักษะกระบวนการคิดด้วยครับ

เอามาฝากด้วย

การวิจัยในชั้นเรียน : ทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจ ในวารสารวิชาการปีที่ 3 ฉบับที่ 11 พฤศจิกายน 2543 ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ

2. บทความทางวิชาการเรื่อง ยาบ้าในโรงเรียน : ปัญหาที่ต้องรีบแก้ไข ในวารสารวิชาการปีที่ 4 ฉบับที่ 12 ธันวาคม 2544 ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ เอกสารในวารสารวิชาการ

3. บทความในวารสาร สานปฏิรูป เรื่อง " แรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษ"ฉบับเดือนกรกฎาคม 2546

4. บทความทางวิชาการเรื่อง "กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน" วารสารวิชาการปีที่ 6 ฉบับที่ 8 สิงหาคม 2546

5. บทความทางวิชาการเรื่อง "สอนภาษาอังกฤษให้สนุก : ด้วยกิจกรรม English Camp" วารสารวิชาการปีที่ 6 ฉบับที่ 9 กันยายน 2546

ฝึกเขียนบล็อก จะทำให้เกิดทักษะอย่างคาดไม่ถึง ;)...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท