วิธีคิดและกระบวนการคิด


การที่คนเรามีความเห็นแตกต่างกัน มันไม่ใช่ความผิดของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นเพราะ แต่คนละคนใช้ตำแหน่งสำหรับยืนมอง สิ่งเดียวกันคนละตำแหน่ง และใช้แว่น (วิธีคิดและกระบวนการคิด) ในการมองที่แตกต่างกัน ทำให้เราเห็นไม่เหมือนกัน ตราบใดที่เรามองโดยใช้แว่นอันเดียวมองทั้งโลก(ไม่ว่าจะสายตาสั้นสายตายาว) และเราคิดว่ามุมที่ดีที่สุดท้้งโลกที่มองคือ มุมที่เรายืนอยู่ แน่นอนมันจะเห็นต่างกับคนอื่น และที่สำคัญจะสรุปว่าคนอื่นไม่ถูกต้อง มันจะเกิดความขัดแย้งกันในที่สุด และถ้าเราไม่สามารถเข้าไปนั่งในหัวอกของคนอื่นได้ โลกนี้ก็จะไม่มีสันติภาพอย่างแน่นอน

การทำความเข้าใจกับแว่นที่มอง (วิธีคิดและกระบวนการคิด) และตำแหน่งที่ยืนมอง ทั้งของคนอื่น และของตัวเอง ถ้าเราให้เวลากับมัน เราอาจจะเข้าใจได้ แต่บอกก่อนนะ ว่ามันจะไม่ง่ายเลย เพราะเราบ่มเพาะวิธีคิดของเรามาทั้งชีวิต เราต้องฝึกยกตัวเองออกมาเหนือปัญหา แล้วมองจากที่สูง ฝึกเปลี่ยนตำแหน่งที่ยืนมอง ไม่ใช่ยืนอยู่ตำแหน่งเดิม แต่หันไปมองรอบตัว 360 องศา ฝึกไปยืนที่คนอื่นยืน พร้อมกับใส่แว่นที่คนอื่นเค้าใช้

ถ้าตราบใดที่เราทำตัวเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา เราจะมองปัญหาไม่เห็นเลย มองอย่างเปิดใจ รับฟังทุกฝ่าย แล้วจะรู้ว่าการเข้าใจคนอื่นมันเป็นอย่างไร และมันสร้างสันติภาพ และความสุขขนาดไหน

ถ้าเราจะมองว่าปัญหาของคนส่วนใหญ่ ตอนนี้มันอยู่ที่วิธีคิด และตรรกะในการคิด เพราะตรรกะการคิด จริงๆ มันมี 2 แบบ คือ ตรรกะจริง และตรรกะเทียม ตรรกะจริง คือตรรกะที่เป็นจริงตามทฤษฎี มีกฏ หลักวิชาการรองรับ เช่น กฏทางคณิตศาสตร์ พวกนักวิทยาศาสตร์อย่างเราถนัดมาก ในการใช้ตรรกะนี้ แต่ตรรกะเทียม คือตรรกะ ที่มี Norm หรือบรรทัดฐานทางสังคม และ perception เข้ามามีส่วนร่วม หรือนำเอากระแสหลัก เข้ามามีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งของตรรกะ ส่วนใหญ่นักสังคมวิทยา จะใช้ตรรกะนี้ แล้วถ้านักวิทยาศาสตร์อย่างพวกเราเข้าใจว่าตรรกะนี้คือตรรกะจริง นี่แหละคือปัญหา

แล้วเราจะทำอย่างไรล่ะ ที่จะให้รู้ว่าตรรกะที่เราใช้เป็น ตรรกะจริง หรือตรรกะเทียม เราต้องแยกให้ออกว่า สิ่งที่เรานำมาพิจารณา หรือใช้เป็นตรรกะนั้น อะไรคือ norm อะไรคือ perception และอะไรคือกระแสหลัก ถ้าเราแยกออกนะ เราก็สามารถใช้หลักคิดของเราพิจารณาสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง และที่สำคัญ เราจะสามารถเข้าใจคนอื่นได้เป็นอย่างดี

ตรรกะ ทางปรัชญา ศาสนา มนุษยวิทยา สังคมวิทยา มันจะมี Norm ความเชื่อ และ perception รวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของตรรกะด้วย ตรรกะเทียม หรือตรรกะแบบนามธรรม อันเดียวกัน และเราต้องยอมรับความจริงว่าการปฏิสัมพันธ์ใน สังคมมนุษย์ มีความซับซ้อนเกินกว่าที่จะใช้ตรรกะทางวิทยาศาสตร์ ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งต้องใช้ตรรกะทางสังคม มานุษยวิทยา ซึ่งมีส่วนที่เป็นนามธรรมอยู่มาก และสิ่งที่ต้องตระหนักก็คือมีตัวแปรมาเกี่ยวข้องมากมาย เพราะตัวแปรเป็นมนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ซึ่งส่วนใหญ่ไม่สามารถวัดได้ในเชิงปริมาณ เมื่อนำ input เหล่านี้ เข้าสู่กระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ของผู้ที่มีฐานคิดที่ไม่เหมือนกัน จึงให้คำตอบที่หลากหลาย (เซตของคำตอบ) และไม่สามารถมีคำตอบเดียว ดังนั้นใครใช้ตรรกะทางสังคม แล้วอ้างว่ามีคำตอบเดียว แสดงว่าผู้นั้นไม่เข้าใจตรรกะทางด้านสังคม มานุษยวิทยา เท่าที่ควร และการยอมรับความหลากหลายของคำตอบนี้เอง คือความสวยงามของศาสตร์ทางด้านสังคม และมานุษยวิทยา

หมายเลขบันทึก: 564430เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2014 14:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2015 09:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท