เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันที่เหมาะสม ของกลุ่มชาติพันธุ์เมี้ยน ประเทศไทยและสปป.ลาว


ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

               จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมหลังการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสารในระยะหลายปีที่ผ่านมาเริ่มปรากฏสัญญาณบ่งชี้หลายอย่างที่เกิดขึ้นในสังคมยุคปัจจุบัน ที่ปรากฏและเห็นได้ชัดเจนที่สุดคือการเปลี่ยนแปลงของสังคมเข้าสู่ยุคการสื่อสารข้อมูลทั้ง ข้อความ , ภาพนิ่ง , คลิ๊ปเสียง ,วีดีโอ และอื่นๆ ที่รวดเร็วภายในเพียงระยะเวลาสั้นๆ ข้อมูลต่างๆก็สามารถกระจาย สื่อสารไปอย่างรวดเร็วทั่วโลกทำให้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารไปอย่างกว้างขวางในในทั่วทุกมุมโลก ในส่วนของประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เป็นไปตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงทำให้เกิด ระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ การประกอบอาชีพและการผลิตที่ได้แตกต่างไปจากยุคเดิม ระยะทางปรับเปลี่ยนจากระยะไกลกว้าง สู่แคบสั้น วัฒนธรรมความเป็นอยู่ เศรษฐกิจ , สังคม และการเมืองของประชาชนในสังคมโลกสามารถแลกเปลี่ยนซึมซับกันได้ในช่วงระยะสั้น การสื่อสารจะเข้ามาทำให้เส้นแบ่งระหว่างชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงานไม่ชัดเจนรวมถึงจะขยายให้เกิดการแบ่งแยกบุคลากรซึ่งสามารถทำงานที่ใดก็ได้ความรู้ในเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร กลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อระบบเศรษฐกิจโลกเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตที่รวดเร็ว อุปกรณ์ดิจิตอลที่มีราคาถูกและให้ความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร การประสานงาน การจัดงานต่างๆ รวมถึงการผลิต รวมทั้งสถานที่ทำงานนั้นไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะต้องทำงานได้เฉพาะที่ทำงานเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป เหตุของการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เศรฐกิจ การเมือง ที่ซับซ้อนจากการเข้ามาของเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารจึงกลายเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญ และมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคมโลก ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลต่างๆระหว่างกัน การเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสาร การเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งต่างๆ ทำให้เกิดความได้เปรียบและเสียเปรียบของผู้ใช้กับไม่ใช้ ส่งผลให้เกิดช่องว่างทางเทคโนโลยี และการสื่อสารของคนที่มีโอกาสกับผู้ด้อยโอกาส ปัจจุบันปริมาณการใช้และการสร้างข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก การใช้งานเทคโนโลยีมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีอัตราการเติบโตของจำนวนข้อมูลที่สูงมาก ทั้งนี้เพราะการสร้างข้อมูลข่าวสาร ได้เปลี่ยนรูปไปมาก โดยเฉพาะหลังจากที่มีการพัฒนาเว็บที่ผู้ใช้สามารถส่งผ่านข้อมูลโต้ตอบได้ทันที จนทำให้รูปแบบของสื่อสารมวลชนเปลี่ยนก้าวเข้าสู่ สื่อใหม่ (New media) หรือ สื่อสังคม (Social media) สื่อที่ทุกคนเป็นผู้ให้ข่าวสาร และรับฟังข่าวสารในเวลาเดียวกัน มีผู้คนนำ คลิบวิดีโอต่างๆ กระจายผ่านเครือข่ายเทคโทโนโลยีสารสนเทศต่อวันเป็นจำนวนมาก จากสภาพการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารในปัจจุบัน ดังกล่าว มีการใช้ในรูปแบบไม่สร้างสรรค์ ใช้เพื่อการบันเทิง ใช้เพื่อการแสดงออกแบบไร้ขอบเขต หรือสื่อสารในเรื่องที่ไม่มีประโยชน์ ขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อแสวงหาความรู้ และใช้อย่างสร้างสรรค์ จึงทำให้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ กล่าวคือทำให้มนุษย์ในสังคมปัจจุบันไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ก่อให้เกิดความไม่เข้าใจระหว่างคนในสังคม คนในชุมชน หรือระหว่างคนในครอบครัว มีการใช้เทคโนโลยี และการสื่อสารตลอดเวลาตั้งแต่ตื่นนอน ทานอาหาร ทำงาน ไปจนถึงเวลานอน เป็นการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมส่วนรวม ลักษณะคล้ายกับอาการ “สำลักเทคโนโลยี” คือการใช้เทคโนโลยีมากจนเกินไป 

            หลังจาก Alvin Toffler (1980) ได้เสนอแนะคลื่นลูกที่สามซึ่งเป็นผลพวงมาจากเทคโนโลยีที่ทันสมัย  คลื่นลูกที่หนึ่ง คือการปฏิวัติอุตสาหกรรม  (The Agricultural Renovation)  เครื่องชี้วัดของสังคมเกษตรกรรม  คือการมีอาณาเขตพื้นที่สำหรับเพราะปลูกและเลี้ยงสัตว์  พื้นที่ทำการเกษตรจำนวนมาก  คลื่นลูกที่สองคือการปฏิวัติอุตสาหกรรม  มีการใช้เครื่องจักรกล มีโรงงานขนาดใหญ่ ผลิตสินค้าจำนวนมาก  มีเครื่องชี้วัดความมั่นคง  อุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ  แหล่งแร่ธาตุวัตถุดิบ และสู่แหล่งทุนจำนวนมาก  คลื่นลูกที่สามคืกการปฏิวัติข้อมูลข่าวสาร (The information Revolution) เป็นยุคก้าวหน้าและการพัฒนาเทคโนโลยีที่รวดเร็ว  มีการพัฒนาความสามารถของคอมพิวเตอร์สื่อสารโทรคมนาคม เคเบิล การสื่อสารด้วยดาวเทียมการเชื่อมโยงเครือข่ายการสื่อสารทางสาย (Online Information Service)  การพัฒนาและการขยายตัวของคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีและการสื่อสาร  การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) คู่มือและตำราการสื่อสารการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ข้อมูลต่างๆข่าวสารทางสาย เครื่องพิมพ์ดีที่ทันสมัย (Word Processor ) ทำให้สร้างสถานที่ในการทำงาน  มีการสร้างห้องสำหรับการทำงานที่ทันสมัย ( New office Technologies ) การขยายตัวรวดเร็ว  มีความสามารถในการใช้งานเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันราคาการให้บริการมีราคาถูกลง  ผลของการพัฒนานี้ทำให้มีการประยุกต์การใช้งานกันอย่างกว้างขวาง  จนกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับมนุษย์ทุกคนไม่ทางตรงก็ทางอ้อม  จนแทบกล่าวได้ว่าบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันเพราะเครื่องมือเครื่องใช้ในการอำนวยความสะดวกต่างๆ ล้วนแล้วแต่มีส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารอยู่ด้วยเสมอ

            ปัจจุบันคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารได้สร้างประโยชน์อย่างมากต่อวงการธุรกิจ  ทำให้ทุกธุรกิจมีการขยายการลุงทุนขอบเขในการให้บริการโดยใช้ระบบสาระสนเทศกันมากขึ้นกลไกเหล่านี้ทำให้โอกาสในการขยายตัวเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้นตามไปด้วย  นอกจากนี้การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้สังคมสังคมโลกเป็นสังคมแบบไร้พรมแดนการใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ เช่นอินเตอร์เน็ตมีอัตราการขยายตัวสูงมาก จนกล่าวได้ว่าเป็นอตราการขยายตัวแบบทวีคูณ และเชื่อแน่ว่าในระยะเวลาในอีกไม่นาน ผู้คนบนโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้หมด

            การขยายตัวอย่างรวดเร็วของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสาร อินเตอร์เน็ตเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดสังคมใหม่ การไหลของข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว การเชื่อมต่อกันเหมือนทางด่วน (Super Highway) ทำให้ระบบเศรษฐกิจ การศึกษา สังคม กรเมือง สิ่งแวดล้อม ต่างส่งผลกระทบต่อกันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้าน  แนวโน้มที่เกิดจากเทคโนโลยีที่สำคัญ และเป็นที่กล่าวถึง

1. เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงจากสังคมอุตสาหกรรม มาเป็นสังคมสารสนเทศ สภาพของสังคมโลกได้เปลี่ยนแปลงมาแล้วสองครั้งจากสังคมความเป็นอยู่แบบเร่ร่อนมาเป็นสังคมเกษตรมีการเพาะปลูกและสร้างผลิตผลสร้างบ้านเรือนเป็นหลักแหล่งต่อมามีความจำเป็นต้องผลิตสินค้าให้ได้ปริมาณมาก และต้นทุนต่ำ จึงต้องหันมาผลิตแบบอุตสาหกรรม ทำให้สภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์เปลี่ยนแปลงมาเป็นสังคมเมือง มีการรวมกลุ่มอยู่อาศัยเป็นเมืองผลิต  สังคมอุตสาหกรรมได้ดำเนินการจนปัจจุบัน และเข้าสู่สังคมสารสนเทศการดำเนินธุรกิจใช้สารสนเทศอย่างกว้างขวาง เกิดคำใหม่ว่าไซเบอร์สเปซมีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น การพูดคุยผ่านอินเตอร์เน็ตการซื้อสินค้า

  1. เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้แต่ล่ะคน เช่นการดูโทรทัศน์วิทยุเมื่อเราเปิดเครื่องรับโทรทัศน์หรือวิทยุเราไม่สามารถเลือกตามความต้องการได้หากไม่พอใจก็ทำได้เพียงเลือกสถานีใหม่ แนวโน้มจากนี้ไปจะมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เรียกว่า On demand เราจะมีวิทยุโทรทัศน์ และวิทยุแบบเลือกดูเลือกฟังได้ตามความต้องการ
  2. เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดสภาพการทำงานแบบทุกสถานที และทุกเวลาเมื่อการสื่อสารก้าวหน้าและแพร่หลายขึ้น การตอบโต้ผ่านเครือข่ายทำให้มีปฏิสัมพันธ์ได้เกิดระบบการประชุมทางวีดีทัศน์ ระบบการค้าบนเครือข่ายลักษณะของการดำเนินงานเหล่านี้ ทำให้ผู้ใช้ขยายขอบเขตการดำเนินกิจกรรม
  3. เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบท้องถิ่นไปเป็นเศรษฐกิจโลกระบบเศรษฐกิจซึ่งแต่เดิมมีขอบเขตจำกัดภายในประเทศก็กระจายเป็นเศรษฐกิจโลก ทั่วโลกจะมีกระแสการหมุนเวียนแลกเปลี่ยนสินค้า บริการอย่างกว้างขวางและรวดเร็วเทคโนโลยีสารสนเทศมส่วนเอื้ออำนวยให้การดำเนินการมีขอบเขตกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ระบบเศรษฐกิจของทุกประเทศในโลกเชื่อมโยงและมีผลกระทบต่อกัน
  4. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพันหน่วยงานแบบเครือข่ายมากขึ้น ผูกพันกันเป็นกลุ่มงาน มีการเพิ่มคุณค่าขององค์การด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดโครงสร้างขององค์การจึงปรับเปลี่ยนจากเดิม  หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลงและเชื่อมโยงกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่ายโครงสร้างขององค์การจึงเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสของเทคโนโลยี
  5. เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีเดียวที่มีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ ดังนั้นจึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม ศีลธรรม การศึกษาเศรษฐกิจ และการเมืองได้อย่างมาก  การใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตในการสื่อสารระหว่างกัน และติดต่อกับคนได้ทั่วโลก จึงเป็นที่แน่ชัดว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองจึงมีลักษณะเป็นสังคมโลกมากขึ้น

ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานี้ต่างส่งผลกระต่อกัน เครื่องมือชี้วัดสำคัญของเคลื่อนลูกที่สามคือ เทคโนโลยี ความมั่งคั่งของประเทศจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร อำนาจในการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสาร ปฏิมากรรมทางความสามารถการสื่อสาร Information Communication Technologe (ICT) ในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและไร้พรมแดนส่งผลให้โลกแคบลงเทคโนโลยี และความรู้ทางวิทยาการสมัยใหม่ๆ เกิดขึ้นและมีการส่งต่อไปทั่วโลกอย่างไร้พรมแดน ไร้ขีดจำกัดผ่านช่องทางการสื่อสารทางเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ การรับรู้รวดเร็วผ่านช่องทางการสื่อสารที่รวดเร็วส่งผลต่อความเป็นส่วนตัวน้อยลง ความผิดพลาดในอดีตที่ถูกเก็บไว้เป็นความลับได้รับการเปิดเผยมากขึ้น ความโปร่งใสจริยธรรม ถูกต้อง เป็นประเด็นอย่างเข้มข้นในการบริหารจัดการงานองค์กรในทุกวัน  อย่างไรก็ตามความสำคัญตกอยู่ที่ผู้นำองค์กรได้แก่กรรมการบริษัท ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบาย และ CEO ผู้วางกลยุทธ์ในการดำเนินการจำเป็นต้องตระหนักในความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ด้วย และต้องปรับตัวให้ทันยุคเพราะทุกวันนี้หมดยุคเถ้าแก่เป็นจอมบงการ หรืออัศวินม้าขาวแล้วอีกทั้งกฏหมายเกี่ยวกับสังคมก็รุนแรงมากขึ้นในการคุ้มครองความปลอดภัย และสวัสดิภาพของผู้รับบริการหรือผู้บริโภค ผู้นำยุคเก่ามีสถานะเป็นเถ้าแก่แบบใช้อำนาจตัดสินใจทุกเรื่องไม่มีการกระจายอำนาจเข้าไปยุ่งทุกเรื่อง ขาดการรับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา การทำงานไม่มีการวางแผนและคำนวณผลลัพธ์ล่วงหน้าอย่างดี  บางครั้งทำธุรกิจจามใจชอบให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ที่จะได้เป็นที่ตั้ง บ้างก็เอาเปรียบลูกค้ายังไม่พอบางครั้งก็หันมาเอาเปรียบพนักงานด้วยเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ความร่ำรวย ชอบใช้สินบนกับผู้มีอำนาจเพื่อแลกกับผลประโยชน์ที่จะได้ ในส่วนของผู้นำที่ประสบความสำเร็จก็มีมากถ้ามองลึกลงไปในความสำเร็จของคนเหล่านั้นมักพบว่าความเป็นผู้นำที่มีคุณธรรม และไม่เอารัดเอาเปรียบลูกค้า รักและมีน้ำใจกับลูกน้องไม่ทอดทิ้งยามลำบากล้วนมีในคนเหล่านั้นส่งผลให้เกิดความสำเร็จในธุรกิจแบบยั่งยืนได้หลายรุ่นจนปัจจุบัน  อย่างไรก็ดีแนวทางการบริหารในโลกไร้พรมแดน ที่มีความเปลี่ยนแปลงและเข้าถึงอย่างรวดเร็วรวมทั้งการแข่งขันที่ดุเดือนรุนแรงผู้นำยุคใหม่จำเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้ และตามให้ทันเพื่อปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆที่เกิดขึ้น

เมื่อโลกแห่งโลกาภิวัฒน์นี้ไม่สามารถหยุดยั้งได้  ดังนั้นการที่ผู้นำจะต้องเดินทัพไปข้างหน้าคงไม่ใช่เรื่องง่ายหลายๆองค์กรมีความจำเป็นต้องตระหนักถึงความอ่อนไหวทางการเมืองและเศรษฐกิจในหลากหลายประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเททศเกิดใหม่ และประเทสกำลังพัฒนาซึ่งจะชลอการพึ่งพาในระดับสากล  รวมถึงการเข้าถึงระหว่างกันได้อย่างน้อยในระยะสั้น มากไปกว่านี้ในขณะที่รูปแบบการบริโภคในกลุ่มของชนชั้นกลางนั้นกำลังเกิดการผสมผสานเข้าด้วยกันคุณค่าต่างๆ ของแต่ละกลุ่มตลาดเกิดใหม่นั้นอาจจะแตกต่างกันไปจากลุ่มตลาดตะวันตก  เทคโนโลยีจะเข้ามาทำให้เส้นแบ่งระหว่างชีวิตส่วนตัว และชีวิตการทำงานไม่ชัดเจนรวมถึงจะขยายให้เกิดการแบ่งแยกบุคลากรซึ่งสามารถทำงานที่ใดก็ได้ความรู้ในเรื่องของดิจิตอลกลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโลกเนื่องจากการเปลี่ยนข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตที่รวดเร็ว อุปกรณ์ดิจิตอลที่มีราคาถูกและให้ความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร การประสานงาน การจัดงานต่างๆ รวมถึงการผลิต รวมทั้งสถานที่ทำงานนั้นไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะต้องทำงานได้เฉพาะที่ทำงานเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป  ผู้นำจะต้องเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์ มีความอยากรู้เรื่องเทคโนโลยี และเปิดกว้างให้กับบุคลากรสายพันธ์ดิจิตอล แต่ควรที่จะเสนอขอบข่ายงานและการแนะแนวทางที่เป็นที่ต้องการ  ผู้นำควรที่จะเข้าไปดูแลในส่วนของการร่วมมือและการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้นำกับพนักงานเพื่อลดช่องว่างของข้อมูลที่ข้ามไปไม่ถึง กล่าวคือคนรุ่นใหม่ที่ถือว่าเป็นสายพันธุ์ ดิจิตอลที่รู้จักเทคโนโลยีเป็นอย่างดีนั้นอาจมีภาพลักษณ์เป็นผู้ที่มีคุณภาพ ที่อาจจะเป็นผู้นำได้มากกว่าคนรุ่นเก่า

ภูมิปัญญาด้านการติดต่อสื่อสาร

ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง พื้นฐานความรู้ความสามารถ ความคิดความเชื่อ ความสามารถทางพฤติกรรม ความสามารถในการแก้ไขปัญหา โดยใช้ประสบการณที่สั่งสมในการปรับตัวและดำรงชีพ ในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม ที่ได้มีการพัฒนาสืบสานกันมา อันเป็นผลของการใช้สติปัญญาให้เข้ากับสภาพต่างๆ ในพื้นที่ที่กลุ่มชนเหล่านั้นตั้งถิ่นฐานอยู่ รวมทั้งได้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับกลุ่มอื่น ดังนั้นภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสื่อสาร จึงหมายถึงความรู้ความสามารถดั้งเดิมในการสื่อสารระหว่างกลุ่มคนในสังคม การสื่อสารเนสิ่งที่มีมาแต่โบราณ และมีการพัฒนามาเรื่อยๆ จนกลายเป็นการสื่อสารออนไลน์ ในยุคสังคมปัจจุบัน ในอดีต นอกจากการใช้ภาษาในการสื่อสารแล้ว ยังประกอบไปด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ แม้แต่ในหมู่สัตว์กันเองก็ยังมีการสื่อสารที่ไม่แตกต่างจากคน มีการใช้สัญลักษณ์ เสียง แสง สี ต่างๆ เรามาดูกันว่าภูมิปัญญาการสื่อสารดั้งเดิมนั้นมีความเป็นมาอย่างไร การสื่อสาร การนำสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับ ด้วยระบบคมนาคมต่างๆ จำแนกในรูปแบบของข้อมูลและวิธีการได้ดังนี้

สาร  คือรูปแบบข้อมูลต่างๆ เช่นเอกสาร หรือสัญญาณทางเสียง แสง และสัญญาณธง

  1. สาร ประเภทเอกสาร เช่น

2.1 ใบบอก/รายงาน/จดหมาย คือหนังสือรายงานเหตุการณ์ทางราชการ หรือหนังสือแจ้งราชการมาจากหัวเมือง ซึ่งเป็นเอกสารราชการแผ่นดินที่ข้าราชการที่รักษาเมือง เจ้าเมืองมีถึง เสนาบดีเพื่อกราบบังคมทูลกษัตริย์ หรือเจ้านาย เกี่ยวกับรายงานข้อราชการต่างๆ เช่นการส่งหรือส่วย จำนวนไพร่พล หรือเรื่องสงครามเป็นต้น

2.2 ศุภอักษร คือสาสน์ของเจ้าประเทศราช ซึ่งเป็นเอกสารบริหารราชการแผ่นดิน หรือหนังสือสั่งการของเสนาบดี ที่ส่งไปยังเจ้าเมืองประเทศราช หรือหนังสือจากเจ้าเมืองประเทศราช ส่งกลับมหาเสนาบดี เนื้อหาเอกสารประเภทนี้ เป็นลักษณะการสั่งการในเรื่องต่างๆ เช่นพระราชทานสัญญาบัตร หรือการแต่งตั้งเจ้าเมืองเป็นต้น

2.3 ตราตอบเป็นเอกสารราชการ แผ่นดินอีกประเภทหนึ่งซึ่งอยู่ในรูปของจดหมายการนำมาใช้เพื่อติดต่อสื่อสารระหว่างพระมหากษัตริย์และข้าราชการ บริพาร โดย มีรูปแบบคล้ายกับศุภษร

2.4 พระราชสาส์น คือจดหมายของพระมหากษัตริย์ ที่ใช้ในการเจริญ สัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ

สารประเภทการสื่อสารด้วยภาพหรือแสงเช่น

            1.สัญญาณธง หมายถึงการใช้ธงอักษร ธงตัวเลข หรือธงพิเศษในการส่งสาร ซึ่งสามารถส่งได้รวดเร็วและแน่นอน แต่ความสามารถในการส่งสารนั้นสามารถส่งได้เฉพาะกลางวัน และความถูกต้องนั้นขึ้นอยู่กับทัศนวิสัยขณะที่ทำการส่งสาร และระยะทางที่ต้องการส่งสาร

            2.พลุ คบเพลิง เป็นอานัติสัญญาณประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้แสงเป็นตัวกลาง ในการส่งสัญญาณ เพื่อการติดต่อสื่อสารซึ่งการส่งสารประเภที้มีข้อจำกัด คือทัศนวิสัยในการส่งสัญญาณ สามารถส่งได้ในช่วงเวลากลางคืน

            3.ควันไฟเป็นอานัติสัญญาณประเภทหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในการสื่อสารในอดีตเพื่อระบุตำแหน่ง ของบุคคล รวมเป็นสัญญาณในการกระทำสิ่งต่างๆ ระหว่างกลุ่มคนตามที่ได้ตกลงกันไว้ก่อนหน้า เช่น ให้ทหารออกจากที่ซ่อน และโจมตีฝ่ายตรงข้ามเมื่อมองเห็นควันไฟ

  1. สารประเภทเสียงและอื่นๆ

            3.1 รหัสสัญญาณ การยิงปืนใหญ่เป็นอาณัติสัญญาณ ประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้เสียงเป็นสื่อกลางของการสื่อสาร เช่นการยิงปืนใหญ่

            3.2 กลอง ฆ้อง เกราะ แตร ฯลฯ เป็นอาณัติสัญญาณ อีก หลายประเภทที่ใช้เสียงเป็นสื่อกลางในการสื่อสาร ซึ่งลักษณะของการสื่อสารมีหลายรูปแบบ เช่น การตีเกราะเพื่อบอกเวลาเป็นต้น

สื่อ  คือการนำพาสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับด้วยวิธีการต่างๆ จากการรวบรวมประวัติการ “สื่อ” ที่เกิดขึ้นตามเงื่อนไขของสภาพสังคมและมิได้มีบันทึกเชิงระบบ ดังนั้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสื่อนี้ จึงมีลักษณะของข้อมูล ที่มาจากการ อ้างอิเชิงเปรียบเทียบจากแหล่งข้อมูลประเภทต่างๆที่เกี่ยวข้อง

  1. การเดินเท้า การนำสารเพื่อไปส่งถึงผู้รับด้วยการเดินเท้า
  2. ม้าเร็ว การใช้สัตว์เป็นพาหนะในการส่งสาร เกิดขึ้น โดยมีส่วนสัมพันธ์ กับสภาพสังคมการปกครองของประเทศไทยในอดีตซึ่งมีการบันทึกในลักษณะ ของการติดต่อของข้าราชการ
  3. การใช้ อาณัติ คือเคริ่องหมายตามที่กำหนดรู้กันโดยอาศัยรูปหรือเสียง การใช้สารประเภทธง แสง ควัน และอื่นๆเพื่อการสื่อสาร ที่ต้องอาศัยการแปลงรูปแบบข่าวสารให้อยู่ในรูปแบบต่างๆ

เหตุผลของการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เศรฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยีต่างๆ ที่ซับซ้อนแม้ว่าผุ้นำไม่ว่าจะเป็นผู้นำรุ่นใหม่หรือรุ่นเก่าก็ตาม การเข้ามาของเทคโนโลยี จะกลายเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโลก เนื่องจาก การแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตที่รวดเร็ว ดังนั้นการศึกษา การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ต้องพิจารณา ความเป็นผู้นำสมัยใหม่ในยุคปัจจุบัน กับผู้นำสมัยเก่า ในสภาวะการณ์ที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ท่ามกลางกระแสการดึงรั้งระหว่างการสื่อสารภูมิปัญญาชาวบ้าน ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลง
แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การกระจายข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทุกทิศทางและมีระบบตอบสนอง ด้วยเหตุนี้ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมผลของความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้านแนวโน้มที่สำคัญที่เกิดจากเทคโนโลยีที่สำคัญและเป็นที่กล่าวถึงกันมาก ดังนี้ 

1) เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศสภาพของสังคมโลกได้เปลี่ยนแปลงมาแล้วสองครั้งจากสังคมความเป็นอยู่แบบเร่ร่อนมาเป็นสังคมเกษตรที่มีการเพาะปลูกและสร้างผลิตผลทางการเกษตรทำให้มีการสร้างบ้านเรือนเป็นหลักแหล่งต่อมามีความจำเป็นต้องผลิตสินค้าให้ได้ปริมาณมากและต้นทุนถูกจึงต้องหันมาผลิตแบบอุตสาหกรรมทำให้สภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์เปลี่ยนแปลงมาเป็นสังคมเมืองมีการรวมกลุ่มอยู่อาศัยเป็นเมือง มีอุตสาหกรรมเป็นฐานการผลิตสังคมอุตสาหกรรมได้ดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน และเข้าสู่สังคมสารสนเทศการดำเนินธุรกิจใช้สารสนเทศอย่างกว้างขวาง เกิดคำใหม่ว่า ไซเบอร์สเปซมีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น การพูดคุยผ่านอินเทอร์เน็ต การซื้อสินค้าและบริการฯลฯ

2) เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบตอบสนองตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน เช่น การดูโทรทัศน์ วิทยุเมื่อเราเปิดเครื่องรับโทรทัศน์หรือวิทยุ เราไม่สามารถเลือกตามความต้องการได้หากไม่พอใจก็ทำได้เพียงเลือกสถานีใหม่แนวโน้มจากนี้ไปจะมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เรียกว่า on demand เราจะมีโทรทัศน์และวิทยุแบบเลือกดู เลือกฟังได้ตามความต้องการหากระบบการศึกษาจะมีระบบ education on demand คือสามารถเลือกเรียนตามต้องการได้การตอบสนองตามความต้องการ เป็นหนทางที่เป็นไปได้เพราะเทคโนโลยีมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าจนสามารถนำระบบสื่อสารมาตอบสนองตามความต้องการของมนุษย์

3) เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดสภาพการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา เมื่อการสื่อสารก้าวหน้าและแพร่หลายขึ้นการโต้ตอบผ่านเครือข่ายทำให้มีปฏิสัมพันธ์ได้ เกิดระบบการประชุมทางวีดิทัศน์ระบบประชุมบนเครือข่าย ระบบโทรศึกษา ระบบการค้าบนเครือข่ายลักษณะของการดำเนินงานเหล่านี้ทำให้ผู้ใช้ขยายขอบเขตการดำเนินกิจกรรมไปทุกหนทุกแห่งตลอด 24 ชั่วโมงเราจะเห็นจากตัวอย่างที่มีมานานแล้ว เช่น ระบบเอทีเอ็มทำให้การเบิกจ่ายได้เกือบตลอดเวลา และกระจายไปใกล้ตัวผู้รับบริการมากขึ้นและด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้น การบริการจะกระจายมากยิ่งขึ้นจนถึงที่บ้านในอนาคตสังคมการทำงานจะกระจายจนงานบางงานอาจนั่งทำที่บ้านหรือที่ใดก็ได้และเวลาใดก็ได้

4) เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบท้องถิ่นไปเป็นเศรษฐกิจโลกระบบเศรษฐกิจซึ่งแต่เดิมมีขอบเขตจำกัดภายในประเทศ ก็กระจายเป็นเศรษฐกิจโลกทั่วโลกจะมีกระแสการหมุนเวียนแลกเปลี่ยนสินค้า บริการอย่างกว้างขวางและรวดเร็วเทคโนโลยีสารสนเทศมีส่วนเอื้ออำนวยให้การดำเนินการมีขอบเขตกว้างขวางมากยิ่งขึ้นระบบเศรษฐกิจของทุกประเทศในโลกเชื่อมโยงและมีผลกระทบต่อกัน

5) เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพันหน่วยงานภายในเป็นแบบเครือข่ายมากขึ้นแต่เดิมการจัดองค์กรมีการวางเป็นลำดับขั้น มีสายการบังคับบัญชาจากบนลงล่างแต่เมื่อการสื่อสารแบบสองทางและการกระจายข่าวสารดีขึ้นมีการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในองค์กรผูกพันกันเป็นกลุ่มงานมีการเพิ่มคุณค่าขององค์กรด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศการจัดโครงสร้างขององค์กรจึงปรับเปลี่ยนจากเดิมและมีแนวโน้มที่จะสร้างองค์กรเป็นเครือข่ายที่มีลักษณะการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้นหน่วยธุรกิจจะมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่ายโครงสร้างขององค์กรจึงเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสของเทคโนโลยี

6) เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้นอีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจรอบคอบมากขึ้นแต่เดิมการตัดสินปัญหาอาจมีหนทางให้เลือกได้น้อย เช่น มีคำตอบเดียว ใช่ และ ไม่ใช่แต่ด้วยข้อมูลข่าวสารที่สนับสนุนการตัดสินใจทำให้วิถีความคิดในการตัดสินปัญหาเปลี่ยนไปผู้ตัดสินใจมีทางเลือกได้มากและมีความรอบครอบในการตัดสินปัญหาได้ดีขึ้น

7) เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีเดียวที่มีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการดังนั้นจึงมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม ศีลธรรมการศึกษาเศรษฐกิจและการเมืองได้อย่างมาก ลองนึกดูว่าขณะนี้เราสามารถชมข่าวชมรายการทีวี ที่ส่งกระจายผ่านดาวเทียมของประเทศต่างๆ ได้ทั่วโลกเราสามารถรับรู้ข่าวสารได้ทันที เราใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการสื่อสารระหว่างกันและติดต่อกับคนได้ทั่วโลก จึงเป็นที่แน่ชัดว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองจึงมีลักษณะเป็นสังคมโลกมากขึ้น

หมายเลขบันทึก: 564428เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2014 13:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 สิงหาคม 2014 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท