สัญญาณและอาหาร__แห่งความอ่อนเยาว์


สำนักข่าว BBC ตีพิมพ์เรื่อง "... สัญญาณแห่งความอ่อนเยาว์", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

.

.

การศึกษาใหม่ (ตีพิมพ์ใน PLoS One) ทำในกลุ่มตัวอย่าง 328 คนให้ดูวิดีโอที่มีคน (คนอื่น) หาว 3 นาที

กลุ่มตัวอย่าง 68% หาวตาม

ผลการศึกษาพบว่า การหาวตามอย่างคนอื่น (yawn) มีความสัมพันธ์กับความอ่อนเยาว์หรืออายุน้อยดังนี้ (อายุ)

  • น้อยกว่า 25 ปี > 82%
  • 25-49 ปี > 60%
  • เกินกว่า 50 ปี > 41%

.

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า คนที่มีปัญหาในการสื่อสารอย่างแรง จะหาวตามคนอื่นน้อยลง

คนที่เป็นโรคจิตเภท (schizophrenia = โรคจิตที่พบบ่อยที่สุด) หาวน้อยลง

คนที่เป็นโรคออทิสติก หรือเด็กออทิสติก (autistm / autistic = กลุ่มโรคที่มีปัญหาสื่อสารกับคนรอบข้างได้น้อย สมองส่วนต่างๆ ประสานงานกันได้น้อย ปัญญาอ่อน) หาวน้อยลง

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า พฤติกรรมอื่นๆ ที่ติดต่อกันได้ (contagious) ในหมู่คนได้แก่ การหาว หัวเราะ และการไอ

.

เรื่องนี้คงจะทำให้ท่านที่ชอบหาวตามคนอื่นสบายใจ หรือเบาใจไปได้มาก

ขอแทรกภาษาอังกฤษหน่อย...

.

.

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า วิธีที่ช่วยให้คนเราอ่อนเยาว์ไปได้นาน คือ

(1). นอนไม่ดึก และนอนให้พอ

คนส่วนใหญ่ต้องการนอน 7-8 ชั่วโมง/คืน, คนส่วนน้อยต้องการนอนน้อยกว่านี้ หรือมากกว่านี้

(2). ลดอาหารประเภท "ขาวๆ_หวานๆ_ทอดๆ"

  • ลดข้าวขาว > เปลี่ยนเป็นข้าวกล้อง
  • ลดขนมปังขาว > เปลี่ยนเป็นขนมปังโฮลวีท หรือขนมปังเติมรำ
  • ลดอาหารทำจากแป้ง เช่น โรตี ขนม ฯลฯ

.

  • ลดน้ำตาล > งดน้ำอัดลม, เปลี่ยนกาแฟซื้อเป็นกาแฟชงเอง ใส่น้ำตาลให้น้อยลง หรือใช้น้ำตาลเทียมครึ่งหนึ่ง เช่น ไลท์ชูการ์ ลินน์ฮาล์ฟชูการ์​ ฯลฯ แทนน้ำตาล 100%
  • เปลี่ยนน้ำผลไม้ > เป็นผลไม้ทั้งผล

.

  • ลดอาหารทอด > ดีที่สุด คือ ไม่เกิน 1-2 คำ/สัปดาห์
  • อาหารผัดพอกินได้

และอย่าลืม... ถ้าวันไหนกินอาหาร "ขาวๆ_หวานๆ_ทอดๆ", อย่านอนหลังอาหาร... ให้เดินช้าๆ สบายๆ ไม่เร่งรีบ แบบที่โบราณเรียกว่า "เดินย่อยอาหาร" 10-15 นาที หลังอาหารทุกมื้อ

(3). กินผักทุกวัน

  • ถ้าหาผักใบเขียวไม่ได้ > ให้กิน "ผักไม่เขียว" เสริมแทน
  • เช่น หอม หอมแดง กระเทียม มะเขือเทศ ฯลฯ > กินสดก็ได้, ผัด ต้ม นึ่ง แกงก็ได้
  • เช่น ใช้ซอสพริกสีเหลือง ซอสพริกสีแดง ซอสมะเขือเทศ ซอสที่มีแครอทผสม > ดีกว่าไม่กินผักเลย
  • ฝึกเพาะถั่วงอก 1 ครั้ง/สัปดาห์​ > เก็บในตู้เย็น ใช้เป็นอาหารเสริม ปนไปในข้าวทุกวัน

(3). ไม่นั่งนานเกิน 1 ชั่วโมง/ครั้ง > ให้ลุกขึ้นยืนสลับนั่ง 2-3 ครั้งคั่น, ลุกขึ้นเดิน 10 นาที, หรือขึ้นลงบันได 1 ชั้นสลับ

(4). เดินสะสมเวลาให้ได้ 40 นาที/วัน,​ เดินขึ้นลงเนิน หรือขึ้นลงบันได สะสมเวลาให้ได้ 4 นาที/วัน

  • ออกกำลังที่หนักหน่อย เช่น กระโดดเชือก ปั่นจักรยานเร็ว วิ่งเร็ว ขึ้นลงบันไดเร็ว 5-10 นาที/วัน
  • ออกกำลังหนัก แม้จะไม่นาน ก็ให้ผลดีต่อสุขภาพมากเป็นพิเศษ

(5). ออกแรงผ่านการทำงาน เช่น

  • ล้างจาน ล้างรถ ถูพื้น กวาดบ้าน ฯลฯ

(6). กล่าวคำ "ขอบคุณ _ ขอบใจ _ ขอโทษ" แบบที่คุณครูภาษาไทยสอนทุกวัน

คุณครูภาษาไทยสอนว่า คนไทยชอบคนที่รู้จักพูด "ขอบคุณ _ ขอบใจ _ ขอโทษ" เป็น และใช้ได้อย่างพอดี (ไม่หวานจนเลี่ยน, ไม่แล้งจนดูเป็นคนโหดเหี้ยม)

(7). กินอาหารเสริมของคุณย่าเป็นประจำ

คุณย่าผู้เขียนกล่าวไว้ดี คือ ถ้าเป็นเรื่องอาหาร,​ "ค่อนไปทางน้อยไว้ละดี"

อาหารเสริมที่ดีที่สุด คือ "อาหารน้อยๆ หน่อย" = ลดอาหารลงสักนิด โดยเฉพาะลดข้าว ลดแป้ง ลดน้ำตาล ลดอาหารทอด

แล้วชีวิตจะดีขึ้นในระยะยาว

.

ถึงตรงนี้...​ ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

Thank BBC > http://www.bbc.com/news/health-26587535

หมายเลขบันทึก: 563987เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2014 12:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มีนาคม 2014 12:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท