เด็กสมองพิการ - ตา หู สัมผัส เชื่อมโยงกัน


เมื่อวานในกรณีศึกษาน้อง พ.  ผมกลับมาทบทวนความเป็นไปได้ของการใช้เทคนิคประสาทพัฒนาการที่บูรณาการกับกิจกรรมบำบัดด้านการพัฒนาเด็ก พบว่า 

1. การป้องกันภาวะชักของน้อง พ. ต้องมีการติดตามปริมาณออกซิเจนอิ่มตัวตลอดการฝึกไม่ให้ต่ำกว่า 95% คลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่

2. สิ่งที่ควรสังเกตและควรทำเมื่อน้อง พ. เกิดภาวะชักขณะฝึก

  • สังเกตว่าน้องมี "ความรู้สึกแปลกๆ ไหม" เช่น น้ำลายจับเป็นฟองที่ริมฝีปากแล้วไม่กลืน (แม้ว่ากระตุ้นกล้ามเนื้อใต้คางและต้นคอหลายครั้งแล้ว) ปากจีบแน่น-หน้าแดง-ไม่หายใจ (แม้ว่าจะจับนอนหงายและค่อยๆ ผ่อนคลายด้วยวิธีสั่นเบาๆ ระหว่างหน้าอกและท้องแล้ว) มีตากระตุกเป็นจังหวะเร็วมากขึ้นเรื่อยๆ จนนิ่งไปทิศทางหนึ่ง (แม้ว่าจะจับศรีษะตรงในท่านอนหงาย) และมีกล้ามเนื้อแขนขากระตุกเป็นจังหวะเร็วและแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จนแข็งเกร็งนิ่ง คลิกอ่านเพิ่มเติมทีี่นี่
  • ควรตั้งสติ (หลับตานิ่งสงบสักครู่) แล้วโทรเรียกรถพยาบาลฉุกเฉิน วัดปริมาณออกซิเจนอิ่มตัวในข้อ 1. ห้ามนำอะไรเข้าปากน้อง อย่าพยายามหยุดภาวะชัก และตรวจสอบการหายใจของน้องและช่วยการหายใจเบื้องต้น คลิกดูคลิป Youtube ที่นี่ 

3. การสังเกตอาการกระตุกของตาหรือ Nystagmus เป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญในการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ เช่น น้องมีตากระตุกลดลงเชื่อมโยงกับแขนขากระตุกลดลงหลังจากที่นักกิจกรรมบำบัดจัดท่าและสัมผัสด้วยเทคนิคการผ่อนคลายกล้ามเนื้อตามลำดับส่วน เทคนิคการลดปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติอย่างช้าๆ และเทคนิคการกระตุ้นข้อต่อตามระบบประสาทพัฒนาการหลังผ่อนคลายได้เต็มที่ คลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่

4. การใช้เทคนิคพิเศษที่ควรระวัง คือ การสั่นบริเวณกระดูกและกล้ามเนื้อในเด็กสมองพิการมีแนวโน้มในการปรับความหนาแน่นของกระดูกเฉพาะที่ ไม่ใช่เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และต้องทำการศึกษาวิจัยต่อไป คลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ แต่ในการสั่นที่ดร.ป๊อปพยายามทดลองในกรณีศึกษาน้อง พ. นี้คือ การกระตุ้นความรู้สึกของได้ยินเสียงผ่านกระดูกใบหูและศรีษะเพื่อให้น้องได้ส่งเสียงร้องตามธรรมชาติ (ไม่ใช่การร้องไห้เจ็บปวด) ด้วยสมมติฐานที่ว่า "ถ้าน้องไม่มีการส่งเสียงร้องใดๆตามธรรมชาติ ระบบการหายใจและการกลืนของน้องก็จะไม่ได้พัฒนา รวมถึงระยะยาวเรื่องการพัฒนาด้านการสื่อสารก็จะช้าตามกันมาด้วย" เมื่อวานนี้ดร.ป๊อป ลองกระตุ้น 3 รอบ โดยสั่นที่ใบหู 20 ครั้งเร็วๆ ต่อ 1 รอบ พร้อมเคาะเบาๆ ที่หน้าอกและหลังช่วงล่างใกล้รูเปิดทวารจนถึงระดับหน้าอกด้านหลัง ก็พบว่า น้องพยายามส่งเสียงดัง 2 ครั้งในรอบแรก ส่งเสียงเบา 1 ครั้งในรอบที่สอง และส่งเสียงดัง 1 ครั้งหลังจากทำในรอบที่สามไปแล้ว 1-2 นาที ผมพยายามหาข้อมูลอ้างอิงตรงนี้ก็ยังไม่ชัดเจน คงต้องค่อยๆ ติดตามผลและปรับโปรแกรมทางกิจกรรมบำบัดต่อไป ส่วนข้อมูลเท่าที่ค้นได้ คือ การให้ของเล่นที่สั่นและเขย่าร่างกายให้เด็กรับรู้ในกรณีที่มีความผิดปกติทางระบบประสาทการได้ยินแล้ว คลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่

ขอบคุณมากครับ Go to Know ที่ช่วยให้ผมบันทึกคลังความรู้นี้ในการทบทวนการให้บริการทางคลินิกครั้งต่อไป และขอบคุณ Google.com & Youtube.com ที่ช่วยให้ผมได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้หลายประเด็น   

หมายเลขบันทึก: 563985เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2014 11:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2014 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณมากครับคุณปริญากรณ์ คุณหมอป. และคุณบุษยมาศ

ขอบคุณมากครับคุณแสงแห่งความดีและคุณชยพร

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท