ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะอ้วนกับระบบหายใจ


วันนี้ผมอ่านจากงานวิจัยของต่างประเทศ พอจะสรุปได้ว่าโรคอ้วนมีความสัมพันธ์ดังนี้นะครับ 

ระยะที่ 1 BMI < 27 kg/m2    โรคอ้วนมีผลทำให้ปริมาตรของอากาศที่หายใจออกอย่างเร็วและแรงเต็มที่จากการหายใจเข้าที่มีค่าปกติ ค่า End expiratory reserve volume ลดลง ค่าความดันของคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดแดงต่ำหรือปกติ และการนอนหงายอาจทำให้หายใจลำบาก รวมทั้งความสามารถในการออกกำลังกายลดลง

ระยะที่ 2 BMI 27-35 kg/m2 โรคอ้วนจะส่งผลทำให้ปริมาตรอากาศที่หายใจออกเร็วและแรงเต็มที่จากการหายใจเข้ามีค่าประมาณ 80% มีการลดลงของการขยายตัวของปอดและผนังทรวงอก การแลกเปลี่ยนก๊าซบกพร่องขณะหลับ และมีภาวะหายใจหอบเหนื่อยทั้งขณะพักและขณะออกกำลังกาย

ระยะที่ 3 BMI >35 kg/m2 โรคอ้วนจะส่งผลทำให้เกิดภาวะความดันหลอดเลือดแดงในปอดสูงขึ้นและภาวะหัวใจห้องขวาล้มเหลว ภาวะคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดสูง และอาจหยุดหายใจขณะนอนหลับ

แต่ว่าอันนี้เป็นการใช้ของแบบต่างประเทศ ในคนเอเชียยังไม่ค่อยมีการศึกษานะครับ หากใครมีข้อมูลช่วยแนะนำผมด้วยนะครับ

หมายเลขบันทึก: 563986เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2014 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มีนาคม 2014 11:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบพระคุณครับ ข้อมูลของ

ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะอ้วนกับระบบหายใจนี้น่าสนใจมากครับ ผู้ป่วยโรคอ้วนจะได้หมั่นสังเกตุอาการเหล่านี้ได้ นอกจากนี้ผมยังได้พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการหยุดหายใจในขณะหลับ sleep apnea อีกด้วยครับ

ขอบคุณนะครับ ที่ให้ความสนใจ และอย่างที่คุณแนะนำมาผู้ป่วยโรคอ้วนมีภาวะ sleep apnea จริง ซึ่งเป็นสาเหตุที่อาจจะทำให้ผู้ป่วยโรคอ้วนเสียชีวิตได้นะครับ และเรามักจะพบร่วมกับที่ผู้ป่วยโรคอ้วนมักจะมีอาการกรนร่วมด้วย ส่งผลเสียอยู่หลายระบบ ซึ่งน่าจะมาออกกำลังกายกันดีกว่าครับ

ขอบพระคุณครับ ปัญหาใหญ่ของประเทศไทยคือแพทย์ส่วนใหญ่นึกว่าตนรู้มากที่สุดในทุกๆเรื่องรวมถึงวิธีออกกำลังกายในผู้ป่วยด้วย ต่างกับในต่างประเทศเช่น สหรัฐอเมริกา แพทย์จะปรึกษากับ certified personal trainer เพื่อจัดโปรแกรมออกกำลังกายที่เหมาะสมให้แก่ผู้ป่วย ผมเคยมีสมาชิกผู้เป็นโรคอ้วน ความดันโลหิตสูงและ sleep apnea ที่มาเล่นฟิตเนสได้ระยะหนึ่งและคุมความดันโลหิตสูงลงมาเป็นปกติได้แล้ว ผมจึงแนะให้ฝึกยกน้ำหนักเบาๆเพิ่มด้วยจึงจะสามารถช่วยแก้ปัญหาของทุกโรคที่เขาเป็นอยู่ได้ แต่เขาไม่กล้าเพราะแพทย์สั่งห้ามและให้เดินบนสายพาน(ซึ่งได้แค่เผาผลาญเพียงนิดเดียว) ผมขอโทรคุยกับแพทย์เพื่อถามเหตุผลที่ห้ามแต่น่าเสียดายที่แพทย์ผู้นั้นตอบไม่ได้ชัดเจน การออกกำลังกายที่น้อยเกินไปจะไม่ได้ผลและทำให้ท้อถอย

ผมก็เป็นนักกายภาพบำบัดครับ ในแนะนำให้ผู้ป่วยเหล่านี้บ้างครับ ซึ่งการออกกำลังกายสามารถช่วยควบคุมความดันได้ดี หากออกกำลังกายที่เหมาะสม ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะดีๆๆนะครับ

ขอบพระคุณและยินดีครับที่มีนักกายภาพบำบัดซึ่งเห็นตรงกัน

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท