ฝึกฝนตนเองด้วยขันติธรรม


ถ้าเรามีทัศนคติที่ถูกต้องต่อความแตกต่าง เราจะเป็นคนที่มองอะไรได้รอบ เราจะเป็นคนที่ทุกข์น้อย เราจะเห็นโลกกว้างขึ้น มีใจกว้างมากขึ้น

อ่านพบมาจากที่ใดที่หนึ่ง คัดลอกไว้โดยไม่ได้ใส่รายละเอียด

เห็นว่าดีมีประโยชน์ ขออนุญาตนำมาเผยแพร่ค่ะ

 

...เมื่อแต่ละคนเข้าใจแล้ว ฝึกฝนตัวเองอย่างดี การจะวกกลับมาสู่โลกที่เป็นสุข สงบ สันติ ท่านมีความเห็นอย่างไร...

“ถ้าเรามีทัศนคติที่ถูกต้องต่อความแตกต่าง เราจะเป็นคนที่มองอะไรได้รอบ เราจะเป็นคนที่ทุกข์น้อย เราจะเห็นโลกกว้างขึ้น มีใจกว้างมากขึ้น และไปเสริมคำว่า ขันติธรรม ทำให้เราเป็นคนมีความอดทนและมีพัฒนาการอยู่เรื่อยๆ ไป เพราะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ สอง...ก็จะทำให้เราอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขเพราะเรามีขันติธรรม แม้จะมีความต่างกันอย่างไรก็ไม่มองเป็นศัตรู และสาม...เราสามารถเอาความต่างนั้นมาทำให้เกิดการพัฒนาได้ต่อไป แต่ทั้งหมด อาตมาเชื่อว่าต้องเริ่มต้นที่การศึกษาและการเลี้ยงดูเด็ก พ่อแม่ที่ฉลาดก็จะยอมรับฟังความเห็นที่แตกต่างของลูก สร้างให้ลูกกล้าคิดต่าง ขณะเดียวกันลูกก็จะยอมรับความต่างได้ด้วย การศึกษาก็เหมือนกัน ถ้าครูยอมให้นักเรียนคิดต่างจากครูไม่เป็นไร...

เริ่มต้นตรงที่ทัศนคติ คือถ้าครูสามารถยอมรับความแตกต่างของศิษย์ ก็จะช่วยให้ศิษย์ได้เติบโต ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ เพื่อให้เขาได้รับความใจกว้างจากคนอื่นเขาก็จะมอบความใจกว้างให้กับคนอื่นด้วย สังคมของเราจึงจะยอมรับความต่างเพราะยอมรับในความแตกต่าง และยึดมั่นในทิฐิน้อยลง”

หมายเลขบันทึก: 563528เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2014 19:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ธันวาคม 2014 11:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขันจะแตกละคุณภู เพราะครูไม่มีวิสัยทัศน์ มีแต่แบบฝึกหัด ให้ไปหัดเอาเอง ไม่อธิบายให้เด็กฟัง...เสียเวลากลัวหาเงินไม่ได้..เพราะหนี้แยะ..ขออภัยครูที่ดีครับ มิกล้าเหน็บแนม..ยกเว้นครู....

ไม่เพียงแต่ครอบครัวเราต้องยอมฟังความคิดที่แตกต่างของเพื่อนร่วมงานด้วยค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท