"เข้าใจ เข้าถึง ปัญญา"


                                              

             ปัญหาใหญ่ของมวลมนุษย์โลกคือ "การเข้าถึง เข้าใจในตัวตนและคนอื่น"

             ปัญหาต่อมาคือ "เข้าใจ เข้าถึงธรรมชาติและสิ่งประดิษฐ์"      

             เมื่อมองภาพรวมของมนุษย์ มนุษย์มีหน้าที่หลักคือ

                     "ทำมาหากิน สร้างฐานะ ทำธุรกิจ ดำรงชีพ สืบพันธุ์ เสพสนุก บนโลกจวบจนสิ้นชีพ"

              เป้าหมายปลายทางคือ

                       "มีชีวิตอยู่ตามอัตภาพายุ อยู่สบาย มีอิสระ มีความสุข มีความพร้อม มีเกียรติ มีตระกูล"

              หากเจาะให้ลึกในเป้าหมายแท้ๆ คือความสุขและอิสรภาพ นี่คือ อุดมคติ ของมวลมนุษย์โลก

              แต่ปัญหาที่ค้างในสังคมโลกคือ

                         ความเท่าเทียม อิสรภาพ ความทุกข์ สติปัญญา และการเข้าถึง

              มหาอุปสรรคคือ

                         "โลกนิยม เงินทอง ฐานะ สมอง โอกาส โชคชะตาหรือบุญกรรม"

               ดังนั้น มนุษย์จึงติดใยของโลกและตนเอง เพราะไม่รู้ว่ากำลังติดกับโลกและตนเอง เพราะนี่คือ กระแสโลกและกระแสความต้องการของตนที่สอดคล้องกับโลก

 

              การเข้าถึงตน (Personal Access) มีวิธีดังนี้

                      ๑) ศึกษาตนทางกายภาพ เริ่มตั้งแต่ การเกิด การอยู่ การเจ็บป่วย และการสิ้นสุด

                      ๒) ศึกษาจิตภาพให้ลุ่มลึก เริ่มแต่ระบบประสาท การรับรู้ การนึกคิด การแยกแยะ วิเคราะห์ สังเคราะห์ ความเชื่อ เหตุผล กลไก สิ่งดีงาม ศาสนา ธรรมนิยาม ฯ

                      ๓) การสำรวจสติ ปัญญา ความเชื่อ อารมณ์ ความรู้สึกว่า เรารู้ เราเอนเอียงไปไหนหรือเราจมอยู่กับสิ่งใดจนเกินไปหรือไม่

                      ๔) วิเคราะห์ ตนเองด้านในให้แตก และสังเคราะห์ด้านนอกให้สมดุล

                      ๕) ประเมินตนให้ได้ว่า ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ได้เท่าไหร่

                      ๖) หาจุดกลางระหว่างด้านใน ด้านนอก โลกจริง โลกจินตนา ให้ออกว่า อันไหนมีผลมากกว่ากัน

                     ๗) หัดอยู่กับตัวเองในที่สงบเงียบนานๆ (เข้าเงียบ) จะได้อยู่ว่า โลกของตนเองที่ดำเนินไปบกพร่องส่วนไหนบ้าง

                     ๘) กฎเหล็กคือ อย่าเข้าข้างตนเอง อย่าข่มเหงตนเอง แต่พยายามดำเนินชีวิตไปตามกฎของระบบธรรมชาติที่สอดสานกับจักวาลให้มากที่สุด

 

              การเข้าใจตน (Personal enlightenment) มีหลักดังนี้

                     ๑) ถามตัวเองบ่อยๆ ด้วยตัวเอง

                     ๒) ศึกษาอาการของกาย อารมณ์ ความรู้สึก ประสาท ปริมาณและคุณภาพสติ ปัญญา ความโน้มเอียง ว่าเราอยู่ในขั้นไหน

                     ๓) แก่นแท้ ตัวตนของตนมีลักษณะอย่างไร บอกตนเองได้ไหม พร่องหรือเกินไปส่วนไหน

                     ๔) ยอมรับความด้อยและพลอยชื่นชมความเด่นของตน ด้วยความประนีประนอมกับสังคมและโลก

                     ๕) อย่าอวดโอ้ โอ๋ตนจนเกินงาม ให้นึกถึงยามเราผิดพลาดและเจ็บปวดในวันข้างหน้าที่รออยู่

                     ๖) ฝึกฝนตนเองให้ถึงจุดวิกฤติหรือสุดโต่ง จะได้รู้ว่า ศักยภาพตนมีลิมิตแค่ไหน

                     ๗) ให้ตระหนักเสมอว่า ตนเองอาจต่างจากคนอื่นหรือคนอื่นอาจต่างจากตน

                     ๘) อย่าลืมบูชาคุณคนอื่น นึกถึงบุญคุณที่คนอื่นเกื้อกูลให้ตั้งแต่อดีต จวบจนวันตาย เพราะเราอยู่ได้เพราะคนอื่นยื่นให้

 

              การเข้าถึงธรรมชาติ (Natural Access) มีหลักการดังนี้

                      ๑) ศึกษากายตนให้พ้นขีดเข้าข้างตน จนเข้าสู่ภาวะสุญญาอากาศ 

                      ๒) ศึกษาประสาท ความนึกคิด จินตนาการ สติ ปัญญา ให้เห็นรัศมีชีวิต โลก และจักรวาล

                      ๓) ระลึกเสมอว่าธรรมชาติยืนยาว แต่เวลาชีวิตสั้นมาก

                      ๔) ระลึกไว้ว่ามนุษย์มิได้ยิ่งใหญ่ ดั่งใจกระตุ้น ที่เกินเส้นทางธรรมชาติ

                      ๕) ศึกษาสิ่งลึกๆ ที่เรียกว่า อะตอม กับศึกษาสิ่งใหญ่ที่เรียกว่า จักรวาล

                      ๖) ระลึกเสมอว่า สรรพสิ่งอิงเกื้อกูลหนุนกันไม่แยกแตกใย

                      ๗) ฝึกเข้าถึงใจตนให้พ้นอัตตา ย่อมจะเห็นสายปัญญาสากล

                      ๘) เห็นความสำคัญสิ่งแวดล้อม รอบตัวและในตัวเอง

 

               การเข้าถึงสิ่งประดิษฐ์ คือ แล้วแต่ต้นทุนชีวิตของปัจเจกบุคคลจะเลือกสรรเอง

 

-----------------<๓-๙-๕๗>------------------

หมายเลขบันทึก: 563527เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2014 15:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มีนาคม 2014 21:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เห็นด้วยครับ เป็นความจริง แต่มนุษย์มากมายพยายามหนีความจริง จนไม่สามารถค้นพบความสุข อิสรภาพที่แท้จริง

พี่คิดว่า...คนส่วนใหญ่ทำไม่ค่อยได้ บางครั้งหลงลืมไปว่า เราเกิดมาเพื่ออะไร? สนุกไปกับวัตถุนิยมมากกว่า จึงทำให้เกิดความเห็นแก่ตัวมากกว่าที่จะคิดเห็นต่อผู้อื่น...อาจมาจากกรรมหนักด้วยมังค่ะ จึงทำให้มองไม่ออก... คริ ๆ ๆ

คิดดี ทำดี ได้รับสิ่งที่ดีนะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท