การพัฒนาการศึกษาสู่อาเซียน


ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 (ASEAN Community 2015) ตะเข็บรอยต่อระหว่างประเทศในอาเซียนทั้ง 10 ประเทศจะเจือจางลงจนอาจถึงขั้นมองไม่เห็นในอนาคต จะเกิดผลกระทบกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมต่อประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น ในส่วนของภาคการศึกษา โดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษานั้น ขณะนี้ มีความชัดเจนในแนวนโยบายเกิดขึ้นแล้วจาก สกอ. (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ)  โดย สกอ.ได้กำหนดเป็น “ยุทธศาสตร์อุดมศึกษาไทยในการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558” ไว้ทั้งหมด 3 ยุทธศาสตร์  สรุปได้ดังนี้       

1. การเพิ่มขีดความสามารถของบัณฑิตให้มีคุณภาพมาตรฐานในระดับสากล กำหนดกลยุทธ์ดังนี้

          1.1 พัฒนาสมรรถนะด้านการใช้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทยในระดับที่ใช้การทำงานได้

          1.2 พัฒนาสมรรถนะด้านการประกอบวิชาชีพและการทำงานข้ามวัฒนธรรมของบัณฑิตไทย       

2. การพัฒนาความเข้มแข็งของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาประชาคมอาเซียน กำหนดกลยุทธ์ดังนี้ 

          2.1 พัฒนาอาจารย์ให้มีสมรรถนะสากล 

          2.2 ส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนในสถาบันอุดมศึกษา

          2.3 พัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนให้มีคุณภาพระดับสากล    

          2.4 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้มีคุณภาพระดับสากล

          2.5พัฒนาวิชาการและการวิจัยสู่ความเป็นเลิศ       

          2.6 พัฒนาระบบอุดมศึกษาแห่งอาเซียน     

3. การส่งเสริมบทบาทอุดมศึกษาไทยในประชาคมอาเซียน กำหนดกลยุทธ์ดังนี้          

          3.1 ส่งเสริมบทบาทความเป็นผู้นำของสถาบันอุดมศึกษาไทยที่เกี่ยวข้องกับสามเสาหลักใน การสร้างประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเสาด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน              

          3.2 สร้างความตระหนักในการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนและบทบาทของอุดมศึกษาไทยในการพัฒนาประชาคมอาเซียนทั้งในด้านบวกและด้านลบ          

          3.3 ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน          

          3.4 พัฒนาศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาในอาเซียน 

สกอ. ยังได้มีการกำหนดมาตรการที่ควรพิจารณาดำเนินการในแต่ละกลยุทธ์และยุทธศาสตร์ ไว้ด้วย รายละเอียดจะยาวมากเกินไป ขอไม่นำมาเสนอในที่นี้ แต่ท่านสามารถศึกษาต่อได้จากลิงค์ที่อยู่ด้านล่าง สิ่ง ที่กำลังเกิดขึ้นมีผลทำให้หลายๆภาคส่วน โดยเฉพาะการศึกษาของประเทศไทยต้องปรับตัวครั้งใหญ่ ให้สามารถรับมือกับสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น บัณฑิตที่จบออกไปจะต้องเป็นอย่างไร จะมีอัตลักษณ์เช่นไร จึงจะยืนหยัดได้ในสภาพการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ เป็นโจทย์ที่สถาบันการศึกษาทุกแห่ง ซึ่งรวมถึงสถาบันผู้ผลิตรังสีเทคนิคทุกแห่งต้องเร่งเครื่องอย่างเต็มที่ อย่างน้อยก็ต้องเร่งมือปรับหลักสูตร ทั้งเนื้อหาและกระบวนการเรียนการสอน ให้สอดรับกับสถานะการณ์ที่กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง

หมายเลขบันทึก: 563402เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2014 13:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มีนาคม 2014 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท