"มาตรฐานกลาง" สำหรับการแยกพระเครื่องเก่าๆ แท้ๆ เนื้อ ดิน ชิน ผง ว่าน


มีคนมาถามหลักการแยกแท้-เก๊ ของพระเนื้อต่างๆ

ที่ทำให้ผมต้องคิดใหม่ทุกครั้งที่มีคำถามมา

แต่ด้วยความคิดว่าน่าจะตอบครั้งเดียวได้ครอบคลุมทั้งหมด

ก็น่าจะตอบด้วย "มาตรฐานกลาง"

ที่แสดงถึงลักษณะที่จะพบในพระเก่าแท้ๆทุกเนื้อ

โดยอาศัยความเข้าใจ

1. การงอกใหม่ของผิว ความ "ฉ่ำ"  ที่ทำให้เกิดในส่วนนูนสูงกว่าจุดอื่นๆ

1.1 เนื้อดิน จะมีการงอกของน้ำว่าน ทั้งคราบ และเม็ดของน้ำว่าน

1.2 เนื้อชิน จะมีการงอกของสนิมใหม่ๆ ทับซ้อนบนสนิมเก่า

1.3 เนื้อผง จะมีการงอกของปูนดิบและตั้งอิ้ว ทับซ้อนบนก้อนปูนดิบเดิม

1.4 เนื้อว่าน จะมีการงอกของน้ำว่าน หรือน้ำมัน ที่ทั้งเป็นเม็ดและคราบ ทับซ้อนบนน้ำว่านเก่าๆ

 

2. ความ "เหี่ยว" ของผิวเดิม

2.1 เนื้อดิน เหี่ยวจากการงอก กร่อน และการเรียงตัวของเนื้อดิน ทำให้ดู "เหี่ยว" ในเนื้อ และคราบต่างๆ

2.2 เนื้อชิน ความเหี่ยวจากการกร่อนของผิว และการตกผลึกของเนื้อโลหะ

2.3 เนื้อผง ความเหี่ยวเกิดจากการงอกของปูนดิบ ทับซ้อนกัน

2.4 เนื้อว่าน ความเหี่ยวจากการหดตัวของว่าน และน้ำว่าน

 

3. ความ "นวล" ของผิวที่ต่ำ ในหลุม ในร่อง

3.1 เนื้อดิน ความนวลจากคราบปูนที่ปนมากับส่วนผสมดินดิบ

3.2 เนื้อชิน ความนวลจากคราบกรุและสนิมเก่าๆในร่อง

3.3 เนื้อผง ความนวลจาก ปูนสุก ในที่ต่ำและในร่อง

3.4 เนื้อว่าน ความนวลจากปูนสุกที่ผสมอยู่ในเนื้อ

 

ที่ทำให้สามารถกำหนด "มาตรฐานกลาง" ได้โดยง่าย

เหี่ยว ฉ่ำ นวล  ที่ใช้ได้กับทุกเนื้อ

แล้วค่อยไปดู "ศิลปะ" ทั้ง 7 ข้อย่อย

ถ้ายังไม่สะดุด ก็น่าจะแท้ครับ

อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ

หมายเลขบันทึก: 563034เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2014 09:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มีนาคม 2014 10:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท