Knowledge Translation in occupational therapy of mental health field. ถอดบทเรียนกิจกรรมบำบัดฝ่ายจิต


Seminar in occupational therapy of mental health field by Dr.Supaluk Khemthong. This seminar we will discuss the occupational therapy of mental health in Thailand, the future to work of this field, and the impact of opened the AEC.
สัมมนากิจกรรมบำบัดฝ่ายจิตโดยอาจารย์ ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง การสัมมนาครั้งนี้เราจะพูดถึงกิจกรรมบำบัดฝ่ายจิตในไทยและอนาคตข้างหน้าของการทำงานฝ่ายจิตสังคม รวมถึงการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนว่าจะมีผลดีหรือผลเสียอย่างไร


 

  1. What is the key mission of the occupational therapist in mental health?
    อะไรคือภารกิจที่สำคัญของนักกิจกรรมบำบัดฝ่ายจิต?

    >> The key mission is change the attitude about the people with mental illness. The patient and caretaker involed in the mental health regulation. Occupational therapist should change the attitude in Thai citizen. For example, they have to change their mind that the people with mental illness should have well-being and not harmful for anyone. Thus we have to keep them going along by nuture with their illness and habit.
    >> นักกิจกรรมำบัดควรให้ความรู้และการปรับเปลี่ยนทัศนคติของคนในสังคมไทยว่าผู้รับบริการฝ่ายจิตเวชสามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้ ไม่ได้มีเจตนามุ่งทำร้ายผู้อื่น และบุคคลเหล่านี้ต้องการความเป็นอยู่ที่ดีเช่นเดียวกับคนทั่วไป

  2. How does the occupational therapist ensure quality of intervention for mental health clients?
    นักกิจกรรมบำบัดมีความมั่นใจอย่างไรว่าการบำบัดฟื้นฟูสำหรับผู้รับบริการฝ่ายจิตมีคุณภาพ?

     >> In Thailand we need more developing about the mental health hospital, policy, and community. At the moment, Thai occupational therapist concern must more about physical dysfunction rather than mental health problem. In Malaysia, Permai hospital didn’t pay attention about rehabilitaiton because they go forward for vocational rehabilitation. Thus this is good rehabilitation.
    >> ในประเทศไทยต้องพัฒนาในด้านโรงพยาบาลฝ่ายจิตเวช นโยบาย และสังคมอีกมาก ปัจจุบันนักกิจกรรมบำบัดไทยเน้นการฟื้นฟูความบกพร่องทางด้านร่างกายมากว่าด้านจิตใจ ส่วนในประเทศมาเลเซีย ที่โรงพยาบาลPermai มีการฟื้นฟูผู้รับบริการฝ่ายจิตเวชอย่างเป็นระบบและดีเยี่ยม โดยเน้นให้ผู้รับบริการฝ่ายจิตเวชกลับไปทำงานในสังคมและได้รับเงินเดือนจากนายจ้างในทุกเดือน

  3. What are the Thai occupational therapist in mental health’s strengths, weaknesses, threats, and opportunuties?
    สิ่งที่เป็นจุดแข็ง จุดอ่อน ภัยคุกคามและโอกาสของนักกิจกรรมบำบัดฝ่ายจิตในไทยมีอะไรบ้าง?

    >> The strength is occupational therapist assess, threat, and re-assess with the clinical reasoning. We learn and share knowledge about recovery model, self-esteem, and vocational rehabilitaion every years. Therefore, we develop the assessment tool like interest checklist for Thai people, behavior checklist for Thai people.
         The weakness is major role of occupational therapist in mental health illness. For another profession don’t know us. Some people with mental illness do activity crush alone without occupational therapist, ignore occupational therapist, or don’t believe that occupational therapist can’t help them at all.
    >> จุดแข็งคือนักกิจกรรมบำบัดประเมินและบำบัดฟื้นฟู โดยมีเหตุผลทางคลินิกสนับสนุน ในทุกปีเรามีการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้เกี่ยวกับโมเดลการฟื้นฟู, การส่งเสริมความภาคภูมิใจ, การฟื้นฟูด้านการทำงานอาชีพ ฯลฯ นอกจากนี้มีการพัฒนาแบบประเมินความสนใจและแบบประเมินพฤติกรรมฉบับภาษาไทย 
         จุดอ่อนคือบทบาทของนักกิจกรรมบำบัดที่หลายวิชาชีพยังไม่ทราบเกี่ยวกับขอบเขตการทำงานของเรา ทำให้ผู้รับบริการฝ่ายจิตเวชไม่ได้รับการฟื้นฟูด้านการทำกิจวัตรประจำวันจากนักกิจกรรมบำบัด บางครั้งผู้รับบริการปฏิเสธนักกิจกรรมบำบัด เนื่องจากไม่เชื่อว่าจะทำให้อาการที่เป็นอยู่ดีขึ้น

  1. What strategies are being used of occupational therapist in mental health? How have these succeded?
    นักกิจกรรมบำบัดใช้กลยุทธ์อะไรในผู้รับบริการฝ่ายจิตและมีวิธีอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ?

    >> It’s very challenging and difficulty to get yourself involed with the people with mental health illness. I’m not a mental illness, so I can’t communicate them directly that how they feel. First, we have to share and learn how they feel. We need more keep ourselves as a good reasoner. Then, we have to do activity with them, go to their community, and go to the workplace. That’s very reallife.
    >> กลยุทธ์ที่สำคัญคือการเข้าใจความรู้สึกของผู้รับบริการฝ่ายจิตซึ่งเป็นสิ่งที่ยากและท้าทาย สิ่งแรกที่นักกิจกรรมบำบัดควรทำคือเรียนรู้ความรู้สึกของผู้รับบริการ ให้ผู้รับบริการถ่ายทอดความรู้สึกให้เราทราบ โดยนักกิจกรรมบำบัดต้องมีเหตุมีผล ไม่ใช้อารมณ์กับผู้รับบริการ จากนั้นจึงทำกิจกรรมร่วมกันตามแผนการรักษาที่ได้วางแผนไว้ รวมถึงการไปเยี่ยมบ้านและส่งเสริมการกลับไปทำงานในสังคม

  2. What have you learned about CMU-OT leading to build/create MU-OT?
    คุณจะนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมบำบัด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ไปสู่การสร้างกิจกรรมบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดลได้อย่างไร?

    >> In fact we learned like you had to learn in Mahidol Univesity such as the theory and the group dynamic. But Mahiaol University got very good opportunity beacause the location near Bangkok. We can work at Kullaya Rajanakarin Institute, Srithanya Hospital, and Somdet Chaophraya Institute of Psychiatric. In addition, we get academic point of view and update new knowledge and curriculum.
    >> ความจริงแล้วความรู้ที่นักศึกษากิจกรรมบำบัดทั้งสองมหาวิทยาลัยเรียนมีเนื้อหาที่คล้ายกัน แต่เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหิดลตั้งอยู่ใกล้กรุงเทพมหานคร ทำให้มีสถานที่ฝึกงานเพียงพอต่อการให้นักศึกษาสามารถไปฝึกงาน เช่นสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ โรงพยาบาลศรีธัญญาและสถาบันจิตเวชสมเด็จเจ้าพระยา เป็นต้น นอกจากนี้เรามีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรและเนื้อหาการเรียนให้ทันสมัยตลอดเวลา

  3. What do you see in the future as occupational therapist in mental health and how is this lead to success?
    สิ่งที่คุณเห็นในอนาคตในฐานะนักกิจกรรมบำบัดฝ่ายจิตและวิธีการที่นำไปสู่ความสำเร็จ?

    >>Now the people with mental illness have 10 million people in Thailand, but unlucky that only 1 million go to the mental health hospital. Thus 9 million live in the community with difficult. In the future I should have 1,200 occupational therapists (now ~800people). Occupational therapists need more prevention and promotion. Futhermore, the government should support and make policy for help the people with mental illness.
    >> ปัจจุบันผู้ที่มีความบกพร่องทางจิตมีประมาณ 10 ล้านคน แต่มีเพียง 1 ล้านคนเท่านั้นที่เข้ารับการรักษา สิ่งที่เห็นในอนาคตคือจำนวนนักกิจกรรมบำบัดที่เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 800 คน เป็น 1,200 คน และอยากเห็นนักกิจกรรมบำบัดทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและการส่งเสริมสุขภาพจิต รวมทั้งการสนับสนุนจากนโยบายของรัฐบาลที่จะช่วยบุคคลที่มีความบกพร่องทางจิต

  4. On the issue of Thai community/ society/ culture that can use your occupational therapy professional skills are particularly interesting to you?
    จากวัฒนธรรมและประเพณีของสังคมไทยสามารถนำมาประยุกต์ในทางกิจกรรมบำบัดได้อย่างไร?

    >> Nature can help themselves, so the mental illness people or family can get recovery themselves by nature. For example, they would like to talk with someone and go to the temple. Occupational therapist should involed in church and temple. Then, we do meaningful and porposeful activity and support them.
    >> โดยธรรมชาติเราจะมีกลไกการรักษาตนเองจากความซึมเศร้าหรือความเครียดต่างๆ ยกตัวอย่างเช่นการพูดเพื่อระบายความรู้สึกกับคนใกล้ชิด การไปวัดทำบุญซึ่งเป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจที่สำคัญ นักกิจกรรมบำบัดอาจเข้าไปมีส่วนร่วมในวัดโดยการทำกิจกรรมที่มีจุดมุ่งหมายและความหมายต่อชีวิต รวมถึงการส่งเสริมและให้กำลังใจบุคคลเหล่านั้น

  5. What do you see Thai occupational therapist in mental health five/ten years from now?
    สิ่งที่คุณเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมบำบัดฝ่ายจิตใน 5 หรือ 10 ปีข้างหน้า?

    >>In five years ago, we got graduated 2 generations. They have only 2-3 people work in the mental health hospital. Five years from now, the student who graduated work in the mental health area very difficult. In ten years, I can’t expect that. I hope someone work in mental health area.
    >> 5 ปีที่ผ่านมา มีนักศึกษากิจกรรมบำบัดจบไป 2 รุ่น มีเพียงประมาณ 2-3 คน จากจำนวนบัณฑิตทั้งหมดที่ทำงานในโรงพยาบาลจิตเวช ใน 5 ปีข้างหน้า เป็นไปได้ยากที่นักศึกษากิจกรรมบำบัดเลือกทำงานในฝ่ายจิตเวช ส่วนอีก 10 ปี หวังว่าคงมีนักศึกษาที่เรียนจบไปทำงานในฝ่ายนี้มากขึ้น

  6. What are your aspirations beyond Thai occupational therapist?
    สิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจนอกจากการเป็นนักกิจกรรมบำบัด?

    >>We need interprofessional. For example, Bangkok Hospital might open formaly in May or April 2014. This is very good medel for interprofessional. They open the section for specialization in mental health. They ask the nurse, the psychitrist, and everyone who would like to be a mental health professional. Thus they learn about technique of mental health may be 6-12months. Learn about how they work together? They have to talk about case study.
    >>  สิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจคือเราต้องการผู้เชี่ยวชาญที่มีความเป็นสากลมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่นโรงพยาบาลกรุงเทพได้มีการเปิดแผนกที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตโดยเฉพาะ นักกิจกรรมบำบัดได้เชิญพยาบาล นักจิตวิทยาและบุคคลที่สนใจมาร่วมกันเรียนรู้เทคนิคในการทำงานฝ่ายจิตเวช เช่นการทำงานร่วมกันของสหวิชาชีพและการประชุมที่เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับการรักษาที่เหมาะสม

  7. In 2015, Thailand as a member of Asean community, what do you think that AEC is positive or negative impacts for Thai occupational therapist in mental health?
    ในปี 2015 ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คุณคิดว่าเป็นผลดีหรือผลเสียต่อนักกิจกรรมบำบัดไทย?

    >> I said in the beginning, we lack of professional and knowledge about recovery, well-being, etc. Thus the other country in Asean will competitive us because we weakness of mental health service. But the developed countries come in Asean community such as Japan, Australia, and USA. They got many speacialized aspect occupational therapists in mental health. In positive we have 3 ways possibilities. The first way is medical tourism. We have very beautiful place that can combind the tourist and the spa, Thai culture to stress-management program. The second way is set up second team mental health hospital. The occupational therapist, the nurse, and the psychitrist learn about recovery model and well-being. The third way if you lack of occupational therapist, you can make the project to treat not only physical health but also mental health in community near hospital.
    >> จากที่ได้กล่าวไปในตอนต้นว่าเรายังขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช ทำให้เมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เราจะเสียเปรียบเนื่องจากจุดอ่อนด้านการบริการทางด้านสุขภาพจิต ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกาจะเข้ามาทำงานในกลุ่มประเทศอาเซียนมากขึ้น เนื่องจากมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านโดยเฉพาะสุขภาพจิต ในแง่ดีเรามี 3 ทางที่สามารถทำให้เกิดขึ้นจริง คือ 1.ทัวร์สุขภาพ เช่นการจัดการความเครียดโดยการทำสปา 2.การตั้งทีมสุขภาพจิต เช่นนักกิจกรรมบำบัด พยาบาล และนักจิตวิทยามาเรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคและการให้บริการผู้รับบริการฝ่ายจิต 3.หากขาดแคลนนักกิจกรรมบำบัด คุณสามารถทำโครงการต่างๆ เช่นการฟื้นฟูทางด้านร่างกายและจิตใจแก่คนในชุมชนรอบโรงพยาบาล

    -------------------------------------------------------------------------------------------

    Thank you Dr.Supaluk Khemthong for seminar in mental health field. Occupational therapist should focus on the mind of the client, create the therapeutic activity that relate with client’s context, and support the vocational rehabilitation. 
    ขอบคุณอาจารย์ ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง สำหรับการสัมมนากิจกรรมบำบัดฝ่ายจิตในครั้งนี้ นักกิจกรรมบำบัดทุกฝ่ายควรให้ความสำคัญกับด้านจิตใจของผู้รับบริการและครอบครัว ควรมองผู้รับบริการเป็นองค์รวมและฝึกการทำกิจกรรมที่สอดคล้องกับบริบท รวมถึงส่งเสริมการทำงานของผู้รับบริการในสังคม

 

Follow seminar in physical health field. คุณสามารถติดตามสัมมนาฝ่ายกายได้ที่ลิงค์นี้http://www.gotoknow.org/posts/562972
Follow seminar in pediatric field. คุณสามารถติดตามสัมมนาฝ่ายเด็กได้ที่ลิงค์นี้http://www.gotoknow.org/posts/562974

หมายเลขบันทึก: 562968เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2014 14:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2014 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีใจเห็น้องดร.Pop

ปกติดีแล้วครับ

ดีใจกับ Dr.Pop ไปสอน ไปพูดในเวที และความรู้ ได้กระจายไปไกลๆ นะคะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท