ชีวิตที่พอเพียง: ๒๐๙๖. ทักษะชีวิต


 

          ระหว่างประชุมคณะกรรมการมูลนิธิพูนพลัง     เช้าวันอาทิตย์ที่ ๑๒ ม.ค. ๕๗    มีการรับทราบเรื่องนักเรียนที่ได้รับทุน เรียนระดับมหาวิทยาลัย และระดับ ปวส.  มีค่าใช้จ่ายหลายด้านที่ไม่สมเหตุสมผล

          ด้านหนึ่งคือค่าทำโครงงาน    มีนักเรียนทุนคนหนึ่งทำโครงงานกับเพื่อน ๒ คน ต้องควักกระเป๋าจ่ายค่าอุปกรณ์คนละ ๔ พันบาท    โดยที่นักเรียนคนนี้ การเงินชักหน้าไม่ถึงหลังอยู่แล้ว

          มีคนเล่าว่า บางโครงงานใช้เงินเป็นแสน    โดยนักศึกษาต้องจ่ายเงินเอง    ผมสงสัยว่า อาจารย์ที่ปรึกษาตระหนักเรื่อง ค่าใช้จ่ายที่มากเกินพอดี ในเรื่องทำโครงงานหรือไม่    กรรมการบางคนบอกว่า อาจารย์ชอบ เพราะจะได้เอาผลงานไปประกวด ได้ชื่อเสียง  

          แต่ผมว่า มันเป็นการฝึกทักษะชีวิตไปในทางลบ    ทำให้เยาวชนไม่รู้จักความพอดี พอเพียง และประหยัด

          การพูดคุยขยายออกไปเรื่อง peer pressure ในกลุ่มเยาวชน    ที่เมื่อต้องการเข้ากลุ่ม ก็ต้องยอมแรงกดดันของกลุ่ม    โดยที่บางเรื่องเป็นกิจกรรม หรือการสร้างค่านิยมผิดๆ    ผมคิดว่าอาจารย์ต้องทำตัวเป็น คุณอำนวยชวน นศ. ทำ reflection เรื่องกิจกรรมนักศึกษา     และค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ    นักศึกษาจะได้เข้าใจว่า ค่าใช้จ่ายที่สูงเกินพอดีนั้น เพื่อนบางคนลำบากมาก

          ทักษะในการดำรงความแตกต่าง โดยไม่รู้สึกเสียหน้า หรือต่ำต้อย    เป็นทักษะชีวิตอย่างหนึ่ง

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๒  .. ๕๗

 

 

หมายเลขบันทึก: 561820เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2014 09:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2014 09:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ถ้ารู้จักพอเพียงคงไม่โกงจำนำข้าว

คนเป็นครูอาจารย์ควรจะต้องเรียนรู้และเข้าใจทักษะชีวิตให้ลึกซึ้ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท