วัคซีนสุกใส จำเป็นต้องฉีดมั๊ย ?
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
เคยมีคำถามจาก คนไข้หลายคนว่า วัคซีนสุกใสนี่จำเป็นต้องฉีดมั๊ย ? เมื่อก่อนก็ไม่คิดจะศึกษาข้อมูลจริงจัง ก็รู้สึกว่า เอ้า...เป็นครั้งเดียวในชีวิต เป็นแล้วก็หายได้ ไม่ถึงกะชีวิตหรอก จะฉีดให้เปลืองทำไม หากจำเป็นจริง รัฐเขาคงจัดสรรมาให้คล้ายวัคซีนอื่นๆกระมัง อย่างลูกสาวนี่ก็ยังไม่ได้ฉีดให้ เพราะคิดเช่นนั้นแหล่ะ ติดๆไปเถอะเป็นแล้วก็แล้ว จนเมื่อเดือนที่แล้วนี่ไปอบรม ได้รับข้อมูลเรื่องวัคซีนที่น่าสนใจ ประกอบกับมาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม ในอินเตอร์เน็ต แล้ว....อืมมมม์....มาพิจารณา เสียตังค์ฉีดไม่กี่บาท ก็ไม่แพงเท่าซื้อมือถือเครื่องหนึ่งน๊า แล้วเราคิดอะไร จริงอยู่ โรคอีสุกอีใสที่เกิดในวัยเด็ก ไม่ต้องใช้ยา อาการต่างๆ ก็จะหายได้เอง แต่มาดูข้อมูลกันก่อนดีกว่า
1. .การติดเชื้อในทารกและผู้ใหญ่ ร้อยละ 20-30 จะ เกิดอาการรุนแรง ได้แก่ ปอดอักเสบ และ สมองอักเสบ จนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ต้องได้รับยาต้านไวรัส และอาจถึงแก่ชีวิตได้
3. ส่วนใหญ่ผู้ที่หายจากโรคจะไม่เกิดผื่นอีสุกอีใสซ้ำ แต่ ร้อยละ 10-20 ของผู้ที่เคยรับเชื้อ เมื่ออายุมากกว่า 65 ปี จะเกิดงูสวัด ซึ่งเกิดจากไวรัสหลบไปซ่อนตัวที่ปมประสาท และกลับมาติดเชื้อซ้ำที่ผิวหนังตามแนวเส้นประสาท เกิดตุ่มน้ำพองใสตามแนวเส้นประสาทและปวดเส้นประสาทนาน 2-4 สัปดาห์ ซ้ำร้าย 1 ใน 5 ราย ยังมีอาการปวดเส้นประสาทอยู่นานหลายเดือน หลังจากรอยโรคที่ผิวหนังหายไปแล้ว
ที่น่ากลัวนี่ โดยเฉพาะในผู้หญิง ชลัญเห็นว่า ข้อ สองนี่น่ากลัวสุด หากติดเชื้อตอนท้องนี่ ลูกมีโอกาสพิการเห็นๆ
และอีกอย่างเห็นคนไข้ที่มาตรวจที่โรงพยาบาล ด้วยอาการปวดเส้นประสาทจากร่องรอยของงูสวัดแล้วน่าสงสาร ทรมานขนาด กินยาแก้ปวด ก็ดูเหมือนจะไม่ลดลงเท่าไหร่ คนไข้ทรมานน่าดูบางคนเป็นนาเป็นปีๆยังไม่หายปวด คนไข้จะทุกข์กับอาการปวดมาก
เนื่องจากโรคอีสุกอีใสเป็นโรค ที่มีอาการไม่รุนแรงโดยเฉพาะในเด็กประกอบกับวัคซีนอีสุกอีใสมีราคาแพง ปัจจุบันจึงจัดเป็นวัคซีนเผื่อเลือก สามารถฉีดได้ในเด็กอายุตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป แพทย์บางคนแนะนำให้ฉีดในเด็กโตเพื่อให้มีโอกาสติดเชื้อตามธรรมชาติก่อน ซึ่งจะเป็นการประหยัดและทำให้เกิดภูมิคุ้มกันนานตลอดชีวิต
วัคซีนอีสุกอีใสมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ร้อยละ 95-99 มีความปลอดภัยสูง และช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคงูสวัดอีกด้วย ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วยังมีโอกาสเป็นโรคได้ แต่อาการของโรคทั้งไข้และจำนวนตุ่มที่เกิดมักไม่รุนแรง
ว่าไปตอนนี้ชลัญเองคงไม่ทันฉีดแล้วแหล่ะ เป็นเรียบร้อยตั้งแต่เด็กแล้ว คงต้องรอรับกรรมงูสวัดต่อไป กึ๋ยยยยยย์ นึกแล้วน่ากลัวชะมัด ตอนนี้เตรียมพาหมวยน้อย ลูกสาวไปฉีดคงไม่สายไปหรอกมั๊ง
หากท่านใดสนใจก็สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ตาม Link ตัวอย่าง หรือ สอบถามเพิ่มเติมจากแพทย์ใกล้บ้าได้ค่ะ
อ้างอิง http://www.clinicdek.com/index.php
http://biop.pharm.su.ac.th/vaccine/optional/73-chickenpox
ด้วยความห่วงใย
ชลัญธร