'' 15 ค่ำ เดือน 3 ''


 

 

คำว่า "มาฆบูชา" ก็หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนมาฆะ คือ เดือน 3 หรือเป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงในคืนขึ้น 15 ค่ำ เดือน

3 สมัยพุทธกาลเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ได้ 9 เดือน (นับแต่วันวิสาขบูชาขึ้น 15 ค่ำเดือน 6) ขณะที่เสด็จประทับอยู่ที่วัดเวฬุ

วัน(อันเป็นวัดแห่งแรกในพุทธศาสนา) ณ เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธนั้น พระสงฆ์สาวกที่พระพุทธองค์ได้ส่งออกไปเผยแพร่พุทธ

ศาสนาตามเมืองต่างๆ ได้พร้อมใจกันกลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยมิได้นัดหมายกัน ซึ่งถือเป็นเรื่องอัศจรรย์ยิ่ง 

"วันมาฆบูชา" เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาและพุทธศาสนิกชน เพราะเป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิ

โมกข์ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา และยังมีเหตุการณ์พิเศษเกิดขึ้นพร้อมกัน 4 ประการ อัน

ได้แก่ 

1.พระสงฆ์สาวกที่มาประชุมพร้อมกันทั้ง 1,250 รูปนั้น ได้มาประชุมกันยังวัดเวฬุวันโดยมิได้นัดหมาย

2.พระสงฆ์ที่มาประชุมทั้งหมดต่างล้วนเป็น "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง

3.พระสงฆ์ทั้งหมดที่มาประชุมล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา 6

4.และวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญมาฆปุรณมีดิถี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 


ดังนั้นวันมาฆบูชา จึงมีคำเรียกวันนี้อีกคำหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4 ถือเป็นวันปฐมนิเทศ

ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างเป็นทางการ พระพุทธองค์ได้ทรงประกาศหลักการและอุดมการณ์หรือหัวใจแห่งพุทธศาสนา อันมี

เนื้อหาหลัก ว่าด้วยการส่งเสริมให้มวลมนุษย์ตั้งมั่นในการทำความดี ละความชั่ว ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน นั่นก็คือ ทรงสอนให้ทุก

คนมีความรักอันยิ่งใหญ่ เป็นรักที่ไม่เห็นแก่ตัว เพราะสอนให้รู้จักรัก และเมตตาต่อเพื่อนร่วมโลก และ "ความรัก" ก็เป็นคำที่มีความ

หมายที่กว้างขวาง ไร้ขอบเขตจำกัด เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์ทุกชาติทุกภาษาอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข หลายๆ คนจึงถือว่า "วัน

มาฆบูชา" เป็น "วันแห่งความรัก" ในทางพุทธศาสนา หนังสือวันสำคัญฯของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้กล่าวถึง

หลักธรรมอันเป็น"หัวใจของพุทธศาสนา" แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ เป็นหลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการ 6 ซึ่งสรุปได้ ดังนี้ 


หลักการ 3 หมายถึง สาระสำคัญที่ควรยึดถือเป็นแนวปฏิบัติ ได้แก่

1.การไม่ทำบาปทั้งปวง ด้วยการไม่ประพฤติชั่วทั้งกาย วาจาและใจ เช่น ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่ลักขโมย ไม่ผูกพยาบาท

2.การทำกุศลให้ถึงพร้อม ด้วยการทำความดีทุกอย่างทั้งกาย วาจาและใจ เช่น ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่โลภมาก และมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่

3.การทำจิตใจให้ผ่องใส ด้วยการละบาปทั้งมวล ทำใจให้ปราศจากกิเลส ความโลภ โกรธ หลง ถือศีลและบำเพ็ญกุศลให้ถึงพร้อม

ด้วยการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา 

อุดมการณ์ 4 หมายถึง หลักการที่ทรงวางไว้ เป็นแนวปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ได้แก่ 

1.ความอดทน ให้มีความอดกลั้น ไม่ทำบาปทั้งกาย วาจาและใจ

2.ความไม่เบียดเบียน ให้งดเว้นจากการทำร้าย รบกวนหรือเบียดเบียนผู้อื่น

3.ความสงบ คือ การปฏิบัติตนให้สงบทั้งกาย วาจาและใจ

4.นิพพาน คือ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในทางพุทธศาสนา ที่จะเกิดขึ้นได้จากการดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ 8 ได้แก่

ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ และความ

ตั้งใจมั่นชอบ 


วิธีการ 6 ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติได้แก่

1.ไม่ว่าร้าย คือ ไม่กล่าวให้ร้ายผู้อื่น

2.ไม่ทำร้าย คือไม่เบียดเบียน ไม่ฆ่าผู้อื่น

3.สำรวมในปาติโมกข์ คือการเคารพระเบียบ กติกา กฏหมายและขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของสังคม

4.รู้จักประมาณ คือ รู้จักพอดี พอกิน พออยู่ หรือจะกล่าวแบบปัจจุบันว่าถือหลักเศรษฐกิจพอเพียง ก็ได้

5.อยู่ในสถานที่ที่สงัด คืออยู่ในสถานที่ที่สงบ และมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม

6.ฝึกหัดจิตใจให้สงบ คือ การฝึกหัดชำระจิต หมั่นทำสมาธิภาวนา 

 จะเห็นได้ว่าธรรมะที่พระพุทธองค์ตรัสสั่งสอนนี้ ล้วนมีความหมาย และความสำคัญต่อการดำรงชีวิต ไม่เพียงแต่ผู้อยู่ในเพศบรรพชิต

ที่บวชเรียนเท่านั้น คฤหัสถ์ผู้ครองเรือน และฆราวาสอย่างพวกเราทุกคนก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี

ดังนั้น ในโอกาสวันมาฆบูชา นี้ จึงขอเชิญชวนให้ทุกท่านได้ใช้วันนี้ เป็น “ วันแห่งความรัก ” ด้วยการ “ ตามรอยพระพุทธองค์ ”

มอบความรัก ความเมตตาต่อตนเอง ครอบครัว คนรอบข้าง และเพื่อนร่วมโลกทั้งหลาย โดยการประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมคำสั่ง

สอนของพระพุทธเจ้า ไม่ว่าจะเป็นการพูดดี คิดดี ทำดี ไม่คิดร้ายทำลายผู้อื่นทั้งกาย วาจา และใจ เพียงเท่านี้ สังคมทุกแห่งก็จะ

สงบสุข และโลกเราก็จะบานสะพรั่งด้วย ความรักสีขาว ที่สะอาด บริสุทธิ์และปลอดพิษภัย 

คำสำคัญ (Tags): #poom
หมายเลขบันทึก: 561667เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2014 19:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2014 19:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท