AAR - After Action Review การจัดการความรู้การผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ


ในการดำเนินการกิจรรมอะไรก็ตามหากเริ่มครั้งแรกด้วยความมั่นคงแข็งแรงการทำงานเราจะต่อยอดได้ง่าย และลดการลงแรงได้อย่างมากเหมือนปลูกต้นไม้ที่เริ่มงอกงามเป็นต้นตอที่แข็งแรงแล้วจะมาต่อยอดอย่างไรก็ได้

          ช่วงบ่ายของวันที่ ๒๖ ต.ค.๔๙  ในการจัดกระบวนการ การจัดการความรู้   การผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ  หลังจากแบ่งกลุ่ม กันถอดองค์ความรู้และรวมกลุ่มกันเพื่อ ช่วยกันสร้างขุมความรู้เก็บไว้เพื่อสมาชิกและคนอื่น ๆ จะได้นำไปปรับใช้ต่อไปแล้ว 

          เป็นช่วงสุดท้ายของการสัมมนาครั้งนี้  และถือเป็นช่วงสำคัญตามพฤติกรรมที่ผมมองเห็น  ที่ผมว่าสำคัญคือผมเป็นนักส่งเสริมการเกษตร    ต้องทำงานร่วมกับกลุ่มคนหลายระดับ ทั้งระดับชุมชน และระดับหน่วยงาน/องค์กรต่าง ๆ แต่ผมจะเน้นที่ชุมชน ทั้งระดับผู้นำชุมชน  เกษตรกรแนวหน้า เกษตรกรทั่วๆ ไป  
          
          ในการดำเนินการกิจรรมอะไรก็ตามหากเริ่มครั้งแรกด้วยความมั่นคงแข็งแรงการทำงานเราจะต่อยอดได้ง่าย  และลดการลงแรงได้อย่างมากเหมือนปลูกต้นไม้ที่เริ่มงอกงามเป็นต้นตอที่แข็งแรงแล้วจะมาต่อยอดอย่างไรก็ได้    แต่หากดำเนินการเพื่อให้รู้ว่าดำเนินการแล้ว  ครั้งต่อไปต้องลงมือปลูกใหม่หรือนับหนึ่งใหม่(งานเดิม)  ซึ่งคือยังปลูกต้นตอไม่รอดว่างั้นครับ  ต้องเหนื่อยใหม่

           กระบวนการ KM เป็นกระบวนการที่ทำให้เราเรียนรู้ได้หลากหลาย ทั้งพฤติกรรมคน  สังคมที่แตกต่างกัน   ความต้องการของคน  ช่องว่างระหว่างคน หน่วยงาน ก่อนจัดการความรู้ครั้งนี้ ผมไม่คาดหวังอะไรมากไปกว่าให้เกษตรกรกลัวที่จะใช้สารพิษ   แต่จะพูดว่าเกินเป้าที่ตั้งไว้มาก ๆ ก็ว่าได้เพราะ วันแรกที่พี่เกรียงไกรจากจังหวัด และพี่สุภาพ คำนุ่นได้พูดถึง KM ทำให้บุคคลเป้าหมายสงสัยงงและอยากรู้  และเขาก็พูดตลกกันเรื่อง KM กับ MK แต่การตลกไม่ใช่แบบไร้สาระ แต่เพื่อการเรียนรู้ของเขาครับ  และผมรู้ว่าแรก ๆ เขาก็งง ๆ ผมต้องถือโอกาสคอยให้ซึมซับและตอนนี้เชื่อว่าเขารู้จัก KM แล้ว  และใจได้เปิดแล้ว

            สิ่งที่สะท้อนออกมา  จากน้องผู้ชายคนหนึ่งซึ่งถือว่ายังอยู่ในวัยไม่ห่างจากวัยรุ่นมากนักว่า "ตอนลุงนวย(พี่อำนวย มาศเมฆ)ชวนผมมาตั้งหลายที(ครั้ง)แล้ว   แต่ผมไม่อยากมา เพราะผมไม่ชอบราชการ ที่ผมเห็นเมื่อก่อนมีแต่เขาเอาเปรียบเรา  แต่ผมเกรงใจลองมาแล(ลองมาดู)  แต่มาถึงวันนี้สิ่งที่ผมคิดคงเป็นเรื่องในอดีต ตอนนี้ที่ผมเห็นมันคนละเรื่องผมบอกตามตรงว่าตอนนี้ผมชอบที่จะมาและหนุก(สนุก)ที่ได้มา "

 

                ป้าคนหนึ่งบอกว่า "อยากให้เราได้มาพบกันเดือนละครั้งเป็นอย่างน้อย บางครั้งเวลามีปัญหาไม่รู้จะถามใคร ถ้ามาเจอกันจะได้ช่วยกันแก้ไข"

         และหลาย ๆ สิ่งสะท้อนในทางบวก เช่น

  • ดีใจที่ได้มารู้จักเพื่อนใหม่ ๆ ต่างตำบล
  • ได้ประสบการณ์ในการทำงานร่วมกัน
  • ได้รู้วิธีการวางแผนการประกอบอาชีพ
  • ไดรู้วิธีคิดหลากหลาย
  • ได้ความรู้ที่หลากหลายโดยบางเรื่องไม่เคยรู้มาก่อนเลย
  •  จริง ๆไม่ต้องการใช้สารเคมี แต่ไม่มีความรู้คนใกล้บ้านก็ไม่รู้เห็นเพื่อนใช้ก็ถาม ๆ และใช้กันไป
  •  ดีใจที่ได้เป็นเครือข่ายการปลูกผักจะได้ช่วยเหลือเรื่องตลาด เรื่องปัจจัยการผลิต และความรู้
  •      ฯลฯ

ภาพนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเพื่อนใหม่ครับที่มาขอให้ผมช่วยถ่ายให้เพราะเป็นช่วงเลิกสัมมนาได้กลับกันไปส่วนหนึ่งแล้ว

          หลังจากนี้ผมต้องเปลี่ยนเป้าหมายการหาพันธมิตร KM ใหม่เพราะตั้งแต่ที่ผมเริ่มเรียนรู้มาตั้งแต่ช่วงต้นปี  พยามดึงใครหลาย ๆ คน(คนใส่หมวก) จนล้าและเหนื่อยก็ยังดึงให้เดินไม่ได้เพราะบางคนต้าน บางคนเฉย เลยขอเปลี่ยนไปที่เกษตรกรดีกว่าเพราะ ๓ วันที่ผ่านมาเชื่อว่าผมได้คุณกิจตัวจริงหลายคน  และแววคุณอำนวย คุณประสาน คุณลิขิต คุณเล่า เริ่มฉายให้ผมเห็นชัดเจนขึ้นครับ 

         คงไม่ดึงมือคนใส่หมวกอีกแล้ว(เหนื่อย และ............)

หมายเลขบันทึก: 56152เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2006 12:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อ.ชาญวิทย์ ....AAR โครงการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ มาให้ได้ทราบกัน ทำให้ผมได้รู้ เข้าใจอะไรขึ้นอีกเยอะ เห็นว่าโครงการนี้ใช้เรียนรู้แก้จน ....แก้ปัญหาอะไรได้สารพัด เป็นประโยชน์กับชาวบ้านที่จะใช้เรียนรู้ต่อเนื่องได้ เพราะชีวิตคนใต้บ้านเราก็ไม่พ้นเรียนรู้เรื่องเกษตรนี่แหละครับ...ทำไประยะหนึ่งแล้ว ก็ได้บทเรียนประการหนึ่งแล้วว่าสร้างคุณกิจ คุณอำนวย คุณเล่า คุณประสาน คุณลิขิต ฯลฯ ที่เป็นชาวบ้านได้ดีกว่า ง่ายกว่า คนที่มีหมวกยศฐาบรรดาศักดิ์ ผมเองก็ไม่มีความเห็นแย้ง อ.ชาญวิทย์เลย ผมคิดว่าชาวบ้านที่เราสร้างได้ให้เป็นยอดคุณกิจ คุณประสาน ฯลฯเหล่านี้นี่แหละครับ จะเป็นตัวช่วยเราในการเร่งให้ผู้มียศฐาบรรดาศักดิ์ ถอดหมวกตำแหน่งแห่งที่ให้มาเป็นนักเรี่ยนเรียนรู้งานไปพร้อมๆกันได้สักวัน ขอเป็นกำลังใจให้ครับ

เรียน อ.จำนง

         ผมเองพยายามเชื่อมโยงเพื่อไม่ให้มองเป็นเรื่องแยกส่วน  เพราะเป็นฐานอาชีพตามวิถีชีวิตจริง  สำคัญโครงการนี้มีจุดดำเนินการไม่กว้างแต่ก็สามารถต่อยอดเป็นกลุ่มเรียนรู้ได้ครับ

         มีโครงการอีกโครงการที่ทำทุกตำบลทั่วประเทศคือ โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน(คสป.)  ในตัวโครงการกำหนดไว้เลยนะครับว่าให้จัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ KM  อ.สอบถามที่ นักวิชาการ ฯ เกษตรเมืองนะครับทุกโครงการเชื่อมให้เป็นเรื่องแก้จนเมืองนครได้หมดละครับ
          เรื่องพันธมิตร ผมเปลี่ยนเป้าหมายและทางเดินแล้วครับ  เพราะทางไหนเดินยากก็อย่าไปเดินเลยครับถึงที่หมายช้า

เรียน อ.จำนงเพิ่มเติม

         โครงการ คสป.ผมมีบันทึกปฏิบัติอยู่ด้วยครับ คลิ้ก

  • ขอบคุณมากครับี่ชาญวิทย์
  • ชอบทัศนคติน้องคนนี้ครับ

จากน้องผู้ชายคนหนึ่งซึ่งถือว่ายังอยู่ในวัยไม่ห่างจากวัยรุ่นมากนักว่า "ตอนลุงนวย(พี่อำนวย มาศเมฆ)ชวนผมมาตั้งหลายที(ครั้ง)แล้ว   แต่ผมไม่อยากมา เพราะผมไม่ชอบราชการ ที่ผมเห็นเมื่อก่อนมีแต่เขาเอาเปรียบเรา  แต่ผมเกรงใจลองมาแล(ลองมาดู)  แต่มาถึงวันนี้สิ่งที่ผมคิดคงเป็นเรื่องในอดีต ตอนนี้ที่ผมเห็นมันคนละเรื่องผมบอกตามตรงว่าตอนนี้ผมชอบที่จะมาและหนุก(สนุก)ที่ได้มา "

  • พี่ลองพิมพ์ภาพที่นำมาเสนอรูปข้างบนไปติดที่ชุมชนนะครับ
  • ผมเคยใช้เป็นตัวเสริมแรงที่ดีมาก ทุกคนจะมาดูรูปตัวเอง หลายคนกลับไปทำและอยากเผยแพร่ครับ
  • แวะมาให้กำลังใจด้วยครับพี่บ่าว

 

เจอบทความ อ.ปภังกร เขียนเอาไว้ดีเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงกับการเลิกทาส อยากให้ อ.ชาญวิทย์ ได้อ่าน ลิ้งอ่าน

เรียน.... พี่ชาญวิทย์  ผมก็เคยมีความรู้สึกเหมือนพี่กับ "กรณีคนทีหมวก" และ คิดว่าจะมีอย่างน้ีไปอีกนานครับพี่... แต่ถึงอย่างไร ในฐานะคนคอเดียวกันเข้าใจดีครับ... ทุกอย่างไม่ได้ด้วยความสะดวก ราบรื่น แต่ต้องฝ่าฟัน ค้นหา ทำให้ได้มา .... เหมือนเสื้อสามารถที่พี่ได้ไงครับ...  มีคนอีกมากมายที่เห็น.... จะมองอะไรกับคนจำนวนน้อยที่พยายามไม่ทำความเข้าใจ....

ผมจำคำพูดท่านผู้ว่าฯ วิชม  ทองสงค์  ท่านบอกว่า "ความรู้เป็นสิ่งที่หยุดนิ่ง  ความเข้าใจเป็นสิ่งที่ไม่หยุดนิ่ง ไหลไปเหมือนกระแสน้ำ เราต้องทำความเข้าใจ เพื่อทำลายกำแพงความรู้ที่หยุดนิ่ง.... พี่ต้องพยายามทำให้เขาเกิดความเข้าใจ   เผื่อบางที "คนมีหมวก" จะเข้ามาร่วมกระบวนการกับเราบ้าง... นะนี่นะ.... 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท