Healing Environment


 พัฒนาการขับเคลื่อนเครื่องมือ Healing Environment

           สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาสิ่งแวดล้อมของสถานพยาบาล ซึ่งเป็นแนวคิดที่ทั่วโลกตื่นตัว เป็นการนำมิติสุนทรียภาพมาสู่กระบวนการเยียวยาผ่านการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออาทรและเยียวยาที่ครบถ้วน ทั้งผู้ป่วย ญาติ ชุมชน ตลอดจนบุคลากรในโรงพยาบาล โดยใช้รากฐานจากแนวคิดที่ว่ามิติของความดีและความงามนั้นแยกไม่ออกจากการพัฒนาคุณภาพ สุนทรียศาสตร์จึงต้องผสมผสานในวิทยาศาสตร์และการแพทย์ด้วย

           สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) จึงได้ร่วมกับ สสส.ในนามโครงการสร้างเสริมมิติจิตตปัญญาสู่ระบบสุขภาพอย่างยั่งยืน หรือ SHA ร่วมขับเคลื่อนแนวคิด Healing Environment โดยผสมผสานกับการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานโรงพยาบาล เพื่อต่อยอดการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย ควบคู่ไปกับการปรับปรุงระบบงาน หรือระบบบริการที่สอดคล้องกับความต้องการ ความเชื่อของผู้ป่วยและญาติ เป็นการดูแลอย่างครบองค์รวมด้วยหัวใจและความรัก โดยแสดงรูปธรรมด้วยการออกแบบสิ่งแวดล้อมใหม่ จากแรงบันดาลใจในการปรับปรุงการดูแลคนไข้อย่างเป็นองค์รวม ดังนั้นสถาบันจึงได้พัฒนาเครื่องมือ Healing Environment เพื่อขับเคลื่อนแนวคิด โดยพัฒนาจากแนวคิดของ Human-centered โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและสิ่งแวดล้อมจากภายนอกโดยอาศัยพื้นฐานแนวคิดของ Optimal Healing Environment (OHE) จากการวิจัยของสถาบัน Samueli Institute Research สหรัฐอเมริกา

          ผสมผสานประสบการณ์ของสถาบันในการขับเคลื่อนแนวคิดนี้เป็นระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ควบคู่กับการนำแนวคิด patient experience มาเสริมเพื่อให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเยียวยาที่ได้รับข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน สอดคล้องกับความต้องการ ความเชื่อของผู้ป่วยและญาติ

          พัฒนาเป็นเครื่องมือการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา (Healing Environment Guideline) 20131015Healing environment LogoHAI_Update.pdf

             โดยได้มีการพัฒนานำร่องใน 2 รพ. ที่สมัครใจ คือ รพ.มหาวชิราลงกรณ์ ธัญบุรี และ รพ.วัดเพลง จ.ราชบุรี

              สถาบันกำหนดให้มีการลงพื้นที่โดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งประกอบด้วย ผู้เยี่ยมสำรวจของสถาบัน นักวิชาการ และสถาปนิกที่มีความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบโรงพยาบาล จำนวน 5 ครั้ง 

              และเพื่อให้เกิดการต่อยอดและถอดบทเรียนการดำเนินงานการพัฒนา Healing Environment ในสถานพยาบาลต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการขยายผลอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น จึงได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเยียวยา เพื่อให้เกิดบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รพ.ที่ได้พัฒนา Healing environment และ รพ.ที่มีความสนใจ จัดขึ้นในวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2556 ณ โรงแรมรามาการ์เดนส์ กรุงเทพมหานคร โดยมี รพ.ที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้จำนวนรวม 134 รพ. เป็น รพ.ในโครงการ SHA 96 รพ.และ รพ.ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 38 รพ. จากการประชุมครั้งนี้ได้ส่งเสริมให้ รพ.ใช้เครื่องมือ Healing Environment Guideline พบว่าหัวข้อที่ รพ. ต้องการองค์ความรู้เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยามากที่สุดคือ การออกแบบด้านโครงสร้างเพื่อการเยียวยา เช่น การออกแบบตบแต่ง การใช้ แสง สี เสียง ศิลปะ ธรรมชาติ ดนตรี รวมถึงการจัดสถานที่สำหรับครอบครัว ญาติ ที่เอื้อต่อการเกิดสุขภาวะ (Building Healing Space)          

จากข้อมูลนี้ สถาบันได้เล็งเห็นถึงความต้องการดังกล่าว จึงได้ร่วมมือกับกลุ่มสถาปนิกจิตอาสา ที่มีประสบการณ์ในการออกแบบสถานพยาบาลทั่วประเทศ นำทีมโดยทีมงาน อ.ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ อ.มรกต วรมนตรี ทีมสถาปนิก 108 และทีมโรงพยาบาลในโครงการ SHA ที่เป็น รพ.นำร่องการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา รพ.มหาวชิราลงกรณ์ รพ.วัดเพลง เพื่อร่วมกันหารือการสร้างต้นแบบสถานพยาบาลสำหรับการสร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา (Healing Evironmet Model) ในวันที่ 7 สิงหาคม 2556 โดยมุ่งเน้นพัฒนาทีมงาน เพื่อเป็นฐานกำลังในการให้คำปรึกษาด้านการสร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา โดยเชื่อมโยงและให้ความสำคัญกับการประยุกตใช้มาตรฐานการรับรองคุณภาพสถานพยาบาล บูรณาการทั้งศาสตร์และศิลป์ เพื่อคุณภาพการให้บริการที่ดี มีคุณภาพ สุขทั้งผู้ให้ และผู้รับต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #Healing Environmet Model
หมายเลขบันทึก: 560490เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2014 22:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มกราคม 2014 22:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท