สรุปการออกชุมชน,, มาแล้วค่ะ ^^'


มาแล้วค่ะ,, มาแล้ววว วว ว

หลังจากใช้เวลารวบรวมลมปราณอยู่นาน ขออภัยด้วยค่า

 

สรุปการออกชุมชน ขอแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1) คุณค่าที่เราให้กับชุมชน

2) คุณค่าที่ชุมชนให้กับเรา

(ขออนุญาตเลียนคำพูดของ อ.สมบูรณ์ (อาจารย์ "หมอมุ่ยครับ") มานะคะ)

[จำได้ว่า คำพูดอาจารย์ดูดีกว่านี้ค่ะ แต่หนูนึกไม่ออก]

 

1) คุณค่าที่เราให้กับชุมชน

ส่วนนี้คงเป็นเรื่องของ การตั้งใจทำงาน เพื่อพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของคนในชุมชนค่ะ

เราทำให้คนที่ไม่เคยมาร่วม มาร่วมได้,,

ทำให้บางคนอดกาแฟ อดของหวาน อดของมันได้ ตลอดช่วงเวลาที่เราอยู่ (ซึ่งก็นานนะคะ ในความรู้สึก ถ้าต้องงดของที่ชอบ),,

ทำให้หลายๆคนเอาจริงเอาจังกับการออกกำลังกายมากขึ้น มีกลุ่ม มีเพื่อน มีสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

ทั้งหมดนี้ คงรวบรวมไว้ ภายใต้โครงการ "ปรับพฤติกรรม เปลี่ยนความคิด นำชีวิต พิชิตเบาหวาน" ดังที่เคยเกริ่นนำไว้แล้ว

ขออนุญาตบอกรายละเอียดโครงการนี้อีกทีค่ะ

ส่วนที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้

กิจกรรมเสียงตามสาย "เบาหวานน่ารู้ สู่ชุมชนบ้านคลองน้ำเค็ม"

กิจกรรมให้ความรู้เรื่องสมุนไพร

ส่วนที่ 2 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

กิจกรรม "ปณิธานชีวิต"
สื่อที่ใช้ประกอบกิจกรรม เพลง เบาหวาน ชิมิ
พัดปิงปองจราจร 7 สี
รถไฟฟ้าเบาหวานนะเธอ

ส่วนที่ 3 กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ

กิจกรรม "ออกกำลังกาย by นิสิตแพทย์"

 

วันนี้ เราขอนำเสนอ ผลการดำเนินการของกิจกรรมค่ะ

(ขออนุญาตไม่เรียงตามข้างบนนะคะ)

 

กิจกรรมที่ 1 ปณิธานชีวิต

 

กลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 62 คน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 17 คน คิดเป็นเพศชาย 2 คน เพศหญิง 15 คน

 

และมีผู้อยู่ร่วมกิจกรรมครบ 15 คน คิดเป็นเพศชาย 1 คน (6.66 %) เพศหญิง 14 คน (93.34 %)

โดยในจำนวนนี้ แบ่งเป็นกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน 4 คน และกลุ่มเสี่ยงสูงต่อเบาหวาน 11 คน

 

ในจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 15 คน สามารถแบ่งตาม stages of change ได้ดังนี้

 

Pre contemplation 5 คน (DM=1, HR=4)

 

Action 3 คน (DM=1, HR=2)

 

Maintenance 5 คน (DM=1, HR=4)

 

Relapse 2 คน (DM=1, HR=1)

 

หมายเหตุ DM = ผู้ป่วยเบาหวาน, HR = High risk = ผู้มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นเบาหวาน

 

 

 

การประเมินกิจกรรมใช้แบบประเมินค่ะ

 

โดยแบบประเมินของกิจกรรมปณิธานชีวิต แบ่งออกเป็น 3 ตอน

 

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

 

ตอนที่ 2 ความพึงพอใจต่อการดำเนินกิจกรรม

 

ตอนที่ 3 ประเมินความต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

 

 

 

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

 

ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง อยู่ในช่วงอายุ 51-60 ปี รองลงมา คือ 71-80 ปี

 

มักจบการศึกษาระดับประถม และส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกร

 

ตอนที่ 2 ความพึงพอใจต่อการดำเนินกิจกรรม

 

ความพึงพอใจ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด

 

ข้อที่ระดับความพึงพอใจ "มากที่สุด" มากที่สุด คือ ความพร้อมของวิทยากร และความต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหลังเข้าร่วมกิจกรรม

 

ข้อที่ระดับความพึงพอใจ "น้อย" (ไม่มี "น้อยที่สุด") มีสองข้อ คือ ความเหมาะสมของเวลา และอาหารว่าง

 

 

ตอนที่ 3 ประเมินความต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

 

กลุ่มเป้าหมายต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งหมด 15 คน

 

ต้องการให้มีการจัดกิจกรรมนี้ต่อไป 15 คน เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายคิดว่า การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจะทำให้สุขภาพดีขึ้น ห่างไกลโรคเบาหวาน ทำให้มีแรงจูงใจมากขึ้นในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

 

สรุปผลการดำเนินกิจกรรมได้ว่า

 

-จากการจัดกิจกรรมมีกลุ่มเป้าหมาย มาเข้าร่วมกิจกรรม คิดเป็น 24%

 

-ผู้เข้าร่วมกิจกรรมปณิธานชีวิตมาเข้าร่วมกิจกรรมเปิดปณิธาน คิดเป็น 86.66%

 

-หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมปณิธานชีวิตแล้ว ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถทำตามปณิธานที่ตั้งขึ้นได้สำเร็จ 100%

 

ซึ่งเมื่อเทียบกับตัวชี้วัดที่ตั้งไว้ตั้งแต่ต้น นับว่ากิจกรรมนี้ “สำเร็จ” ค่ะ

 

 

 

กิจกรรมที่ 2 เสียงตามสาย “เบาหวานน่ารู้ สู่ชุมชนบ้านคลองน้าเค็ม”

 

มีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 62 คน โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่ได้ยินเสียงตามสาย 32 คน

 

และมีกลุ่มเป้าหมายไม่ได้ยินเสียงตามสาย 30 คน

 

สรุปผลได้ว่า

 

-มีกลุ่มเป้าหมาย ที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้ยินเสียงตามสายคิดเป็นร้อยละ 51.61

 

-มีกลุ่มเป้าหมาย ที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่ได้ยินเสียงตามสายคิดเป็นร้อยละ 48.39

 

-กลุ่มเป้าหมาย ที่ได้ยินเสียงตามสายมีระดับความพึงพอใจ ตั้งแต่ระดับ มาก ขึ้นไป คิดเป็น ร้อยละ 71.87

 

ดังนั้น เมื่อเทียบกับตัวชี้วัด กิจกรรมนี้ “สำเร็จ” ค่ะ

 

 

กิจกรรมที่ 3 : ออกกาลังกาย by นิสิตแพทย์

 

มีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 62 คน โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 11 คน และไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม 51 คน

 

-มีกลุ่มเป้าหมายมาเข้าร่วมคิดเป็นร้อยละ 17.74

 

-กลุ่มเป้าหมายไม่ได้มาเข้าร่วมคิดเป็นร้อยละ 82.26

 

-ผู้เข้าร่วมกิจกรรม“ออกกำลังกาย by นิสิตแพทย์” มีระดับความพึงพอใจตั้งแต่ระดับ มาก ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 60

 

กิจกรรมนี้ ตั้งตัวชี้วัดไว้ 2 ข้อค่ะ คือ

 

1)      ผู้เข้าร่วมกิจกรรม“ออกกำลังกาย by นิสิตแพทย์” มากกว่าร้อยละ 20 ของกลุ่มเป้าหมาย

 

2)      ผู้เข้าร่วมกิจกรรม“ออกกำลังกาย by นิสิตแพทย์”มีระดับความพึงพอใจตั้งแต่ระดับ มาก ขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 80

 

จากผลการดำเนินการข้างต้น เลยสรุปได้ว่า กิจกรรมนี้ผ่านตัวชี้วัด 1 ใน 2 ข้อค่ะ

 

 

การขยายผลและส่งต่อโครงการ

พวกเราได้ส่งต่อโครงการเหล่านี้ให้แก่พี่ๆ อสม. และเจ้าหน้าที่รพ.สต. เพื่อดำเนินการต่อค่ะ

ในเรื่องปณิธานชีวิต จะมีกลุ่มพี่ๆ อสม. นำโดยป้าจิบ เป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมปณิธานในครั้งต่อๆไป

โดยใช้สื่อที่ได้รับมอบจากพวกเราในการดำเนินกิจกรรม และอาจปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมตามความเหมาะสมต่อไป

ส่วนเรื่องเสียงตามสาย พวกเราได้จัดทำคลิปเสียงรายการ เพื่อให้ชุมชนใช้เปิดกระจายเสียง เสมือนตอนที่เราอยู่ 

เนื้อหาทำไว้สำหรับครึ่งเดือนค่ะ ซึ่งคลิปเสียงนี้ พวกเราจะขยายต่อไปทางอินเตอร์เน็ต ตามคำแนะนำของอ.สมบูรณ์และอ.วีระค่ะ

เรื่องสุดท้าย คือ ออกกำลังกาย พวกเราได้ทำคลิปนำออกกำลังกายใส่แผ่นซีดีรอมไว้ค่ะ เพื่อให้ชุมชนสามารถเอาไปขยายผล

กับกลุ่มสมาชิกที่มาร่วมเดิม หรืออีกหลายๆคนที่อยากมา แต่มาไม่ได้ มีแผ่นซีดีนี้ไว้ ออกกำลังกายได้เองที่บ้านเลยค่ะ

 

สิ่งเหล่านี้ คือ คุณค่าที่เราได้มอบให้กับชุมชนค่ะ

 

2) คุณค่าที่ชุมชนให้กับเรา

เชื่อว่า หลายๆคนคงรับรู้ได้ว่า ชุมชนให้อะไรกับพวกเรา ผ่านทางบันทึกเก่าๆ ที่ได้โม้ให้ฟังไว้มากมายแล้วนั้น

แต่ในเมื่อวันนี้เป็นวันสรุป ผู้เขียนเลยขอให้สมาชิกคิด "Take home message" ของตัวเองออกมา

Take home message ในที่นี้ คือ สิ่งที่ได้รับจากการออกชุมชนครั้งนี้ และคาดว่าจะนำไปใช้ต่อไปในอนาคตความเป็นหมอ

เริ่มกันเลยนะคะ..

เชอร์รี่ ;

"อย่าคิดว่า ปัญหาของคนไข้เป็นเรื่องเล็ก"

= หลังจากที่ได้คุยกับคุณป้าคนหนึ่ง เชอร์รี่สรุปออกมาได้ว่า

คนไข้เจอหมอไม่เห็นความสำคัญของสิ่งที่คนไข้อยากบอก > คนไข้ไม่บอก เพราะคิดว่าหมอไม่เห็นสนใจ > หมอจับปัญหาของคนไข้ไม่ได้ > คนไข้มาอีกครั้ง พร้อมกับปัญหาเดิม ที่ใหญ่กว่าเดิม

"คนไข้เชื่อที่เราพูด มากกว่าที่เราคิด"

= มีคุณป้าคนนึงเลิกดื่มกาแฟ หลังจากที่ได้คุยกับเชอร์รี่เพียงแค่ครั้งเดียว (เมื่อวานคุย วันนี้เลิกดื่ม แล้วมาเล่าให้ฟัง) ทั้งๆที่ก่อนหน้าก็ดื่มมาเกือบตลอดชีวิตของป้า

ดังนั้น เราต้องพยายาม ต้องมีความรู้มากกว่านี้ เพราะคนไข้เชื่อถือเรามาก

"ความจริงแล้ว เราไม่จำเป็นต้องเป็นหมอในเมืองใหญ่ ในพื้นที่เล็กๆ เราก็ทำประโยชน์ได้เท่าๆกัน อย่าลืมพื้นที่เล็กๆ"

"เป็นหมอ อย่าโกงเวลาหลวง"

= ตรงต่อเวลา อย่ามัวทำเอกชน

"เป็นหมอ ต้องอ่อนน้อมถ่อมตน"

"ห่วงใย จริงใจ ใส่ใจ พูดอะไร เขาก็เชื่อ"

 

เฟิร์น ;

"ปรับใจเรา ก็จะได้ใจเขา"

= หากเรามุ่งแต่เรื่องโรค บอกว่าต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ โดยไม่ได้นึกถึงอุปสรรคหรือปัญหาที่นำเขามาอย่างแท้จริง

เช่น เป็นเบาหวาน แต่บ้านทำขนม ต้องชิมขนม ห้ามกินหวานไม่ได้ เป็นต้น

ถ้าได้ลองมองหรือปรับตัวเองให้ดูแลคนไข้แบบองค์รวม ก็จะเข้าใจคนไข้มากขึ้น ในที่สุด ก็จะได้ใจเขามา

 

ปอม ;

"การออกชุมชน เหมือนได้ complete หลักสูตรแพทย์"

"แพทย์ที่ดีต้องเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน"

= ทุกวันนี้ เราอยู่ที่โรงพยาบาล อยู่ในบทบาทที่ หมออยู่กับที่ คนไข้วิ่งมาหา

แต่การออกชุมชน เราไปรักษาคนไข้ คนไข้ก็คอยเกื้อหนุนเราด้วย (พึ่งพาอาศัยกัน)

 

เป้ ;

"การอ่อนน้อมถ่อมตน ทำให้เข้าถึงคนไข้ได้มากขึ้น"

= เพราะคนเรามักไปในที่ที่สบายใจ

 

เก่ง ;

"การรักษาคนไข้ ความเชื่อใจเป็นเรื่องสำคัญ"

= ถ้าคนไข้ไม่เชื่อถือ ไม่เชื่อใจ รักษาอะไรไป เขาก็ไม่ทำตาม"

 

เอ็กซ์ ;

"รักษาคนไข้ ต้องรักษาทั้งตัว ไม่ใช่รักษาแค่โรค"

= ดูบ้าน ดูอาชีพ ดูครอบครัว

 

กุ้ง ;

"จงศรัทธาในคนไข้ และเชื่อว่าเขาทำได้"

= บางอย่าง เราอาจมองว่ามันเป็นเรื่องยากสำหรับคนไข้ที่จะเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าเราได้ลองให้โอกาสเขาเปลี่ยนแปลงแล้ว

ไม่มีอะไรเกินความพยายามของพวกเขาหรอกนะ เพราะฉะนั้น จงศรัทธาในคนไข้ และเชื่อว่าคนไข้ทุกคนทำได้

 

เต้ ;

"หมอต้องให้เกียรติและให้ใจกับคนไข้"

= เพราะพวกเขาพร้อมที่จะคืนสิ่งดีๆกลับมาให้เราเสมอ เมื่อความสัมพันธ์กับคนไข้ดี ข้อมูลและความร่วมมือก็จะเป็นเรื่องง่าย

 

พลอย ;

"เป็นหมอต้องรู้จักวางตัว"

= ไม่อ่อน ไม่แข็ง จนเกินไป ทำให้เขาเชื่อถือ เชื่อมั่น เชื่อใจ ในขณะที่เขาก็รัก ก็เอ็นดู ไปพร้อมๆกัน

"เรียนใกล้จบแล้ว รักษาคนได้หรือยัง"

"มือไม้อ่อนเข้าไว้ ไปไหน ใครก็รัก"

 

ทั้งหมดนี้ คือ คุณค่าที่เราได้รับจากชุมชนค่ะ

"คลองน้ำเค็ม คุณค่าที่เราคู่ควร" :)

 

 

หมายเลขบันทึก: 560451เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2014 18:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มกราคม 2014 18:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เยี่ยมมากค่ะ ความรู้สึกที่ได้จากชุมชน .... เก็บไว้เป็น "พลังใจ" นาน ๆ นะคะ .... หมอของชุมชน

คุณค่าที่ผมได้จากคุณหมอทุกท่าน

เป็นความอิ่มใจ

ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการก้าวใหญ่ๆของคุณหมอ

ดีใจที่เห็นคุณหมอทำได้

ชื่นใจที่เห็นชาวบ้านรักคุณหมอ

ย้อนกลับมาเป็นกำลังใจให้ผมเอง ทำงานต่อไป

...

ฝากเรื่องราวทั้งหมดไว้ที่นี่

สำหรับ ทบทวนเพื่อ "เติมไฟในฝัน" แก่ทุกคน

สวัสดีนะครับ

วัฒนธรรมที่น่ารักๆ ของคนไทยยังปรากฎให้เห็นในคนรุ่นใหม่จากบันทึกนี้ค่ะ ชื่นใจค่ะ

เป็นการทบทวนตนเอง(แบบดังๆ) ที่ทำให้ได้เรียนรู้ไปกับหมอด้วย

ขอบคุณสำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้สึกดีๆและสิ่งที่หมอได้เรียนรู้

จะเป็นปัจจัยนำเข้าสำหรับการจัดการเรียนการสอนในปีต่อๆไป

หายเหนื่อยเลยค่ั

ขอบพระคุณทุกท่านจริงๆค่ะ,,

เห็นคอมเม้นท์เหล่านี้แล้ว พวกเราก็ชื่นใจและหายเหนื่อยเช่นกันค่าา ^_______^

อาจารย์หมอมุ่ยไปตามผมมาเม้นต์

- เปรียบเทียบกับสมัยผมไปสอนชาวบ้านแปรงฟันเมื่อ สามสิบกว่าปี ก่อน น้องทำได้ดีกว่าผมเยอะ

- ชอบการสะท้อน take home message ของน้องๆ ผมเองก็ชอบใช้เวลาพานศพ.ไปเยื่ยมบ้าน ตอนนั่งรถตู้กลับโรงพยาบาล ผมจะขอให้น้องๆสะท้อนประสบการณ์การเรียนรู้ในวันนั้นเป็นประโยคสั้นๆเหมือนกัน

- สิ่งที่มอบให้ชาวบ้าน ถ้าน้องมีสัมภาษณ์ชาวบ้านสั้นๆมาลง ทำนองเดียวกับที่น้องทำ take home message ของตัวเองด้วยละก็ จะทำให้ผลงานมีชีวิตชีวามากขึ้นเยอะเลยครับ

- ขอบคุณครับ กับเรื่องดีๆ

เย้ พี่เต็ม มาเจิมกระทู้ให้น้องๆแล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท