Reflex กับการพัฒนาเด็กที่ไม่ควรมองข้าม (3)


From: AAAAAA
To: otpop (at) windowslive.com
Subject: RE: [gotoknow.org] คุณได้รับเมลติดต่อจากผู้อ่าน (24 Jan 2014 21:44).
Date: Tue, 28 Jan 2014 00:12:55 +0700

ขอถามเพิ่มเติมอีกหน่อยน่ะค่ะ
- งั้นแสดงว่าการที่ primitive reflex ยังคงอยู่เราจะไม่ใช้การยับยั้งแต่จะใช้การกระตุ้นต่อเพื่อให้ reflex กลายเป็น voluntary ใช่ไหมค่ะ
http://www.retainedneonatalreflexes.com.au/test-at-hom/ test นี้สามารถนำไปใช้เป็น test เบื้องต้นว่าเด็กยังคงมี primitive อยู่ได้ไหมค่ะ ถ้าทราบว่ามีก็ส่งให้นักกิจกรรมบำบัดประเมินต่อ
http://www.youtube.com/watch?v=lUSF4WoM_Ac&list=PL6Dehd2sppsytOO5O89uvjU9dXVZToZHs exercise นี้ถือว่าเป็น Reflex Inhibiting Pattern/Posture ด้วยไหมค่ะ
http://www.primarymovement.org/research/extract1.html งานวิจัยนี้สามารถ support การ exercise เบื้องต้นได้หรือไม่ค่ะ
ขอบคุณค่ะ
 
จาก: supalak khemthong (otpop (at) windowslive.com)
ส่งเมื่อ: 28 มกราคม 2557 10:10:26
ถึง: AAAAAA

เรียน คุณ AAAAAA

 
ตอบคำถามข้อที่ 1. ขึ้นอยู่กับว่า Primitive Reflex อะไร ถ้าอยู่ในช่วงที่เหมาะสมตามพัฒนาการและไม่ขัดขวางการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวและการรับรู้ ก็ควรส่งเสริมให้อยู่ใน Reflex ที่พัฒนาขึ้น ซึ่งโดยธรรมชาติจะกลายเป็นการสั่งการจากสมองควบคุมอย่างระบบต่างๆ ตั้งใจ (Voluntary Higher Order Control) 
 
ตอบคำถามข้อที่ 2. จากลิงค์ที่ให้มา เป็นแบบคัดกรองในแง่คำถาม และมีการทดสอบเบื้องต้นที่ใช้ร่วมในการคัดกรองเด็กที่โรงเรียนหรือที่บ้าน แต่อย่างไรก็ตาม ผู้คัดกรองควรผ่านการฝึกทดสอบและแปรผลในเด็กกับนักกิจกรรมบำบัดหรือนักกายภาพบำบัดด้านเด็ก อย่างน้อย 20 ชม. หรือผู้คัดกรองส่งต่อนักกิจกรรมบำบัดให้ประเมินอย่างละเอียดได้ครับ
 
ตอบคำถามข้อที่ 3. จากคลิปไม่ใช่การยับยั้งท่าทางที่ผิดปกติจาก Reflex แต่แค่สาธิต ATNR เพราะการยับยั้ง ATNR นิยมทำในท่านอนหงายและจัดศีรษะให้อยู่ในแนวกลางลำตัวแล้วทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวแขนทั้งสองข้าง หรือ ขาทั้งสองข้าง 
 
ตอบคำถามข้อที่ 4. งานวิจัยตามลิงค์ไม่สนับสนุคลิปในข้อที่ 3. ครับ
 
ขอบคุณมากครับ
ดร.ป๊อป
 
From: AAAAAA
To: otpop (at) windowslive.com
Subject: RE: [gotoknow.org] คุณได้รับเมลติดต่อจากผู้อ่าน (24 Jan 2014 21:44).
Date: Tue, 28 Jan 2014 10:52:22 +0700

- ในการยับยั้งแต่ละ reflex หรือการกระตุ้นให้ reflex ที่คงอยู่นั้นพัฒนาขึ้นในเด็กแต่ละประเภท เช่น LD ADHD CP Autism แตกต่างกันใช่ไหมค่ะ
- งั้นงานวิจัยนี้ใช้สนับสนุนความคิดที่ว่าการ movement ที่นักกิจกรรมบำบัดทำจะทำให้การอ่านดีขึ้นได้ไหมค่ะ 
 
จาก: supalak khemthong (otpop (at) windowslive.com)
ส่งเมื่อ: 28 มกราคม 2557 11:35:24
ถึง: AAAAAA

เรียน คุณ AAAAAA 

 
ข้อ 1. เด็กแต่ละประเภทที่กล่าวมามีพยาธิสภาพทางระบบประสาทพัฒนาการแตกต่างกัน แต่ไม่ได้หมายรวมว่า ต้องยับยั้งหรือกระตุ้น Reflex ในเด็กทุกประเภท เช่น เด็กสมองพิการบางรายที่ไม่มีภาวะเกร็งก็อาจมี Reflex ตามวัยแต่มีทักษะการเคลื่อนไหวบางด้านที่ช้าไปบ้าง เด็กออทิสติกส่วนใหญ่มี Reflex ตามวัยแต่ต้องการพัฒนาทักษะการแสดงพฤติกรรมในการสื่อสารกับการเข้าสังคม เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้มี Reflex ตามวัยแต่ต้องการประเมินและพัฒนาทักษะการรับรู้และความคิดความเข้าใจ เด็กสมาธิสั้นและไม่อยู่นิ่งก็มี Reflex ตามวัยแต่ต้องการประเมินและพัฒนาทักษะการบูรณาการการรับความรู้สึก เป็นต้น
 
ข้อ 2. นักกิจกรรมบำบัดไม่ได้พัฒนาเด็กเฉพาะทักษะการเคลื่อนไหว...นักกิจกรรมบำบัดพัฒนาเด็กด้านทักษะการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต ส่วนนักกายภาพบำบัดกระตุ้นพัฒนาการเด็กด้านทักษะการเคลื่อนไหว ดังนั้นการทำกิจกรรมบำบัดเฉพาะทักษะการเคลื่อนไหวอย่างเดียวไม่ได้ทำให้การอ่านดีขึ้น คงต้องตีโจทย์ให้ชัดเจนว่า ทักษะการอ่านในเด็กประเภทใด มีพยาธิสภาพทางสมองหรือไม่อย่างไร และทำกิจกรรมบำบัดด้วยกรอบอ้างอิงใดและเทคนิคใด (นักกิจกรรมบำบัดมี 50 กรอบอ้างอิง และมี 120 เทคนิค) รวมทั้งมีการใช้เหตุผลทางคลินิกอย่างไรด้วย เท่าที่ค้นจาก Google Scholar ด้วยคำสำคัญ occupational therapy and reading skills ในปี 2014 ส่วนใหญ่จะนักกิจกรรมบำบัดจะประเมินและฝึกทักษะการรับรู้ทางการมองเห็นผ่านกิจกรรมการดำเนินชีวิตที่เน้นทักษะการเขียนควบคู่ไปกับทักษะการอ่าน 
 
ขอบคุณมากครับ
ดร.ป๊อป 
 
From: AAAAAA
To: otpop (at) windowslive.com
Subject: RE: [gotoknow.org] คุณได้รับเมลติดต่อจากผู้อ่าน (24 Jan 2014 21:44).
Date: Wed, 29 Jan 2014 15:02:33 +0700

- อาจารย์ค่ะ ในเด็ก CP ที่อาจารย์บอกว่า rooting reflex  (Positive) กับ palmar reflex (Positive) หมายความว่า reflex ไม่ได้ยังคงอยู่แต่เกี่ยวกับ tone ของกล้ามเนื้อแทนใช่ไหมค่ะ
- อาจารย์ค่ะ exercise ที่เค้ากล่าวไว้ใน paper นี้พอใช้ได้ไหมค่ะ
 
จาก: supalak khemthong (otpop (at) windowslive.com) 
ส่งเมื่อ: 29 มกราคม 2557 16:41:24
ถึง: AAAAAA
 
 
เรียน คุณ AAAAAA
 
คำว่า Positive reflex แปลว่า มี Reflex อยู่ แต่ขึ้นอยู่กับว่า เด็กสมองพิการหรือ CP คนนั้นอยู่ในช่วงอายุที่ควรมี Reflex นี้หรือไม่ แต่โดยทั่วไปเด็ก CP ที่ไม่มีภาวะเกร็งมักมี Reflex rooting & Palmar สมวัย ส่วนเด็ก CP ที่มี Hypertone ของกล้ามเนื้อมักมีหรือไม่ Reflex ดังกล่าวไม่สมวัย  
 
ส่วน Paper (Reflex ที่สำคัญต่อพัฒนาการของเด็กทารก) ที่แนบมานั้นมีเนื้อหากว้างๆ ถ้าถามว่า ใช้ได้ไหม ไม่แน่ใจว่า จะใช้ได้สำหรับอะไร ถ้าในส่วนของนักกิจกรรมบำบัดและนักกายภาพบำบัดจะใช้ Paper นี้ไม่ได้ เพราะต้องตรวจประเมินให้แน่ใจว่าจะพัฒนา Positive Reflex ที่จำเป็นต่อทักษะการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตหรือการเคลื่อนไหว หรือยับยั้ง Negative Reflex ที่ส่งผลให้มี Hypertone ที่ขัดขวางทักษะข้างต้น ส่วนนักวิชาชีพอื่นๆ ที่ไม่ได้เรียนการประเมินและฝึกปฏิบัติทางคลินิกอย่างน้อย 1,000 ชม. ที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการและการใช้เทคนิค Neurodevelopment Technique (เช่น Bobath, Rood, ฯลฯ) ก็ใช้ Paper นี้ไม่ได้ ควรเข้ารับการอบรมจากผู้เชี่ยวชาญหรือส่งต่อนักกิจกรรมบำบัดและนักกายภาพบำบัด แต่ถ้าผ่านการตรวจประเมินและมีการเลือกบางท่าของ Exercise แล้วแนะนำความรู้ให้ผู้ปกครองฝึกตามรูปก็อาจใช้ได้ แต่ก็สู้การสาธิตในแต่ละรายของเด็ก CP จะดีกว่า 
 
ขอบคุณมากครับ
ดร.ป๊อป
 
ปล. ไม่แน่ใจว่า คุณ AAAAAA กำลังนำข้อมูลเหล่านี้ไปทำโครงการวิจัยหรืออะไร หากต้องการนัดหมายผมที่คณะกายภาพบำบัด ม.มหิดล เพื่อสัมภาษณ์หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ชัดเจนมากกว่าการอีเมล์ผ่าน Go to Know รบกวนทำจดหมายและนัดหมายเป็นทางการ รวมถึงขอสังเกตกรณีศึกษาน่าจะเป็นประโยชน์กว่า เพราะบางครั้งการเขียนตอบโจทย์หลายๆรอบอาจสื่อสารไม่เห็นภาพ ซึ่งนักศึกษาสามารถนำเรื่องนี้ไปขอความคิดเห็นจากอาจารย์ที่ปรึกษาได้ครับผม 
 
...ขอบคุณน่ะค่ะอาจารย์ พอดีจะนำเสนอแค่เป็นกรณีศึกษาอ่าค่ะ ขอโทษที่รบกวนอาจารย์เยอะเลยแต่ข้อมูลที่อาจารย์ให้มาทุกอย่างเป็นประโยชน์อย่างมากค่ะและก็ขอโทษที่ไม่ได้ทำเรื่องอย่างจริงจังค่ะ พอดีเวลามันกระชั้นชิดและบางทีอ่านไปศึกษาไปแล้วก็มีคำถามผุดมาเรื่อยๆแต่อย่างที่อาจารย์บอกว่าการตอบเมลล์ไปมาอาจทำให้ไม่เห็นภาพมากนัก ไว้โอกาสหน้าหนูจะเข้าไปขอความรู้อย่างจริงจังน่ะค่ะ พอดีจะต้องพรีเซนต์ Case พรุ่งนี้แล้ว ขอบคุณอาจารย์อีกครั้งน่ะค่ะ...
หมายเลขบันทึก: 560329เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2014 11:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มกราคม 2014 09:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

.. ต้องมีความอดทนมากนะคะ ....มาให้กำลังใจ .. ท่านอาจารย์และน้องๆนักศึกษา นะคะ

-สวัสดีครับอาจารย์

-ตามมาให้กำลังใจครับ

-ส่งเมนูจาก"ป๋าต๋อง"มาให้ทีมงานด้วยครับ..

-สวัสดีครับอาจารย์

-ตามมาให้กำลังใจครับ...

ขอบคุณมากๆครับสำหรับกำลังใจอันอบอุ่นจากพี่ดร.เปิ้นและอันแสนอร่อยจากคุณเพชรน้ำหนึ่ง

ขอบคุณมากครับพี่นงนาท ขอให้มีความสุขมากๆ นะครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท