ปรัชญาการศึกษาลัทธิพิพัฒนาการนิยม (Progressive) : จุดมุ่งหมาย


ปรัชญาการศึกษาลัทธิพิพัฒนาการนิยม (Progressive)

ปรัชญาการศึกษาลัทธิพิพัฒนาการนิยม (Progressive) :

จุดมุ่งหมาย

 

 

ลัทธิพิพัฒนาการนิยม(Progressive) ได้กล่าวถึง จุดมุ่งหมายของการศึกษาว่า   การศึกษาต้องเป็นการศึกษาที่เกิดจากการลงมือกระทำด้วยตัวของผู้เรียนจนสามารถเข้าใจได้ด้วยเอง หากการศึกษาไม่สามารถนำไปสู่การลงมือกระทำด้วยตัวของผู้เรียนเองได้ก็ไม่เป็นการศึกษาที่ช่วยให้เป็นการศึกษาที่เกิดประโยชน์การศึกษาจะเกิดประโยชน์ต่อเมื่อการศึกษาสามารถสร้างความเจริญงอกงามทั้งทางร่างกาย สติปัญญา และคุณธรรม ประสบการณ์ที่เลือกสรรมาจึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้เกิดประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ดี  ที่จะนำไปสู่ความเจริญงอกงามประสบการณ์จึงเป็นเครื่องมือ การศึกษาจึงมีอยู่ตลอดเวลาเท่าๆ การมีชีวิต

 

การศึกษาที่จะเกิดประโยชน์ และคุ้มค่าก็ต้องก่อให้เกิดการปรับตัวของผู้เรียน ต่อการนำเอาไปใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที สามารถสร้างผู้เรียนให้มีลักษณะพิเศษ กระตุ้นให้เกิดความสนใจ

 

 

การศึกษาตามลัทธิพิพัฒนาการนิยมต้องการให้ผู้เรียนได้นำเอาความรู้ไปใช้ให้ประโยชน์ได้จริง  มีความสอดคล้องกับความเป็นจริงของชีวิตที่เป็นอยู่รอบๆ ด้าน  สามารถตอบปัญหาสังคมในขณะนั้นได้ คือ การศึกษาไม่เพียงให้ผู้เรียนได้เกิดความตระหนักรู้ถึง ความต้องการของตนเองแล้ว จะต้องให้ผู้เรียนได้เกิดแรงบันดาลใจในการลงมือฝึกฝนตนเองในการร่วมแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่ทั้งแก่ชีวิตของตนและชุมชน สังคมที่เป็นอยู่

 

จอห์น ดิวอี้ ได้กล่าวว่า

 การศึกษาคือชีวิต มิใช่การเตรียมตัวเพื่อชีวิต

 

วิธีการที่ใช้ในการเรียนรู้คือลงมือทำ การลงมือกระทำด้วยตัวของแต่ละคน 

หน้าที่ของผู้สอนหรือนักการศึกษาจึงต้องจัดเตรียม ประสบการณ์ที่มีคุณค่าซึ่งสามารถช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทำประโยชน์แก่สังคมและแก่ตน  การที่จะกระทำการแก้ปัญหาได้อย่างเกิดผลบรรลุเป้าหมาย  ก็โดยการเรียนรู้และฝึกฝนอบรม การฝึกแก้ปัญหาต่างๆ การจะแก้ปัญหาได้อย่างบรรลุผลได้ดี ก็ต้องการอาศัยการลงมือฝึกฝน”

 

 

ดังนั้น จึงจะพบว่าจุดมุ่งหมายของการศึกษาของแนวคิดของลัทธิพิพัฒนาการนิยม จึงต้องเป็นจุดมุ่งหมายที่ว่าการศึกษาควรมุ่งเทคนิค หรือการมีส่วนร่วมของผู้เรียนโดยการให้ผู้เรียนได้ลงมือฝึกฝน เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ ความเข้าใจมากกว่า การศึกษาที่เป็นเพียงการเข้าใจอย่างวิชาการ(ทฤษฎี) หรือที่เคยเรียนกันมาก่อนหน้านั้น ตั้งแต่อดีต

 

 

และจุดมุ่งหมายของการศึกษานั้นมิได้มีความหมายเพียงแค่การใช้ประสาทสัมผัสเท่านั้น  แต่เป็นเรื่องของการอาศัยสติปัญญา การใคร่ครวญพิจารณาจากแง่มุมต่างๆ ร่วมกัน การแสดงออกร่วมกัน โดยอาศัยการร่วมแรงรวมพลังแห่งความรู้ เพื่อไปสู่การฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ

 

ด้วยความเมตตา

 

หมายเลขบันทึก: 560211เขียนเมื่อ 27 มกราคม 2014 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 สิงหาคม 2019 04:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จุดมุ่งหมายของ ปรัชญาการศึกษาลัทธิพิพัฒนาการนิยม Progressive

แนวทางการศึกษาต้องเป็นการศึกษาที่เกิดจากการลงมือกระทำด้วยตัวของผู้เรียนเองจนสามารถเข้าใจได้ด้วยเองจากทักษะ Constructionism ระบบศึกษาแนวการสอน ได้อ้างถึง John Dewey นักจิตปรัชญาชาวอเมริกันกล่าวไว้ว่า Learning by doing ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพโดยใช้ประสบการเชิงประจักษ์เป็นฐาน แล้วใช้ประสบการณ์เดิมหรือทุนความรู้ดั้งเดิมเข้าปฏิรูปย่อมได้เป้าหมายที่มีผลสัมฤทธ์ aim out come เป็นผลลัพธ์การสร้างความรู้ใหม่ให้กับนักศึกษาโดยใช้ทักษะอันประกอบด้วยปัญญาของเองในหลักของ Logic และ Discovery เป็นโครงงานระบบแนวการสอนของ Constructionism ที่ท่องสืบหาอุปกรณ์ตัวอย่างและ นำสิ่งที่ให้ความรู้ในประสบการณ์สถานนั้นมาศึกษา

โดยนัยกลับกัน หากการศึกษาไม่สามารถนำไปสู่การมีทักษะมโนในตน ด้วยตัวของผู้เรียนเองก็มิได้ถนัดในเขตแขวงด้านนั้น ก็ไม่เป็นการศึกษาที่ช่วยให้มีระดับพัฒนาก้าวเป็นระดับขั้นตอนได้อย่างเป็นการศึกษาที่ไม่ไดรับผลประโยชน์นำใช้เท่าที่ควร การศึกษาจะเกิดประโยชน์ต่อเมื่อ สร้างความเจริญงอกงามทั้งทางร่างกายให้มีคุณสมบัติ property

พร้อมคุณธรรม goodness ประสบการณ์ experience จึงจำเป็นต้องส่งเสริมพัฒนาให้เกิดประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ดี นั้นเพื่ออนาคตจะได้มีเป็น

ต้องการให้นำเอาความรู้ไปใช้ให้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิผลยังผลสัมฤทธ์ มีความสอดคล้องกับความเป็นจริงของบริบทชีวิตได้ สามารถตอบปัญหาสังคมในด้านพัฒนานิยมอย่างที่ทำให้ผู้อยู่รอบข้างเข้าใจ และช่วยกันแก้ไขนั้นหรือปัญหาที่จะเกิดขึ้นนั้นขณะนั้นได้ ด้วยดำเนินทักษะร่วมคือ การศึกษาที่ได้รับแนว ปรัชญาการศึกษาลัทธิพิพัฒนาการนิยม Progressive แต่เพียงให้ผู้เรียนได้เกิดความตระหนักว่า นอกจากความถนัดของตนเองเข้าร่วมแล้ว ก็ต้องยอมรับความถน้ดของผู้อื่นที่เข้าร่วมด้วย

จุดมุ่งหมายของการศึกษาของแนวคิดของลัทธิพิพัฒนาการนิยม จึงต้องเป็นจุดมุ่งหมายที่ว่าการศึกษาควรมุ่งเทคนิค หรือการมีส่วนร่วมของผู้เรียนโดยการให้ผู้เรียนได้ลงมือฝึกฝน เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ ความเข้าใจมากกว่า การศึกษาที่เป็นเพียงการเข้าใจอย่างวิชาการ(ทฤษฎี) หรือที่เคยเรียนกันมาก่อนหน้านั้น ตั้งแต่อดีต


<p>จุดมุ่งหมายของการศึกษาของแนวคิดของลัทธิพิพัฒนาการนิยม ควรมุ่งไปในทางเทคนิค อันเกี่ยวกับเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์เข้าร่วมกระบวนการศึกษา ต่อมือฝึกฝน เข้าใจเห็นแจ้งตามข้อปฏิบัติเพราะฉนั้น การเข้าใจวิชาทฤษฎี พร้อมภาคทักษะคือแนว ปรัชญาการศึกษาลัทธิพัฒนาการนิยม popular notions</p>

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท