จิตตปัญญาสำหรับครูกล้าที่จะสอน


การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในห้องเรียนจะทำให้เกิดความไว้วางใจ ระหว่างครู-นักเรียน เรากับเด็กจะมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีความรักต่อกัน การเปิดใจกัน จะทำให้เราได้ยินเสียงของเด็ก เข้าใจเด็ก เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง”

เมื่อวันที่ ๑๗ - ๑๙ มกราคม ที่ผ่านมา ผมได้จัดกิจกรรมพัฒนาครู หลักสูตร "จิตตปัญญาสำหรับครูกล้าที่จะสอน"

เริ่มด้วยกิจกรรมหินพูดได้

บทเรียน "ไข่ขาว ไข่แดง"

โดยปกติชีวิตมนุษย์ มักจะคุ้นชินกับพื้นที่ที่ “ปลอดภัย” พื้นที่ที่ตัวเอง “สบาย” พื้นที่ที่ตัวเอง “รู้แล้ว” เพราะจะทำให้ตนเองรู้สึกดี รู้สึกมั่นคง ปลอดภัย แต่พื้นที่แห่งการเรียนรู้มักอยู่นอกพื้นที่ปลอดภัยนั้น เป็นพื้นที่ “เสี่ยงๆ เสียวๆ” เป็นพื้นที่ที่เรา “ไม่คุ้นชิน” จะต้อง “ฝึกและฝืน” ดังนั้น การสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่แท้จริง ครูจำเป็นจะต้องก้ามข้ามพื้นที่ไข่แดงหรือพื้นที่ปลอดภัยสู่พื้นที่ไข่ขาว ซึ่งเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ ทั้งกับของครูเอง และของเด็ก กล้าที่จะเผชิญในสิ่งที่ไม่ชอบ ไม่ปลอดภัย อันจะเป็นบ่อเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่อย่างไม่มีที่สิ้นสุด

กิจกรรมต่อไปเป็นการสาธิตการพื้นที่แห่งความไว้วางใจ เพื่อให้นักเรียน "กล้า" ที่จะพูด

โดยมีคณะครูสังเกต และ ถอดบทเรียน

รู้จักตัวเอง “ศาสตร์ผู้นำ 4 ทิศ”“เรียนรู้ข้อแตกต่าง ความสัมพันธ์กับข้อจำกัด”

กระทิง - หนู

อินทรี - หมี

ให้พิจารณาว่าตนเองเป็นคนประเภทไหน จับกลุ่ม 4- 5 คน ผลัดกันนำเสนอเหตุผล พฤติกรรมที่บ่งบอกความเป็นลักษณะนั้นๆ ทุกคนในกลุ่มตั้งใจฟัง หลังจากนั้นรอบที่ 2 ให้หาสิ่งที่ต้องข้าม สิ่งที่ตนเองไม่มี ความต้องการในการก้ามข้ามไปหาบุคคลประเภทนั้น

กิจกรรมนี้จะช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจตนเอง ตลอดจนตรวจสอบความต้องการ แนวทางที่ตนเองต้องการจะก้ามข้ามไปสู่พื้นที่ใหม่ เพื่อการเรียนรู้ เปลี่ยนแปลง และเติบโต ซึ่งครูสามารถนำไปปรับใช้กับเด็กนักเรียนในการเข้าถึง เข้าใจ และแนวทางการพัฒนาตามความต้องการได้อย่างมีทิศทาง

คลื่นสมอง และทฤษฎีไข่ไดโนเสาร์

“การทำงานของคลื่นสมองที่มีผลต่อสภาวะของเรา - เชื่อมโลกภายนอกสู่โลกภายใน- ผ่อนคลาย นิ่ง สงบ ตื่นรู้”

กิจกรรมนี้วิทยากร นำนั่งสมาธิไปสู่ความสงบ นิ่ง ผ่อนคลาย ไปสู่ห้องความเป็นครู บรรยากาศขณะสอน คุณค่าความเป็นครู และบรรยายคลื่นสมองที่มีผลต่อการเรียนรู้ และการเชื่อมโลกภายนอกสู่โลกภายใน ด้วย ภาษา ความคิด ประสบการณ์ตรง เรื่องเล่า และศิลปะ

1)เบต้า คลื่นความถี่ตั้งแต่ 14 ถึง 40 รอบต่อวินาทีสมองกำลังอยู่ในภาวการณ์ทำงาน/ตื่นและควบคุมจิตใต้สำนึก เช่น กำลังทำงานทั่วไป กำลังพูดและทำกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น 2)อัลฟา คลื่นความถี่ตั้งแต่ 7ถึง 14รอบต่อวินาที อยู่ในช่วงฝัน ผ่อนคลายเป็นช่วงที่สามารถเกิดความคิดสร้างสรรค์หรือเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว

3)เธต้ามีคลื่นความถี่ตั้งแต่ 4ถึง 7รอบต่อวินาที อยู่ในช่วงของการหลับ ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับการเห็นภาพต่างๆ

4)เดลต้า มีคลื่นความถี่ตั้งแต่ 0.5 ถึง 4รอบต่อวินาทีเป็นช่วงที่สมองหลับอย่างเต็มที่ โดยไม่มีความฝันใดๆ หรือเป็นช่วงที่พักผ่อนอย่างเต็มที่

ซึ่งครูสามารถนำไปปรับใช้กับการจัดการเรียนการสอนโดยสร้างบรรยากาศให้นักเรียนรู้สึกผ่อนคลายเกิดคลื่นสมองต่ำ เพื่อเป็นประโยชน์ในการเรียนรู้ก่อเกิดมหาสมุทรแห่งปัญญา

ฟังอย่างลึกซึ้ง “Deep listening” ผ่านเรื่องเล่าวัยเด็ก

เปิดพื้นที่ปลอดภัย – รับฟังอย่างเข้าใจ ปราศจากเงื่อนไข”

ใช้สมาธิ นิ่ง สงบ ย้อนระลึก ถึงอดีตแต่ละช่วงวัยที่ผ่านมา

กิจกรรมนี้กระบวนกรให้จับคู่ และให้แต่ละคนวาดภาพในวัยเด็กลงบนกระดาษ A4 ถึงสิ่งที่ประทับใจ ที่ผุดขึ้นภายในใจในช่วงวัยนั้น และให้แต่ละคนผลัดกันเล่า ขณะที่คนหนึ่งเล่า อีกคนหนึ่งจะต้องฟัง ฟังอย่างตั้งใจ ไม่ซักถาม ไม่สงสัย ไม่คัดค้าน และมีการทวนผลการฟังให้อีกฝ่ายรับรู้ภายหลังเล่าจบ

การฟังอย่างลึกซึ้งเป็นการฟังด้วยหัวใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความรักและเมตตาอย่างไม่มีเงื่อนไข ฟังอย่างใส่ใจและสัมผัสได้ถึงอารมณ์ ความรู้สึก ความต้องการ ที่แอบซ่อนอยู่เบื้องหลังคำพูด รับรู้ความรู้สึก ยอมรับ โอบอุ้ม ดูแล เข้าใจ และให้เกียรติ ซึ่งครูสามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตทั้งครอบครัว เพื่อนครู ผู้บริหาร ที่สำคัญคือ นักเรียน เพื่อเข้าใจนักเรียนมากยิ่งขึ้น

สิ่งที่ได้เรียนรู้ Reflection แชร์ความรู้สึก บนพื้นที่แห่งพลัง

1) ต้องใช้จิตใจ ความรู้สึก “ความรักอย่างไม่มีเงื่อนไข” ในการเรียนรู้ร่วมกันกับนักเรียน

2) “เปิดใจ ยอมรับฟัง” ตัวตน ความคิดเห็นที่แตกต่างเคารพในศักดิ์ศรี คุณค่าความเป็นมนุษย์ที่ทุกคนมี เรียนรู้พฤติกรรมของเด็ก อย่าไปตัดสิน ตีตราว่าผิด

3) สร้างบรรยากาศ “ผ่อนคลาย” ก้าวแรกในการสอน เพื่อปลุก/สร้างโลกการเรียนรู้

4) การเปลี่ยนแปลง เริ่มต้นที่ตนเองก่อน รู้จักและเข้าใจตนเอง ทลายกำแพง ก้ามข้ามพื้นที่ปลอดภัย เรามีความสามารถ เราทำได้ ต่อไปนี้จะไม่คิดเปลี่ยนแปลงใคร แต่จะเปลี่ยนแปลงตนเองตั้งใจว่าจะไม่ขีดเส้น ให้สามี ลูก หรือนักเรียน

5) เด็กน้อยในใจ ภาพเด็กในวันวาน ปลุกมันขึ้นมา พาตัวเองออกจากกรอบ กรงขัง ออกมาเดินอย่างอิสระ ด้วยใจที่เบิกบาน ด้วยใจที่สงบ มีความสุข อย่างเข้าใจนักเรียนของเรา

6) ในอดีตถ้านักเรียนตอบผิดจะรู้สึกหงุดหงิด โมโห รู้สึกผิดที่กล่าวหา ดุด่า ว่าเด็ก ต่อไปจะเริ่มต้นใหม่ จะเข้าใจ รับฟังพวกเขาให้มากขึ้นจะเปิดโอกาสให้เขาได้พูด

7) จะพาตนเองและนักเรียนออกจากพื้นที่ไข่แดง จะสร้างพื้นที่ไข่ขาวให้กับเด็กนักเรียน และคนอื่นๆ ด้วย

8) รู้สึกอบอุ่นกับวิทยากร เป็นความแปลกใหม่ ตั้งแต่ สพป. จัดอบรมมา ส่วนใหญ่วิทยากรจะใส่สูท

แต่งตัวโก้หรู เอกสารเป็นตั้ง แต่ครั้งนี้แตกต่าง

การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในห้องเรียนจะทำให้เกิดความไว้วางใจ ระหว่างครู-นักเรียน

เรากับเด็กจะมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีความรักต่อกัน

การเปิดใจกัน จะทำให้เราได้ยินเสียงของเด็ก เข้าใจเด็ก เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง”

หมายเลขบันทึก: 559776เขียนเมื่อ 21 มกราคม 2014 20:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มิถุนายน 2015 20:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

.... เป็น บันทึกที่ดี .... เป็นกิจกรรมดีจริงๆค่ะ ... ชื่นชมค่ะ ... ขอบคุณค่ะ



-ขออนุญาติล่วงหน้านะคะ คิดว่าจะนำไปปรับใช้กับวิจัย อริยสัจ 4 บันทึกนี้ทำให้ได้แนวคิดสำหรับผู้สอนมาก

มาส่งกำลังใจ และอยากชื่นชม "ครูอาชีพ" ค่า ดีใจแทนเด็กๆ ที่มีครูดีๆ แบบนี้ ประเทศนี้ยังมีครูดีๆ อีกหลายท่านเนอะ แบบนี้เรียกว่าให้ความรู้คู่คุณธรรมเนอะ ชื่นชมๆๆจริงๆ ค่ะ

DDDDDDDDDและดีๆๆๆๆๆๆๆๆๆ....มีรักมาฝากมีดอกไม้..มามอบให้

ท่าน Dr.Ple ครับ ขอบคุณมากครับ ที่เข้ามาเยี่ยมชมและให้กำลังใจ

คุณ Nopparat ครับ ยินดีครับ ขอบคุณครับ

ขอบคุณมากครับ อ.เพ็ญศรี

คุณคุณแม่ดีๆ ครับ

ขอบคุณมากครับสำหรับกำลังใจ

ขอบคุณยายธี มากครับ

  • เห็นด้วยครับ “การสร้างพื้นที่ปลอดภัยในห้องเรียนจะทำให้เกิดความไว้วางใจ ระหว่างครู-นักเรียน เรากับเด็กจะมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีความรักต่อกัน การเปิดใจกัน จะทำให้เราได้ยินเสียงของเด็ก เข้าใจเด็ก เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง”
  • กิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเพื่อนครูครั้งนี้น่าสนใจมาก สิ่งที่เพื่อนครูสะท้อนก็ยืนยันความสำเร็จได้เป็นอย่างดีเลยนะครับ จากนี้ต่อไปก็ขึ้นอยู่กับว่า คุณครูจะตระหนักถึงการนำไปปฏิบัติใช้หรือไม่ หรือ ความรู้สึกใหม่ๆที่เกิดขึ้นครั้งนี้นั้น จะคงทนเพียงใด..
  • ขอบคุณความรู้และประสบการณ์ดีๆนี้ครับท่านรองฯ

ขอบคุณมากครับ อ.ธนิตย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท