๓ ทฤษฎี อธิบาย อุปสรรคในการพัฒนาตนเองสู่ ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ ๒๑


วันนี้ ๑๗ มกราคม ๒๕๕๗ ขณะเดินทางไปเยี่ยมโรงเรียนดงใหญ่พิทยาคม รัชมังคลาภิเษก  เราถกกันเรื่องปัญหาและอุปสรรคในการทำงานขับเคลื่อนด้านการศึกษาที่ผ่านมา ผมเสนอ ๓ ทฤษฎี ในการอธิบายปัญหาและอุปสรรคที่เคยพบมาให้ เลยนำมาบันทึกไว้ เผื่อว่าท่านจะเจอปัญหาคล้ายๆ กัน

๑) "ทฎษฎีแพะ"

   คำนี้ผมได้ยินจากอาจารย์ศศินี ลิ้มพงศ์ พูดถึงการวิเคราะห์ของ รองศาสตราจารย์ไพโรจน์ หัวหน้าทีมขับเคลื่อนในเขตพื้นที่ภาคใต้

ปัญหาที่พบคือ "หลายคนรู้แล้วไม่ทำ" ผ่านกระบวนการฝึกอบรมและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกิจกรรมการพัฒนาต่างๆ แต่ไม่สามารถเริ่มทำงานได้อย่างจริงจัง  เหตุผลที่ไม่ทำนั้นมีหลากหลาย เช่น ภาระงานเยอะมาก ผู้บริหารไม่สนับสนุน นักเรียนพื้นฐานไม่ดี นักเรียนเกเร ไม่อยากเรียน หนีเรียน ติดเกม ฯลฯ

ที่เรียกว่า "ทฤษฎีแพะ" เพราะ มัวแต่โทษผู้อื่น มองผู้อื่นเป็นต้นเหตุของปัญหา ทั้งๆ ที่ความจริงอาจไม่ใช่ อาจเป็นเพียง "แพะ" ที่ไม่รู้เป็นผู้รับบาปไป

๒) "ทฤษฎีตกปลา"

ปัญหาคือ "ไม่เรียนรู้ด้วยตนเอง"  ไม่ขวนขวายหาความรู้และพัฒนาตนเอง ใช้และฝึกทักษะเท่าที่มีอยู่เท่านั้นๆ หลายคนตั้งตารอให้มีผู้ทำให้ดูก่อน ต้องการตัวอย่างที่ดี เพื่อจะได้เริ่มเรียนรู้จากความสำเร็จหรือตัวอย่างนั้น

 ผมเปรียบคนกลุ่มนี้เหมือนคนนั่งตกปลา นั่งรอให้ปลามากินเบ็ด กว่าจะได้ปลาแต่ละตัวต้องรอให้ปลาว่ายน้ำมากินเยื่อ ไม่ขวนขวายหาทางด้วยวิธีการอื่นๆ ซึ่งอาจได้ปลาคราวละมากๆ ในที่่นี้คือความรู้ หรือวิธีการหาปลาแบบอื่นๆ หมายถึง ทักษะกระบวนการต่างๆ 

บางกรณีเป็นเหมือนการตกปลาแบบไม่มีเหยื่อ ... และไม่คิดจะหาเหยือด้วยตนเองด้วย....ลองคิดดูครับว่าจะได้ปลาหรือไม่...

๓) "ทฤษฎีกดปุ่ม"

ปัญหาคือ การตกอยู่ในอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมหรือผู้อื่นตลอดเวลา หรืออาจเรียกได้ว่า "หลับ" อยู่ในความคิดและภาวะของการตอบสนองต่อสัญญาณเร้าจากคนอื่น หรืออาจเรียกว่า "ถูกกดปุ่ม" ตลอดเวลา

ปุ่มในที่นี้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย และใจ สิ่งแวดล้อมที่มากระตุ้นก็สิ่งที่เราเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น สัมผัสได้ และนึกคิดขึ้นมา โดยมากจะเป็นคน หรือที่เกี่ยวกับคน โดยเฉพาะ Facebook ที่มากระตุ้นตลอด  เมื่อต้องตอบสนองต่อสิ่งเร้าเหล่านี้ตลอด ทำให้ไม่ได้เรียนรู้เพิ่มเติม

วันหลังจะมีเขียนทฤษฎีกดปุ่มให้ละเอียดนะครับ ....


ผมเองอาจจะต้องเอาทฤษฎีทั้ง ๓ อย่างนี้ มาพิจารณาเพื่อปรับปรุงตนเองเหมือนกัน

หมายเลขบันทึก: 559533เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2014 22:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 22:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มารับความรู้เพิ่มเติม ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท